สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2018, 08:15:57 am



หัวข้อ: ไขข้อข้องใจ ทำไม.? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2018, 08:15:57 am
เจ้าชายลามะน้อย หลานชายกษัตริย์จิกมีแห่งภูฏาน ทรงระลึกชาติได้ถึง 800 กว่าปี..ไขข้อข้องใจ ทำไม.? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก

สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เวลา 9.00 น. พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร พร้อมด้วยคณะสงฆ์วัดสระเกศ พระเถรานุเถระมี พระธรรมโพธิวงศ์ หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล ถวายการต้อนรับ สมเด็จพระราชินีอาชิ เชริง เป็ม วังชุก พร้อมด้วยพระธิดา และรินโปเชลามะน้อย เจ้าชายราชวงศ์ภูฏาน ที่มีพระชันษา 3 ปี ซึ่งสามารถระลึกชาติได้ พร้อมเจริญศาสนสัมพันธ์ พุทธเถรวาท - พุทธตันตรยาน ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานครนั้น

(http://img.tnews.co.th/userfiles/images/Capture(361)(1).JPG)

ในเพจเฟซบุ๊กของ รศ.ดร. ต่อตระกูล ยมนาค ก็เคยได้มีการโพสต์เรื่องราวการระลึกชาติได้ของลามะน้อย ด้วยข้อความว่า “ลามะน้อยองค์นี้ เป็นพระโอรส พระกนิษฐภคินี ( น้องสาว)ของ สมเด็จพระราชาธิบดีจิกมี แห่งภูฐานได้ระลึกชาติ ว่าชาติที่แล้วเป็นอดีตพระลามะที่ภูฐาน ดำรงตำแหน่งสูงเป็น Lotsawa กลับชาติมาเกิด พระลามะผู้ใหญ่ได้นำไปพิสูจน์ตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ก็ทูลขอมาให้เป็นพระลามะเป็นเวลาเป็นปีแล้ว จนถือเป็นข่าวใหญ่อีกที่อินเดียเมื่อได้ไปเยี่ยมวิทยาลัยนาลันทา เมื่อ 1 มกราคม เพราะสามารถจำบริเวณห้องเรียนที่เคยเรียนเคยสอนได้

ทั้งนี้ ในเรื่องของการระลึกชาติ นักจิตวิทยาส่วนหนึ่งเชื่อว่า เป็นเพราะจิตใต้สำนึก ที่ถูกบรรจุไว้ที่สมองซีกขวา ซึ่งเก็บความรู้สึกต่างๆในวัยเด็กไว้และค่อยๆ ปล่อยพลังออกมาเรื่อยๆ ตลอดชีวิต

@@@@@@

แต่ในทางพุทธศาสนาบอกว่าจิตส่วนลึกจริงๆ ที่เรียกว่าจิตไร้สำนึก หรือ “ภวังคจิต” มีความรู้สึกที่ถูกเก็บไว้ข้ามภพข้ามชาติมานับร้อยนับพันภพชาติ และค่อยๆ ปล่อยพลังออกมาเช่นกัน แต่ไม่ว่า จะในทางจิตวิทยาหรือทางพุทธศาสนา สมองซีกขวา ก็คือทางผ่าน ของการใช้พลังจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก

การกำหนดจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ในผู้บรรลุญาน จะพบว่า ความรู้สึกเหล่านั้นไม่ได้มาจากวัยเด็กทั้งหมด มีส่วนที่ฝังอยู่ในจิตส่วนลึกซึ่งข้ามภพชาติมาจริงๆ และสามารถย้อนระลึกความทรงจำได้หลายภพหลายชาติ ดังนั้นการระลึกชาติได้จึงเป็นไปได้สูงในผู้ที่ได้ฝึกสมาธิวิปัสสนามาเป็นอย่างดี


(http://img.tnews.co.th/userfiles/images/27628895_1837736869601323_1004388523834961230_o(1).jpg)

