หัวข้อ: อย่างฮา! “โคราชถาม สุจิตต์ตอบ” ย้อนอ่านบทสนทนาสุดมันส์ในงาน “โคราชมาจากไหน ?” เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 29, 2016, 10:27:34 am (http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/08/14404808881440481107l-1.jpg) อย่างฮา! “โคราชถาม สุจิตต์ตอบ” ย้อนอ่านบทสนทนาสุดมันส์ในงาน “โคราชมาจากไหน ?” (คลิป) ย้อนเวลากลับไปเมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว ดินแดนที่ราบสูงโคราช ป่าวประกาศถึงงานใหญ่ คือ การเปิดตัวหนังสืออันบ่งบอกความเป็นมาของชาวนครราชสีมา ซึ่งมีประวัติศาสตร์อันยาวนานนับพันปี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สถานที่จัดงานในครั้งนั้น มีนักศึกษาและประชาชนเนืองแน่น ทยอยมาลงทะเบียนรับหนังสือ “โคราชของเรา” ผลงานของ สุจิตต์ วงษ์เทศ เสร็จแล้วก็รีบจับจองที่นั่ง เต็มแน่นห้องประชุมตั้งแต่ก่อนที่คณะผู้จัดงานจะตระเตรียมที่ทางแล้วเสร็จ บุคคลสำคัญในวันนั้นได้แก่ สุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรองนายกรัฐมนตรี, พล.ท.หญิง พูนภิรมย์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน, วินัย วิทยานุกูล รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา, พล.ท.ธวัช สุกปลั่ง แม่ทัพภาคที่ 2, พล.ท.มารุต ลิ้มเจริญ ที่ปรึกษาพิเศษ กองทัพภาคที่ 2, พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2, สุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลนครนครราชสีมา เป็นต้น งานนี้ ขรรค์ชัย บุนปาน ประธานกรรมการ บริษัท มติชน จำกัด (มหาชน) พร้อมทีมงานจากสำนักพิมพ์มติชนให้การต้อนรับ :96: :96: :96: :96: “ไม่คิดว่าคนจะเยอะขนาดนี้” เสียงสะท้อนจากหนึ่งคณะทำงานเปิดตัวหนังสือ “โคราชของเรา” และ “คุณาลัย ปริสุทฺโธ อาลัยหลวงพ่อคูณผู้บริสุทธิ์” เล่มแรกนั้นมีการพูดคุยถึงในช่วงเช้า ขณะที่เล่มหลังเริ่มงานตอนบ่าย ตรงไฮไลต์งานเช้านั้นสำคัญ เพราะแรกเดิมจะมีการปาฐกถาจากสุจิตต์ หากแต่เมื่อพิจารณาเห็นคนมาร่วมงานเยอะแล้ว เจ้าตัวจึงเปลี่ยนเป็นการอยากฟังเสียงสะท้อนจากผู้ร่วมงาน จึงเชิญชวนเขียนคำถามหรือข้อสงสัยต่างๆ ฝากมาแทนแล้วจะตอบให้ ask1 ans1 ask1 ans1 และนี่คือส่วนหนึ่งเมื่อชาวโคราชถาม และสุจิตต์ตอบ งานแบ่งปันความรู้สู่สาธารณะที่สนุกมากแห่งยุคสมัย คนโคราชเป็นคนไทยหรือคนลาว.? ไม่ทราบครับ แต่คนโคราชประกอบไปด้วยอย่างน้อย 2 กลุ่มใหญ่ คือ หนึ่ง กลุ่มพื้นเมืองดั้งเดิม ซึ่งนับถือหมาเป็นบรรพชนบรรพบุรุษ รูปหมาที่อยู่แถวถ้ำเขาจันทร์งามที่สีคิ้ว ผมคิดว่าเป็นหมาที่สวยที่สุด มีอวัยวะเพศตัวผู้เบ้อเร่อเลย สวยงามมาก คลาสสิกที่สุด คนที่เชื่อว่าหมาเป็นบรรพชนของตนเองมีเกือบครึ่งโลกหรือมากกว่าครึ่งโลก เมื่อประมาณ 3,000 ปีที่แล้ว บริเวณเขาจันทร์งาม อ.สีคิ้ว เปรียบเสมือนโบสถ์ วิหาร สำหรับทำพิธีกรรม หมายังเป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่นำข้าวจากฟ้ามาให้มนุษย์ปลูกกิน ที่มณฑลกวางสีมีภาพเขียนสีหมามหึมาเกือบเท่าภูเขาทอง เพราะเขาถือว่าหมาเป็นผู้นำพันธุ์ข้าวมาให้ เลยจะต้องบูชายัญหมา ส่วนคนโคราชอีกกลุ่มคือคนที่เคลื่อนย้ายขึ้นมาจากอยุธยา เนื่องจากพระเจ้าแผ่นดินอยุธยามายึดครองลุ่มน้ำมูลแล้วก็เลยเคลื่อนย้ายกลุ่มคนจากลุ่มน้ำเจ้าพระยามาเป็นนครราชสีมาในปัจจุบันเพราะฉะนั้นภาษาพูดจึงไม่เหมือนกับคนพื้นเมืองที่พูดภาษาตระกูลมอญ-เขมร สำเนียงพูดโคราชคือสำเนียงเหน่อ เป็นสำเนียงหลวงอยุธยา สำเนียงโคราชทุกวันนี้ที่เขาเรียกว่าไตโคราช เพราะฉะนั้น จึงเป็นตระกูลเดียวกับเพลงฉ่อยภาคกลาง :sign0144: :sign0144: :sign0144: :sign0144: โครงกระดูกที่อยู่ตามหลุมฝังศพบ้านปราสาท หรือในหนังสือโคราชของเรา สงสัยว่าเป็นคนไทยรึเปล่า.? ไม่ใช่ครับ เป็นคนเฉยๆ (เสียงหัวเราะดังกระหึ่มห้องประชุม) มันยังไม่มีชาติ ยังเป็นคนอยู่ เรื่องถนนโบราณจากเมืองพระนครมาสู่เมืองพิมายมีจริงไหม.? จริงไม่จริงไม่รู้ ผมก็ไม่เคยไปเดิน แต่เขาลือกันว่ามีเป็นท่อนๆ เป็นระยะๆ ถนนจะเป็นถนนจริงรึเปล่าก็ไม่ทราบอีกเหมือนกัน เพราะยุคนั้นไม่มีความจำเป็นที่ต้องไปตัดถนน แต่มันก็จำเป็นต้องมีการทำทำนบเบี่ยงการไหลบ่าของน้ำ ที่เราบอกว่าถนนโน่นถนนนี่ ถนนอู่ทอง อะไรเต็มไปหมด ในประเทศไทยล้วนแล้วแต่เป็นทำนบกั้นน้ำ เบี่ยงเบนน้ำไปที่อื่น กันเวลาน้ำป่าเข้ามา เดี๋ยวมันก็ท่วมบ้านท่วมเมืองตายกันหมด รัฐศรีจนาศะมีความสำคัญอย่างไร อยากให้อธิบาย.? รัฐศรีจนาศะ คือ เมืองเสมาในสมัยก่อน อยู่ที่ อ.สูงเนิน คำว่าเมืองเสมาเป็นภาษาปากชาวบ้าน เพราะไปพบธรรมจักรเสมาวางอยู่ แล้วไม่รู้ว่านี่มันเมืองอะไร เขาเรียกว่าเมืองเสมา แต่ในเมืองนั้นชื่อจริงว่าอะไร มีศิลาจารึกชื่อว่ารัฐศรีจนาศะ คำว่ารัฐนี่ผมพูดเอง แต่ในศิลาจารึกบอกว่าชื่อศรีจนาศะ เป็นรัฐที่มีศูนย์กลางอยู่ที่ อ.สูงเนินปัจจุบัน เป็นรัฐฝ่ายพุทธทางทวารวดี รับทวารวดีขึ้นมาจากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ผ่านเมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์ทุกวันนี้ ผ่านเมืองซับจำปา จ.ลพบุรีทุกวันนี้ ผ่านลุ่มแม่น้ำป่าสัก :91: :91: :91: :91: สิ่งที่ประวัติศาสตร์ไทยทำความเข้าใจผิดก็คือว่า มีอยู่ประมาณสักปี 2520 กว่าๆ กระทรวงศึกษาธิการบอกว่า โคราชกับลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาคนละส่วนกัน ไม่มีการติดต่อกัน ไม่เกี่ยวข้องกัน ผมเขียนบทความตำหนิกระทรวงว่า ต้องการให้อีสานแยกดินแดนใช่มั้ย เจ้าของทฤษฎีแนวคิดที่แต่งตำรานี้ขอนัดพบผม ผมก็ไปพบ และเขาก็ขอร้องให้ผมหยุดเขียนได้มั้ย ผมบอกได้ แต่คุณต้องยกเลิกตำราออกจากกระทรวงก่อน แต่ถ้าไม่ยกเลิกตรงนี้ ผมจะเขียนด่าจนตาย เขาถามว่าทำไม ผมบอกว่า คุณรู้รึเปล่าว่า ที่ราบสูงกับที่ราบลุ่มไปมาติดต่อกัน 3,000ปีที่แล้ว ตั้งแต่พระพุทธเจ้ายังไม่เกิด มันติดต่อกันแล้ว หลักฐานโบราณคดีขุดพบเต็มไปหมดเลย ตั้งแต่ลุ่มแม่น้ำมูล ลงไปสู่แม่น้ำป่าสัก เต็มไปหมด มันมีการติดต่อกันตลอด คนที่ราบสูงกับที่ราบลุ่มเป็นพวกเดียวกัน เป็นเผ่าเดียวกัน วัฒนธรรมร่วมกัน ผมอธิบายไว้แล้วในหนังสือ ศิลาจารึกเขาบอกชัดเจนพบพนมรุ้งและพิมาย บริเวณพิมายลุ่มแม่น้ำมูลทั้งหมดเป็นบ้านเกิดบรรพชนกษัตริย์เขมรที่สร้างนครวัด-นครธม เขาเรียกว่าราชวงศ์มหิธรปุระ ฉะนั้น ไม่ต้องประหลาดใจที่พบปราสาทหินเต็มไปหมดในภาคอีสาน เขาเป็นเครือญาติกันครับ และโดยเฉพาะวงศ์กษัตริย์เขาเป็นญาติกัน เพียงแต่ว่าประวัติศาสตร์ไทยต้องการความเป็นไทยร้อยเปอร์เซ็นต์ :49: :49: :49: :49: เห็นมีอยู่บทหนึ่งในหนังสือโคราชของเราที่คุณสุจิตต์ได้เขียนถึงสุวรรณภูมิ อยากทราบว่าอยู่ที่ไหน.? เขาลือกันว่าอยู่ที่สุพรรณฯ สุพรรณภูมิมีชื่ออยู่ในศิลาจารึก สุพรรณบุรีสืบชื่อมาจากสุพรรณภูมิ สุพรรณภูมิกับสุวรรณภูมิชื่อเดียวกัน พ.พาน แผลงเป็น ว.แหวน, ว.แหวน แผลงเป็น พ.พาน ได้ เพียงแต่ว่าสุพรรณภูมิไม่ใช่ชื่ออาณาจักร ไม่ใช่ชื่อรัฐ เป็นชื่อดินแดน ดินแดนผืนแผ่นดินใหญ่ของ South East Asia คือ บริเวณที่เป็นประเทศไทยทุกวันนี้ ติดประเทศเพื่อนบ้านประมาณ 5 ประเทศนี้ เป็นดินแดนสุวรรณภูมิ ปัญหาอยู่ที่ว่าแล้วศูนย์กลางมันอยู่ที่ไหน เราหาไม่พบ แต่บริเวณเก่าที่สุดตั้งแต่พม่าจนถึงไทย ลาว เวียดนาม พบเก่าสุดอยู่ตรงเมืองอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ที่คุณขรรค์ชัย บุนปาน ได้ไปบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นทุกวันนี้ และเก่าแก่สุดอยู่บริเวณนี้ แต่ศูนย์กลางหรือเปล่า ไม่ทราบ เพราะแล้วแต่การค้าทางทะเลจะไปตรงไหน เนื่องจากประวัติศาสตร์ไทยไม่มีการค้า มีแต่สงคราม จึงทำให้เข้าใจคลาดเคลื่อนว่าอยู่โดดๆ ซึ่งไม่จริง มีการติดต่อการค้าตลอด เช่นเดียวกับพิมายที่โคราช ไม่ใช่คิดว่าตรงนี้สวยดีแล้วไปสร้าง