หัวข้อ: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: มะเดื่อ ที่ ธันวาคม 17, 2010, 10:18:07 am เวลาวิกาล ในหลักพระพุทธศาสนา นับเวลาตั้งแต่เวลาเท่าใด ถึง เท่าใด
:25: หัวข้อ: Re: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 17, 2010, 10:45:58 am ยาม, ยาม- [ยาม, ยามะ-] น.
ชื่อส่วนแห่งวัน ยามหนึ่งมี ๓ ชั่วโมง รวมวันหนึ่งมี ๘ ยาม; ในบาลีแบ่งกลางคืนเป็น ๓ ยาม ยามหนึ่งมี ๔ ชั่วโมง เรียกว่า - ปฐมยาม - มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม; (โหร) ช่วงแห่งวัน เป็นเวลายามละชั่วโมงครึ่ง กลางวันมี ๘ ยาม ตามลำดับคือ สุริยะ ศุกระ พุธะ จันเทา เสารี ครู ภุมมะ สุริยะ กลางคืนมี ๘ ยามตามลำดับคือ รวิ ชีโว ศศิ ศุโกร ภุมโม โสโร พุโธ รวิ; คราว, เวลา, เช่น ยามสุข ยามทุกข์ ยามเช้า ยามกิน; คนเฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์ตามกําหนดเวลา เช่น แขกยาม ไทยยาม คนยาม, เรียกอาการที่อยู่เฝ้าสถานที่หรือระวังเหตุการณ์เช่นนั้นว่า อยู่ยาม หรือ เฝ้ายาม. (ป.). ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ วิกาล, วิกาล- [วิ กาน, วิกานละ-] ว. ในยามค่ำคืนที่ค่อนไปทางดึก เช่น ขโมยเข้าบ้านในยามวิกาล; ผิดเวลา (ใช้แก่การกินอาหารผิดเวลาตามที่พระวินัยกำหนด นับตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น) เช่น กินอาหารในเวลาวิกาล. (ป.). ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ วิกาล ผิดเวลา, ในวิกาลโภชนสิกขาบท (ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล) หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ส่วนในอันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ ในภิกขุนีวิภังค์ (ห้ามภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาวิกาล เอาที่นอนปูลาดนั่งนอนทับโดยไม่บอกกล่าวขออนุญาตเจ้าบ้าน) หมายถึงตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; ในสิงคาลกสูตร ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค สุตตันตปิฎก กล่าวถึงการเที่ยวซอกแซกในเวลาวิกาลว่าเป็นอบายมุขนั้น ก็หมายถึงเวลาค่ำ ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต) หัวข้อ: Re: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: เจมส์บอนด์ ที่ ธันวาคม 17, 2010, 10:56:00 am ในสมัยปัจจุบัน เรื่องเวลา พอกำหนดได้ เพราะเรามีนาฬิกา แต่ สมัยครั้ง พุทธกาลและ
สมัยในครั้งที่ นาฬิกา ไม่มีนั้นพระสงฆ์ กำหนดเวลาวิกาลอย่างไร ครับ :25: หัวข้อ: Re: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 17, 2010, 11:09:30 am ส่วนตัวผมเห็นว่า ถ้าจะเอา "พจนานุกรมพุทธศาสน์" เป็นหลัก จะได้ความหมายของคำว่า "ยามวิกาล" ในกรอบของพระพุทธศาสนาเป็น ๓ นัย คือ หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; หมายถึง ตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงก่อนอรุณวันใหม่; หมายถึง เวลาค่ำ ขึ้นอยู่กับว่า จะเอาข้อธรรมใดเป็นบรรทัดฐาน ส่วนการนับยามในสมัยพุทธกาล จะเิ่ริ่มนับตั้งแต่เวลาไหน อันนี้ไม่ทราบ แต่ขอเดาว่า "น่าจะเริ่มนับตั้งแต่หกโมงเย็นเป็นต้นไป" ปฐมยาม ควรจะเป็น หกโมงเย็น ถึง สี่ทุ่ม มัชฉิมยาม ควรจะเป็น สี่ทุ่ม ถึง ตีสอง ปัจฉิมยาม ควรจะเป็น ตีสอง ถึง หกโมงเช้า "บุญใดที่ข้าพเจ้าพึ่งมีพึ่งได้รับฉันใด ขอให้ทุกท่านพึ่งได้รับฉันนั้น" :25: หัวข้อ: Re: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 17, 2010, 11:21:56 am ในสมัยปัจจุบัน เรื่องเวลา พอกำหนดได้ เพราะเรามีนาฬิกา แต่ สมัยครั้ง พุทธกาลและ ถ้าจะอิงความหมาย ตามข้อธรรมทั้งสามข้อที่กล่าวแล้วนั้น คงจะต้องเดาว่า จะเริ่มนับเวลาต่อเมื่อ - ตะวันตรงศีรษะ - หลังจากตะวันตกดิน - และไม่เห็นแสงตะวัน ขอให้ธรรมคุ้มครอง หัวข้อ: Re: ยามวิกาล นับเวลาตั้งแต่ ตอนไหนครับ เริ่มหัวข้อโดย: เจมส์บอนด์ ที่ ธันวาคม 17, 2010, 11:24:48 am ลุงปุ้ม มาแว๊ว....
อะแฮ่ม ใช้นาฬิกา เถอะ อดีตผ่านไปแล้ว .... วัดพระพม่าแถวบ้าน บอกว่านับวิกาล ตั้งแต่ 3 ทุ่ม ไปจนถึง ตี 4 ครึ่ง ดังนั้น ท่านก็เลยฉันอาหารกันได้ในตอนค่ำ และ ในตอนตี 5 ฉันเช้า เรื่องจริงไม่อิงนิยาย ญาติโยม ก็ไปทำบุญ ยกถาดไปถวายตอนค่ำ ผมจะถ่ายรูปเขาไม่ให้ถ่ายกัน :25: |