หัวข้อ: ตอบคำถาม "พระภิกษุ-สามเณร" เรียนอะไร.? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 24, 2016, 08:23:25 am ตอบคำถาม "พระภิกษุ-สามเณร" เรียนอะไร.? การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตอนนี้พัฒนาการไปไกลมาก มี 4 คณะ คือ สังคมศาสตร์ พุทธศาสตร์ คุรุศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ แต่เนื้อในแต่ละคณะมีสาขาผุดขึ้นมาก ทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ช่วงหลังๆ นี้มีบรรดาชาวพุทธบางกลุ่มบางคนจ้องจับผิดพระ มักมีคำถาม มักตั้งข้อสงสัยขึ้นเรื่อยๆ ว่า “พระภิกษุ -สามเณรบวชแล้วไปทำอะไร” คำถามนี้บางคนถามด้วยความอยากรู้ก็น่าอธิบาย เพราะคนถามไม่รู้จริงๆ แต่บางคนถามเพราะ “แฝงไปทั่วอคติ” ไม่พอยังแฝงด้วยความเป็น “ผู้มีปัญญาน้อย” ของความเป็นชาวพุทธของตนเองไปด้วย วันนี้เลยขออธิบายการศึกษาของ “พระภิกษุ-สามเณร” คร่าวๆ พอให้เห็นภาพว่า เมื่อเข้ามาบวชแล้ว ทำอะไรบ้าง บางวัดอาจจะมีหลักสูตรระยะสั้น นั่นก็ว่ากันไป แต่หากคนที่เข้ามาบวชระยะยาว 3 - 4 เดือนขึ้นไป แบบเอาพรรษา คณะสงฆ์สงฆ์ท่านได้วางกฎเกณฑ์ระเบียบไว้ว่าจะต้องศึกษา “ปริยัติสามัญแผนกนักธรรม” ก่อน ซึ่งก็จะมีลำดับคือ นักธรรมชั้นตรี โท และเอก สอบปีละครั้ง :96: :96: :96: :96: หลักสูตรนี้อันดับแรกก็จะต้องศึกษาหนังสือ “นวโกวาท” เป็นหนังสือสำหรับภิกษุ -สามเณรผู้บวชใหม่ หนังสือ นวโกวาท มี 3 ส่วน ส่วนต้นเป็นวินัยบัญญัติ หรือศีลของภิกษุ ส่วนที่ 2 จะเป็นธรรมวิภาค คือธรรมที่ต้องแยกคัดจัดไว้เป็นหมวดหมู่ เช่น ธรรมมีอุปการะมาก 2 อย่าง คือ สติ ความระลึกได้ และสัมปชัญญะ ความรู้ตัว, ธรรมอันทำให้งาม 2 อย่าง คือ ขันติ ความอดทน และโสรัจจะ ความเสงี่ยมเจียมตัว ความอ่อนน้อมถ่อมตน ส่วนหลังสุด จะเป็นคิหิปฏิบัติ คือหลักปฏิบัติและหลักควรเว้นสำหรับผู้ครองเรือน แบบเราๆ ท่านๆ หรือชาวบ้านทั่วไป เช่น หน้าที่ลูกมีอะไรบ้าง หน้าที่ของพ่อแม่มีอะไร หรือแม้กระทั้งการคบเพื่อน ในหนังสือฉบับนี้จะบอกไว้หมด หลังจากสอบนักธรรมจบ บางรูปอาจจะบวชต่ออยากเป็น “มหา” อยากเป็นเปรียญก็จะไปเรียน “ปริยัติสามัญแผนกบาลี” ต่อเพราะสมัยก่อนใครที่เป็น “มหา” เป็นเปรียญได้รับการยกย่องในสังคมมาก ใครสอบได้แห่รอบหมู่บ้าน แห่รอบเมือง และคำว่า “มหา” สึกออกมาคนก็ยังเรียกอยู่ประเภท “ใหญ่ ยาว ชักไม่ออก” คือ มหาแปลว่าใหญ่ ส่วนคำว่ายาว สมัยก่อนใครสอบมหาได้ ชื่อเสียงจะขจรกระจายไปทั่วตำบล อำเภอ หรือแม้กระทั้งจังหวัด ส่วนคำว่า ชักไม่ออก เพราะแม้ลาสิกขา สึกออกมาแล้ว คนก็ยังเรียกว่า “ท่านมหา” อยู่ ปัจจุบันมี “มหา” หลายรูปสึกออกมาแล้วไม่อยากให้เพื่อนร่วมงาน ไม่อยากให้คนเรียกว่า “มหา” เพราะอาย บางคนกลัวถูกมองว่า “เป็นคนไม่ทันสมัย” เป็นคน “ไม่ทันโลก ล้าหลัง” :25: :25: :25: :25: ตอนผมจบใหม่ๆ ออกมาทำงาน วันหนึ่งมีอาจารย์ท่านหนึ่งจากสถาบันที่จบออกมามาเจอในงานและมีเพื่อนร่วมงานท่านหนึ่ง เรียกผมว่า “มหา” อาจารย์ท่านนี้ก็ตกใจว่า “ทำไมให้เรียกมหา” ผมเลยอธิบายว่า ความเป็นมหาของผมนี้มันจะปกป้องเราได้ หนึ่ง