สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 10, 2017, 07:03:59 am



หัวข้อ: พลิกประวัติ “ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ” สุดศักดิ์สิทธิ์
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 10, 2017, 07:03:59 am

(http://p1.s1sf.com/ho/0/ud/17/87149/taw.jpg)


พลิกประวัติ “ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ” สุดศักดิ์สิทธิ์

ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ เป็นศาลศาสนาฮินดูตั้งอยู่หน้า โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ประวัติการกำเนิดศาล เมื่อ พ.ศ. 2494 พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กำหนดให้มีการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ

ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. 2499 ทาง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรีหลวงสุวิชาน นายแพทย์ใหญ่กองทัพเรือ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโหราศาสตร์ เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม


(http://p1.s1sf.com/ho/0/rp/r/w580/ya0xa0m1/aHR0cDovL3AxLnMxc2YuY29tL2hvLzAvdWkvMTcvODcxNDkvaXN0b2NrXzAwMDAxNTc1MDYwN19tZWRpdW1fLV9jb3B5LmpwZw==.jpg)

พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม

จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ออกแบบตัวศาลโดย นายระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499 ตามแผนงานครั้งแรก องค์ท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน


(https://s.isanook.com/ho/0/ud/17/87149/p.jpg)

ปัจจุบัน ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" ส่วนการแก้บนที่เห็นบ่อย ๆ คือการถวายพวงมาลัย 7 สี 7 ศอก หรือช้างไม้แกะสลัก รวมถึงนางรำแก้บน ละครชาตรี สำหรับพระพรหมนั้น ถือว่าเป็นหนึ่งในสามของพระเจ้า ในศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพรหมคือผู้สร้าง พระศิวะคือผู้ชำระ และพระนารายณ์ คือผู้กอบกู้ธำรง

รูปลักษณ์ของพระพรหมที่จินตนาการตามความเชื่อนั้น เชื่อว่ามี 4 เศียร 4 หน้า และ 4 กร ถือสิ่ง ต่าง ๆ เช่น ช้อน ลูกประคำ ฯลฯ  ท้าวมหาพรหมเคยถูกชายที่ไม่สมประกอบทุบในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2549 ซึ่งทำให้ตัวองค์แตก ดังนั้นจึงมีกำหนดการที่จะบูรณะพระองค์ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับสร้างองค์ใหม่ด้วย แล้วเสร็จในปลายเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน


(http://p2.s1sf.com/ho/0/rp/r/w580/ya0xa0m1/aHR0cDovL3AyLnMxc2YuY29tL2hvLzAvdWkvMTcvODcxNDkvaXN0b2NrXzAwMDAxNTAzNjExMV9tZWRpdW1fLV9jb3B5LmpwZw==.jpg)

ชาวไทยที่รับคติความเชื่อจาก ศาสนาพรหมณ์-ฮินดู เชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้ลิขิต ชะตาชีวิตของบุคคลต่าง ๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เรียกว่า "พรหมลิขิต" และผู้ใดที่บูชาพระพรหมอยู่เป็นนิจ พระองค์จะประทานพรให้สมหวัง เรียกว่า "พรพรหม" หรือ "พรหมพร" และยังเป็นเทพประจำทิศเบื้องบนอีกด้วย

โดยความหมายของคำว่า "พรหม" หมายถึง ความเจริญ , ความกว้างขวาง , ความขยายตัว หรือความเบิกบาน" ดังนั้นตาม คติและวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งผู้บูชาพระพรหมและทำความดี จะได้รับการบันดาลพรให้สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา


(http://p2.s1sf.com/ho/0/rp/r/w580/ya0xa0m1/aHR0cDovL3AyLnMxc2YuY29tL2hvLzAvdWkvMTcvODcxNDkvaXN0b2NrXzAwMDAxNTA5ODY4MF9tZWRpdW1fLV9jb3B5LmpwZw==.jpg)

การกราบไหว้พระพรหม
หากสถานที่กราบไหว้เป็นเทวาลัยขนาดใหญ่ ควรไหว้พระพรหมให้ครบทั้ง 4 พระพักตร์  เริ่มจากพระพักต์กลาง เดินวนไปตามเข็มนาฬิกา จนกลับมาที่เดิม

