สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: fasai ที่ มกราคม 19, 2010, 10:14:56 am



หัวข้อ: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ มกราคม 19, 2010, 10:14:56 am
ฉันพึ่งกลับจากการปฏิบัติธรรม
เอาบุญมาฝากทุก ๆ คนนะคะ

ฉันไปร่วมปฏิบัติ แล้วมองไปยังเพื่อนสมาชิก ที่มาร่วมกันทั้ง ศาลา เลยคะ เห็นมีแต่ผู้หญิง นะเจ้าคะ
ไม่ใคร่จะเห็นคุณผู้ชาย เลยคะ ทำให้มานั่งคิดว่า ครั้งพุทธกาล กับ ครั้งนี้ยุคนี้ นั้นน่าจะไม่แตกต่างกัน
ดังนั้น ถ้ามองและพิจารณาแล้ว ผู้หญิง น่าจะปฏิบัติธรรมสำเร็จมากกว่าผู้ชายนะ ( ใครเห็นด้วย )

ช่วยยกตัวอย่าง สตรี ที่่ปฏิบัติธรรมสำเร็จให้ฟังด้วยคะ  :D :D
สตรี ที่โลกไม่ควรลืม  ;D ;D


หัวข้อ: Re: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ทินกร ที่ มกราคม 19, 2010, 10:32:14 am
อนุโมทนา ครับ
ส่วนหญิงหรือชายไม่เกี่ยวครับ ในความคิดผม
อยู่ที่ใครมีกิเลสมากกว่ากันในความคิดผม และใครตัดได้มากกว่ากันไม่แบ่งหญิงหรือชาย
เพราะมีแต่จิตล้วนๆครับ เป็นเจ้าของกรรมที่ทำให้เกิดรูป
(อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะครับ)


หัวข้อ: Re: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มกราคม 19, 2010, 04:43:23 pm
ที่ปรากฏในพระไตรปิฏก มีพระภิกษุณี เป็นพระอรหันต์ จำนวน 40 ตามตำแหน่ง เอตทัคคะ ไม่เป็น เอตทัคคะ ไม่ได้กล่าวไ้ว้

ที่เป็นอุบาสิกา สำเร็จ ตั้งแต่ พระโสดาบัน มีจำนวน 44 คน ตามตำแหน่ง เอตทัคคะ ฝ่าย อุบาสิกา


หัวข้อ: เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา หมวดภิกษุณี
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 19, 2010, 04:58:11 pm
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา หมวดภิกษุณี

ที่มา
http://www.84000.org/one/2/index.shtml (ftp://http://www.84000.org/one/2/index.shtml)


1.   พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู (ftp://พระมหาปชาบดีเถรี เอตทัคคะในฝ่ายผู้รัตตัญญู)
เป็นทั้งพระน้านางและพระมารดาเลี้ยง / ขอบวชแต่ผิดหวัง / พระอานนท์ช่วยกราบทูลจึงได้บวช

2.   พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา (ftp://พระเขมาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปัญญา)
หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด / พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน

3.   พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์ (ftp://พระอุบลวรรณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีฤทธิ์)
เพราะสวยบาดใจจึงต้องให้บวช / บวชแล้วยังถูกข่มขืน / พระขีณาสพเหมือนไม้แห้งไม้ผุ /
ห้ามภิกษุณีอยู่ป่า

4.   พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย (ftp://พระปฏาจาราเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงพระวินัย)
ดอกฟ้าได้ยาจก / คลอดลูกกลางทาง / สามีถูกงูกัดตาย /
หัวใจสลายเพราะสูญเสียลูกน้อยทั้งสอง / ทราบข่าวตายของบิดามารดาถึงกับเสียสติ / หายบ้าแล้วได้บวช

5.   พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน (ftp://พระนันทาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เพ่งด้วยฌาน)
เพราะรักญาติจึงออกบวช / พอเบื่อหน่ายก็ได้สำเร็จ

6.   พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก (ftp://พระธรรมทินนาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้เป็นธรรมกถึก)
ถูกสามีตัดเยื่อใยจึงออกบวช / ถูกอดีตสามีลองภูมิ / เป็นผู้เลิศทางทรงธรรม

7.   พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร (ftp://พระโสณาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ปรารภความเพียร)
จากเศรษฐีเป็นอนาถา / ไร้ที่พึ่งพาจึงออกบวช / พอสำเร็จอรหันต์ก็แสดงอภินิหาริย์ /
ได้รับยกย่องว่าเลิศทางความเพียร

