หัวข้อ: หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ลงไปเทศนาโปรดพญานาคในเมืองบาดาล เผยเหตุการณ์อัศจรรย์.!! เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 31, 2017, 08:30:42 am (http://img.tnews.co.th/userfiles/images/1436667247-o.jpg) กราบสาธุ!! หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ลงไปเทศนาโปรดพญานาคในเมืองบาดาล เผยเหตุการณ์อัศจรรย์..วันพระราชทานเพลิงหลวงปู่ น่าศรัทธาที่สุด !!! หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นศิษย์สายวิปัสสนากรรมฐานของพระอาจารย์เสาร์ กันตะสีโร และพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ซึ่งท่านทั้งสองเป็นพระอาจารย์ใหญ่แห่งพระธุดงค์กรรมฐาน และวัดหินหมากเป้งเป็นสถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน ของพระอริยะแห่งลุ่มน้ำโขงผู้เปี่ยมด้วยญาณตบะอันแก่กล้าและมหาบารมีแห่งธรรมะ เป็นที่เคารพสักการะแก่พุทธศาสนิกชนของไทยลาว วัดหินหมากเป้งอนุสรณ์สถานวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี ตั้งอยู่ตำบลพระพุทธบาท อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย ครั้งหนึ่ง หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี เคยบอกเล่าแก่ศิษย์ญาณุศิษย์ฟังว่า เบื้องล่างแผ่นดินของจังหวัดหนองคายเป็นเมืองบาดาลภายใต้หินหมากเป้งแห่งนี้ ลึกลงไปจะเป็นถ้ำที่พักของเหล่าพญานาคซึ่งเป็นโพลงถ้ำขนาดใหญ่โตมหึมา เป็นโพลงถ้ำที่ทอดทะลุถึงวัดพระพุทธบาทดอนแก้ว ใกล้วัดหินหมากเป้งอันเป็นรอยพระพุทธบาทองค์จริงอยู่ที่นั้นและโพลงถ้ำยังทอดทะลุไปโดยตลอดทั่วถึงกันทุกหนแห่งของอาณาบริเวณของเมืองพญานาค ในวันดีคืนดีโดยเฉพาะวันพระเหล่าพญานาคที่คอยพิทักษ์รักษาวัดหินหมากเป้ง ก็จะพากันขึ้นมาเฝ้าฟังอรรถรสบทธรรมของหลวงปู่เทศก์ เทพรังสี แถวๆท่าน้ำบริเวณหินศักดิ์สิทธิ์สามก้อน ซึ่งหลวงปู่เทศก์เองก็ได้เทศนาโปรดพญานาคเหล่านั้น และท่านเองยังบอกเล่าว่าเคยลงไปพบพญานาคอยู่หลายครั้ง ที่วัดหินหมากเป้งแห่งนี้ เคยมีบั้งไฟพญานาคปรากฏให้เห็นในวันออกพรรษา ซึ่งคนที่นี่เชื่อว่าเป็นดวงไฟที่พญานาคจุดขึ้นมาเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งวัดหินหมากเป้งแห่งนี้ (http://img.tnews.co.th/userfiles/images/ds58w.jpg) หลังจากหลวงปู่เทสก์ละสังขารในวันประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เทศก์ได้บังเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้น โดยได้มีงูหลามขนาดใหญ่หลายตัวปรากฏกายให้ผู้ที่มาร่วมงานได้พบเห็นบริเวณใกล้ๆกับลานที่ประกอบพิธี บรรดาผู้พบเห็นต่างโจทย์ขานกันไปต่างๆนานาถึงงูลึกลับเหล่านั้น ว่าเป็นตัวแทนของพญานาคที่มีความเลื่อมใสศรัทธาขึ้นมาร่วมประกอบพิธีพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เทศก์ พองานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่เทศก์เสร็จสิ้นบรรดางูเหล่านั้นก็ไม่ปรากฏกายให้ผู้คนได้พบเห็นอีกเลย สำหรับชื่อวัดหินหมากเป้งนี้ กล่าวกันว่าหินหมากเป้งเป็น หินศักดิ์สิทธิ์สามก้อนอันเป็นที่มาและความหมายของวัดแห่งนี้ หลวงปู่เทศก์ได้กล่าวถึงหินหมากเป้งเอาไว้ว่า หินหมากเป้งเป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ท่าน้ำริมฝั่งโขง ภายในบริเวณวัดมีรูปลักษณะคล้ายลูกตุ้มชั่งทองคำสมัยเก่า คำว่าลูกตุ้มชั่งชาวบ้านแถบนี้เรียกว่าเต่งหรือเป้งย้อยหรือหมากเป้ง คนแก่คนเฒ่าเล่าสืบต่อกันมาว่า หินหมากเป้งก้อนที่อยู่เหนือน้ำเป็นของหลวงพระบาง หินหมากเป้งก้อนกลางเป็นของบางกอกหรือกรุงเทพ หินหมากเป้งก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์ ต่อไปในการข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างหินหมากเป้งบริเวณนี้ ให้เจริญรุ่งเรือง ความดังกล่าวคงเป็นผู้มีญาณวิเศษพยากรณ์ไว้เป็นแน่ (http://img.tnews.co.th/userfiles/images/16465264_189707271508903_7328767241380429824_n.jpg) จากสภาพป่าดงดิบเมื่อการก่อนนี้ บัดนี้อาณาบริเวณก้อนหินศักดิ์สิทธิ์สามก้อนเจริญรุ่งเรืองกลายเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจพุทธศาสนิกชนทั้งหลายดังที่ปรากฏ ภายหลังจากหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี มรณภาพคณะศิษย์ได้พร้อมใจกันสร้างหุ่นขี้ผึ้งรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ขึ้น และอัญเชิญพระอัฐิธาตของหลวงปู่เทสก์บรรจุบนหลบแก้วครอบไว้เพื่อเป็นตัวแทนของดวงประทีบแหล่งลุ่มน้ำโขง พระธรรมคำสอนและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่เทสก์ ให้พุทธศาสนิกชนทั้งใกล้ไกลได้มาเที่ยวชมวัดหินหมากเป้งได้ศึกษาและปฏิบัติ อาณาบริเวณวัดหินหมากเป้งและลุ่มน้ำโขงแถบนี้เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ แม้เมื่อครั้งอดีตคนเฒ่าคนแก่บอกว่า บริเวณวัดหินหมากเป้งเป็นดินแดนเถื่อนและอาถรรพ์ที่ไม่ค่อยจะมีใครกล้าย่างกลายเข้ามาใกล้ ชีวิตคน ชีวิตสัตว์ป่าได้เคยสังเวยมานับศพไม่ถ้วนแล้ว ณ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้มักมีเรื่องราวกล่าวขานเกี่ยวกับสิ่งลี้ลับมหัศจรรย์ เกี่ยวกับเหล่ากายทิพย์เทวดาพญานาคกับพระอริยะสงฆ์ซึ่งเรามักจะเคยได้ยินเสมอๆ ทั้งจาการบอกเล่าไว้ของอริยะสงฆ์เองและจากสัจจานุสิตนำมาบอกเล่าต่อๆกันว่า พระอริยะสงฆ์ท่านสามารถติดต่อกับเหล่าเทพ เทวดา พญานาคทั้งหลายได้ด้วยญาณวิเศษและบรรดาเทพ เทวดา พญานาคเหล่านั้น ต่างก็มาก็เข้ามาคอยรับฟังธรรมะจากพวกท่านอยู่เสมอ ที่มาจาก : www.payanaka.com (http://www.payanaka.com) เรียบเรียงโดยเสาวลักษณ์ แสงสุวรรณ : สำนักข่าวทีนิวส์ http://www.tnews.co.th/contents/353217 (http://www.tnews.co.th/contents/353217) |