หัวข้อ: ไหว้ครูที่ตายไปแล้ว ไม่ไหว้ครูเป็นๆ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 27, 2016, 08:51:58 pm (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%86%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2.jpg) ฝนแล้งนัก ชาวบ้านก็แห่พระพิฆเนศ ผมชอบพระพิฆเนศอยู่แล้วจึงเข้าร่วมกระบวนแห่ด้วย เพราะพระพิฆเนศเป็นกันเองกับชาวบ้านมาก เรียกว่า “เทวดาลูกทุ่ง” เพราะทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยพระพิฆเนศไหว้ครูที่ตายไปแล้ว ไม่ไหว้ครูเป็นๆ เข้าฤดูไหว้ครู ที่มักแสดงตนรักความเป็นไทยอย่างสำเร็จรูป ว่าไหว้ครูเป็นประเพณีไทยมาแต่โบราณกาล หนักข้อก็ลากย้อนถึงยุคสุโขทัย โดยเน้นไหว้ครูที่มีตัวเป็นๆ ทุกวันนี้ ไหว้ครูเก่าสุดยุค ร.4 ไหว้ครูที่ตายไปแล้ว ไม่ไหว้ครูตัวเป็นๆ ซึ่งเพิ่งมีสมัยไม่นานนี้เอง แต่ในอินเดียไม่พบประเพณีไหว้ครูอย่างที่มีในไทย ผมเคยเขียนเกี่ยวกับไหว้ครูไว้นานแล้ว จะยกมาดังต่อไปนี้ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1-768x482.jpg) บริเวณนี้เป็นศูนย์กลางของเทวสถานเมืองจิทัมพรัม เรียกกันว่ากนกสภา และจิตสภา พระอิศวรและพระนารายณ์ประทับอยู่ในสภาเหล่านี้ เมื่อ พ.ศ. 2530 ผมไปบวงสรวงบูชาพระอิศวรที่นี่ แล้วคิดถึงครูโขน/ละคร/ดนตรีไทยทุกท่าน ไปไหว้พระอิศวร ที่อินเดียใต้ ไม่มีไหว้ครู เมื่อ พ.ศ. 2530 คุณไมเคิล ไรท์ นำทางไปเข้าเฝ้าพระอิศวรและ “ศิวนาฏราช” ที่เมืองจิทัมพรัม อินเดียใต้ คุณอรุณ วัชระสวัสดิ์ การ์ตูนิสต์ชวนผมไปด้วย ชาวอินเดียถือว่าเมืองจิทัมพรัมเป็นที่พระอิศวรได้เสด็จลงมาแสดงตำราฟ้อนรำให้มนุษยโลก ต่อมาจึงคิดสร้างเทวรูปพระอิศวรปางเมื่อทรงแสดงการฟ้อนรำ เรียกว่า “นาฏราช” ที่ “โคปุรัม” หรือ “โคปุระ” หรือซุ้มประตูทางเข้าเทวสถานกลางเมืองจิทัมพรัม มีลวดลายเครื่องประดับจำหลักเป็นรูปพระอิศวรทรงฟ้อนรำครบทั้ง 108 ท่า (เรียกกรณะ) ตามที่มีในตำราของพระภรตฤๅษี ในที่สุด ผมก็ไปถึงจิทัมพรัม จึงพากันเข้าไปกระทำพธีบูชาสังเวยพระอิศวร “นาฏราช” ด้วยเครื่องสังเวยถูกต้องตามธรรมเนียมประเพณีชมพูทวีปทุกอย่าง แล้วยังได้ทำบุญคนละ 5 รูปี เพื่อให้ท่านพราหมณ์ทำพิธีอันดีงามตามตำรับแต่โบราณ “คุณสุจิตต์อธิษฐานอะไรตอนที่พราหมณ์ทำพิธีต่อพระพักตร์เทวรูปพระอิศวรในกนกสภา” คุณไมเคิล ไรท์ ถามขึ้นในโรงเตี๊ยมของรัฐที่เมืองจิทัมพรัม “ผมอธิษฐานขอให้พระอิศวรประทานพรเหมือนตอนที่ท่านประทานให้กับพะยาอนันตนาคราช แล้วขอประทานครอบดนตรีและนาฏศิลป์ให้ผมด้วย” ผมตอบอย่างดีที่สุดตอนนั้น [เรื่องและรูป ปรับใหม่จากคำให้การบรรณาธิการ นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 8 ฉบับที่ 12 (ตุลาคม 2530) หน้า 118-121]) (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/108-%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%B2-670x1024.jpg) ภาพจำหลักหินท่ารำ 