หัวข้อ: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก: เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 12 อ.ศิลป์ปวดใจ ปรางค์ทองถูกคนทำลาย เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 20, 2016, 09:09:07 am (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/DSCF6844-1.jpg) ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก: เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 12 ‘อ.ศิลป์ปวดใจ ปรางค์ทองถูกคนชั่วทำลาย’ เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้ พระราชวังโบราณ อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน” สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และ ละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง :96: :96: :96: :96: เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ รวมถึงภาพจิตรกรรมล้ำค่า จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง เรื่องราวทั้งหมดรวมถึง รายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/IMG_2871-615x1024.jpg) ข่าวเจ้าหน้าที่ระดมกำลังขุดอุโมงค์ลงไปในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะใน นสพ.สารเสรี เมื่อพ.ศ. 2499 การค้นพบจิตรกรรมไทยครั้งใหม่ (ต่อจากตอนที่แล้ว) โดย ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี คณบดีคณะจิตรกรรมและประติมากรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร :25: :25: :25: :25: ศิลปวัตถุประเภทเครื่องประดับตกแต่ง บรรดาของใช้ส่วนตัว ได้แก่ เครื่องทอง เครื่องเงิน และเพชรพลอย รวมทั้งพระพุทธรูปขนาดเล็กๆที่ทำด้วยทอง ด้วยเงิน ด้วยสำริด และด้วยแก้วผลึก พระพิมพ์ พลอยมณีสีต่างๆ ตลอดจนพระธาตุ ที่ได้พบในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะนี้ด้วย สิ่งของเหล่านี้จำนวนมากได้ถูกคนร้ายลักไปแล้วเจ้าหน้าที่ตำรวจจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจับคนร้ายได้ของกลางคืนมา เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ศิลปะประเภทเครื่องประดับของไทยในสมัยอยุธยานั้น มีความสวยงามอย่างหาตัวจับยาก ของที่ได้มาใหม่นี้เป็นการยืนยันทฤษฎีเก่านั้นได้เป็นอย่างดี ในการร่วมทางไปตรวจดูสิ่งของ พร้อมกับท่านอธิบดีและข้าราชการในกรมศิลปากรอีกหลายท่าน ข้าพเจ้าได้ใช้เวลาถึง 8 ชั่วโมง ศึกษาศิลปวัตถุต่างๆเหล่านี้ ช่างเป็นชั่วโมงแห่งความชื่นชมโสมนัสทีได้เห็นของอันวิจิตรงดงามอะไรเช่นนั้น st12 st12 st12 st12 แต่ในขณะเดียวกัน ก็เป็นชั่วโมงที่เต็มไปด้วยความปวดร้าวในหัวใจอย่างมหันต์ ที่ได้ทราบว่าศิลปวัตถุบางชิ้นถูกทำลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยโดยน้ำมือของคนชั่วร้ายจนเสียหายอย่างไม่สามารถที่จะซ่อมแซมได้ ศิลปวัตถุชิ้นที่เสียหายที่ข้าพเจ้าเจาะจงพูดถึงนี้ คือพระปรางค์ทองคำซึ่งได้พิจารณาจากเศษที่เหลืออยู่ จะต้องเป็นองค์พระปรางค์ที่มีความสูงถึง 80 ซม. หรือกว่านั้น เป็นที่แน่นอนเหลือเกินว่า เป็นแบบจำลองของปรางค์ใหญ่องค์จริงที่สร้างด้วยศิลาแลงนั้น ฝีมือช่างและความสวยงามทางศิลปะของพระปรางค์ทองคำจำลองนี้ ต้องนับว่าเป็นชิ้นเยี่ยมอย่างหาเปรียบยาก เนื่องจากเป็นของขนาดใหญ่ คนร้ายไม่อาจ (ซ่อนเร้น) นำเอาไปได้ จึงฉีกขาดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยขยี้ยับอย่างไม่ปรานี โธ่เอ๋ย ไม่มีอาชญากรรมสำหรับลงโทษเนื่องในการกระทำอันชั่วร้ายเช่นนี้ให้สาสมได้เจียวหรือ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/DSCF6844-768x512.jpg) ปรางค์ทองคำจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา เจ้าหน้าที่ตำรวจแม้จะปฏิบัติหน้าที่อย่างทันท่วงทีก็จริง ก็คงได้สิ่งของคืนมาเพียงสักส่วนหนึ่งเท่านั้น องค์พระปรางค์ทองคำนั้นคงจะได้คืนมาสักหนึ่งในสาม นอกนั้นคงถูกหลอมเอาทองไปเสียแล้ว นับว่าเป็นโชคร้ายต่อมรดกทางศิลปะของเราเป็นอย่างยิ่ง แม้จะเสียทองท่วมหัวก็ไม่อาจทำให้ศิลปวัตถุชิ้นเยี่ยมนี้คืนรูปเดิมมาได้อีก ตัวนาคที่ตกแต่งหน้าบันก็ดี ลวดลายอย่างละเอียดของเสา (เหลืออยู่เพียงเสาเดียว) ก็ดี ฯลฯ ตลอดจนฝีมือทำพระปรางค์แบบจำลองอันมีค่านั้นก็ดี