สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 19, 2018, 06:28:06 am



หัวข้อ: คุณลักษณะของ "ครูที่ดี" ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร.?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 19, 2018, 06:28:06 am
(http://img.amarindigital.com/unsafe/770x433/smart/http://goodlifeupdate.com/app/uploads/2018/07/neonbrand-426918-unsplash.jpg)


คุณลักษณะของ "ครูที่ดี" ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร.?

จากกรณีถ้ำหลวง แสดงให้เห็นถึงความเป็น ครูที่ดี ของโค้ชเอก ที่สามารถดูแลเด็ก ๆ ทีมหมูป่าให้อยู่ในความสงบ ไม่ตื่นตระหนกได้ ทำให้หลายคนอยากรู้ว่าพุทธศาสนามีการกล่าวถึงคุณลักษณะของครูที่ดีไว้หรือไม่

ครูที่ดีตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาคือ  เป็นครูที่มีคุณลักษณะตามหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันได้แก่หลักธรรมหมวด “กัลยาณมิตตาธรรม” ซึ่งมี  7 ประการ  ดังนี้

@@@@@@

1. ปิโย – น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้เข้าไปปรึกษาไต่ถาม ซึ่งครูที่น่ารักจะทำให้ลูกศิษย์รู้สึกสบายใจเวลาที่พบหน้ากัน มีเมตตาหวังดีต่อเด็กเสมอ ยิ้มแย้ม แจ่มใส ไม่บึ้งตึงทั้งในเวลาสอนและนอกเวลาสอน ให้ความสนิทสนมกับศิษย์ตามควรแก่กาลเทศะ พูดจาอ่อนโยน เอาใจใส่อบรมสั่งสอนศิษย์ให้มีความรู้อย่างแท้จริง เมื่อเด็กมีความทุกข์  ครูก็คอยให้ความเอาใจใส่และปลอบประโลมให้กำลังใจ

2. ครุ – น่าเคารพ ในฐานประพฤติตนควรแก่ฐานะ ทำให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ สามารถเป็นที่พึ่งได้ กระทำตนเป็นแบบอย่างแก่ศิษย์ทั้งพฤติกรรมทางกาย  วาจา  ใจ

3. ภาวนีโย – น่าเจริญใจหรือน่ายกย่อง  ในฐานมีความรู้และฝึกอบรมตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ควรอ้างถึงด้วยความภูมิใจ นั่นคือครูได้กระทำตนให้เป็นที่เจริญน่ายกย่องของศิษย์และบุคคลทั่วไป  มีความรู้และภูมิปัญญาอย่างแท้จริง  มีคุณธรรมควรแก่การกราบไหว้บูชาเสมอ เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ เชื่อกฎแห่งกรรม เป็นผู้รักษาศีล  และควบคุมจิตด้วยสมาธิ

4. วัตตา – มีระเบียบแบบแผน ครูต้องเคารพกฎระเบียบ และ มีระเบียบแบบแผน  พร้อมทั้งอบรมตักเตือนศิษย์ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัยด้วย

5. วจนักขโม – อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะให้คำปรึกษา คำวิจารณ์ โดยไม่เหนื่อยหน่าย หรือ ไม่ขึ้งโกรธ ครูจะต้องอดทนต่อคำพูดของศิษย์ที่มากระทบความรู้สึก  และพร้อมรับฟังข้อซักถาม ให้คำปรึกษาหารือ  แนะนำ  ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

6. คัมภีรัญจะ กถัง กัตตา – แถลงเรื่องได้อย่างลึกซึ้ง สามารถอธิบายเรื่องที่เข้าใจยากให้เข้าใจได้โดยง่าย ทำให้ผู้ไต่ถามเรียนรู้ได้ลึกซึ้งขึ้นไปเรื่อย ๆ นั่นคือครูจะต้องมีความสามารถในการสอน  และอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างแจ่มแจ้ง มีความรอบรู้ในเรื่องที่สอน

7. โน จัฏฐาเน นิโยชเย – ไม่ชักนำไปในทางเสื่อมเสีย หรือ ไม่นำเรื่องเหลวไหลมากล่าวแนะนำ ครูที่ดีย่อมไม่ชักนำศิษย์ไปในทางต่ำทรามหรือเสื่อมโทรมทางจิตใจ พร้อมกันนั้นครูก็ต้องหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นอบายมุขทั้งปวงอีกด้วย

@@@@@@

เหล่านี้คือ คุณลักษณะที่ครูที่ดีสมควรมี


Photo by NeONBRAND on Unsplash
Secret Magazine (Thailand)
ขอบคุณที่มา : http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/103658.html (http://goodlifeupdate.com/healthy-mind/103658.html)


หัวข้อ: Re: คุณลักษณะของ "ครูที่ดี" ตามหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา เป็นอย่างไร.?
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กรกฎาคม 19, 2018, 08:03:49 am
 st12 st12 st12 st11