สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 15, 2016, 07:27:51 am



หัวข้อ: ลาวเผยแพร่ภาพเก่าชุด “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” คนแห่แชร์ เหตุหาชมยากยิ่ง
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 15, 2016, 07:27:51 am

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9909.jpg)


ลาวเผยแพร่ภาพเก่าชุด “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” คนแห่แชร์ เหตุหาชมยากยิ่ง วงวิชาการชี้ช่วยไขปริศนาทรงเจดีย์ดั้งเดิม

เมื่อวันที่ 13 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่ามีกระแสการแชร์ภาพถ่ายเก่าจากเฟซบุ๊ก ປະກາດ Pakaad ซึ่งเป็นเพจดังของลาว โดยเป็นภาพชุดเกือบ 50 ภาพของพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ โบราณสถานสำคัญของลาวซึ่งรวบรวมมาจากแหล่งต่างๆ

ทั้งนี้ พระธาตุดังกล่าวเป็นปูชนียสถานเก่าแก่ทางด้านพุทธศาสนา ล่าสุดเพิ่งมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ รวมถึงยกยอดพระธาตุที่เรียกว่า “ยอดช่อคำ” โดยมีงานบุญพระธาตุหลวงเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา ซึ่งมีชาวลาวเข้าร่วมอย่างมหาศาล เนื่องจากเป็นสถานที่รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชน

สำหรับความเป็นมาของพระธาตุหลวง ข้อมูลจาก “ฐานข้อมูลศิลปกรรมในเอเชียอาคเนย์” ซึ่งจัดทำโดยภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี ม. ศิลปากร ระบุว่า ตามตำนาน กล่าวว่าองค์พระธาตุหลวงเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช แต่หลักฐานด้านประวัติศาสตร์เชื่อว่า น่าจะสร้างในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเมื่อคราวที่ย้ายราชธานีจากเมืองหลวงพระบางมายังนครเวียงจันทน์ ใน พ.ศ.2109 โดยมีหลักฐานในจารึกธาตุหลวงหลักที่ 1

 :96: :96: :96:

รูปแบบศิลปะเป็นเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยม แต่มีบางอย่างแตกต่างจากเจดีย์ทรงดังกล่าวที่มีทั่วไป อาจเนื่องจากเจตนาสร้างให้เป็น “พระมหาธาตุประจำเมือง” ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางจักรวาล มีประวัติการบูรณะหลายครั้ง โดยรูปแบบที่เห็นในปัจจุบันเป็นการปฏิสังขรณ์ระหว่าง พ.ศ. 2474-2476 ประกอบด้วยระเบียงคด มีเจดีย์บริวาร 30 องค์ตั้งบนฐานประทักษิณ ถัดขึ้นมาเป็นองค์ระฆังในผังสี่เหลี่ยมเล็กๆรองรับปลียอดที่ซ้อนชั้นลดหลั่น 4 ชั้น อยู่ในผังแปดเหลี่ยม

นอกจากนี้ ภาพถ่ายเก่าก่อนการบูรณะยังแสดงให้เห็นว่าส่วนยอดที่เป็นทรงกรวยสี่เหลี่ยมยืดสูงมาก และภายหลังส่วนยอดได้พังทลายลงมา และที่สำคัญอาจสามารถศึกษารูปแบบดั้งเดิมของธาตุหลวงได้จากเจดีย์ทรงระฆังสี่เหลี่ยมขนาดเล็กที่พบในธาตุหลวง ซึ่งน่าจะสร้างขึ้นเพื่อเป็นสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจำลองแบบมาจากสถูปด้านนอกก็เป็นได้


(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9903.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9904.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9902-768x453.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9905.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9906.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9907.jpg)

(http://www.matichon.co.th/wp-content/uploads/2016/11/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%88%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%99.jpg)
พระธาตุหลวงในปัจจุบัน หลังการบูรณะครั้งล่าสุด (ภาพโดย Houmphet Manisouk)


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.matichon.co.th/news/358349 (http://www.matichon.co.th/news/358349)


หัวข้อ: Re: ลาวเผยแพร่ภาพเก่าชุด “พระธาตุหลวงเวียงจันทน์” คนแห่แชร์ เหตุหาชมยากยิ่ง
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤศจิกายน 15, 2016, 08:08:25 am
 st11 st12 st12 st12