ข้าพเจ้ากล้ากล่าวได้ว่าจะทำให้ดีวิเศษไปกว่านี้อีกหาได้ไม่ ประสิทธิภาพของสีต่างๆ อันเกิดการจาการนำเอาพลอยมีค่ามาฝังประดับไว้ด้วยนั้น ช่างประสานกลมกลืนกันเป็นอย่างดียิ่ง และทั้งนี้มิใช่อื่นไกล เพราะคนไทยสมัยก่อนมีความชำนาญพิเศษในเรื่องจัดสีให้ประสานกัน ด้ามและฝักดาบทองคำซึ่งประดับด้วยลวดลายแบบไทยโบราณลุฝังเพชรพลอยอย่างวิจิตรบรรจงเต็มไปหมด ก็เป็นศิลปกรรมชิ้นหนึ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจเสียจริงๆ รูปช้างหมอบก็มีคุณค่าทางศิลปะอย่างสูงเช่นกัน พระเต้าน้ำทองคำซี่งมีจุกเป็นรูปพรหมสี่หน้านั้น เข้าใจว่าใช้ใส่น้ำมนต์สำหรับพิธีทางศาสนา ตรงกระพุ้งประดับด้วยแผ่นทองรูปกลีบบัวสองข้าง ข้างหนึ่งสลักเป็นรูปเทวดา (นั่ง) องค์หนึ่ง และอีกด้านหนึ่งเป็นรูปนาค (3 เศียร) นับเป็นชิ้นศิลปะที่สวยงามและมีฝีมือเป็นเยี่ยมอย่างหาที่ติมิได้ชิ้นหนึ่งของไทย (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/DSCF6850-768x512.jpg) พระแสงขรรค์ชัยศรี และเครื่องราชกกุธภัณฑ์จำลอง (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/DSCF6842-768x512.jpg) ช้างหมอบ ทำด้วยทองคำสลักลวดลาย ฝังพลอยมณีสลับสี ตรงคอมีรอบต่อถอดออกจากกันได้ ภายในกลวง อาจใช้บรรจุสิ่งของได้ ด้วยความรู้สึกสนใจอย่างแรงกล้าเช่นนี้ เราอาจชื่นชมศิลปวัตถุที่พบใหม่เหล่านี้เกือบทุกชิ้น และกล่าวขวัญถึงคุณค่าที่มีอยู่โดยไม่หยุดหย่อน เพราะการที่ได้เห็นศิลปวัตถุแต่ละชิ้นนั้น ทำให้เกิดความเพลิดเพลินเจริญใจในความงามเป็นยิ่งนัก กล่าวโดยสรุป การค้นพบใหม่ครั้งนี้ ได้ให้ความแจ่มกระจ่างแก่เรา ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 1. ภาพจิตรกรรมของไทย ซึ่งมีองค์ประกอบเป็นภาพพุทธประวัติและเรื่องชาดกในพุทธศาสนานั้น ได้มีมาแล้วตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 20 (ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15) เหตุนี้อายุของภาพจิตรกรรมไทยประเภทนี้จึงถอยหลังไปจากเวลาที่กำหนดไว้เดิมถึง 130 ปี 2. อิทธิพลของศิลปะสุโขทัยที่มีต่องานประติมากรรมของอยุธยา ซึ่งสมัยนั้นมีลักษณะเป็นแบบอู่ทอง ได้เริ่มมาบ้างแล้วตั้งแต่ระหว่าง พ.ศ.1893-1913 (ค.ศ.1350-1370) อันเป็นเวลาก่อนกำหนดที่ตั้งไว้เดิมประมาณ 150 ปี 3. งานศิลปะประเภทเครื่องประดับตกแต่งที่มีลักษณะเฉพาะของอยุธยา ซึ่งแต่เดิมเชื่อกันว่าเป็นของสมัยหลังต่อมามากนั้น เมื่อได้พิจารณาจากศิลปวัตถุเหล่านั้นถอยหลังไปกว่าเดิมอีกประมาณ 200 ปี :25: :25: :25: :25: ความแตกต่างกันในแบบศิลปะเครื่องประดับบางชิ้น ซึ่งมีลักษณะเป็นพิเศษ บ่งว่าเป็นของรุ่นหลังนั้น ทำให้ข้าพเจ้าคิดเห็นว่า เป็นของที่นำเข้าไปบรรจุไว้ในกรุในระยะหลังจากการสร้างพระปรางค์ แต่ความคิดเห็นนี้ เจ้าหน้าที่ผู้ค้นพบสิ่งของในกรุไม่ลงความเห็นด้วย นอกจากนี้แล้ว ได้รับคำชี้แจงอย่างถูกต้องว่า การที่ใครๆจะนำเอาสมบัติและพระอัฐิของพระมหากษัตริย์พระองค์หนึ่งไปบรรจุไว้ในสถานอันเป็นที่เคารพสักการะของอีกพระองค์หนึ่งนั้น ย่อมเป็นการขัดต่อจารีตประเพณีของไทย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงยังเหลืออยู่ที่ว่า การค้นพบครั้งใหม่นี้ได้ลบล้างและเปลี่ยนแปลงข้อมูลฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยสมัยอยุธยาไปหลายประการ (โปรดติดตามตอนต่อไป) ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558 ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา http://www.matichon.co.th/news/106181 (http://www.matichon.co.th/news/106181) หัวข้อ: Re: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก: เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 12 อ.ศิลป์ปวดใจ ปรางค์ทองถูกคนทำลาย เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ เมษายน 20, 2016, 11:28:05 pm st11
วันก่อน ว่าจะแวะไปเหมือนกัน แต่พลาด ต้องเอาไว้เที่ยวหน้า นอนอยุธะยาอีกซักคืน ดีใหม จะได้เคลีย...แผนที่อยู่ในมือ..อากู๋ อยู่ข้างๆ 3เครื่อง เพาเวอร์แบ้งค์พร้อมใช้งาน ว่าไปเรื่อยเปื่อย.. .......คราวก่อน...พอไปวัดท่าหอย เสร็จ..อารมณ์มันอิ่ม ดับหมดเลย...สถานที่ต่อๆมา..เลยกลายเป็นแค่ รายการแถม ไม่ใช่ไฮไลท์ |