สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 21, 2016, 07:29:02 pm



หัวข้อ: ประกาศปฏิญญา "พุทธวิธีเซินเจิ้น"คุ้มครองพระศาสนา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 21, 2016, 07:29:02 pm
(http://www.dailynews.co.th/admin/upload/20161021/news_OziKgyIAjv155259_533.jpg)


ประกาศปฏิญญา "พุทธวิธีเซินเจิ้น"คุ้มครองพระศาสนา

พระพรหมสิทธิ ผู้แทนคณะสงฆ์ไทย ลงนามปฏิณญา "พุทธวิธีเซินเจิ้น" ร่วมมือคุ้มครองพระพุทธศาสนา พร้อมร่วมงานครบรอบวาระ 110 ปี ชาตกาล พระธรรมาจารย์ใหญ่เปิ่นฮ่วน อดีตเจ้าอาวาสวัดหงฝ่าซื่อ ประเทศจีน

 วันนี้(21 ต.ค.) พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร   กรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)  ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ เข้าร่วมประชุมผู้นำชาวพุทธนานาชาติ 14 ประเทศ ที่เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายจานเจียหยง รัฐมนตรีกระทรวงการศาสนา เป็นประธานฝ่ายฆราวาส  พร้อมทั้งได้ลงนามปฏิญญา "พุทธวิธีเซินเจิ้น"  ทั้งนี้พระพรหมสิทธิ กล่าวปิดการประชุมผู้นำพุทธศาสนานานาชาติ ว่า เนื่องในวันครบรอบวาระ 110 ปี ชาตกาล พระธรรมาจารย์ใหญ่ เปิ่นฮ่วน อดีตเจ้าอาวาสวัดหงฝ่าซื่อ บรรดาศิษยานุศิษย์ ได้แสดงความกตัญญูกตเวที รำลึกถึงท่าน บรรดาคณะสงฆ์ผู้นำทางพุทธศาสนาในภาคพื้นทะเลจีนใต้ จึงร่วมกันประชุมเพื่อการพัฒนาและความยั่งยืนของพระพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนาได้สืบทอดมายาวนานกว่า 2,600 ปีจากประเทศอินเดียสู่ประเทศจีน พระพุทธศาสนาได้เผยแผ่ไปกว้างขวาง ในภาคพื้นเอเชีย ทะเลจีนใต้ พระพุทธศาสนาได้มีการเดินทางและการพัฒนามาอย่างยาวนาน เมื่อเวลาผ่านไปอาจมีความแตกต่าง แบ่งไปตามสังคม พื้นที่ประเทศ และวัฒนธรรมท้องถิ่น แต่ในที่สุดก็สามารถมารวมกันได้ ที่สามารถมาร่วมกันเช่นนี้ ภายในพื้นที่ทะเลจีนใต้ ได้เพราะด้วยเมตตาธรรม จึงไม่มีสิ่งใดมาขวางกั้นได้ ไม่ว่าจะเป็นภาษา ชาติพันธุ์ หรือนิกายใดๆ เพราะเรามีจิตใจร่วมกัน ในการเห็นคุณค่าและความสำคัญของพระพุทธศาสนา


(http://www.dailynews.co.th/admin/upload/20161021/news_yNTnTruiQu155309_533.jpg)


พระพรหมสิทธิ กล่าวต่อไปว่า ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองสนับสนุนพระพุทธศาสนาเราจึงมาร่วมกันลงนามปฏิญญา "พุทธวิธีเซินเจิ้น" มีเป้าหมาย 5 ประการคือ
    1.แสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง ของความเป็นพุทธศาสานานาชาติ
    2.ร่วมทุกข์ร่วมสุข มีการส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือดูแลกัน ไม่ว่าจะในยามปกติ หรือยามเกิดวิกฤตการณ์
    3.แลกเปลี่ยนเรียนรู้ยอมรับในวัฒนธรรมซึ่งกันและกันให้มากขึ้น
    4.ความเมตตากรุณา ย่อมทำให้เปิดใจยอมรับการอยู่ร่วมกัน เพื่อข้ามพ้นข้อจำกัดต่างๆ ไปได้ และ
    5. การจัดตั้งประชุมปรึกษาหารือเพื่อวางนโยบายร่วมกันในการพัฒนาด้วยความยั่งยืนตลอดไป



ขอบคุณภาพข่าวจาก : http://www.dailynews.co.th/education/531451 (http://www.dailynews.co.th/education/531451)