108 ท่าที่พระอิศวรสอนเอาไว้อยู่ในซุ้มประตูทางที่เดินเข้าจิทัมพรัม (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A12-711x1024.jpg) นี่แหละ เดินเข้าไปทางประตูนี้ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A1-768x530.jpg) พราหมณ์กำลังโหมกูณฑ์บูชาไฟในเทว สถานจิทัมพรัมเพื่อทำพิธีให้กับผู้หญิงที่อยู่ข้างหน้า หล่อนจะแต่งงานใหม่ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%86%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2-768x520.jpg) พระพิฆเนศอยู่ข้างทางตลอดทุกหมู่บ้านในอินเดียภาคใต้ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%86%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%A8%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2-768x488.jpg) ฝนแล้งนัก ชาวบ้านก็แห่พระพิฆเนศ ผมชอบพระพิฆเนศอยู่แล้วจึงเข้าร่วมกระบวนแห่ด้วย เพราะพระพิฆเนศเป็นกันเองกับชาวบ้านมาก เรียกว่า “เทวดาลูกทุ่ง” เพราะทุกหนทุกแห่งเต็มไปด้วยพระพิฆเนศ(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%86%E0%B9%80%E0%B8%93%E0%B8%AA%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%96%E0%B8%99%E0%B8%99-768x563.jpg) นี่ก็ศาลพระพิฆเนศข้างถนน ทำกันง่ายๆ เป็นกันเองกับชาวบ้าน ไหว้ครู ครอบครู นาฏศิลป์และดนตรี ประเพณีพื้นเมืองอาเซียน ไม่มีในอินเดีย ไหว้ครู ครอบครู โขนละครและปี่พาทย์ พบหลักฐานเก่าสุดว่าทำเป็นแบบแผนในราชสำนักสมัย ร.4 กรุงรัตนโกสินทร์ ตกทอดถึงปัจจุบัน แล้วแพร่หลายลงสู่ชุมชนหมู่บ้าน ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์ไม่พบหลักฐาน แต่มีร่องรอยเชื่อได้ว่าไหว้ครู ครอบครู เป็นประเพณีสืบเนื่องจากพิธีเลี้ยงผีของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว ต่อมาเพื่อให้ขลังและศักดิ์สิทธิ์ จึงปรับเปลี่ยนโดยจำลองพิธีถือน้ำพระพัทธ์ (ของพราหมณ์พื้นเมือง) เคลือบพิธีเลี้ยงผีแบบบ้านบ้าน ในอินเดียมีพิธีบูชามหาเทพเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แต่ไม่มีพิธีไหว้ครู ครอบครู แบบเดียวกับไทยปฏิบัติสืบมาทุกวันนี้ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%97-768x426.jpg) ครูมนตรี ตราโมท ประธานพิธีไหว้ครู ครอบครู ดนตรีไทย (ภาพจากหนังสือ ลักษณะไทย 3 ศิลปะการแสดง ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2551 หน้า 26)เลี้ยงผี ที่สิงเครื่องมือทำมาหากิน ไหว้ครู ครอบครู มีความเป็นมาจากพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน ของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว [ผีในที่นี้เป็นผีดี หมายถึงผีบรรพชนทั้งหลาย ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆ นับไม่ได้ แต่รวมพลังเป็นหน่วยเดียวเพื่อคอยปกป้องคุ้มครองชุมชน] (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%99-768x216.jpg) เลี้ยงผี ที่สิงเครื่องมือทำมาหากิน ไหว้ครู ครอบครู มีความเป็นมาจากพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากิน ของคนในชุมชนดั้งเดิมดึกดำบรรพ์ ราว 3,000 ปีมาแล้ว [ผีในที่นี้เป็นผีดี หมายถึงผีบรรพชนทั้งหลาย ซึ่งมีมาตั้งแต่ยุคก่อนๆ นับไม่ได้ แต่รวมพลังเป็นหน่วยเดียวเพื่อคอยปกป้องคุ้มครองชุมชน]คนแต่ก่อนเชื่อว่าผีมีอำนาจเหนือธรรมชาติ บังคับบัญชาได้เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อชุมชน ขณะเดียวกันก็ควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารประจำปีแล้ว จึงร่วมกันทำพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงในเครื่องมือเครื่องใช้ของทุกครัวเรือน โดยยกไปรวมกันกลางลานบ้านที่จะมีพิธีกรรม ตั้งแต่ขนาดใหญ่ เช่น ไถ, คราด ฯลฯ และขนาดไม่ใหญ่ เช่น ครก, สาก, กระบุง, กระด้ง, กระจาด, มีด, พร้า, ขวาน, สิ่ว ฯลฯ คนแต่ก่อนเชื่อว่าผีมีอำนาจเหนือธรรมชาติ บังคับบัญชาได้เพื่อให้มีความอุดมสมบูรณ์ต่อชุมชน ขณะเดียวกันก็ควบคุมเครื่องมือเครื่องใช้ให้มีประสิทธิภาพ ดังนั้น เมื่อถึงช่วงว่างหลังฤดูเก็บเกี่ยวพืชพันธุ์ธัญญาหารประจำปีแล้ว จึงร่วมกันทำพิธีขอขมาเลี้ยงผีที่สิงในเครื่องมือเครื่องใช้ของทุกครัวเรือน โดยยกไปรวมกันกลางลานบ้านที่จะมีพิธีกรรม ตั้งแต่ขนาดใหญ่ เช่น ไถ, คราด ฯลฯ และขนาดไม่ใหญ่ เช่น ครก, สาก, กระบุง, กระด้ง, กระจาด, มีด, พร้า, ขวาน, สิ่ว ฯลฯ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%81.jpg) พิธีกรรมเลี้ยงผีขอขมา พิธีเลี้ยงผีขอขมา มี 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ เลี้ยงผี, เลี้ยงคน, เล่นเสี่ยงทาย เลี้ยงผี คือ จัดเครื่องเซ่นรวมกันบนลานพิธี แล้วขับลำคำคล้องจองร้องเชิญผีให้กินเครื่องเซ่น เลี้ยงคน คือ ถอนเครื่องเซ่นจากผี ไปเลี้ยงคนที่มาในพิธี แล้วกินร่วมกัน เล่นเสี่ยงทาย คือ เชิญผีลงทรง แล้วเข้าทรง มีการละเล่นต่างๆ สุดท้ายมีคำทำนายฤดูกาลข้างหน้า จะมีอุปสรรคขวากหนามใดๆหรือไม่? จะได้เตรียมรับสถานการณ์ [สรุปจากการละเล่นและพิธีกรรมในสังคมไทย โดย ปรานี วงษ์เทศ ในหนังสือวัฒนธรรมพื้นบ้าน : คติความเชื่อ จัดพิมพ์โดย โครงการไทยศึกษา และโครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2528 หน้า 225-324] (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%8701.jpg) เล่นผีนางด้ง หรือผีกระด้ง (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%8702.jpg) เล่นผีลอบผีไซ (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87-614x1024.jpg) เล่นผีข้อง (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9C%E0%B8%B5%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%A1-614x1024.jpg) เล่นผีลิงลม เป็นการละเล่นเข้าทรงผีในเครื่องมือทำมาหากิน ราว พ.