สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 30, 2018, 01:13:55 pm



หัวข้อ: พุทธวิธีคลายเครียด : "ความสุข" มักซ่อนตัวอยู่ใจกลาง "ความเศร้า"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 30, 2018, 01:13:55 pm

(http://www.madchima.net/forum/gallery/30_30_11_18_1_21_58.jpeg)


พุทธวิธี..คลายเครียด

คำนำ : ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ คับข้องใจหรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ ในวงการแพทย์ยอมรับว่าความเครียด (Stress) ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ความเครียดทำให้การสร้างภูมิต้านทานของร่ายกายลดลง เกิดภาวะไม่สมดุลทางฮอร์โมน กลายเป็นตัวส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งขยายตัวได้ง่าย

ความสุขมักซ่อนตัวอยู่ใจกลางความเศร้า ความเหงามักซ่อนตัวอยู่ในความเริงร่า ความกล้ามักซ่อนตัวอยู่ในความกลัว ขอให้มั่นใจเถิดว่า ปัญญามักซ่อนตัวอยู่ภายในปัญหาเสมอ ขอให้เรานิ่งคิด หยุดแล้วคิดให้นิ่ง ลึกซึ้งและหยุดความคิดให้ได้ ก็จะเห็นว่าปัญหาแต่ละอย่างนั้นมีทางออกเสมอ

ความเครียดคลายได้ และความเครียดก็กำจัดให้หมดไปได้ ตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านพุทธวิธีคลายเครียดแบบประยุกต์

@@@@@@

กายเครียดใจก็เครียด

อะไร คือ เหตุผลที่ทำให้พระพุทธองค์บำเพ็ญทุกรกิริยา.? ตัวอย่างที่แสดงให้เห็นชัดเจนก็คือ เมื่อสมัยที่พระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานพระวรกาย ก็ด้วยทรงมีความเข้าใจว่า คนจะมีสุขได้ ก็ด้วยความทุกข์ หมายความว่า ต้องผ่านความทุกข์ยากมาก่อน จึงจะสามารถเข้าถึงความสุขได้ นี่คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้พระพุทธองค์ต้องทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา

ต่อมาก็ได้ทรงค้นพบความจริงว่า ความสุขไม่จาเป็นต้องเข้าถึงด้วยความทุกข์ ความสุขสามารถเข้าถึงด้วยความสุข กล่าวคือ ความสุขจะเข้าถึงได้ ด้วยการทำเหตุปัจจัยของความสุข เมื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามเหตุปัจจัย คนที่มีปราโมทย์ มีปีติ มีปัสสัทธิ ก็ย่อมมีจะมีความสุข เพราะได้ทำเหตุปัจจัยของความสุขถูกต้อง

ปัญหาสำคัญของการทำทุกกรกิริยา คือ การทำให้ร่างกายเครียด พระพุทธเจ้าตรัสเล่าว่า ขณะที่ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาทรมานพระวรกายนั้น ความเพียรก็เป็นไปด้วยดี สติของพระองค์ก็ดีมีความชัดเจน แต่ไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะกายเครียด และความเครียดนี้พระพุทธองค์ตรัสว่า เป็นอกุศลธรรม เป็นบาปที่จะต้องกำจัดออกไป

@@@@

อกุศลธรรม ๑๐ ประการ

     ๑. โลภะ ความคิดจะเอาของคนอื่น
     ๒. โทสะ ความขัดเคืองคับแค้นใจ
     ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ท้อแท้วุ่นวายใจ
     ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านวุ่นวายใจ
     ๕. วิจิกิจฉา ความระแวงคลางแคลงใน
     ๖. โกธะ ความมักโกรธ ความโกรธบ่อยๆ
     ๗. สังกิลิฎฐะ ความมีจิตขุ่นมัว
     ๘. สารัทธกาย ความมีกายเครียด
     ๙. กุสีตะ ความเกียจคร้าน
   ๑๐. อสมาหิตะ ความไม่มีสมาธิ

@@@@@@

ความเครียด คือ อะไร.?