8.   พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ (ftp://พระสกุลาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีทิพยจักษุ)
ออกบวชเพราะเบื่อโลก / ได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศทางทิพยจักษ

9.   พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน (ftp://พระภัททากุณฑลเกสาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ตรัสรู้เร็วพลัน)
ลูกปุโรหิตเกิดฤกษ์โจร / ดอกฟ้าในมือโจร / สันดานโจรไม่เจือจาง /
ปัญญามิได้มีไว้เพื่อต้มแกงกิน / โจรชั่วสิ้นชีพ / ถอนผมบวชเป็นเดียรถีย์ /
โต้วาทีกับพระสารีบุตร / ขอบวชในพุทธศาสนา

10.   พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ftp://พระภัททกาปิลานีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้มีปุพเพนิวาสานุสสติญาณ)
ไม่ทำบาปแต่ต้องคอยรับบาป / บวชในสำนักปริพาชก

11.   พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา (ftp://พระภัททากัจจานาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงอภิญญา)
พอประสูติโอรสพระสวามีก็หนีบวช / บวชตามพระสวามีและโอรส

12.   พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง (ftp://พระกีสาโคตมีเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง)
เงินทองของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน / ถ่านกลับเป็นเงินทองตามเดิม / อุ้มศพลูกหาหมอรักษา
/ พระศาสดาบอกยาให้

13.   พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธ (ftp://พระสิงคาลมาตาเถรี เอตทัคคะในฝ่าย ผู้พ้นกิเลสด้วยศรัทธ)า
สิงคาลกุมารไหว้ทิศ ๖ / สิงคาลมาตาออกบวช



ภิกษุณี
ความหมาย ภิกษุณี คือ หญิงที่ได้อุปสมบทแล้ว, พระผู้หญิงในพระพุทธศาสนา

ความเป็นมา
ภิกษุณี เกิดขึ้นในพรรษาที่ ๕ แห่งการบำเพ็ญพุทธกิจ โดยมีพระมหาปชาบดีโคตรมี
พระมาตุจฉา ซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัตถะ เป็นพระภิกษุณีรูปแรก ดังเรื่องปรากฏ
ในภิกษุณีขันธกะและอรรถกถา สรุปได้ความว่า
หลังจากพระเจ้าสุทโธทนะ ปรินิพพานแล้ว วันหนึ่งขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่
นิโครธาราม ในเมืองกบิลพัสดุ์ พระนางมหาปชาบดีโคตรมี เสด็จเข้าไปเฝ้า และทูลขออนุญาต
ให้สตรีสละเรือนออกบวชในพระธรรมวินัย แต่การณ์นั้นมิใช่ง่าย พระพุทธเจ้าตรัสห้ามเสียถึง
๓ ครั้ง

ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเวสาลี ประทับที่กูฎาคารศาลาในป่ามหาวัน
พระนางมหาปชาบดีโคตรมี ไม่ละความพยายาม ถึงกับปลงผม นุ่งห่มผ้ากาสาวะเอง ออกเดิน
ทางพร้อมด้วยเจ้าหญิงศากยะจำนวนมาก (อรรถกถาว่า ๕๐๐ นาง) ไปยังเมืองเวสาลีและได้มายืน
กันแสงอยู่ที่ซุ่มประตูนอกกูฏาคารศาลาพระบาทบวม พระวรกายเปรอะเปื้อนธุลี
พระอานนท์มาพบเข้า สอบถามทราบความแล้ว รับช่วยไปกราบทูลขออนุญาตให้ แต่เมื่อ
พระอานนท์กราบทูลต่อพระพุทธเจ้าก็ถูกพระองค์ตรัสห้ามเสียถึง ๓ ครั้ง
ในที่สุด พระอานนท์เปลี่ยนวิธีใหม่ โดยกราบทูลถามว่า “สตรีออกบวชในพระธรรม
วินัยแล้วจะสามารถบรรลุโสดาปัตติผลจนถึงอรหัตผลได้หรือไม่” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่าได้
พระอานนท์จึงอ้างเหตุผลนั้น พร้อมทั้งการที่พระนางมหาปชาบดีโคตรมีเป็นมาตุจฉาและเป็น
พระมารดาเลี้ยง มีอุปการะมากต่อพระองค์ แล้วขอให้ทรงอนุญาตให้สตรีออกบวช
พระพุทธเจ้า ทรงอนุญาตโดยมีเงื่อนไขว่า พระนางจะต้องรับปฏิบัติตาม “ครุธรรม ๘
ประการ” พระนางยอมรับตามพุทธานุญาตที่ให้ถือว่าการรับคุณธรรมนั้นเป็นการอุปสมบทของ
พระนาง ส่วนเจ้าหญิงศากยะ ที่ตามมาทั้งหมดพระพุทธเจ้าตรัสอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์อุปสมบท
ให้

ในคราวนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระอานนท์ว่า การให้สตรีบวชและเป็นเหตุให้
พรหมจรรย์ คือ พระศาสนาหรือสัทธรรมตั้งอยู่ไม่ได้ยั่งยืนจะมีอายุสั้นเข้าเปรียบเหมือนตระกูลที่
มีบุรุษน้อยมีสตรีมากถูกผู้ร้ายทำลายได้ง่าย หรือเหมือนนาข้าวที่มีหนอนขยอกลง หรือเหมือนไร่
อ้อยที่มีเพลี้ยลง ย่อมอยู่ได้ไม่ยืนนานพระองค์ทรงบัญญัติครุธรรม ๘ ประการ กำกับไว้ก็เพื่อเป็น
หลักคุ้มกันพระศาสนาเหมือนสร้างคันกั้นสระใหญ่ไว้ก่อน เพื่อกันไม่ให้น้ำไหลล้นออกไป
(พระศาสนาจักอยู่ได้ยั่งยืนเช่นเดิม) และได้ทรงแสดงเหตุผลที่ไม่ให้ภิกษุไว้ภิกษุณีให้ภิกษุณีไว้
ภิกษุได้ฝ่ายเดียว เพราะนักบวชในลัทธิศาสนาอื่นทั้งหลาย ไม่มีใครไหว้สตรีกันเลย กล่าวโดย
สรุปว่า หากถือเหตุผลทางด้านสภาพสังคมศาสนาแล้ว จะไม่ทรงอนุญาตให้สตรีบวชเลย แต่ด้วย
เหตุผลในด้านความสามารถโดยธรรมชาติ จึงทรงอนุญาตให้สตรีบวชได้
เมื่อภิกษุณีสงฆ์ เกิดขึ้นแล้ว

สตรีที่จะบวชต่อมาต้องเป็น สิกขมานา รักษาศีล ๖ ( คือ ๖
ข้อแรกในศีล ๑๐) ไม่ให้ขาดเลยตลอด ๒ ปีก่อน จึงขออุปสมบทได้ และต้องรับการอุปสมบท
โดยสงฆ์สองฝ่าย คือ บวชโดยภิกษุณีสงฆ์แล้ว ต้องบวชโดยภิกษุสงฆ์ เจริญแพร่หลายในชมพู
ทวีปอยู่ช้านาน เป็นแห่งให้การศึกษาแหล่งใหญ่แก่สตรีทั้งหลาย
ภิกษุณีสงฆ์ประดิษฐานในลังกาทวีป ในรัชการของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ โดยพระ
สังฆมิตตาเถรี พระราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางจากชมพูทวีปมาประกอบ
อุปสมบทกรรมแก่นางอนุฬาเทวี ชายาของพระเจ้ามหานาค อนุชาของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
พร้อมด้วยสตรีอื่นอีก ๑,๐๐๐ คน

ภิกษุณีสงฆ์เจริญรุ่งเรืองในลังกาทวีปยาวนานไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ ปี แต่ในที่สุดได้สูญ
สิ้นไปด้วยเหตุใด สากลใดไม่ปรากฏชัด ส่วนในประเทศไทยไม่ปรากฏหลักฐานว่าได้เคยมีการ
ประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์


หัวข้อ: เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา หมวดอุบาสิกา
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 19, 2010, 05:02:37 pm
เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา หมวดอุบาสิกา
ที่มา 
http://www.84000.org/one/4/index.shtml (ftp://http://www.84000.org/one/4/index.shtml)


1.   นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน (ftp://นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน)
แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส / ลูกชายหาย / ยสะบรรลุอรหัตผล / อุบาสิกาคนแรก