ศ. 2543 อ. บ้านลาด จ. เพชรบุรี ไหว้ครู ครอบครู พิธีเลี้ยงผีขอขมา ถูกปรับเปลี่ยนเป็นพิธีไหว้ครู ครอบครู นาฏศิลป์และดนตรีในไทย ครูที่ตายไปแล้วคือผีบรรพชน ได้สิงอยู่ในเครื่องมือเครื่องใช้ เช่น เทริด, หน้ากาก, เครื่องดนตรีต่างๆ ฯลฯ เมื่อใช้ประกอบอาชีพทำมาหากินได้ปีหนึ่ง ต้องมีพิธีเลี้ยงผีขอขมา ที่สมมุติชื่อเรียกใหม่ว่าไหว้ครู ครอบครู เครื่องมือเครื่องใช้ร้องรำทำเพลง (ปัจจุบันเรียกนาฏศิลป์และดนตรี) ล้วนมีผีสิง เพราะคนได้รับถ่ายทอดความรู้สิ่งเหล่านั้นจากผีบรรพชน คือแถน พบร่องรอยคำบอกเล่าอยู่ในพงศาวดารล้านช้าง ว่าแถนหลวงบันดาลให้มี “เครื่องอันจักเล่นจักหัวและเสพลำคำขับ” มีความตอนหนึ่งดังนี้ “เมื่อนั้นพระยาแถนหลวงจึงให้ศรีคันธพะเทวดา ลาลงมาบอกสอนคนทั้งหลายให้เฮ็ดฆ้องกลองกรับ เจแวงปี่พาทย์พิณเพี้ยะเพลงกลอนได้สอนให้ดนตรีทั้งมวล และเล่าบอกส่วนครูอันขับฟ้อนฮ่อนนะสิ่งสว่าง ระเมงละมางทั้งมวลถ้วนแล้ว” ร่องรอยเลี้ยงผีบรรพชนที่เชื่อว่าเป็นครูคนแรกสอนร้องรำ ยังมีเค้ามูลอยู่ในคำกลอนไหว้ครูละครชาตรี กล่าวขอขมาแม่นวนสำลี, แม่สีมาลา :96: :96: :96: :96: พิธีกรรม ผี พราหมณ์ พุทธ ราชสำนักกรุงรัตนโกสินทร์ รับประเพณีเลี้ยงผีขอขมาแบบบ้านบ้าน ไปปรับเปลี่ยนให้ศักดิ์สิทธิ์ขึ้น โดยจำลองอุปกรณ์และขั้นตอนพิธีถือน้ำพระพัทธ์ (ของพราหมณ์พื้นเมือง) เคลือบพิธีเลี้ยงผีแบบบ้านบ้าน แล้วเพิ่มพิธีพุทธ มีสวดมนต์เย็น ฉันเช้า และให้มีเพลงสาธุการเป็นเพลงแรก (สัญลักษณ์บูชาพระรัตนตรัย) เมื่อบรรเลงเพลงหน้าพาทย์ประกอบอ่านโองการ หลักฐานสนับสนุนกรณีนี้มีเก่าสุดสมัย ร.4 คือ สำเนาหมายรับสั่งเรื่องไหว้ครูละครหลวง พ.ศ. 2397 และพระตำราครอบโขนละคร ฉบับหลวง [มีรายการอย่างละเอียดอยู่ในหนังสือ พิธีไหว้ครู ตำราครอบโขนละคอน พร้อมด้วยตำนานและคำกลอนไหว้ครูละคอนชาตรี กรมศิลปากร พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2494 (ดูใน www.sujitwongthes.com (http://www.sujitwongthes.com))] อุปกรณ์ในพิธีถือน้ำพระพัทธ์ที่ถูกปรับใช้ในพิธีไหว้ครู ครอบครู มีหลายรายการ เช่น ตั้งเครื่องบวงสรวงสังเวยบูชา เลือกเฉพาะที่สำคัญ เช่น เชือกบาศ, บายสี, หญ้า แพรก, ใบมะตูม, ขันสาคร (หรือบาตรน้ำมนต์) ฯลฯ เชิญเทวดาโดยตั้งเทวรูปเป็นสัญลักษณ์์เหมือนพิธีอินทราภิเศก (มีในกฎมณเฑียรบาล) อ่านโองการเชิญเทพยดาอารักษ์ฯมาในมณฑลพิธี ด้วยทำนองศักดิ์สิทธิ์ของภาษาร่าย (ที่พราหมณ์ได้จากหมอผีพื้นเมืองดั้งเดิม) พิธีถือน้ำพระพัทธ์ (เดิมเรียกพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา) มีหลักฐานเก่าสุดบนภาพสลักที่ปราสาทนครวัด ในกัมพูชา ราว พ.ศ. 1650 แล้วส่งแบบแผนเข้าสู่ราชสำนักละโว้-อโยธยา และกรุงศรีอยุธยา อยู่ในโองการแช่งน้ำ ราวหลัง พ.