หัวข้อ: ภิกษุณีจีน สมัครเรียน ‘มจร’ หลังความสัมพันธ์แนบแน่น เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 04, 2016, 08:16:19 pm (http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2016/03/04/b9e6j8bgbif7db86gbkdb.jpg) ภิกษุณีจีน สมัครเรียน ‘มจร’ หลังความสัมพันธ์แนบแน่น ๔ มี.ค.๒๕๕๙ พระสรวิชญ์ อภิปญฺโญ อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) เปิดเผยว่า ตามที่ มจร ได้เปิดรับสมัครนิสิตใหม่ระดับปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ รับสมัครผ่านเว็บไซต์ ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม – ๓๐ เมษายน ๒๕๕๙ ที่ http://regweb.mcu.ac.th/registrar/apphome.asp (http://regweb.mcu.ac.th/registrar/apphome.asp) และรับสมัครด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ ๑ มีนาคม –๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ปรากฏว่าได้มีผู้สนใจแจ้งความจำนงสมัครเข้ารับการศึกษามากพอสมควร และเป็นที่น่าสังเกตก็คือว่า ได้มีพระภิกษุ และภิกษุณีรวมอยู่ด้วย พระสรวิชญ์ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เป็นเพราะ มจร กับคณะสงฆ์ประเทศจีนมีความสัมพันธ์อันดีมาเป็นเวลานานมีการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างกัน และระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ถึง ๓ ธันวาคม ๒๕๕๘ อาตมาได้ร่วมกับผู้แทนมหาจุฬาฯ เข้าร่วมงานทำบุญอุทิศอดีตประธานพุทธสมาคมเมือง เซี่ยงไฮ้,และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระหยกขาว เซี่ยงไฮ้: JADE BUDDHA TEMPLEและหารือความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาพระพุทธศาสนาระหว่าง วิทยาลัยพุทธศาสตร์ เมืองหางโจ มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีนกับ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหาวิทยาลัยประกอบด้วย พระโสภณวชิราภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศ,รักษาการผู้อำนวยการวิทยาลัยพระธรรมทูต, พระครูวินัยธรสมุทร ถาวรธมฺโม,ดร. ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและวัดผล, พระฉางหยวน นิสิตระดับปริญญาเอก สาขาพระพุทธศาสนา ล่ามภาษาจีน-อังกฤษ (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2016/03/04/aiba5afg6fd9bekekha9e.jpg) สิ่งที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะมีส่วนช่วยพัฒนาการศึกษาพระพุทธศาสนาในจีนได้ จะต้องดำเนินการอยู่ภายใต้เงื่อนไขของพุทธสามาคมและรัฐบาลจีน ขณะเดียวกันก็สามารถทำความร่วมมือในลักษณะความร่วมกันทำงานด้านพระพุทธศาสนาไปก่อน เมื่อรัฐบาลจีนเห็นบทบาทหน้าที่หรือหลักสูตรการจัดกิจกรรมหรือการเรียนการสอนแล้วก็อาจจะได้รับการอนุมัติให้จัดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทาลัยได้ ในอนาคตความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษาทางพระพุทธศาสนานั้น นอกจากการจัดกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาร่วมกันแล้ว การสนับสนุนส่งเสริมและร่วมกันพัฒนาหลักสูตรการจัดการศึกษาตามบริบททางสังคม ประเพณี วัฒนธรรมโดยพิจารณาด้านความละเอียดอ่อนทางกฎหมายเป็นหลัก ก็สามารถที่จะร่วมกันทำงานได้โดยเฉพาะรูปแบบการจัดการศึกษา กระบวนการจัดการเรียนรู้ จำนวนอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและประจำหลักสูตร ตลอดทั้งวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและวิธีวิทยาการสมัยใหม่มาช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนให้ความสำคัญกับการใช้การวิจัยเป็นฐานในการพัฒนาองค์กร หน่วยงาน ตลอดถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนให้มีการศึกษาค้นคว้าสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆได้ด้วยตนเอง สร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติจริง โดยมีอาจารย์หรือผู้บริหารเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษา (http://www.komchadluek.net/media/img/size_content/2016/03/04/gk8eijdiaekibfghadaad.jpg) การจัดการเรียนการสอนต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นผู้แสวงหาความรู้เอง มีความรู้ความเข้าใจอย่างท่องแท้ในทางพระพุทธศาสนาจริง มุ่งสร้างความรู้วิธีการแสวงหาความรู้การเรียนรู้ที่อาศัยการวิธีวิจัยเป็นฐาน การใช้รูปแบบการวิจัยต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาการศึกษาพระพุทธศาสนา,การเผยแผ่พระพุทธศาสนา,การพัฒนาองค์กรสงฆ์ การสืบต่อพระพุทธศาสนาจากคนรุ่นเก่าสู่คนรุ่นใหม่ ผ่านระบบการศึกษาพระพุทธศาสนา สำหรับประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการศึกษา,การวิจัยและการแลกเปลี่ยนทางพุทธวัฒนธรรมกับประเทศจีน การ ศึกษาฐานข้อมูลทางพระพุทธศาสนาในประเทศจีนในประเด็นต่างๆ การพัฒนาศูนย์ฝึกอบรมกรรมฐานเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ การสนับสนุนให้มีการดำเนินกิจกรรมทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมร่วมกัน พระสรวิชญ์ กล่าวด้วยว่า สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนอาจารย์,นิสิต เพื่อพัฒนาคุณภาพนิสิตร่วมกัน ร่วมกันพัฒนาทักษะด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาด้วยวิธีการที่หลากหลาย เช่น เทคนิคการสอนพระพุทธศาสนา,การผลิตสื่อการสอน,การเรียนตำรา,การนำเสนอธรรมะผ่านการแสดงทางวัฒนธรรมและการสร้างภาพยนตร์คุณธรรม, การจัดแสดงพุทธวัฒนธรรมร่วมสมัย ฯ เป็นต้น โดยเฉพาะด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาพระพุทธศาสนาครบวงจร,รอบด้าน การร่วมกันพิจารณากำหนดประเด็นการวิจัย เพื่อศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้ทางพุทธศาสนาอย่างครบวงจรแล้วนำเสนอผลการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน แล้วนำผลการวิจัยมาพัฒนาและสนับสนุนการเผยแผ่พระพุทธศาสนานาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อความเข้าใจอันดีร่วมกันระหว่างพุทธศาสนานิกายเถรวาทและมหายาน โดยอาจจะส่งเสริมให้นิสิตระดับปริญญาโท และเอก กำหนดเป็นประเด็นการศึกษาโดยให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการทำวิทยานิพนธ์หรือดุษฎีนิพนธ์ก็เป็นได้ ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.komchadluek.net/detail/20160304/223593.html (http://www.komchadluek.net/detail/20160304/223593.html) |