สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 23, 2016, 01:10:27 pm



หัวข้อ: ถาม ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้า นั้นมีการขอขมาด้วยหรือ ?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 23, 2016, 01:10:27 pm
ถาม ในสมัยครั้งพระพุทธเจ้า นั้นมีการขอขมาด้วยหรือ ?
ตอบ เป็นคำถามที่ดีเห็นว่าควรตอบ จึงนำมาตอบรวมในที่นี้
ในครั้งพุทธกาล เรืองการขอขมา อดโทษ นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งมีข้อความปรากฏในพระไตรปิฏก 28 ครั้งแต่ละครั้ง ก็มีทั้งแบบบุคคลส่วนตัว แบบสังฆกรรมส่วนรวม แบบสาธารณะเรื่องการคว่ำบาตร แบบเจาะจงต่อพระพุทธเจ้า ต่อพระอรหันต์ รูปแบบการขอขมา มีคำคล้าย ๆ กัน และ มีเจตนาเหมือนกัน และมีผลคือ การขอขมาต้องได้รับการอดโทษยินยอมจากผู้ที่ถูกล่วงเกินด้วย นับว่า มีองค์การขอขมาดังนี้
1. ผู้ขอขมา สำนึกผิด
2. กล่าวคำขอขมา ต่อผู้ที่ได้ล่วงเกินไว้
3. ได้รับการยินยอม อดโทษให้ ( ส่วนใหญ่ก้อดโทษ )
4. ต้องประกาศตนเป็นสาธารณะ ว่าทำการขอขมาลาโทษแล้ว
5. ปฏิญญาว่าจะไม่ล่วงเกินอีก
ดังจะยกตัวอย่าง เรื่องที่ 2 ในพระไตรปิฏก พึงอ่านกันนะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕.ปาจิตติยกัณฑ์]
๑.มุสาวาทวรรค ๖.ทุติยสหเสยยสิกขาบท นิทานวัตถุ
หญิงงามเจ้าของเรือน น้อมศีรษะลงแทบเท้าท่าน
พระอนุรุทธะขอขมาว่า
“พระคุณเจ้า ดิฉันได้กระทำความผิดเพราะความโง่เขลาเบา
ปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้ ขอพระคุณเจ้าจงให้อภัยโทษแก่ดิฉันเพื่อสำรวมต่อไป”
พระเถระกล่าวว่า
“น้องหญิง เอาเถิด การที่เธอได้ทำความผิดไปเพราะความโง่
เขลาเบาปัญญา ที่ได้กระทำอย่างนี้เพราะเหตุที่เห็นความผิดเป็นความผิด แล้วแก้ไข ให้ถูกต้อง ข้อนั้นอาตมายอมรับ เพราะการที่บุคคลเห็นความผิดเป็นความผิดแล้ว แก้ไขให้ถูกต้องและสำรวมต่อไป นี้เป็นความเจริญในวินัยของพระอริยะ”
ส่วนเนื้อเรื่องความเป็นมาอย่างไร ให้ไปอ่านกันเอาเองนะ
เดี่ยวจะค่อยมาเล่าไปเรื่อยๆ เอาเรื่องขอขมา นี่แหละทำให้มันถูกต้องก่อน จะได้ไปสู่ความสำเร็จในพระธรรมกรรมฐานได้อย่างผ่องใส


ส่วนการสนทนา ถามตอบ พึงติดตามจาก เฟคบุ๊ค


หัวข้อ: คำถาม จะรู้ได้อย่างไร ว่าการขอขมาได้ ผล
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ตุลาคม 23, 2016, 01:11:33 pm