สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 09:50:48 am



หัวข้อ: การฝึกกสิณ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 09:50:48 am
การฝึกกสิณ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ

แม่บทเรื่องกสิณ ในมูลกรรมฐาน กัจจายนะ

อตฺถสฺส ปตฺติ หทยสฺส สนฺติ
เชตฺวาน เสนํ ปิยสาตรูปํ
เอโกห ฌายี สุขมานุโพธึ
ตสฺมา ชเนน น กโรมิ สกฺขึ
สกฺขี น สมฺปชฺชติ เกนจิ เมติ ฯ


( การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชำนะ
เสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็น
ผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เรา
จึงไม่ทำความเป็นเพื่อนกับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วย
ใครๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา ดังนี้ )


เป็นคาถา ดำรัสของพระพุทธเจ้า ที่นางกาลี นำไปถาม ท่านพระมหากัจจายนะ เป็นบทเริ่มในการจำแนก เรื่อง กสิณ 10 ของท่านพระมหากัจจายนะ

ข้อความนี้ตรงกับพระไตรปิฏก พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๔
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต

มาตอบคำถาม ข้อแนะนำเรื่องการฝึกกสิณ แบบฉบับ ธัมมะวังโส ต้องขอบอกว่า การฝึกกสิณ จุดประสงค์ของกสิณ นั้นก็คือ อัปปนาจิต และ อิทธิจิต โดยตรงไม่ได้เกี่ยวกับการวิปัสสนา ดังนั้นท่านทั้งหลาย เวลาพูดเรื่อง กสิณ ไม่ต้องมาพูดเรื่อง วิปัสสนาสอดแทรกเข้ามาให้มันยุ่ง ทำให้คนฝึก เขว บางคนสอนซะผสมกัน จนไม่รู้ว่า ฝึกกสิณ หรือ ฝึกวิปัสสนา

    สำหรับมูลกรรมฐาน กัจจายนะ การฝึกกสิณ ก็คือ การเจริญอัปปนาจิต แต่มีข้อแตกต่างจาก กลุ่มที่ฝึกแบบเดียวกัน อยู่ตรงที่ว่า ผู้เจริญกสิณ นั้นสามารถฝึกโดด ๆ กองเดียวได้ แต่ต้องให้ผ่าน พุทธานุสสติ จะเห็นได้ว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นจะเห็นแนวปฏิบัติได้ จาก คำปริยายขึ้นธรรม จะเห็นว่า คำปริยายขึ้นธรรม ทุกบท ทุกตอน จะต้อง สัมปยุตธรรม ด้วย พระพุทธคุณ 9 บท ก่อนฝึกกรรมฐานอื่น ๆ เพราะว่าผู้ฝึก จะต้องรักษา สัมมาทิฏฐิ ไว้ไม่ให้ถูกครอบงำ ด้วยอุปกิเลส ต่าง ๆ เพราะความหลงระเริง กับอำนาจสมาธิ ที่เป็นอัปปนาอันทำให้ได้ อิทธิจิต อิทธิเจโต อิทธิฤทธิ์ ได้ เพราะของเหล่านี้เมื่อได้แล้ว ใจที่ลิงโลด ย่อมนำมาซึ่งความเสื่อม และ การก่ออกุศล ในทางผิด และถูกครอบงำด้วย มิจฉาสมาธิ