2.   นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา (ftp://นางวิสาขา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายิกา)
๗ ขวบสำเร็จโสดาบัน / หญิงงามเบญจกัลยาณี / ชน ๔ พวกเมื่อวิ่งจะดูไม่งาม /
ธนญชัยเศรษฐีให้โอวาทลูกสาว / อานิสงส์การทำบุญแล้วแถม / นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว /
พ่อผัวยกย่องวิสาขาให้ฐานะมารดา / คุณสมบัติพิเศษประจำตัวนางวิสาขา / ร้องไห้อาลัยหลาน /
วิสาขาสร้างวัด / เพราะพระเปลือยกายจึงถวายผ้าอาบน้ำฝน / พระภิกษุคิดว่านางเป็นบ้า

3.   นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม (ftp://นางขุชชุตตรา เอตทัคคะในฝ่ายผู้แสดงธรรม)
สาวพิการหลังค่อม / โฆสกเศรษฐีสร้างวัดถวาย / นางขุชชุตตราบรรลุโสดาบัน /
เป็นอาจารย์สอนธรรม / บุพกรรมล้อเลียนพระ

4.   นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา (ftp://นางสามาวดี เอตทัคคะในฝ่ายผู้อยู่ด้วยเมตตา)
เศรษฐีตกยาก / ได้นามว่าสามาวดี / นางสามาวดีบรรลุโสดาบัน /
นางมาคันทิยาผูกอาฆาตพระศาสดา / จ้างนักเลงด่าพระพุทธองค์ /
นางสามาวดีถูกใส่ความเรื่องไก่ / ถูกใส่ความเรื่องงู / อานุภาพแห่งเมตตาธรรม /
นางสามาวดีถูกเผาทั้งเป็นพร้อมหญิงสหาย / ชดใช้กรรมเก่า / กรรมใหม่ให้ผลทันตา

5.   นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน (ftp://นางอุตตรานันทมารดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้เพ่งด้วยฌาน)
ขี้ไถกลายเป็นทอง / นางอุตราถูกน้ำมันเดือดราดศีรษะ

6.   พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต (ftp://พระนางสุปปวาสา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถวายของมีรสอันประณีต)
ตั้งครรภ์นานเกือบ ๘ ปี / ให้อาหารชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐ ๕ ประการ

7.   นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้ (ftp://นางสุปปิยา เอตทัคคะในฝ่ายผู้อุปัฏฐากภิกษุไข้)
เฉือนเนื้อตัวเองถวายพระ / ทรงบัญญัติห้ามภิกษุฉันเนื้อมนุษย์

8.   นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง (ftp://นางกาติยานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้เลื่อมใสมั่นคง)
โจรขุดอุโมงค์เข้าบ้าน / พาโจรบวช

9.   นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา (ftp://นางกาฬีกุรรฆริกา เอตทะคคะในฝ่ายผู้ได้ความเลื่อมใสตามเขา)

10.   นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา (ftp://นางนกุลมารดาคหปตานี เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีความคุ้นเคยในพระศาสดา)
กล่าวตู่ว่าพระพุทธองค์เป็นลูก / แม้ทางใจก็ไม่เคยคิดชั่ว


หัวข้อ: พระเขมาเถรี ฆราวาสผู้สำเร็จอรหันต์ ในอิริยาบถประทับยืน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 19, 2010, 05:07:58 pm
พระเขมาเถรี
เอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา

ที่มา
 http://www.84000.org/one/2/02.html (ftp://http://www.84000.org/one/2/02.html)


พระเขมาเถรี เกิดในราชสกุล กรุงสาคละ แคว้นมัททะ พระประยูรญาติ ได้ให้พระ
นามว่า “เขมา” เพราะพระนางมีผิวพรรณเลื่อมเรื่อดังสีน้ำทอง เมื่อเจริญพระชันษาแล้วได้
อภิเษกสมรสเป็นมเหสีของพระเจ้าพิมพิสารแห่งนครราชคฤห์

เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้กรุงราชคฤห์นั้นพระนางได้สดับ
ข่าวว่า พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษในรูปสมบัติและเพราะความที่พระนางเป็นผู้หลงมัวเมาในรูป
โฉมของตนเอง จึงไม่กล้าไปเข้าเฝ้าพระทศพล ด้วยเกรงว่าพระพุทธองค์จะแสดงโทษในรูปโฉม
ของพระนาง

•   หลงอุบายถูกหลอกให้ไปวัด
ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ก็ทรงดำริว่า “เราเป็นอัครอุปัฏฐากของพระศาสดา แต่อัครมเหสี
ของอริยสาวกเช่นเรานี้กลับไม่ไปเฝ้าพระทศพล ข้อนี้เราไม่ชอบใจเลย” ดังนั้น พระองค์จึงคิด
หาอุบายด้วยการให้พวกนักกวีผู้ฉลาด แต่บทกวีประพันธ์ถึงคุณสมบัติความงดงามของพระวิหาร
เวฬุวันราชอุทยานแล้ว รับสั่งให้นำไปขับร้องใกล้ ๆ ที่พระนางเขมาเทวีประทับ เพื่อให้ทราบ
สดับบทประพันธ์นั้น

พระนางได้สดับคำพรรณนาความงดงามของพระราชอุทยานแล้ว ก็มีพระประสงค์จะ
เสด็จไปชม จึงเข้าไปกราบทูลพระราชาผู้สามี ซึ่งท้าวเธอก็ทรงยินดีให้เสด็จไปตามพระประสงค์
เมื่อพระนางได้เสด็จชมพระราชอุทยานจนสิ้นวันแล้วใคร่จะเสด็จกลับ พวกราชบุรุษทั้งหลายได้
นำพระนางไปยังสำนักของพระบรมศาสดาทั้ง ๆ ที่พระนางไม่พอพระทัยเลย

พระบรมศาสดาทอดพระเนตรเห็นพระนางกำลังเสด็จมา จึงทรงเนรมิตนางเทพอัปสร
นางหนึ่ง ซึ่งกำลังถือพัดก้านใบตาลถวายงานพัดให้พระองค์อยู่เบื้องหลัง พระนางเขมาเทวี เห็น
นางเทพอัปสรนั้นแล้วถึงกับตกพระทัยดำริว่า “แย่แล้วสิเรา สตรีที่งามปานเทพอัปสรเห็นปานนี้
ยืนอยู่ใกล้ ๆ พระทศพล แม้เราจะเป็นปริจาริกา หญิงรับใช้ของนาง ก็ยังไม่คู่ควรเลย เพราะเหตุ
ไร เราจึงเป็นผู้ตกอยู่ในอำนาจจิตคิดชั่วหลงมัวเมาอยู่ในรูปเช่นนี้หนอ”

พระนางยืนทอดพระเนตรเพ่งดูสตรีนั้นอยู่ ในขณะนั้นเอง พระบรมศาสดา ได้ทรง
อธิษฐานให้สตรีนั้นมีสรีระเปลี่ยนแปลงล่วงเลยปฐมวัยแล้วย่างเข้าสู่มัชฌิมวัย ล่วงจากมัชฌิมวัย
แล้วย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย เป็นผู้มีหนังเหี่ยวย่น ผมหงอก ฟันหัก แก่หง่อม แล้วล้มลงกลิ้งพร้อมกับ
พัดใบตาลนั้น

พระนางเขมาเทวี ได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีนั้นโดยตลอดแล้ว จึงดำริว่า “สรีระที่
สวยงามเห็นปานนี้ยังถึงงามวิบัติอย่างนี้ได แม้สรีระของเราก็จักมีคติเป็นไปอย่างนี้เหมือนกัน”
ขณะที่พระนางกำลังมีพระดำริอย่างนี้อยู่นั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสพระคาถาภาษิตว่า:-
“ชนเหล่าใดถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมตกไปในกระแสราคา
เหมือนแมลงมุมตกไปในข่ายใยที่ตนทำเอง
เมื่อชนเหล่านั้นตัดกระแสนั้นได้ โดยไม่มีเยื่อใยแล้ว
ละกามสุขเสียได้ ย่อมออกบวช”
เมื่อจบพระพุทธดำรัสคาถาภาษิตแล้ว พระนางเขมาเทวี ได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในอิริยาบถที่ประทับยืนอยู่นั่นเอง

•   พระอรหันต์ฆราวาสเป็นได้ไม่นาน
ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือน เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วจำต้องปรินิพพานหรือไม่ก็บวชเสียใน
วันนั้น เพราะเพศฆราวาสไม่สามารถจะรองรับความเป็นพระอรหัตถ์ได้ แต่พระนางรู้ว่าอายุ
สังขารของตนยังเป็นไปได้ จึงเสด็จกลับพระราชนิเวศน์ให้พระเจ้าพิมพิสารพระสวามีทรง
อนุญาตการบวชก่อน แม้พระราชาก็ทรงทราบโดยสัญญาณคืออาการที่พระนางแสดงว่าบรรลุ
อริยธรรมแล้ว ทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง ให้พระนางประทับบนวอทองแล้วนำไปอุปสมบทใน
สำนักของภิกษุณีสงฆ์

เมื่อพระนางบวชแล้วได้นามว่า “พระเขมาเถรี” เพราะอาศัยเหตุที่พระนางมีปัญญามาก
บรรลุพระอรหัตผลทั้ง ๆ ที่อยู่ในเพศฆราวาส พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องเธอไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุณีทั้งหลายในฝ่าย ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้เป็น อัครสาวิกาฝ่าย
ขวา

•   วิชชา ความรู้แจ้ง ความรู้วิเศษ มี ๘ คือ
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ
๓. อิทธิวิธี แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ได้
๔. ทิพพโสต หูทิพย์
๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่นได้
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้
๗. พิทพจักขุ ตาทิพย์ (จุตูปปาตญาณ)
๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น




หัวข้อ: นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 19, 2010, 05:18:57 pm
นางสุชาดา เอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน
ที่มา
http://www.84000.org/one/4/01.html (ftp://http://www.84000.org/one/4/01.html)

(http://www.madchima.org/forum/gallery/2_14_01_10_8_43_03.jpeg)
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส

นางสุชาดา เป็นธิดาของเสนิยกุฏุมพี (กุฏุมพี = เศรษฐี ผู้มีทรัพย์มาก) ในหมู่บ้านเสนา
นิคม แห่งตำบลอุรุเวลา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาวนางได้ทำพิธีบวงสรวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ
ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ ๒ ประการ คือ:-

๑. ขอให้ข้าพเจ้าได้สามีที่มีบุญ มีทรัพย์สมบัติ และมีชาติสกุลเสมอกัน
๒. ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรคนแรกเป็นชาย
ถ้าความปรารถนาของข้าพเจ้าทั้ง ๒ ประการ สำเร็จสมบูรณ์แล้ว ข้าพเจ้าจะทำพลีกรรม
แก่ท่านด้วยของอันมีค่าหนึ่งแสนหกปณะ

ครั้นการต่อมา ความปรารถนาของนางสำเร็จทั้งสองประการ โดยได้สามีเป็นเศรษฐีมี
ฐานะเสมอกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชายนามว่า “ยสะ” นางได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนลูก
ชายแต่งงานแล้ว จึงปรารภที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงสังเวยเทพยดาด้วยข้าวมธุปายาส เมื่อถึงวัน
ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางได้ประกอบพิธีหุงข้าวมธุปายาสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นางทาสีสาวให้
ไปปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนต้นไทรนั้น

•   แก้บนด้วยข้าวมธุปายาส
ขณะนั้น พระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หลังจากเลิกการทรมานร่างกายหันมาเสวยพระ
กระยาหารหวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไทรนั้น ผินพระพักตร์ทอดพระ
เนตรไปทางทิศปราจีน (ตะวันออก) มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นปริมณฑลดูงามยิ่ง
นัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงจะเป็นเทพยดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับ
เครื่องพลีกรรม จึงมิได้เข้าไปทำความสะอาดดังที่ตั้งใจมา รีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดา โดยด่วน
ฝ่ายนางสุชาดา จึงเรียบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงามเป็นที่เรียบร้อย แล้วยกถาดข้าว
มธุปายาสขึ้นทูนศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์
งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดีสำคัญว่าเป็นรุขเทวดามานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำ
เข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ ทรงรับและเสวยข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จไปประทับที่โคนต้น
พระศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตและได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญู
พุทธเจ้าในวันนั้น หลังจากได้ประทับเสวยวิมุติสุข คือ สุขอันเกิดจากการตรัสรู้บริเวณใกล้ ๆ นั้น
เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ รวม ๔๙ วัน แล้วได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ
ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