เครื่องบูชา เครื่องสังเวยต่างๆ
- ดอกไม้กลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกมะลิ ดาวเรือง ดอกบัว ดอกโมก กำยานและธูป  ใช้จุดได้ทุกกลิ่น
- อาหารที่ถวาย ควรเป็นขนมหวาน รสอ่อน ไม่ปรุงรสมากเกิน ไม่เค็มจัด ไม่ผสมสี เน้นธรรมชาติให้มากที่สุด
- ผลไม้  ถวายได้ทุกชนิด แนะนำมะพร้าว สาลี่ ชมพู่ กล้วย
- สามารถถวายธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง ข้าวสาร ข้าวหุง เมล็ดถั่วต่างๆ งาขาว งาดำ ลูกเดือย เผือก มัน สมุนไพร เมล็ดพริกไทย ผักชี ใบกระเพรา พืชผักสดต่างๆ (ของทุกอย่างจะสุกหรือไม่สุกก็ได้ เช่น ผักสดก็ถวายได้ ผักต้มสุกก็ถวายได้)
- ห้ามถวายเนื้อสัตว์เด็ดขาด


 
(http://p1.s1sf.com/ho/0/rp/r/w580/ya0xa0m1/aHR0cDovL3AxLnMxc2YuY29tL2hvLzAvdWkvMTcvODcxNDkvaXN0b2NrXzAwMDA0OTgyMzc4Nl9tZWRpdW1fLV9jb3B5LmpwZw==.jpg)

บทสวดมนต์บูชาพระพรหม
ก่อนสวดบูชาพระพรหม ต้องสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง ซึ่งเป็นกฎการไหว้เทพของศาสนาพราหมณ์ทุกนิกาย

บทสวดพระพรหม(เลือกสวดบทใดก็ได้)
- โอม พรหมมายะ นะมะห์ (สี่จบ)
- โอม ปะระเมศะ นะมัสสะการัม โองการะ นิสสะวะรัม พรหมเรสะยัม ภูปัสสะวา วิษณู ไวยะทานะโมโทติลูกะปัม ทะระมา ยิกยานัม ยะไวยะลา คะมุลัม สะทานันตะระ วิมุสะตินัม นะมัสเต นะมัสเต จะอะการัง ตะโถวาจะ เอตามาตาระยัต ตะมันตะรามา กัตถะนารัมลา จะสะระวะปะติตัม
สัมโภพะกะละ ทิวะทิยัม มะตัมยะ (หนึ่งจบ)
- โอม จะตุระมุขายะ วิทมะเห หัมษา รุทายะ ธีมะหิ ตันโน พรหมมา ประโจทะยาต (หนึ่งจบ)
- โองการพินธุนาถัง อุปปันนัง พรหมมาสะหะปะตินามะ อาทิกัปเป สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมังทิสะวา นะโมพุทธายะ วันทะนังฯ
- โอม พรหมมะเณ ยะนะมะ โองการพินทุ นาถังอุปปันนาถัง สุอาคะโต ปัญจะปะทุมมัง พรหมมาสะหัมปะตินามัง ทิสสะวา นะโมพุทธายะ วันทานัง
- โอม พระพรหมมา ปฏิพาหายะ ทุติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ ตะติยัมปิ พระพรหมมา ปฏิพาหายะ
- พรหมมาจิตตัง ปิยังมะมะ นะชาลีติ นะมะพะทะ นะมะอะอุ เมกะอะอุ
- ปิโย เทวะ มะนุสสานัง ปิโย พรหมมา นะมุตตะมัง ปิโย นาคะ สุปันณานัง ปินินทะริยัง นะมามิหัง


(http://p2.s1sf.com/ho/0/rp/r/w580/ya0xa0m1/aHR0cDovL3AyLnMxc2YuY29tL2hvLzAvdWkvMTcvODcxNDkvaXN0b2NrXzAwMDA0OTgyNDc5Nl9tZWRpdW1fLV9jb3B5LmpwZw==.jpg)


ขอขอบคุณ
ข้อมูล : wikipedia
ที่มา : http://horoscope.sanook.com/87149/ (http://horoscope.sanook.com/87149/)