สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ เมษายน 04, 2018, 06:11:37 am



หัวข้อ: ทำอย่างไร.? ไม่ให้รู้สึกแย่ กับ "คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่น"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 04, 2018, 06:11:37 am

(http://img.amarindigital.com/unsafe/770x433/smart/http://goodlifeupdate.com/app/uploads/2017/11/ben-white-302160-unsplash.jpg)


ทำอย่างไร.? ไม่ให้รู้สึกแย่ กับ "คำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่น"

ถาม : เมื่อถูกตำหนิก็มักท้อใจง่าย ๆ และทุกข์ไปหลายวัน ทำอย่างไรให้ไม่รู้สึกแย่กับ คำวิพากษ์วิจารณ์ ของผู้อื่นครับ

พระมหา ดร.ธนาธิป มหาธมฺมรกฺขิโต ตอบปัญหานี้ไว้ว่า

 ans1 ans1 ans1 ans1

ตอบ : จิตของเรานั้นมีธรรมชาติที่บริสุทธิ์ เรียกว่า “ปภสฺสรํ จิตฺตํ” มีความสะอาด มีความหมดจด และผ่องใส เป็นพื้นฐานหรือเป็นปกติ สาเหตุที่เราทุกข์นั้นเพราะเป็นผลของกิเลสจากภายนอกที่วิ่งเข้ามากระทบการรับรู้ของเรา จนทำให้รู้สึกเศร้า เซ็ง หม่นหมอง และขุ่นมัว เรียกว่ากิเลสจรเข้ามานั่นเอง

กิเลสจรนี้เป็นทุกข์ปกติ ภาษาทางพระเรียกว่าอนิฏฐารมณ์ คือ การรับและรู้สภาวะที่ตนไม่พึงพอใจเป็นเหตุให้เกิดความขุ่นมัว หม่นหมอง และเศร้าใจ เป็นธรรมชาติของจิตที่ถูกกระทบด้วยอารมณ์ฝ่ายลบ จิตของเรากำลังถูกครอบงำจากกิเลส ดังนั้น การถูกใครตำหนิอันเป็นต้นเหตุให้เกิดอาการหม่นหมอง

@@@@@@

วิธีแก้ก็คือ ควรบริหารความคิด การจัดการจิต และการบริหารความรู้สึกในเชิงบวก เรียกว่า จัดสรรอารมณ์ฝ่ายลบไม่ให้มีอิทธิพลเหนือจิตของตนเอง โดยการมีสติ คิดให้แยบยลว่า นี่เป็นโลกธรรม คือ เป็นธรรมชาติอยู่คู่กับโลก ไม่เคยมีใครไม่ถูกตำหนิ แม้แต่พระพรหมก็ยังถูกตำหนิได้ นับประสาอะไรกับเราผู้เป็นคนธรรมดา ไม่มีใครสามารถแก้ไขธรรมชาติข้อนี้ได้

ควรคิดเสียว่า คำตำหนินั้นเป็นขุมทรัพย์ที่ล้ำค่าแก่ชีวิต เพราะช่วยชี้ทางให้เราเข้าใจความบกพร่องของตนเองแต่สิ่งที่เราต้องมาตระหนักมากกว่าก็คือ เราถูกตำหนิว่าด้วยเรื่องอะไร นี่ต่างหากคือหน้าที่โดยตรงของเรา เมื่อนำมาพิจารณาเห็นความบกพร่องของเราเองแล้ว ก็นำมันมาแก้ไข ข้อนี้จึงเป็นประโยชน์ที่แท้จริงแก่ตัวเราเอง ถ้าท่านสามารถเห็นความบกพร่องของตัวเอง แล้วนำมาแก้ไขได้ท่านจะภูมิใจและเป็นเครื่องกำจัดความเศร้านั้นได้เอง



ขอบคุณภาพและเนื้อหาจาก
http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/72563.html (http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/dhamma/72563.html)