ศ. 1800 [มีคำอธิบายอย่างละเอียดในหนังสือภาษาและวรรณคดีในสยามประเทศ ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2546 หน้า 159-249 (ดูบางตอนใน www.sujitwongthes.com (http://www.sujitwongthes.com))] :25: :25: :25: :25: ชุมชนทำเลียนแบบ ไหว้ครู ครอบครู แบบราชสำนัก จำกัดเฉพาะในแวดวงรั้ววังเจ้านายและขุนนางชั้นสูงเท่านั้น ยังไม่แพร่หลายลงสู่ชุมชนชาวบ้านนาฏศิลป์และดนตรี หลังจากนั้นชุมชนบางแห่งค่อยๆเลียนแบบไหว้ครู แต่ยังทำไม่ครบ เพราะถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูง ดังที่คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง เล่าว่าสมัย (ร.5) ครูสินกับครูสอน (หลวงประดิษฐไพเราะ) ทำไหว้ครู ไม่เคยเรียกเพลงหน้าพาทย์ เพราะเป็นของสูง แต่จะเริ่มมีหน้าพาทย์ตั้งแต่แผ่นดิน ร.6 [เอกสารโครงการองค์ความรู้เรื่องพิธีไหว้ครูดนตรีไทย จัดทำโดยกลุ่มดุริยางค์ไทย สำนักการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ. 2522] หลังจากนั้นอีกนานมาก จึงแพร่หลายสู่ชุมชนดนตรีไทยของราชการ และสถาบันการศึกษา แต่จำกัดเฉพาะบางกลุ่มในภาคกลาง ไม่ทำทั่วไปทั้งประเทศ เฉพาะในอีสานยังเลี้ยงผีขอขมาแบบดั้งเดิม st12 st12 st12 st12 ไหว้ครู ไหว้ครู หมายถึงพิธีกรรมที่บรรดาครูมนุษย์ (หรือครูปัจจุบัน) กับเหล่าลูกศิษย์ ร่วมกันแสดงคารวะ ครูผี, เจ้า, เทพ, เทวดา (เช่น พระอีศวร) ผู้เป็นครูในอดีตที่ตายไปแล้ว หรืออีกนัยหนึ่งรวมกันแสดงคารวะหลักการทางนามธรรมอย่างหนึ่ง โดยยกย่องครูอาวุโสคนหนึ่งทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างครูผีกับผู้เข้า ร่วมพิธี ด้วยภาษาร่าย คือคำคล้องจองที่ยกย่องเป็นภาษาพิเศษ :25: :25: :25: :25: ครอบครู ครอบครู หมายถึงเริ่มประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้นั้นๆ เช่น ความรู้ด้านดนตรี, นาฏศิลป์, ฯลฯ ครูผู้ทำพิธีครอบ จะยกศีรษะพ่อแก่ (พระอีศวร) สัญลักษณ์ของครูผี หมายถึง วิชาความรู้ (หรือหลักการทางนามธรรมอย่างหนึ่ง) ครอบลงบนศีรษะของลูกศิษย์หรือผู้เรียนวิชา แสดงว่าเริ่มต้นเรียนวิชาความรู้อย่างสมบูรณ์และมั่นใจแล้ว ครูอ่านโองการในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต้องเข้าทรงเชิญพลังศักดิ์สิทธิ์จากครูผีมาครอบงำ หรือสิงสู่อยู่ในตัวตนครูอ่านโองการเสียก่อน ถึงจะเชื่อมพลังศักดิ์สิทธิ์จากครูผีมาครอบให้ลูกศิษย์ปัจจุบัน การแต่งตัวของครูอ่านโองการในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต่างจากปกติ เช่น โจงกระเบนชุดนุ่งขาวห่มขาว, ฯลฯ เป็นสัญลักษณ์แสดงว่าขณะนั้นถูกสิงด้วยพลังลี้ลับของครูผีอย่างสมบูรณ์แล้ว รำถวายมือ หรือจับมือทำเพลงดนตรี เครื่องมือต่างๆ หมายถึงวิชาความรู้จากครูผีได้ถ่ายทอดสู่ลูกศิษย์แล้ว [สรุปสาระสำคัญจากบทความเรื่องพิธีกรรมไหว้ครู ของ นิธิ เอียวศรีวงศ์ ในศิลปวัฒนธรรม (ปีที่ 6 ฉบับที่ 11) กันยายน 2528 หน้า 22-25] :25: :25: :25: :25: พ่อแก่, อีศวร, ศิวะ พ่อแก่ คือพระอีศวรหรือพระศิวะ ประธานของไศวศาสน์ (กลายคำเป็น ไสยศาสตร์ สืบถึงปัจจุบัน) สุนทรภู่พรรณนาไว้ในหนังสือรำพันพิลาปว่า ขอเดชะพระสยมบรมนาถ เจ้าไกรลาศโลกามหาสถาน ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล ถือพัดตาลตาไฟประลัยกัลป์ นักแสดงละคร, ลิเก เคารพนับถือ พ่อแก่ มักทำศีรษะ พ่อแก่ ไว้บูชาประจำโรงละคร, ลิเก (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%9E%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%99-739x1024.jpg) พ่อแก่และตะโพน สัญลักษณ์ครูเทวดาของร้องรำทำเพลง ดนตรีและนาฏศิลป์ (ภาพจากหนังสือของศูนย์สังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ พ.ศ. 2525) (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%82%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A2-463x1024.jpg) พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างแบบสุโขทัย พบที่ จ. สุโขทัย (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/06/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%98%E0%B8%A2%E0%B8%B2-463x1024.jpg) พระอีศวร สำริด ฝีมือช่างยุคอยุธยา พบที่ จ. กำแพงเพชร เพลงหน้าพาทย์ เพลงหน้าพาทย์ หมายถึงเพลงที่บรรยายกิริยาอาการเคลื่อนที่ไปมาของผี, เจ้า, เทพ, เทวดา หรือของกษัตริย์ ในพิธีไหว้ครู เพลงหน้าพาทย์เป็นสัญลักษณ์ว่าเทวดากำลังเสด็จมาในพิธีไหว้ครู ครอบครู ตระ เป็นภาษาเขมร แปลว่า เพลง (เพลงก็ยืมมาจากคำเขมร) ถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์ ใช้เรียกทำนองหน้าพาทย์ แทนคำว่าเพลง เช่น ตระนารายณ์บรรทมสินธุ์ บรรยายกิริยาอาการของพระนารายณ์ที่บรรทมอยู่เกษียรสมุทร ทรงตื่นบรรทม แล้วทรงครุฑเสด็จมาถึงบริเวณพิธีไหว้ครู ฯลฯ เป็นต้น :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: วงปี่พาทย์ ในพิธีไหว้ครู ครอบครู ต้องมีวงปี่พาทย์บรรเลงเพลงหน้าพาทย์เพื่อเชิญเทวดาและผู้มีฤทธิ์มีอำนาจอื่นๆ มาเป็นสักขีพยาน ปี่พาทย์ หมายถึงเครื่องประโคมอย่างหนัก มีเครื่องตี (คือ ฆ้อง, กลอง) และเครื่องเป่า (คือ ปี่) เป็นหลัก ในเอกสารโบราณเรียก ปี่พาทย์ฆ้องวง เครื่องตี มีฆ้องวง (ใหญ่, เล็ก), กลองทัด (ผู้, เมีย), ระนาด (เอก, ทุ้ม) เป็นเครื่องดนตรีมีขึ้นในสุวรรณภูมิอุษาคเนย์เท่านั้น ไม่มีในอินเดียและจีน ส่วนตะโพนรับจากอินเดีย เครื่องเป่า มีปี่ มีพัฒนาการจากแคนในสุวรรณภูมิอุษาคเนย์ ไม่มีในอินเดียและจีน :25: :25: :25: :25: ยกมือไหว้เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีทุกอย่างเชื่อว่ามีครูผี, ครูเทวดา สิงอยู่ ถือเป็นเครื่องมือศักดิ์สิทธิ์ ฉะนั้น เมื่อจะใช้งาน หรือใช้งานแล้ว ต้องยกมือไหว้เครื่องดนตรีนั้นๆ เพื่อแสดงความนอบน้อมเคารพเครื่องมือทำมาหากินอันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นความเชื่อสืบเนื่องจากผีสิงในเครื่องมือเครื่องใช้ทำมาหากินยุคดึกดำบรรพ์ :96: :96: :96: :96: เคยเชื่อว่าไหว้ครู ครอบครู ได้จากอินเดีย ไม่เคยพบหลักฐานตรงๆ สนับสนุนตามที่เชื่อต่อๆ กันมา ว่าไหว้ครู ครอบครู ได้จากอินเดีย เป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมฮินดูในศาสนาพราหมณ์ มีแต่อ้างตามความเชื่อส่วนบุคคล จะยกเฉพาะที่สำคัญมาดังต่อไปนี้ ตำราพราหมณ์ : ครูมนตรี ตราโมท (ศิลปินแห่งชาติ) บอกไว้ (ตั้งแต่ พ.ศ. 2481) ว่า “พิธีไหว้ครูของเราเอาแบบอินเดียมาใช้ เพราะชื่อเทพเจ้าทุกๆ องค์ตรงตามตำราแห่งศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น” [ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ โดย มนตรี ตราโมท (นามเดิม บุญธรรม ตราโมท) พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2481, สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2540 หน้า 81-82] :96: :96: :96: :96: ห้ามผู้หญิงทำพิธีครอบครู นายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ไม่บอกว่าพิธีไหว้ครูมาจากไหน? แต่บอกว่าผู้ครอบครูต้องเป็นครูผู้ชายเท่านั้น ครูผู้หญิงทำไม่ได้ “พิธีไหว้ครูและตำราครอบโขนละคอน คงเป็นของเก่า มีสืบเนื่องมาแต่โบราณ ซึ่งยังไม่พบหลักฐานให้สามารถทราบได้ว่ามีขึ้นตั้งแต่ครั้งใด แต่สังเกตเห็นเรียกหัวโขนเป็น ‘หน้าโขน’ บางทีจะมีมาตั้งแต่หัวโขนยังทำเพียงหน้ากากปิดข้างหน้า เช่น หน้ากากพรานของละคอนชาตรี— มิใช่ทำเป็นหัวสวมใส่ลงไปทั้งศีรษะ เช่น หัวโขนของเราในตอนหลังนี้” [พิธีไหว้ครู ตำราครอบโขนละคอน พร้อมด้วยตำนานและคำกลอนไหว้ครูละคอนชาตรี กรมศิลปากร (พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2494) พิมพ์ครั้งที่สาม พ.ศ. 2503 หน้า 78] “ครูศิลปินผู้หญิงนั้น แม้จะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิก็เป็นแต่ผู้นำทำพิธีไหว้ครู จะเป็นผู้ครอบครูหาได้ไม่ เพราะถือกันว่า “ครอบไม่ขึ้น” และเชื่อกันว่าถ้าครูผู้หญิงทำพิธีครอบ จะมีอันเป็นไปในทางข้างร้าย ไม่ตัวครูเองก็ศิษย์จะได้รับสิ่งร้าย หรือด้วยกันทั้งสองฝ่าย” [โขน โดย ธนิต อยู่โพธิ์ คุรุสภา พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2508 หน้า 247] :sign0144: :sign0144: :sign0144: พิธีฮินดู ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ) บอกว่า พิธีไหว้ครูและครอบโขนละคร “แต่ก่อนเป็นพิธีของศาสนาฮินดูโดยแท้”, “หนักไปในทางไสยศาสตร์หรือศาสนาฮินดู” แต่ “พิธีสงฆ์ที่มีเข้ามาอยู่ด้วยนั้น คงจะได้เริ่มมีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4” [ลักษณะไทย 3 ศิลปะการแสดง ธนาคารกรุงเทพ พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ. 2551 หน้า 59] ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ ที่มา : มติชนออนไลน์ เผยแพร่ : 27 มิ.ย. 59 http://www.matichon.co.th/news/191404 (http://www.matichon.co.th/news/191404) |