    ดังนั้นวันนี้ ก็จะได้มาแนะนำการฝึก กสิณ ให้กับท่านที่สอบถามกันมา เพราะตัวฉันเอง ก็เคยฝึกกสิณ มาแล้วเช่นกัน
การฝึกกสิณ มีหัวใจสำคัญ สำคัญ ดังนี้
1. ธาตุกสิณ ต้องเป็นของจริง
2. ต้องมีจักษุ ในการมองของจริงด้วย
3. ต้องปรุงแต่งสัญญา ตามของจริง สองประการ คือ ลักษณะ และ รัศมี
4. ไม่มีการกำหนดท่วงท่า ในการเพ่งกสิณ
5. การฝึกกสิณ ที่ดี ต้องใช้กสิณ ที่เป็นธรรมชาติ คือ สะอาด เพราะถ้าใช้กสิณ ที่ไม่เป็นธรรมชาติ จะเป็น กสิณเศร้าหมอง ทำให้ไม่เกิดปฏิภาคนิมิตร
6. ในกสิณไม่มี ปฏิกูลนิมิตร ถ้ามีฝึกผิดทาง
7. ต้องรู้เวลาการฝึก กสิณ กสิณแต่ละอย่าง มีเวลาการฝึก บางชนิดฝึกกลางคืน บางชนิดฝึกกลางวัน บางชนิดฝึกตอนอากาศเย็น บางชนิดฝึกตอนฤดูฝน เขาเรียกว่า กาลแห่งการฝึกกสิณ
8. เขตนิมิตร กสิณ ต้องเป็นทรงกลมในตอนต้น สำหรับ อุคคหนิมิตร
9. ต้องรู้ทิศ ของ ดวงกสิณ ด้วย
10. ต้องจำแนกว่า กสิณนั้น เป็น รูป หรือ อรูป ด้วย
11. การเลิกใช้ดวงกสิณ
12. การเจริญ อุคคหนิมิตรกสิณ
13. การเจริญ ปฏิภาคนิมิตรกสิณ
14. การเข้าสมาบัติ ด้วยดวงกสิณนิมิตร
15. การใช้ลหุสัญญา สุขสัญญา ใน ปัญจมฌาน เพื่อ ญาณ 9
16. การเข้า อรูปกรรมฐาน ด้วย กสิณ อากาส อาโลก วาโย
17. การเจริญ วิปัสสนา ต่อจาก ฌาน 4
18. การเจริญ วิปัสสนา ต่อจาก อรูปกรรมฐาน กสิณ 3 อย่าง
19. การเดินจงกรมธาตุ เข้าร่วมกับ กสิณ 5 ธาตุ



  (http://www.madchima.net/images2559/pansa59/kasin-01.jpg)
 


หัวข้อ: ประเภท ของ กสิณ และ การเลือก กองกสิณ ให้ได้ผลเร็วที่สุด
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 10:32:48 am
ประเภท ของ กสิณ และ การเลือก กองกสิณ ให้ได้ผลเร็วที่สุด

   (  ยังไม่ขยันพิมพ์ รอก่อน )

ธาตุกสิณต้องเป็นของจริง

  ธาตุกสิณ ย่อมหมายถึงสิ่งที่ ตา สัมผัสได้ ใจสัมผัสรู้  ( ตานอก และ ตาใน )

 กสิณแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

   กสิณธาตุตรง มี สี่ ธาตุ

      1. ปฐวีกสิณ   2. เตโชกสิณ  3. อาโปกสิณ  4. วาโยกสิณ

  ( ตัวกสิณ ธาตุ ต้องอาศัย ปฐวีกสิณเป็นหลัก )

     ธาตุ กสิณ มี สองอย่าง ธาตุที่มีรูป เรียกว่า รูปกสิณ ธาตุที่ไม่มี รูป เรียกว่า อรูปกสิณ
    รูปกสิณ มี สามอย่าง เพราะว่าเห็นได้ด้วย ตานอก สัมผัสได้ ด้วยตาใน
    คือ ปฐวี เตโช และ อาโป

    อรูปกสิณ มี 1 ธาตุ คือ วาโยกสิณ

   กสิณธาตุ สี แตกตัวมาจาก ปฐวี ธาตุ อาศัย สี ( วรรณะ ) เป็น องค์นิมิตรบริกรรม
   1. โอทาตกสิณ  สีขาว
   2. นีลกสิณ  สีเขียว
   3. โลหิตกสิณ สีแดง
   3.  ปีตกสิณ  สีเหลือง

   ( กสิณ มีสองอย่าง คือ กสิณที่กลืนกัน กับ กสิณ ที่ตัดกัน )

   สีขาว กลืน กับสีเหลือง   สีขาว ตัดกับ สีแดง ตัดกับ สีเขียว  เป็นต้น สอบเทียบ กับแม่สี ในปัจจุบัน เพราะว่า ถ้าดวง กสิณ กลืน กับ พื้น กสิณ โอกาสจะได้ดวงนิมิตร ยากมากเพราะดวงกสิณกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป ย่อมไม่ดี