สังคมจะเชื่อหรือถูกทำให้เชื่อว่ามหาจะเป็นคนดี มหาจะเป็นคนซื่อสัตย์ คนเขาก็จะเอ็นดู จะรักใคร่เรา เพราะเราเป็นมหา เราเป็นคนดี สอง ความเป็นมหาของผมนี้ มันจะเตือนสติตัวเองอยู่เสมอๆ ว่า ตัวเองเป็นมหานะ ผ่านการบวชเรียนมา ต้องประพฤติปฎิบัติให้อยู่ในศีลในธรรม อย่าให้เขาดูถูกอาจารย์ผู้สอนเรามา อย่าให้เขาดูถูกสถาบันที่เราจบมาว่า “สั่งสอนศิษย์ไม่ดี” หรืออย่าให้เขาเรียกเราจาก “มหา เป็น หมา” อธิบายแบบนี้ท่านก็เข้าใจ การศึกษาในสถาบันสงฆ์อาจมีสามเณรบางรูปไม่อยากเรียนบาลี เพราะเรียนยากต้องท่องจำ ก็อาจจะสนใจไปเรียน “โรงเรียนปริยัติสามัญ” เรียนม. 1-6 เยี่ยงเด็กและเยาวชนทั่วไปก็ได้ สถาบันสงฆ์ก็จัดให้ เมื่อจบนักธรรม จบบาลีหรือปริยัติสามัญแล้วไปไหนต่อ หรือระหว่างเรียนอยู่นี้อยากเรียนมหาวิทยาลัย ทำได้หรือไม่ ตอบว่า “ได้” แต่ก็ต้องไปดูกฎเกณฑ์ระเบียบของมหาวิทยาลัยนั้นๆ ว่ารับศึกษาต่อด้วยวุฒิอะไร สมัยผมเป็นสามเณร อยากมีความรู้ทางโลกบ้าง ก็ไปสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยด้วยวุฒิ “เปรียญธรรม 6 ประโยค” ตอนนี้ทราบว่าหลายมหาวิทยาลัยผ่อนผันบ้างแล้ว โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยสงฆ์บางรูปจบแค่นักธรรมเอก ประโยค 3 หรือ กศน.ม. 6 ก็ต่อระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยได้บ้างแล้ว st12 st12 st12 st12 การศึกษาในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตอนนี้พัฒนาการไปไกลมากมี 4 คณะ คือ สังคมศาสตร์ พุทธศาสตร์ คุรุศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ แต่เนื้อในแต่ละคณะมีสาขาผุดขึ้นมาก ทั้งรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์รัฐประศาสนศาสตร์ “พระภิกษุ -สามเณร” รูปใดอยากไปเรียนต่อก็ไปลองสอบถามดู และมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่งนี้ ไม่จำกัดเฉพาะพระภิกษุ -สามเณร และชีเท่านั้นที่เรียนได้ ฆราวาสทั่วไปก็ไปเรียนได้ หลักสูตรมีตั้งแต่ปริญญาโทจนถึงปริญญาเอก ค่าหลักสูตรปริญญาตรีก็ถูกว่ามหาวิทยาลัยทั่วไป สำหรับ “พระภิกษุ- สามเณร” เมื่อจบแล้ว อยากจะเป็น “พระธรรมทูต” อยากเป็น “อนุศาสนาจารย์” ทำงานในกองทัพบก เรือ หรือกองทัพอากาศ หรืออยากรับราชการทั่วๆ ก็ “ดิ้นรนเอา” แต่ส่วนใหญ่ก็บวชต่อ เมื่อบวชต่อแล้วจะ “เช้าเอน เพลนอน เย็นพักผ่อน กลางคืนจำวัด” ก็แล้วแต่ความสะดวก แต่เท่าที่ทราบๆ คนผ่านอบรมศึกษามาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์มาแล้ว สมองมักตื่นตัวอยู่เสมอ ประเภทร้อนวิชา มักไม่อยู่นิ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ตอนนี้ก็เป็นขุนกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนทำงานให้กับคณะสงฆ์ แต่ก็มีรุ่นน้องหลายราย จบมานานแล้วปัจจุบันก็ “ยังปากกัด ตีนถีบอยู่ก็มี” หรือบางคนสึกออกมาแล้วประเภทได้ดีลืม “ข้าวก้นบาตร” ก็เยอะ...!! คอลัมน์ : ริ้วผ้าเหลือง โดย “เปรียญ10” : riwpaalueng@gmail.com. ที่มา : http://www.dailynews.co.th/article/535047 (http://www.dailynews.co.th/article/535047) |