มันอยู่ตรงขอบทุ่งกุลาร้องไห้ทางทิศใต้ ทุ่งกุลาเป็นแหล่งทรัพยากรสำคัญคือ เกลือและเหล็ก เมื่อประมาณ 2,500 ล้านปีมาแล้ว แล้วปราสาทหินพิมายที่สร้างด้วยกลุ่มคนที่อยู่ที่นั่น และเป็นคนคุมการค้าเกลือและเหล็กถึงเชื่อมโยงได้กับอาณาจักรเจนละหรือรัฐเจนละที่อยู่ลุ่มน้ำชีต่อลุ่มน้ำโขงไปป่าสักคือเรามองข้ามเรื่องการค้าทำให้มองภาพรวมไม่ออก :) :) :) :) ทำไมในหลุมศพต้องมีปลาช่อนและหมารวมอยู่ด้วย.? (เป็นคำถามที่เรียกเสียงหัวเราะดังลั่น) ปลาช่อนก็สวดคาถาปลาช่อน คือเวลาเขาแห่นางแมวขอฝน คาถาปลาช่อนเป็นพิธีผี แล้วพระค่อยมาสวดให้ทีหลัง หมา ก็คือ 1.บรรพชน 2.เป็นผู้นำพันธุ์ข้าวจากฟ้ามาให้มนุษย์ ฉะนั้น หมาจึงมีภาพเขียนสีอยู่เกือบทุกมุมของประเทศ หมี่โคราชมาจากไหน.? สงสัยคนถามจะเริ่มหิวแล้ว (สุจิตต์แซว) พวกเส้นๆ จะมาคนจีนทั้งนั้น เขาพระวิหารใครสร้าง แล้วทำไมไปอยู่ที่เขมร.? อ้าว ก็ศาลตัดสินไปแล้ว อยู่กับเขมร จะไปเถียงเขาทำไมล่ะ ส่วนคนสร้าง คนลุ่มน้ำมูล น้ำชี แถวนี้แหละ ให้คนไปช่วยกันสร้าง เกณฑ์กันไปตัดหิน :s_good: :s_good: :s_good: :s_good: นี่เป็นบางช่วงบางตอนจากคำถาม-คำตอบที่สนุกสนานกันจนลืมหิว คือ เสียงจาก”คนโคราช”ที่สนใจใคร่รู้รากเหง้าความเป็นมาของผู้คนและแดนดินถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่ สุจิตต์สรุปทิ้งท้ายก่อนลงจากเวทีไว้ว่า “เรื่องประวัติศาสตร์ไทย ความจริงแล้วต้องเปลี่ยนทั้งหมด เพราะทุกวันนี้ที่เรียนกันอยู่นั้นเป็นประเทศไทยโดดๆ ไม่มีเครือญาติ ทั้งที่ความจริงแล้วไม่สามารถแยกออกจาก South East Asia ได้ เราเป็นส่วนหนึ่งของ South East Asia และอาเซียน ทั้งคนและดินแดน ต้องศึกษาถึงดินแดนและผู้คนที่มีผู้คนอยู่หลากหลายชาติพันธุ์” และอีกท่อนหนึ่งซึ่งน่าจะช่วยให้ผู้คนเข้าใจ “ความเป็นไทย” มากขึ้น “รัฐชาติเพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วมาสำเร็จเมื่อสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นจริงเป็นจังเมื่อสมัยรัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม เปลี่ยนชื่อประเทศสยามมาเป็นประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2482 แก่กว่าผมไม่กี่ปีหรอก ขอให้เข้าใจซะใหม่เท่านั้นเอง” ชมคลิปได้ที่ https://youtu.be/GhHqbIV5Z9w (https://youtu.be/GhHqbIV5Z9w) https://youtu.be/lJnpPBxXQWg (https://youtu.be/lJnpPBxXQWg) https://youtu.be/lJnpPBxXQWg (https://youtu.be/lJnpPBxXQWg) ขอบคุณบทความจาก http://www.matichon.co.th/news/265411 (http://www.matichon.co.th/news/265411) |