สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 20, 2016, 07:31:14 am



หัวข้อ: สักกปัญหาสูตร : ปุจฉา-วิสัชนา 10 ข้อ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 20, 2016, 07:31:14 am
(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_20_12_16_11_19_17.jpeg)

     
    ๘. สักกปัญหาสูตร

   สูตรด้วยปัญหาของท้าวสักกะ


    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ถ้ำอิทสาละ ใกล้เวทยิกบรรพต ทางทิศเหนือของหมู่บ้านพราหมณ์ ชื่ออัมพสณฑ์ ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธ.

    ท้าวสักกะใคร่จะไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค จึงเรียกปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์มา ชวนให้ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคด้วยกัน ปัญจสิขะถือพิณมีสีเหลืองเหมือนผลมะตูมไปด้วย เมื่อไปถึงที่ประทับแล้ว ท้าวสักกะจึงให้ปัญจสิขะบุตรคนธรรพ์หาทางทำความพอพระทัยให้พระผู้มีพระภาคก่อนที่จะได้เข้าไปเฝ้า.

    ปัญจสิขะบุครคนธรรพ์ถือพิณเข้าไปยืน ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ไม่ไกลหรือใกล้เกินไป ดีดพิณ กล่าวคาถาด้วยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระอรหันต์ และกาม.

    พระผู้มีพระภาคตรัสชมแก่ปัญจสิขะบุตรคนธรรมพ์ว่า เสียงพิณกับเสียงเพลงขับเข้ากันดี แล้วตรัสถามว่า คาถาอันเกี่ยวด้วยพระพุทธ เป็นต้นนี้ แต่งไว้ตั้งแต่ครั้งไร . ปัญจสิขะกราบทูลว่า ตังแต่ครั้งพระผู้มีพระภาคตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับที่ต้นอชปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งน้ำเนรัญชรา.

    ครั้นได้โอกาส ท้าวสักกะพร้อมด้วยบริวารก็เข้าไปเฝ้า เมื่อได้ตรัสสัมโมทียกถาพอสมควรแล้ว พระผู้มีพระภาคก็ทรงให้ท้าวสักกะกราบทูลถามปัญหาได้ ต่อไปนี้เป็นคำถามและพระพุทธดำรัสตอบ.

     :25: :25: :25: :25:

๑. ถาม : เทวา มนุษย์ อสูร นาค คนธรรพ์ และหมู่สัตว์เป็นอันมากอื่นๆ ถูกอะไรผูกมัดแม้ตั้งใจว่าจะไม่จองเวร ไม่ใช่อาชฌา ไม่มีศัตรู ไม่เบียดเบียน อยู่อย่างไม่มีเวร แต่ก็ต้องจองเวร ใช่อาญา มีศัตรู เบียดเบียน และอยู่อย่างมีเวร.
    ตอบ : มีความริษยาและความตระหนี่เป็นเป็นเครื่องผูกมัด.

๒. ถาม : ความริษยาและความตระหนี่เกิดจากอะไร.
    ตอบ : เกิดจากสิ่งเป็นที่รักและสิ่งอันไม่เป็นที่รัก เมื่อไม่มีสิ่งเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ก็ไม่มีความริษยาและความตระหนี.

๓. ถาม : สิ่งเป็นที่รักและไม่และเป็นที่รักเกิดจากอะไร.
    ตอบ : เกิดจากคามพอใจ เมื่อไม่มีความพอใจ ก็ไม่มีสิ่งที่เป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก.

๔. ถาม : ความพอใจเกิดจากอะไร.
     ตอบ : เกิดจากความตรึก(วิตก) เมื่อไม่มีความตรึก ก็ไม่มีความพอใจ.

