หัวข้อ: ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ เริ่มหัวข้อโดย: อัจฉริยะ ที่ ธันวาคม 17, 2010, 11:46:11 am การภาวนา สมถกรรมฐาน นั้นจัดเป็นความเพียร ถ้าเราทำอย่างนี้ ต้องทำบ่อย ๆ ใช่หรือป่าวครับ
แต่ ทำไมเราทำบ่อย ด้วยความเพียร แล้ว จึงไม่ลุ สิ่งที่ตั้งใจทำเสียทีครับ :25: หัวข้อ: Re: ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ เริ่มหัวข้อโดย: แมนแมน ที่ ธันวาคม 17, 2010, 11:48:22 am อะไรเป็นเครื่องวัดในการบรรลุธรรม ครับ
:25: หัวข้อ: Re: ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ เริ่มหัวข้อโดย: Namo ที่ ธันวาคม 17, 2010, 01:22:02 pm อุปจาระฌาน ถึง ฌาน 8 เป็นเครื่องวัดคุณธรรมของสมาธิ อันนี้เป็นพรหม นะจ๊ะ
สังโยชน์ 10 เป็นเครื่องวัดคุณธรรมปัญญา ที่บรรลุเป็นพระอริยะนะจ๊ะ :25: หัวข้อ: ความเพียร "มีลักษณะค้ำจุนไว้" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 18, 2010, 07:26:22 am การภาวนา สมถกรรมฐาน นั้นจัดเป็นความเพียร ถ้าเราทำอย่างนี้ ต้องทำบ่อย ๆ ใช่หรือป่าวครับ มิลินทปัญหา ปัญหาที่ ๑๑ พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า ดูก่อนพระนาคเสน ก็วิริยะ (ความเพียร) มีลักษณะอย่างไร พระนาคเสนทูลตอบว่า ขอถวายพระพร มีลักษณะค้ำจุนไว้ อัน ความดีทั้งหลาย เมื่อได้ความเพียรเข้าค้ำจุนไว้แล้วย่อมไม่เสื่อมทราม ม. เธอจงเปรียบให้ฟัง น. เหมือนบ้านเรือนที่ซวนเซจะล้ม เมื่อเอาไม้เข้าค้ำไว้ก็ล้มไปไม่ได้ ฉันใด ความเพียรก็ฉันนั้น ย่อมคอยค้ำใจที่รวนเรอยู่ให้กล้าบากบั่นต่อ ความยากลำบาก จุนความดีอื่นๆ ให้ทรงตัวอยู่ได้ ดังนัยแห่งพระพุทธภาษิตว่า ผู้มีความเพียรย่อมละความชั่วได้ และทำความดีให้เกิดขึ้นได้ ม. เธอว่านี้ชอบแล้ว ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน หัวข้อ: Re: ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 18, 2010, 07:45:20 am ปธาน ๔ (ความเพียร)
ปธาน ๔ นี้ เรียกอีกอย่างว่า สัมมัปธาน ๔ (ความเพียรชอบ, ความเพียรใหญ่) ๑. สังวรปธาน (เพียรระวังหรือเพียรปิดกั้น คือ เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ) ๒. ปหานปธาน (เพียรละหรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว) ๓. ภาวนาปธาน (เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมี) ๔. อนุรักขนาปธาน (เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่นและให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ ) ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต) อิทธิบาท ๔ คุณเครื่องให้ถึงความสำเร็จ, คุณเครื่องสำเร็จประสงค์, ทางแห่งความสำเร็จมี ๔ คือ ๑) ฉันทะ ความพอใจรักใคร่สิ่งนั้น ๒) วิริยะ ความพยายามทำสิ่งนั้น ๓) จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้น ๔) วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น; จำง่ายๆ ว่า มีใจรัก พากเพียรทำ เอาจิตฝักใฝ่ ใช้ปัญญาสอบสวน ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต) ขอให้คุณอัจฉริยะ พิจารณาข้อธรรม ปธาน ๔ และ อิทธิบาท ๔ ให้เข้าใจ ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมต่างๆนั้น ต้องประกอบด้วยข้อธรรมเหล่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า "ในพระธรรมวินัยนี้มีการศึกษา การกระทำและข้อปฏิบัติโดยลำดับ ไม่ใช่เริ่มต้น ก็ตรัสรู้อรหัตตผล เปรียบเหมือนมหาสมุทรมีความลุ่มลึกโดยลำดับ ไม่ใช่เริ่มต้นก็ลึกเป็นเหว" ขอให้ธรรมคุ้มครอง หัวข้อ: Re: ความเพียร ในพระพุทธศาสนา นั้นวัดอย่างไร ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 18, 2010, 08:03:49 am อะไรเป็นเครื่องวัดในการบรรลุธรรม ครับ หากหมายถึง การเป็นอริยบุคคล ก็ต้องวัดด้วยสังโยขน์ แต่เรื่องนี้ขอให้เข้าใจว่า เป็นเรื่องปัจจัตตัง รู้ก็รู้ด้วยตัวเอง สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ หรือผูกกรรมไว้กับผล) ๑. สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน เช่น เห็นรูป เห็นเวทนา เห็นวิญญาณ เป็นตน เป็นต้น) ๒. วิจิกิจฉา (ความสงสัย, ความลังเล ไม่แน่ใจ ) ๓. สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นศีลพรต โดยสักว่าทำตามๆ กันไปอย่างงมงาย เห็นว่าจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและวัตร) ๔. กามราคะ (ความกำหนัดในกาม, ความติดใจในกามคุณ) ๕. ปฏิฆะ (ความกระทบกระทั่งในใจ, ความหงุดหงิดขัดเคือง) ๖. รูปราคะ (ความติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต, ความปรารถนาในรูปภพ) ๗. อรูปราคะ (ความติใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม, ความปรารถนาในอรูปภพ) ๘. มานะ (ความสำคัญตน คือ ถือตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ๙. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) ๑๐. อวิชชา (ความไม่รู้จริง, ความหลง) ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต) การวัดระดับอริยบุคคล ๑. โสดาบัน (ละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส) ๒. สกทาคามิ (ละสังโยชน์ได้ ๓ ข้อต้น กับทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง) ๓. อนาคามิ (ละสังโยชน์ได้ ๕ ข้อต้น) ๔. อรหัตตมรรค (ละสังโยชน์ได้หมดทั้ง ๑๐). ที่มา พจนานุกรม พุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต) |