ความเครียดเป็นภาวะของอารมณ์ หรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อเผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจคับข้องใจ หรือถูกบีบคั้น กดดันจนทำให้เกิดความรู้สึกทุกข์ใจ สับสน โกรธ หรือเสียใจ ในวงการแพทย์ยอมรับว่าความเครียด (Stress) ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ความเครียดทำให้การสร้างภูมิต้านทานของร่ายกายลดลง เกิดภาวะไม่สมดุลทางฮอร์โมน กลายเป็นตัวส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งขยายตัวได้ง่าย

@@@@@@

สาเหตุของความเครียด

    ๑. เครียดเพราะอารมณ์สุดโต่ง เช่น รักมาก โลภมาก โกรธมาก เกลียดมาก หลงมาก อิจฉามาก ริษยามาก นินทามาก
    ๒. เครียดเพราะความคิดที่เป็นพิษ เช่น คิดว่าตนถูกใส่ร้าย คิดว่าตนถูกกลั่นแกล้ง คิดว่าตนไม่สมหวัง คิดว่าเราต้องเอาชนะคนนั้นให้ได้ เราแพ้ไม่ได้ ความคิดเช่นนี้ จะทำให้เรามีปมด้อยในชีวิต
    ๓. เครียดเพราะปากท้อง คนที่ไม่มีจะกินก็ทุกข์เพราะไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะหาอาหารที่ไหนมาใส่ท้อง ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้จะนอนที่ใด ส่วนคนมีกินแล้ว มีที่อยู่ปลอดภัยแล้วก็กังวลเป็นทุกข์จะถูกปล้นจี้ ถูกขโมย ถูกเอาเปรียบ

@@@@@@

วิธีคลายเครียดด้วยสมาธิ

สมาธิ คือ การทำใจและอารมณ์ให้นิ่ง ปัญหาต่างๆที่เราแก้ไม่ได้ มองไม่เห็น เมื่อใจนิ่ง อารมณ์เย็น ก็จะเปิดออกมาให้เราเห็นปม

@@@@@@

วิธีกำจัดความเครียดด้วยปัญญา

๑. กล้าเผชิญความจริง
ความเครียด ทั้งปวงเกิดจากความวิตกกังวล คนเราจะวิตกกังวลทุกอย่าง เมื่อความจริงยังไม่ปรากฏแต่เมื่อเผชิญความจริงแล้ว สติปัญญาที่จะแก้ปัญหาก็มาเอง แม้เรื่องอริยสัจ ๔ ก็เป็นเรื่องสอนให้คนกล้าเผชิญความจริง โดยเฉพาะทรงสอนเรื่อง ”ทุกข์” ทรงนำเสนอความทุกข์ประเภทต่างๆ เช่น ทรงสอนวิธีหาเหตุแห่งทุกข์นั้นว่ามาจากความทะยานอยาก เมื่อเรารู้ชัดถึงเหตุแห่งทุกแล้ว วิธีการแก้ไขปัญหาก็จะตามมา

๒. เข้าใจเรื่องอารมณ์ของตนและของคน “จริต ๖”
พระพุทธเจ้า ตรัสแสดงความแตกต่างของคนไว้ที่ จริตคนเหมือนกัน แต่ถ้าจริตต่างกัน ก็จะมีอารมณ์ต่างๆ กัน ความต่างกันของอารมณ์นี่เอง ที่ทำให้มนุษย์เราคิดต่างกัน เกิดความขัดแย้งกันตลอดเวลา กระทั่งนำความเครียดมาให้เรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงจำเป็นต้องเรียนรู้พฤติกรรมของคนในจริต ๖  เมื่อเราเข้าใจลักษณะของคนแล้ว เราก็จะไม่เครียด

@@@@

๓. ไม่คาดหวัง แต่พิจารณาความเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่ง
ความเครียดอย่างหนึ่งมักเกิดจากความคาดหวัง เป็นธรรมดาที่มนุษย์ทาอะไรมักหวังผลตอบสนอง เมื่อลงทุนก็หวังกาไร ไม่มีใครหวังขาดทุน แม้ทำบุญยังหวังผลบุญ เมื่อหวังจึงมีทั้งสมหวังและผิดหวัง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงสอนให้คนรู้จักหลักความจริง ๓ ข้อ คือ
     - ความเปลี่ยนแปลง
     - ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
     - และความที่เราไม่อาจยื้อสิ่งใดๆ ไว้ในอำนาจได้ตลอดไป
หมั่นพิจารณาสรรพสิ่งที่เราเผชิญว่า
     - ทุกอย่างล้วนเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
     - ชีวิตมีได้มีเสียเสมอ การเสียบางอย่าง ก็เพื่อให้ได้บางอย่างมา
     - ไม่มีใครได้ตลอด แก้วที่เต็มน้าแล้วจะรับน้ำใหม่ไม่ได้ เราหัดทำชีวิตให้พร่องบ้างก็ดี เพื่อรองรับสิ่งใหม่
     - สิ่งที่ดีที่สุดไม่มี มีแต่สิ่งที่ดีพอสมควร
     - อย่าแสวงหาคนดีที่ดีที่สุดในชีวิต ท่านจะหาอะไรไม่ได้เลย