  กสิณชนิดสุดท้าย คือ อรูปกสิณตรง
   1. อากาสกสิณ  อันนี้เป็นกสิณช่องว่าง ลักษณะช่องว่าง
   2. อาโลกกสิณ  กสิณที่อาศัยแสงสว่าง
   ( และ 3 วาโยกสิณ )
  กสิณอรูปนั้น ต้อง อาศัย ปฐวีกสิณ เป็นตัวจัดดวงกสิณ ถ้าไมีมีดวงกสิณก็จะยาก


หัวข้อ: กสิณ ที่หาง่าย แต่ฝึกได้ยาก ไม่ควรฝึกก่อน แนะนำวิธีฝึก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 10:34:11 am
กสิณ ที่หาง่าย แต่ฝึกได้ยาก ไม่ควรฝึกก่อน แนะนำวิธีฝึก


  ( เปิดหัวข้อไว้ก่อน ยังไม่ขยันพิมพ์ )



หัวข้อ: ขั้นตอนการเตรียมกสิณ แบบต่าง และ วิธีการภาวนา กสิณ นั้น ๆ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 10:35:24 am
ขั้นตอนการเตรียมกสิณ แบบต่าง และ วิธีการภาวนา กสิณ นั้น ๆ

  ( เปิดหัวข้อไว้ก่อน ยังไม่ขยันพิมพ์ )


หัวข้อ: กสิณ เป็นกรรมฐาน ฝึกโดด ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนหลัง อานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 10:36:32 am
กสิณ เป็นกรรมฐาน ฝึกโดด ๆ ได้ ไม่จำเป็นต้องเรียนหลัง อานาปานสติ

  ( เปิดหัวข้อไว้ก่อน ยังไม่ขยันพิมพ์ )


หัวข้อ: ความเข้าใจผิด ของ บุคคลที่จะฝึก กสิณ หลัง อานาปานสติ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 10:41:30 am
ความเข้าใจผิด ของ บุคคลที่จะฝึก กสิณ หลัง อานาปานสติ

  อันนี้มีความสำคัญ เพราะหลายคนไปเข้าใจผิดว่า ถ้าจะเรียนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แล้ว ต้องฝึกต่อจากอานาปานสติ

  อันที่จริงแล้วเข้าใจผิด เพราะถ้าฝึกอานาปานสติ สำเร็จแล้ว กรรมฐาน จะไม่มีการเรียน เพราะอะไร เพราะได้วิมุตติ แล้วจะไม่เรียนกรรมฐานอื่น ๆ อีก ดังนั้น พระอรหันต์ สุกขวิปัสสก เมื่อสำเร้จ จะมาเรียน อัปปนาจิต เพื่อเป็น เจโตวิมุตติ นั้นมันทำไม่ได้ เพราะจิตละแล้ว ซึ่งกิเลส จิตละกิเลส อะไร ๆ ก้ไม่เอาแล้วนั่นเอง

  อานาปานสติ ขั้นที่ 16 คือ พระอรหัตตมรรค หรือ พระอนาคามีผล ดังนั้นถ้ามาถึงตรงนี้ จริง ๆ ที่ว่าต่อไม่มีไม่จำเป็นต้องไปเรียน อะไร ๆ เป็นห้อง ๆ อีก แต่ที่ไปเรียนต่อกันนั้น แสดงว่าไม่สำเร็จธรรม ทำได้อย่างฉาบฉวยในกองกรรมฐาน อานาปานสติ


   ( รายละเอียดชี้แจงมีมากกว่า มีแม่บท ด้วย แต่ตอนนี้ไม่ขยันพิมพ์ )
    ;)


หัวข้อ: Re: การฝึกกสิณ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 01, 2016, 11:26:02 am

   ขออนุโมทนาสาธุ ครับ


หัวข้อ: ความเข้าใจผิด ของการฝึก กสิณ ที่ปรากกฏในออนไลน์ ทำให้เข้าใจผิดมากขึ้น
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 01, 2016, 11:51:46 am
ความเข้าใจผิด ของการฝึก กสิณ ที่ปรากกฏในออนไลน์ ทำให้เข้าใจผิดมากขึ้น

  ( เปิดหัวข้อไว้ก่อน ยังไม่ขยันพิมพ์ )


หัวข้อ: Re: การฝึกกสิณ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 01, 2016, 03:51:26 pm
ต้องหาเทียนแท่งใหญ่ๆ


หัวข้อ: ธาตุกสิณต้องเป็นของจริง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 06, 2016, 12:10:18 pm
ธาตุกสิณต้องเป็นของจริง

  ธาตุกสิณ ย่อมหมายถึงสิ่งที่ ตา สัมผัสได้ ใจสัมผัสรู้  ( ตานอก และ ตาใน )

 กสิณแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

   กสิณธาตุตรง มี สี่ ธาตุ

      1. ปฐวีกสิณ   2. เตโชกสิณ  3. อาโปกสิณ  4. วาโยกสิณ

  ( ตัวกสิณ ธาตุ ต้องอาศัย ปฐวีกสิณเป็นหลัก )

     ธาตุ กสิณ มี สองอย่าง ธาตุที่มีรูป เรียกว่า รูปกสิณ ธาตุที่ไม่มี รูป เรียกว่า อรูปกสิณ
    รูปกสิณ มี สามอย่าง เพราะว่าเห็นได้ด้วย ตานอก สัมผัสได้ ด้วยตาใน
    คือ ปฐวี เตโช และ อาโป

    อรูปกสิณ มี 1 ธาตุ คือ วาโยกสิณ

   กสิณธาตุ สี แตกตัวมาจาก ปฐวี ธาตุ อาศัย สี ( วรรณะ ) เป็น องค์นิมิตรบริกรรม
   1. โอทาตกสิณ  สีขาว
   2. นีลกสิณ  สีเขียว
   3. โลหิตกสิณ สีแดง
   3.  ปีตกสิณ  สีเหลือง

   ( กสิณ มีสองอย่าง คือ กสิณที่กลืนกัน กับ กสิณ ที่ตัดกัน )

   สีขาว กลืน กับสีเหลือง   สีขาว ตัดกับ สีแดง ตัดกับ สีเขียว  เป็นต้น สอบเทียบ กับแม่สี ในปัจจุบัน เพราะว่า ถ้าดวง กสิณ กลืน กับ พื้น กสิณ โอกาสจะได้ดวงนิมิตร ยากมากเพราะดวงกสิณกว้างเกินไป หรือแคบเกินไป ย่อมไม่ดี

  กสิณชนิดสุดท้าย คือ อรูปกสิณตรง
   1. อากาสกสิณ  อันนี้เป็นกสิณช่องว่าง ลักษณะช่องว่าง
   2. อาโลกกสิณ  กสิณที่อาศัยแสงสว่าง
   ( และ 3 วาโยกสิณ )
  กสิณอรูปนั้น ต้อง อาศัย ปฐวีกสิณ เป็นตัวจัดดวงกสิณ ถ้าไมีมีดวงกสิณก็จะยาก

     ;)
 
 
   
   
   


หัวข้อ: Re: การฝึกกสิณ มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ สิงหาคม 08, 2016, 08:38:06 pm

         อ่านไปรอบก็ต้องรู้ว่าตอนนี้คงยังไม่มีดวง ไม่มีรูปธาตุ


                     ก็ต้องรอขอให้ได้ปฐวีกสินก่อน อาโลกสิน อากาสกสิน นะ


             สงสัยจะต้องทำอารมณ์ให้เป็นรูป



         เพราะตายังสัมผัสไม่ได้ เพราะรูปมันไม่มี เพราะไม่เห็น


           ก็ต้องคลำ ควาน ปั้น ขีด ไปตามความชอบก่อน


            ลองตามจริตเรา และเอียงหูฟังครูไว้


           เพราะครูผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชชานั้นรู้จริต จะได้ไม่เสียเวลา


             พระพุทธเจ้าท่านเปลี่ยนกรรมฐานให้พระจูลบันดก ไม่นานจึงบรรลุ

           นี่คือตัวอย่าง


            เพราะฉนั้น ครูกัลยาณมิตร เป็นสิ่งแรกที่ต้องพิจราณา ถ้าอยาดสำเร็จในธรรมที่ท่านต้องการ