๕. ถาม : ความตรึกเกิดจากอะไร .
     ตอบ : เกิดจากปปัญจสัญญาสังขานิทาน คือส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลส (ตัญหา ความทะยานอยาก, มานะ ความถือตัว, ทิฏฐิ ความเห็น) เป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๖. ถาม : ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติข้อที่ปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.
    ตอบ : โสมนัส(ความดีใจ) โทมนัส(ความเสียใจ) อุเบกขา(ความวางเฉย) มีอยู่ ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพโสมนัส เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ไม่ควรส้องเสพ ; ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้นสิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ . ธรรมที่ควรส้องเสพนั้น คือที่มีวิตก(ความตรึก) มีวิจาร(ความตรอง) ; ที่ไม่มีวิตก วิจาร ; ที่ไม่มีวิตก วิจาร แต่ปราณีตขึ้นไปกว่า . (หมายถึงโสมนัส เป็นต้น อันเกิดเพราะเนกขัมมะบ้าง เพราะวิปัสสนาบ้าง เพราะอนุสสติบ้าง เพราะปฐมฌาน เป็นต้นบ้าง – อรรถกถาบ้าง). ภิกษุปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร ที่ให้ถึงความดับส่วนแห่งความกำหนดหมายกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้า.

๗. ถาม : ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงเชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์(ศีลที่เป็นใหญ่เป็นประธาน ).
     ตอบ : ความประพฤติทางกาย(กายสมาจาร) ความประพฤติทางวาจา(วจีสมาจาร) และการแสวงหา(ปริเยสนา) อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ คือเมื่อส้องเสพความประพฤติทางกายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง กุศลธรรมเสื่อมไป อกุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนันก็ไม่ควรส้องเสพ ; ถ้าอกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น สิ่งนั้นก็ควรส้องเสพ ภิกษุผู้บฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมปาฏิโมกข์.

๘. ถาม : ภิกษุปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์ (คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ).
     ตอบ : อารมณ์ที่พึงรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้น มี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งควรส้องเสพ อีกอย่างหนึ่งไม่ควรส้องเสพ. (พอตรัสถึงเพียงนี้ ท้าวสักกะก็กราทูลถามว่า เข้าใจความหมายว่า ที่ไม่ควรส้องเสพ และควรส้องเสพนั้น กำหนดด้วย เมื่อส้องเสพแล้วอกุศลธรรมหรือกุศลธรรมจะเจริญกันกันแน่).

๙. ถาม : สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีวาทะ มีศีล มีฉันทะ มีจุดหมายปลายทาง อย่างเดียวกันใช่หรือไม่.
     ตอบ : ไม่ใช่ เพราะโลกธาตุเป็นอเนก มีธาตุต่างๆกัน สัตว์ยึดถือธาตุอันใด ก็กล่าวเพราะความยึดถือธาตนั้นว่า นี้แลจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะ.

๑๐. ถาม : สมณพราหมณ์ทั้งปวง มีความสำเร็จ มีความปลอดโปร่งจากกิเลสเครื่องยึด (โยคักเขมี) เป็นพรหมจารี มีที่สุดล่วงส่วน ใช่หรือไม่ (คำว่า ล่วงส่วน หมายความว่า เด็ดขาด ไม่กลับกำเริบหรือแปรปรวนอีก.
      ตอบ : ไม่ใช่ จะมีความสำเร็จ เป็นต้น ล่วงส่วน ก็เฉพาะผู้ที่พ้นแล้วจากตัญหา(ความทะยานอยาก) เท่านั้น.

    st12 st12 st12 st12

ท้าวสักกะจึงกราบทูลว่า ตัณหาอันทำให้หวั่นไหว เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร ย่อมฉุดคร่า บุรุษเพื่อให้เกิดในภพนั้นๆ ถึงความสูงบ้าง ต่ำบ้าง. ครั้นแล้วได้แสดงความพอใจที่พระผู้มีพระภาคทรงตอบปัญหาแก้ความสงสัยได้ เท่าที่เคยไปถามสมณพราหมณ์เหล่าอื่น แทนที่จะตอบ กลับมาย้อนถามว่า เป็นใคร ครั้นรู้ว่าเป็นท้าวสักกะ ก็กลับถามปัญหายิ่งๆ ขึ้นว่า ทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ ท้าวสักกะก็ตอบไปตามที่ได้ฟัง ที่เล่าเรียนมา สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อิ่มเอิบใจ ว่าได้เห็นท้าวสักกะ ได้ถามปัญหา แล้ะท้าวสักกะได้ตอบแก่เรา กลายมาเป็นสาวกของข้าพระองค์ไป.

ครั้นแล้วกล่าววาจาสุภาษิตอีกหลายประการ ในที่สุดได้เอามือลูบแผ่นดิน แล้วเปล่งอุทานว่า นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส รวม ๓ ครั้ง.

    @@@@@@

หมายเหตุ : พระสูตรนี้ มีท่วงทำนอง จะแก้ความเคารพบูชาเทวดาสำคัญๆ เช่น พระอินทร์หรือท้าวสักกะของบุคคลส่วนใหญ่ โดยชี้ให้เห็นว่าในพระพุทธศาสนา เทวดาเหล่านั้น ยังต่ำกว่าพระพุทธพุทธเจ้า ผู้มีพระปัญญาตรัสรู้ เท่ากับเป็นหลักการอันหนึ่งที่แสดงว่า ท่านผู้เป็นพุทธะ เป็นผู้ตรัสรู้หมดกิเลส มีความบริสุทธิ์สะอาดสูงกว่าเทวดาทั้งปวง.



ที่มา : พระไตรปิฎก ฉบับประชาชน (สุชีพ ปุญญานภาพ)
เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์ เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒) หน้า ๓
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.3.html (http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.3.html)


หัวข้อ: Re: สักกปัญหาสูตร : ปุจฉา-วิสัชนา 10 ข้อ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 24, 2016, 12:23:13 pm


(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_24_12_16_12_21_46.jpeg)


กลอนรักจากพระไตรปิฎก : สักกปัญหสูตร  
โดยอาจารย์เทวฤทธิ์  อยู่สุนทร

ใครเล่า เคยเข้าใจ    ในพระไตรฯ มิไร้รัก
กลอนหวาน สำราญวรรค    มีประจักษ์ จักแจ้งไข
สักกะ ปัญหสูตร    เทพทูต หวังพุทธไท้
อนุญาต เข้าเฝ้าได้    บรรเลงพิณ ระบิลรัก
สุริยะ วัจฉสา    เทพกัลยา เสาวพักตร์
นารี พี่หลงรัก    บุตรติมพรุ ผู้เป็นใหญ่
ดุจลม รมย์ผู้ล้า    น้ำโอชา ผู้โหยไห้
ธรรมะ อรหันต์ไฝ่    ผู้ป่วยไข้ หมายโอสถ
คนหิว อยากอาหาร    ไฟต้องการ น้ำรานรด
เยาวมาลย์ ปานมธุรส    โปรดสนอง รักของพี่
ดุจช้าง แดดแผดอ้าว    สระบัวขาว โบกขรณี
แช่เย็น เร้นร้อนมี    น้องของพี่ นี้ขางาม

พี่รักและหลงใหล   ดุจช้างไม่ เข้าใจความ
ถูกหอก-ขอ ตอกตาม   มิรู้กรำ ชำนะกรม
ใจพี่ ปฏิพัทธ์   ไม่ขัดคืน ฝืนระดม
ดุจปลา กลืนเบ็ดจม   ไม่อาจถ่ม อมไม่คาย
เชิญน้อง กัลยณี   ผู้มีขา งามกว่าหลาย
นัยน์ตา ชม้อยชม้าย   สวมกอดกาย ให้พี่ยา
รักพี่ มิได้น้อย   ดุจพี่คอย ทักษิณา
ถวาย และบูชา   อรหันต์ ท่านทั้งหลาย

บุญมี ที่พี่ทำ   ขอคนงาม ล้ำเรือนกาย
อำนวย ช่วยรักพราย   สำเร็จหมาย ได้สมรัก
สุริยะ วัจฉสา   พี่มุ่งมา สวามิภักดิ์
ดุจพุทธะ บุตรสักย์   แสวงหลัก อมตะการ
พุทธะ พระมุนี   ทรงยินดี สัมโพธิญาณ
ดั่งพี่ ยินดีการ   คลอเคลียนันท์ ถวัลย์น้อง
หากท้าว สักกะไท้   อวยพรให้ ได้สมปอง
ขอพี่ สมมีน้อง   สนองรัก นิรันดร์เอย


๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
เรียงร้อยจาก : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สักกปัญหสูตร
เขียนโดย : อวิชฺชาภิกขุ
ขอบคุณที่มา : http://webboard.horoscope.sanook.com/forum/?topic=3771245 (http://webboard.horoscope.sanook.com/forum/?topic=3771245)