สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: สมภพ ที่ ธันวาคม 30, 2010, 12:15:07 pm



หัวข้อ: การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ ธันวาคม 30, 2010, 12:15:07 pm
การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ

คือผมสนใจในการทำวิปัสสนา ส่วนนี้อยู่ แต่อยากกำหนดให้เป็นของว่าง

ความว่างแบบที่เข้าใจ ง่าย ๆ และถูกทางจริง ๆ ควรทำอย่างไร ครับ
 :25:


หัวข้อ: Re: การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 31, 2010, 04:33:10 pm
ว่าง หรือ สุญญตา นั้นสำหรับผู้ภาวนาคือว่างจาก ความยึดมั่น ถือมั่นประการหนึ่ง ๑

 ว่างจากขันธ์ ทั้ง ๕ ประการหนึ่ง ๑ ว่างจาก อายตนะ ทั้ง ๑๒ ประการหนึ่ง ๑

 ว่างจากอริยธรรม ประการหนึ่ง ๑

ว่างจาก ความยึดมั่น ถือมั่นประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

  เมื่อจิตยังไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ควรฝึกจิตให้มองเห็นด้วยปัญญาว่า

  ธรรมทั้งหลาย ทั้งปวง ล้วนเป็นอนัตตา ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัว เป็นตน เป็นเรา เป็นของเรา
 
ดังนี้เป็นต้น เมื่อจิตรู้ด้วยปัญญาอย่างนี้ ย่อมปล่อยว่างทุกสิ่งลง แต่ยังไม่สิ้นสุด เพราะยังเห็นว่ามีอยู่เป็นเพียง

การข่มใจให้รู้ว่าว่าง

   
ว่างจากขันธ์ ทั้ง ๕ ประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

   เมื่อจิตของบุคคลทั่วไป ตื่นอยู่ด้วยปัญญา ย่อมเรียนรู้ทำความเข้าใจ ในความว่าง อันรวมเรียกว่าขันธ์ทั้ง 5

อันมีกาย เรียกว่า รูป มี เวทนา มี สัญญา มี สังขาร มี วิญญาณ เรียกว่า นาม การฝึกจิตเช่นนี้ให้ใจมองเห็น

ขันธ์ทั้ง 5 เป็น รูป เป็น นาม เกิด ขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป เพื่อใจที่วางได้วาง และได้ว่างจากความยึดถือ ว่า

ขันธ์ 5 นี้ิเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เป็นต้น การทำเช่นนี้ก็ยังเป็นเพียงการข่มด้วยปัญญาเช่นกัน


ว่างจาก อายตนะ ทั้ง ๑๒ ประการหนึ่ง ๑ เป็นไฉน

  เมื่อใด บุคคลสัมผัสความว่างด้วยปัญญา อย่างละเอียด ยิ่งขึ้นด้วยปัญญา และความเป็นผู้มีสติ เริ่มสมบูรณ์

เมื่อนั้นจิตย่อมละเอียด มองเห็นความเกิดดับ ของ อายตนะ  อันกระทบกัน เพื่อคลายความยึดมั่นถือมั่น

การเข้าถึงอย่างนี้เป็นความว่าง ขั้นกลาง เพราะเริ่มมีสติมองเห็นด้วยความยึดมั่น ถือมั่น และ จางคลาย

จากความยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา การว่างอย่างนี้เป็นการว่างของพระ

อริยบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็น ต้นไป

ว่างด้วยคุณแห่งอริยธรรม ประการหนึ่ง ๑

  เมื่อภิกษุ ในศาสนานี้เข้าถึงคุณธรรม เป็นความว่างด้วย สติ และ สมาธิ มองเห็นรู้แจ้งตามความเป็นจริงด้วย

ใจ จึงจางคลายจากยึดมั่นถือมั่น ด้วยคุณธรรมนั้น ๆ เป็นความว่างเรียกว่า สุญญวิหารสมาบัติ อันเป็นธรรมของ

พระอริยบุคคล เพราะพ้นจากอวิชชา จบกิจในศาสนา พรหมจรรย์ของเธอ ชื่อว่าอยู่จบแล้ว กิจอื่นยิ่งกว่านี้ไม่มี

อีกแล้ว นี่เรียกว่า ว่างด้วยคุณแห่งอริยธรรม


สรุป แล้ว สติ ต้องเจริญธรรม ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอน จน สติ พัฒนา เป็นสมาธิ จึงจะสมบูรณ์


ไล่ คุณธรรม โพชฌงค์ 7 ประการนั้น เป็นไปตามลำดับ


    คือ  สติ + ธรรมวิจยะ + วิริยะ  ( พระพุทธานุสสติ )

         ปีติ   ( พระธรรมปีติ )

         ปัสสัทธิ ( พระยุคลธรรม )

         สมาธิ  ( อุปจาระสมาธิ + สุขสมาธิ )

         อุเบกขา  เพราะวางเห็นตามความเป็นจริง  ( พระโสดาบัน เป็นต้นไป )

ผู้ฝึกที่ปฏิเสธ การฝึก กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พึงทราบไว้


เจริญธรรม ไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อนนะจ๊ะ

 ;)


หัวข้อ: Re: การทำใจให้ว่าง มีขั้นตอนอย่างไร ถึงจะทำใจให้ว่างอย่างถูกต้องครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ มกราคม 23, 2011, 01:01:39 am
พึ่งจะได้มาอ่าน เรื่องนี้ คร้า...

ขอบคุณพระอาจารย์ ที่ชี้แนะคร้า....
:25: