สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 21, 2017, 06:58:20 am



หัวข้อ: "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 21, 2017, 06:58:20 am
(http://img.tnews.co.th/large/tnews_1490163087_5791.jpg)


"บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร" เจตนาที่หลวงพ่อชาใช้ในการไปเผยแพร่ศาสนาพุทธในต่างประเทศ

เมื่อราวๆ 40 ปีที่แล้ว หลวงพ่อชา สุภัทโท มอบหมายให้พระลูกศิษย์ไปอยู่ที่ประเทศอังกฤษ สมัยนั้นหลวงพ่อสุเมโธยังอยู่ในวัยหนุ่มและมีอายุพรรษาไม่มากนัก เมื่อต้องรับภาระหนักอย่างนี้ ท่านก็เกิดความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจว่าวิถีชีวิตแบบพระวัดป่าจะดำรงอยู่ในต่างประเทศได้หรือไม่ เพราะสภาพแวดล้อมดูจะไม่เอื้ออำนวยและคนส่วนใหญ่ไม่ได้นับถือพุทธศาสนา

หลวงพ่อชาถามท่านสั้นๆ ว่า "ที่อังกฤษมีคนดีอยู่บ้างไหม"
ครั้นได้รับคำตอบว่า "พอมีอยู่"
หลวงพ่อชาก็ให้ข้อคิดว่า "ที่ไหนมีคนดี ที่นั่นพระก็อยู่ได้"

ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ หลวงพ่อชาน่าจะเป็นพระภิกษุรูปแรกที่ออกเดินบิณฑบาตในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ แม้จะมีเสียงทักท้วงจากลูกศิษย์ชาวตะวันตกหลายคนที่เกรงว่าจะผิดกฎหมายและคงไม่มีคนใส่บาตร หลวงพ่อก็ยังคงยืนยันในเจตนาเดิม ท่านบอกว่า "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"

วันเวลาผ่านไปหลายสิบปี ไม่ว่าจะไปอยู่ในประเทศใดก็ตาม ลูกศิษย์ของหลวงพ่อชาก็ยังคงปฏิบัติตามคำสอนของท่าน เพียงแต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสถานที่นั้นๆ อย่างในช่วงที่อากาศเย็นจัดก็อนุญาตให้สวมรองเท้าและเครื่องกันหนาวออกบิณฑบาตได้ เวลาบิณฑบาตในเมืองที่อยู่ไกลมากอาจต้องมีรถรับส่ง หรือในบางประเทศ เช่น อังกฤษ ต้องใช้วิธียืนอยู่ที่มุมถนนไม่ต่ำกว่าครึ่งชั่วโมงจึงจะมีคนกล้าเข้ามาซักถามและใส่บาตร


(http://img.tnews.co.th/userfiles/images/220302-2-1.jpg)

ดังภาพของพระภิกษุวัดป่าอภัยคีรี ในเขตเมือซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา พระอาจารย์ปสันโนซึ่งเป็นเจ้าอาวาสยังคงนำพระออกบิณฑบาตในเมืองเล็กๆ ใกล้วัดและมีชุมชนชาวเอเชียและชาวตะวันตกจำนวนหนึ่งที่ยินดีใส่บาตรยามเช้า

ในเมืองนอกอาจจะมีคนใส่บาตรไม่มากเท่าเมืองไทย แต่การออกบิณฑบาตคือการรักษาไว้ซึ่งอริยประเพณี เป็นการเปิดโอกาสให้คนได้พบเห็นสมณะอันเป็นมงคลประการหนึ่ง เป็นช่องทางให้ผู้ที่สนใจในธรรมสามารถเข้ามาพบปะพูดคุยกับพระ และนำไปสู่ความเลื่อมใสศรัทธาและการประพฤติปฏิบัติตามหลักคำสอนต่อไป
หลวงพ่อชาได้วางแนวทางการเผยแพร่ธรรมะด้วยการปฏิบัติให้คนเห็น แล้วคนที่มีปัญญาก็จะเกิดศรัทธาเอง เพราะชื่นชมในการกระทำที่ดีงาม คำสอนของหลวงพ่อเป็นที่ประจักษ์ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของวัดป่าในดินแดนตะวันตก ซึ่งสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ



Credit : ภาพถ่าย พระอาจารย์สุทันโต วัดป่าอภัยคีรี และวัดป่าจิตตวิเวก
ที่มาข้อมูล FB @watpah
ข่าวโดย :  กิตติ จิตรพรหม ทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์
เรียบเรียงโดย กิตติ จิตรพรหม : สำนักข่าวทีนิวส์
http://www.tnews.co.th/contents/306305 (http://www.tnews.co.th/contents/306305)


หัวข้อ: Re: "บิณฑบาตเอาคน ไม่ได้บิณฑบาตเอาอาหาร"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 21, 2017, 10:03:25 am
ที่จริง ในการบิณฑบาตร นั้น พุทธานุญาต ให้ยืนรอหน้าบ้านใด หน้าบ้านหนึ่ง ที่เราคิดว่า เขาจะใส่ จนกว่าเขาจะกล่าววาจา ให้ไปที่อื่น ( ไล่  ) อันนี้เดิม ๆ ก็อย่างนี้ ไม่ใช่เดินไปตามบ้านคนที่ใส่เป็นปกติ อย่างที่เราเห็นกันในประเทศไทย ในสมัยครั้งพุทธกาล นั้น คนนับถือ ลัทธิ อื่น ๆ มีมาก แต่การรับอาหาร ของ ลัทธิ อื่น ๆ ก็จะคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันตรงที่ว่า ของ พุทธ ยืนเงียบ ๆ สงบ ๆ ไม่ต้องร้องเพลง ( วณิพก ) ไม่ต้องแก้ผ้า ( จำอวด ) ไม่ต้อง เสกมนต์ ( ล่อลวง ) ไม่ต้องใช้ ธาตไฟ ดิน น้ำ ลม โปรยปราย ( นักแสดง )

พระ แค่ยืนนิ่ง ๆ สำรวม อินทรีย์ เท่านั้น ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ พื้นฐานจิตใจ ของคนตรงนั้น คนในสมัยครั้งพุทธกาล เขาส่วนใหญ่ ก็ใจดี ให้อาหาร ให้น้ำ ให้ที่พัก ไปตามกาล

พระในสมัยก่อน บางครั้งก็นอน กับวัว ควาย ในโรงวัว ควาย

 :49: