สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 29, 2010, 12:53:47 pm



หัวข้อ: ธรรมที่ทำให้สมาธิมีกำลังตั้งมั่น
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 29, 2010, 12:53:47 pm
ธรรมที่ทำให้สมาธิมีกำลังตั้งมั่น

(http://1.bp.blogspot.com/_9nCn143fKQQ/TGlqPEDBJEI/AAAAAAAAAAM/yQ04sI8OlSk/s1600/123%5B1%5D.jpg)

พระไตรปิฎกเล่ม ๒๒
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๔
อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พลสูตร

   [๓๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควร
เพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ไม่กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑
- ไม่กระทำติดต่อ ๑
- ไม่กระทำความสบาย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ฯ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุพล
ภาพในสมาธิ ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อม

- เป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ๑
- เป็นผู้ฉลาดในการตั้งอยู่แห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้ฉลาดในการออกแห่งสมาธิ ๑
- เป็นผู้กระทำความเอื้อเฟื้อ ๑
- เป็นผู้กระทำติดต่อ ๑
- เป็นผู้กระทำความสบาย ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรเพื่อบรรลุพลภาพในสมาธิ ฯ
                 จบสูตรที่ ๘

(http://www.rd1677.com/backoffice/Pictamdee/61694.jpg)

อรรถกถาพลสูตร
   พึงทราบวินิจฉัยในพลสูตรที่  ๘   ดังต่อไปนี้ :-           
   บทว่า  พลตํ  ได้แก่  ความเป็นผู้มีกำลัง  คือ  ความเป็นผู้มีเรี่ยวแรง(ในสมาธิ). 
บทว่า  อสาตจฺจการี  ความว่า  ไม่กระทำให้ติดต่อกัน. 
คำที่เหลือ  มีนัยดังกล่าวแล้ว  ในหนหลัง.

              จบอรรถกถาพลสูตรที่  ๘
 
(http://www.dmc.tv/forum/uploads/monthly_10_2007/post-3945-1191472478.jpg)

ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน


หัวข้อ: Re: ธรรมที่ทำให้สมาธิมีกำลังตั้งมั่น
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 29, 2010, 12:58:23 pm

(http://www.dmc.tv/forum/uploads/monthly_10_2007/post-3945-1191474295.jpg)

สัปปายะ ๗ (สิ่งที่เหมาะกัน สิ่งที่เกื้อกูล ช่วยสนับสนุนในการบำเพ็ญภาวนาให้ได้ผลดี ช่วยให้สมาธิตั้งมั่น ไม่เสื่อมถอย)
 
๑. อาวาสสัปปายะ (ที่อยู่ซึ่งเหมาะกัน เช่น ไม่พลุกพล่านจอแจ)

๒. โคจรสัปปายะ (ที่หาอาหาร ที่เที่ยวบิณฑบาตที่เหมาะดี เช่น มีหมู่บ้านหรือชุมชนที่มีอาหารบริบูรณ์อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลเกินไป )

๓. ภัสสสัปปายะ (การพูดคุยที่เหมาะกัน เช่น พูดคุยเล่าขานกันแต่ในกถาวัตถุ ๑๐ และพูดแต่พอประมาณ)

๔. ปุคคลสัปปายะ (บุคคลที่ถูกกันเหมาะกัน เช่น มีท่านผู้ทรงคุณธรรม ทรงภูมิปัญญาเป็นที่ปรึกษาเหมาะใจ)
 
๕. โภชนสัปปายะ (อาหารที่เหมาะกัน เช่น ถูกกับร่างกาย เกื้อกูลต่อสุขภาพ ฉันไม่ยาก)

๖. อุตุสัปปายะ (ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะกัน เช่น ไม่หนาวเกินไป ไม่ร้อนเกินไป เป็นต้น)

๗. อิริยาปถสัปปายะ (อิริยาบถที่เหมาะกัน เช่น บางคนถูกจับจงกรม บางคนถูกกับนั่ง ตลอดจนมีการเคลื่อนไหวที่พอดี)

(http://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/27686.jpg)

วิสุทฺธิ. ๑/๑๖๑; วินย.อ.๑/๕๒๔; ม.อ.๓/๕๗๐
ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)


หัวข้อ: ธรรมที่ทำให้สมาธิมีกำลังตั้งมั่นที่นักปฏิบัติควรรู้
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ สิงหาคม 17, 2012, 05:18:16 pm
 ธรรมนี้ ทำให้สมาธิ มีกำลังตั้งมั่น นักปฏิบัติใหม่ ควรศึกษา   :25: