หัวข้อ: ผู้ไท เมืองแถน ในเวียดนาม และความเป็นไทย ยุคอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 22, 2016, 10:16:52 pm (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/04/%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%94%E0%B8%B3-1.jpg) ดร. วีรพงษ์ รามางกูร (ลาวค่อน มอญครึ่ง) เขียนเล่าเรื่องไทดำ เพชรบุรี ในมติชน ฉบับวันพฤหัสบดี 21 เมษายน 2559 หน้า 20 ผู้ไท เมืองแถน ในเวียดนาม และความเป็นไทย ยุคอยุธยา ลาวกับไทย มีบรรพชนสายหลักร่วมกันอยู่เมืองแถน [ปัจจุบันเมืองแถน คือ เมืองเดียนเบียนฟู อยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเวียดนาม ติดพรมแดนลาว] แถน หมายถึง ผีฟ้า ผู้เป็นใหญ่บนฟ้าเหนือเมืองแถนขึ้นไป ต่อมาเรียกรวมว่า ผีฟ้าพญาแถน ทายาทแถนชื่อขุนบรม เป็นใหญ่อยู่นาน้อยอ้อยหนู เมืองแถน ขุนบรม มีลูกชาย 7 คน ให้แยกครัวไปสร้างบ้านแปลงเมือง (หรือส้างบ้านแปงเมือง) อยู่ที่ต่างๆ 7 แห่ง มีที่สำคัญอยู่ในลาวกับไทย เช่น ขุนลอ (ลูกชายคนโต) อยู่เมืองหลวงพระบางล้านช้าง ในลาว (มีลูกชายอื่นๆ อีก แยกสร้างเมืองอยู่ในลาว) ไสผง (ลูกชายคนที่สี่) อยู่เมืองโยนก-ล้านนา ในไทย งั่วอิน (ลูกชายคนที่ห้า) อยู่เมืองอโยธยา-สุพรรณภูมิ ในไทย :96: :96: :96: :96: หลวงพระบาง-ล้านช้าง อยู่ในลาว เรียกตัวเองว่าลาว (ไม่สงสัย) ส่วนโยนก-ล้านนา อยู่ในไทย แต่ยุคเดิมเรียกตัวเองว่าลาว (มีผู้สงสัยมาก ไฉนเป็นลาว?) อโยธยา-สุพรรณภูมิ อยู่ในไทย แต่โยกย้ายมาจากวัฒนธรรมลาว พูดสำเนียงเหน่อลาวหลวงพระบาง ยกย่องแถน (มีหลักฐานในโองการแช่งน้ำ เรียกแถนว่าขุนแผน) วรรณกรรมสำคัญยุคอยุธยา คือ พระรถ เมรี เป็นนิทานบรรพชนลาว, ทำนองขับเสภามาจากลาว ฯลฯ เมืองแถนเป็นหลักแหล่งดั้งเดิมของผู้ไท (มี 3 กลุ่มหลัก คือ ผู้ไทดำ, ผู้ไทขาว, ผู้ไทแดง) คำว่า ผู้ แปลว่า คน, คำว่า ไท แปลว่า คนหรือชาว ชวนให้สงสัยอย่างยิ่งว่า ผู้ไท จะมีส่วนสำคัญเกี่ยวข้องกับคนอยุธยากลุ่มหนึ่ง เรียกตัวเองว่า ไท, คนไท แล้วต่อมาเข้าบาลีเขียนว่า คนไทย ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่มา : มติชนออนไลน์ เผยแพร่ : 21 เม.ย. 59 http://www.matichon.co.th/news/112993 (http://www.matichon.co.th/news/112993) หัวข้อ: Re: ผู้ไท เมืองแถน ในเวียดนาม และความเป็นไทย ยุคอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ เมษายน 23, 2016, 09:31:34 am st11 st12 st12
หัวข้อ: Re: ผู้ไท เมืองแถน ในเวียดนาม และความเป็นไทย ยุคอยุธยา เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ เมษายน 23, 2016, 11:58:58 am ขออนุโมทนาสาธุ
|