หัวข้อ: ประวัติศาสตร์ไทย เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้ ของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิในอาเซียน เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 08, 2016, 08:09:10 am (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/07/%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.jpg) ประวัติศาสตร์ไทย เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้ ของประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิในอาเซียน ประเทศไทยมีประวัติศาสตร์หรือความเป็นมาทั้งของผู้คนและดินแดน เป็นส่วนหนึ่งที่แยกไม่ได้จากประวัติศาสตร์อาเซียนหรืออุษาคเนย์ ซึ่งบริเวณผืนแผ่นดินใหญ่มีชื่อเรียกเก่าแก่มาแต่ยุคดึกดำบรรพ์จนทุกวันนี้ว่า สุวรรณภูมิ ร้อยพ่อพันแม่ อาเซียนอุษาคเนย์อยู่บนเส้นทางการค้าโลกอย่างน้อยตั้งแต่ราว พ.ศ. 1000 โดยมีพื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศไทยเป็นดินแดนคาบสมุทร เสมือนสะพานแผ่นดินเชื่อมโยงโลกตะวันออก (มหาสมุทรแปซิฟิก) กับตะวันตก (มหาสมุทรอินเดีย) ในยุคที่เทคโนโลยีการเดินเรือทะเลสมุทรยังไม่ก้าวหน้ามีผลให้ผู้คน (ยังไม่เรียกไทย) และสังคมวัฒนธรรม (ยังไม่เรียกไทย) ทั้งในไทยและสุวรรณภูมิมีลักษณะหลากหลายร้อยพ่อพันแม่ผสมผสานปะปนอยู่ด้วยกัน ทั้งจากภายในกันเองระหว่างแผ่นดินใหญ่กับหมู่เกาะ และทั้งจากภายนอกที่มาจากตะวันออกและตะวันตก จนไม่มีสิ่งใดยืนยันได้แน่ว่าอะไรเป็นของแท้ๆ ไร้สิ่งเจือปน เริ่มมีคนไทย, เมืองไทย ราวหลัง พ.ศ. 1700 มีการเคลื่อนย้ายและโยกย้ายอพยพครั้งใหญ่ของทรัพยากรและผู้คนจากลุ่มน้ำโขงลงลุ่มน้ำเจ้าพระยา อันเป็นผลจากการขยายตัวของการค้าโลกและการค้าภายในภูมิภาค จึงเริ่มมีคนไทยและเมืองไทยอยู่บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา :32: :32: :32: :32: ยุคมืด, ช่องว่าง แต่ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยไม่ยอมรับความจริงที่กล่าวมาทั้งหมดแล้วมองข้าม หรือทำมองไม่เห็นด้วยอคติทางชาติพันธุ์หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งทำราวกับไทยตั้งอยู่ลอยๆ โดดๆ โดยไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทั้งในภูมิภาคและในโลก ดังนั้น จึงมีสิ่งที่เรียกกันภายหลังว่า ยุคมืด หรือช่องว่างของประวัติศาสตร์ไทย ระหว่าง พ.ศ. 1700-1800 :96: :96: :96: :96: :96: ยุคมืดของอะไร.? ประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย “ฉบับยุคมืด-ช่องว่าง” ที่ใช้ทุกวันนี้ เกิดขึ้นในยุค สมบูรณญาสิทธิราชย์สยามประมาณ พ.