เนื่องจากความรู้สึก เป็นสิ่งที่อยู่เหนือกว่าสถานที่และกาลเวลา ( space – time ) การกำหนดสติเฝ้าดูความรู้สึก ตามหลักสติปัฏฐาน 4 เมื่อเกิดปัญญาญานจะหยั่งรู้ว่า ความรู้สึกบางอย่างถูกฝังมาจากหลายชาติภพ เพียงเมื่อระลึกได้ มันจะผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็วในภพปัจจุบัน โดยมิได้จางหายไปตามกาลเวลา ความรู้สึกเมื่อร้อยปีก่อน หรือพันปีก่อน ความเข้มข้นเท่ากัน ความลับนี้พระพุทธองค์ทรงค้นพบ

คำสอนทางพระพุทธศาสนาจึงเน้นย้ำไปที่การทำความเข้าใจเรื่องความรู้สึก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผัสสะ(การรับสัมผัส) เวทนา(ความรู้สึกชอบ) ตัณหา(ความรู้สึกอยาก) อุปาทาน(ตัวกู ของกู) เมื่อกำหนดสติได้ไวพอที่จะจับความรู้สึก จะพบว่า ความรู้สึกต่างๆที่ผุดขึ้นมาในใจ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มีเหตุและปัจจัย ทำให้เกิด เพียงแต่ ลืมไปหมดแล้วว่าเพราะอะไร


(http://img.tnews.co.th/userfiles/images/27173291_1837736802934663_6913045586446336871_o(1).jpg)

หลายคนอาจเกิดคำถามขึ้นในใจว่า ถ้าเช่นนั้นแล้ว สมองซีกขวา กับ จิตวิญญาณ คือส่วนเดียวกันใช่หรือไม่ สำหรับในทางการแพทย์ที่ไม่เชื่อเรื่องของการเกิดใหม่ อาจจะบอกเช่นนั้น แต่ความจริงแล้ว สมองซีกขวา คือประตูที่จะเปิดเข้าสู่จิตไร้สำนึก (Unconscious mind) เปรียบได้กับภวังคจิตในทางพุทธศาสนานั่นเอง จิตส่วนนี้มีฐานข้อมูลร่วมกับจิตจักรวาล ดังนั้นแม้จะตาย สมองเสียไปแล้ว ความรู้สึกส่วนนี้จะยังคงอยู่ในอีกมิติ และเมื่อไปเกิดใหม่ ก็จะแสดงผลอีกครั้ง

เด็กวัย 1-8 ขวบจะใช้สมองซีกขวาถึง 80 - 95% และค่อยๆลดลงเหลือเพียง 5 - 10% ในวัยผู้ใหญ่ ทำให้คนเราเมื่อเติบโตขึ้น จะจำเรื่องราวต่างๆในช่วง 1-8 ขวบไม่ค่อยได้ ความจริงแล้วความทรงจำเหล่านั้นไม่ได้หายไปไหน มันยังคงฝังอยู่ในจิตใต้สำนึก นอกจากนั้น มีการวิจัยพบว่า คนที่ระลึกชาติได้ ส่วนใหญ่เมื่อผ่านพ้นวัยสิบขวบ ความสามารถในการระลึกชาติจะลดลง นั่นก็เพราะว่าสมองซีกซ้ายเริ่มมีอิทธิพลเหนือสมองซีกขวา ทำให้ความสามารถในการหยั่งรู้ลดลง




ภาพและข้อมูลจาก ต่อตระกูล ยมนาค / วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร /
หนังสือ “เดอะท้อปซีเคร็ด” โดย ทันตแพทย์สม สุจิรา
เรียบเรียงโดยอุทัย เลิกสันเทียะ
http://www.tnews.co.th/index.php/contents/409333 (http://www.tnews.co.th/index.php/contents/409333)


หัวข้อ: Re: ไขข้อข้องใจ ทำไม.? การระลึกชาติจึงมักเกิดขึ้นในวัยเด็ก
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กุมภาพันธ์ 03, 2018, 09:52:56 am
 ;) st12