๔. ปิด-เปิดประตูรับรู้ให้เป็นเวลา
พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้รู้จักผัสสะ คือ รสชาติแห่งการรับสัมผัสทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่หลง และที่สำคัญมีสติ ปิด-เปิด เมื่อถึงเวลาอันเหมาะสมเหมือนกับใช้โทรศัพท์มือถือ ต้องรู้จักปิดเมื่อขับขี่ยานพาหนะ ต้องรู้จักปิดเมื่ออยู่ในที่ประชุม หรือชุมชน หรือเวลานอน เป็นต้น โลกยุคใหม่อาจมองดูเหมือนโก้เก๋ทันสมัย แต่แท้จริงแล้วนั่นคือ สายในที่ต่อท่อความเครียดเข้ามาถึงใต้หมอน หากไม่รู้จักปิด-เปิด

@@@@

๕. คนส่วนมากเครียดเรื่องของคนอื่น มิใช่เรื่องของตน
โดยธรรมชาติ คนเรามักเป็นทุกข์ เพราะเรื่องคนอื่น เรื่องของตนมีน้อย เรื่องของคนอื่นที่ไม่ใช่เรื่องส่วนรวม เราควรทิ้งไว้นอกประตูบ้าน ไม่นาขยะความคิดใดๆ เข้าบ้านของเราเอง การนำไฟในออก นาไฟนอกเข้ามาบ้าน คือ ปัญหาที่สังคมแก้ไม่ตก บ้านใดเรือนใด ครอบครัวใด ฉลาดเรื่องไฟ ก็จะไม่ถูกไฟเผาไหม้ให้ร้อนรน

๖. ฝึกแผ่เมตตา นึกถึงกฎแห่งกรรมมากกว่ากฎหมาย
ในทางพระพุทธศาสนา ทรงสอนให้รู้จักผ่อนคลายด้วยการนึกถึงกฎแห่งกรรม นึกว่า สัตว์โลกมีกรรมเป็นของๆ ตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย ไม่ว่าจะทำกรรมใดๆ ดีหรือชั่ว ก็จักได้รับผลของกรรมนั้นสืบไป ไม่มีเปลี่ยนแปลง คิดได้อย่างนี้แล้วสบายใจ

๗. นึกถึงธรรมชาติที่เหมือนกันของสัตว์ทั้งหลาย
มองให้เห็นความเสมอกันระหว่างสัตว์ทั้งหลาย รวมทั้งคนอื่นและตัวเราเองว่า ต้องเผชิญความลำบากในสังสารวัฏเหมือนกัน คือ ต้องดูแลขันธ์ ๕ ต้องถูกโรคภัยเบียดเบียน ต้องแก่ ต้องเจ็บ และสุดท้าย “สัตว์ทั้งหลายต้องตาย” ความตายเป็นปลายทางของชีวิตเหมือนกันหมด ไม่ว่าผู้นั้นจะยากดีมีจนอย่างไร เขาและเราก็ไม่ต่างอะไรกัน เราไม่ต้องเครียดเพราะน้อยใจไปอิจฉาเขา ไม่ต้องเครียดไปโกรธเขา หากแต่มองให้เห็นปัญหาต่างๆ ในชีวิตเขาเหมือนกันกับเรา

@@@@@@

บทสรุป

ความสุขมักซ่อนตัวอยู่ใจกลางความเศร้า ความเหงามักซ่อนตัวอยู่ในความเริงร่า ความกล้ามักซ่อนตัวอยู่ในความกลัว ขอให้มั่นใจเถิดว่า ปัญญามักซ่อนตัวอยู่ภายในปัญหาเสมอ ขอให้เรานิ่งคิด หยุดแล้วคิดให้นิ่ง ลึกซึ้งและหยุดความคิดให้ได้ก็จะเห็นว่าปัญหาแต่ละอย่างนั้นมีทางออกเสมอ ความเครียด คลายได้ และความเครียดก็กำจัดให้หมดไปได้ตามขั้นตอนต่างๆ ผ่านพุทธวิธีแบบประยุกต์ดังได้กล่าวมาแล้วนี้

ความสุขเกิดขึ้นได้เพราะความสงบ ที่ใดสงบ..นั่นแหละ ที่นั่นมีสุข


ที่มา : พุทธวิธีคลายเครียด , By padveewp - 15/08/2015
https://philosophychicchic.com/พุทธวิธีคลายเครียด/   (https://philosophychicchic.com/พุทธวิธีคลายเครียด/)
https://image.slidesharecdn.com/random-140612001500-phpapp02/95/-24-1024.jpg?cb=1439562408 (https://image.slidesharecdn.com/random-140612001500-phpapp02/95/-24-1024.jpg?cb=1439562408)
ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ค นางฟ้า ใจดี