ศ. 2436-2475 อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ บอกว่า เป็นประวัติศาสตร์ของราชอาณาจักรลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลาง สร้างด้วยจุดมุ่งหมายเพียงการธำรงอำนาจของกลุ่มชนชั้นนำตามจารีตกลุ่มเล็กๆ ของรัฐราชสมบัติไว้ในรัฐซึ่งได้กลายเป็น “ชาติ” ไปแล้ว จึงมีลักษณะกีดกันคนกลุ่มต่างๆ ออกไปจากความทรงจำร่วมกันของคนในชาติ แล้วทำให้คนส่วนใหญ่ในชาติไม่มีที่ยืนในประวัติศาสตร์ ซ้ำความทรงจำที่สร้างขึ้นในนามของประวัติศาสตร์แห่งชาติ ยังอาจทำลายหรือเหยียดอัตลักษณ์ของคนบางกลุ่มให้ด้อยเกียรติภูมิอีกด้วย [ประวัติศาสตร์แห่งชาติ ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ (สุจิตต์ วงษ์เทศ บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2549 หน้า 22-27] :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: ยุคมืด หรือช่องว่างของประวัติศาสตร์ไทย แท้จริงแล้วไม่ใช่ยุคมืดของประวัติศาสตร์ไทยตามคำของนักค้นคว้าและนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นยุคมืดหรือช่องว่างทางความรู้และความคิดของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์โบราณคดีของไทยบางกลุ่ม เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงมีพระราชกระแสเปิดโบราณคดีสโมสร บอกไว้นานแล้วว่า ประวัติศาสตร์ที่เขียนในสมัยนั้น ไม่รวมประวัติศาสตร์ยุคก่อนอยุธยา ซึ่งมีมายาวนานก่อน พ.ศ. 1893 แต่นักค้นคว้าและนักวิชาการผู้มีอำนาจไม่ทำความเข้าใจใหม่ตามพระราชกระแส โดยไม่ใส่ใจงานค้นคว้าที่สอดคล้องกับพระราชกระแสรัชกาลที่ 5 ของ จิตร ภูมิศักดิ์, อาจารย์มานิต วัลลิโภดม, กับอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ปัญหามีขึ้น เพราะนักวิชาการกลุ่มนี้มีอำนาจทางวัฒนธรรมกำหนดทิศทางประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทยให้เป็นยุคมืด ด้วยเหตุผลอย่างน้อย 2 เรื่อง ก็สว่าง ไม่มืด คือ ans1 ans1 ans1 ans1 1. ตกหลุมดำประวัติศาสตร์แห่งชาติของไทย เกี่ยวกับคนไทย, ชนชาติไทย, เชื้อชาติไทย, วัฒนธรรมไทย, ความเป็นไทย ฯลฯ ว่ามีติดเนื้อติดตัวคนพวกหนึ่งมาแต่ดั้งเดิมดึกดำบรรพ์นับพันๆ ปีมาแล้ว และมีแหล่งกำเนิดอยู่ทางเหนือๆ ขึ้นไปในจีนหรือเหนือจีน เช่น เทือกเขาอัลไต, น่านเจ้า แล้วอพยพถอนรากถอนโดคนลงมาสถาปนาสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรกของไทย ซึ่งล้วนเป็นนิยายเพ้อเจ้อ ไม่จริง 2. มองข้ามอย่างเหยียดๆ ต่อหลักฐานและร่องรอยพื้นเมือง เช่น ตำนาน, นิทาน, ภาษาและวรรณกรรม, นาฏศิลป์และดนตรี, ประเพณี, พิธีกรรม ฯลฯ แล้วยกย่องประวัติศาสตร์ศิลปะแบบอาณานิคมไว้เหนืออย่างอื่น โดยนักวิชาการบางพวกถึงขนาดใช้เป็นเครื่องมือชี้ขาดตัดสินผิดถูก ทั้งๆ เป็นเรื่องอัตวิสัย (คือความเข้าใจ และอารมณ์ของตนเองเป็นหลัก) การใช้ตำนาน, นิทาน มิได้หมายความว่าใช้อย่างโดดๆ เป็นหลักฐานทั้งดุ้น แต่ต้องเลือกสรรเฉพาะที่มีร่องรอยหลักฐานอื่นๆ สนับสนุนด้วยเสมอ เช่น หลักฐานโบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่มา : มติชนออนไลน์ เผยแพร่ : 6 ก.ค. 59 http://www.matichon.co.th/news/202473 (http://www.matichon.co.th/news/202473) |