•   ลูกชายหาย
ในที่ไม่ไกลจากป่าอิสิปตนมฤคทายวันมากนัก ตระกูลครอบครัวของนางสุชาดา ได้ตั้ง
อยู่บริเวณนั้น เพราะเป็นตระกูลเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมาก แต่มีบุตรชายเพียงคนเดียว จึงเอาอก
เอาใจบำรุงบำเรอบุตรด้วยกามคุณ ๕ อย่าง พร้อมสรรพ ด้วยหวังจะให้บุตรชายเป็นทายาทสืบ
สกุล ได้สร้างปราสาท ๓ หลัง สำหรับเป็นที่อยู่ใน ๓ ฤดู อีกทั้งมีสาวงามคอยขับร้องประโคม
ดนตรีขับกล่อมตลอดเวลา

คืนหนึ่ง ยสะนอนหลับก่อนบริวารและสาวขับร้อง ท่ามกลางแสงประทีปส่องสว่างอยู่
บรรดาหญิงนักขับร้องประโคมดนตรีทั้งหลายเห็นยสะนอนหลับแล้วจึงคิดว่า บัดนี้เจ้านายก็หลับ
แล้วพวกเราจะขับร้องประโคมดนตรีกันไปเพื่อประโยชน์อะไร จึงพากันเอนกายลงนอนหลับ
ใหลไม่ได้สติ

สยะตื่นขึ้นมายามดึกเห็นอาการอันวิปริตต่าง ๆ ของหญิงนักดนตรีเหล่านั้นนอนกันไม่
เป็นระเบียบ บ้างก็นอนบ่นละเมอเพ้อพึมพำ บ้างก็นอนกรน ดังดูจเสียงกา บ้างก็เลื้อยกายไม่มี
ผ้าปิด บ้างก็อ้าปากน้ำลายไหล ฯลฯ ไม่เป็นที่เจริญจิตเจริญใจดังแต่ก่อน ภาพเหล่านี้ปรากฏแก่
ยสะดุจซากศพ ในป่าช้าผีดิบ เกิดความรู้สึกสลดรันทดใจ และเบื่อหน่ายรำคาญเป็นที่สุด จึงเดิน

ออกจากห้องเดินพลางบ่นพลางว่า “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ” ออกจากห้องลงบันไดเดิน
ไปอย่างไม่มีจุดหมาย บังเอิญได้เดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งขณะนั้นพระพุทธองค์
เสด็จเดินจงกรมอยู่ ได้สดับเสียงของยสะเดินบ่นมาเช่นนั้น จึงตรัสว่า “ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัด
ข้อง เธอจงเข้ามาที่นี่เราจะแสดงธรรมให้ฟัง”
ยสะจึงถอดรองเท้าแล้วเข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ ได้สดับพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา
และอริยสัจ ๔ จบแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

•   ยสะบรรลุพระอรหัตผล
ฝ่ายทางบ้าน พอรู้ว่าลูกชายหายไปจึงรีบส่งคนออกติดตามทั่วทุกทิศ บิดาเองก็ออกติด
ตามด้วยและบังเอิญเดินไปทางป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เห็นรองเท้าลูกชายก็จำได้จึงเข้าไปกราบ
ทูลถามพระพุทธองค์ว่าเห็นลูกชายมาทางนี้บ้างหรือไม่ พระพุทธองค์ทรงดำริว่า “ถ้าพ่อลูกได้
เห็นหน้ากันก็จะเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุธรรม” จึงทรงบันดาลด้วยฤทธิ์มิให้พ่อลูกเห็นกัน
ตรัสแก่เศรษฐีว่า “ท่านจงนั่งลงก่อนแล้วท่านจะได้เห็นลูกชายของท่าน” แล้วทรงแสดง
อนุปุพพิกถา และอริยสัจ ๔ ให้ท่านเศรษฐี ฟัง ส่วน ยสะก็ได้ฟังอีกครั้งหนึ่ง เมื่อจบลงเศรษฐีได้

บรรลุพระโสดาบัน ส่วนยสะได้บรรลุพระอรหัตผล พระพุทธองค์ทรงทราบว่า ยสะได้บรรลุ
พระอรหัต ไม่หวนกลับไปครองเพศฆราวาสอีกต่อไปแล้ว จึงทรงคลายฤทธิ์ให้พ่อลูกได้เห็นกัน
เศรษฐีเห็น ยสะลูกชายก็ดีใจ อ้นวอนให้กลับบ้าน ด้วยคำว่า “ยสะ มารดาของเจ้าเศร้าโศกยิ่งนัก
เจ้าจงให้ชีวิตแก่มารดาของเจ้าด้วยเถิด” แต่พอทราบว่า ยสะบรรลุพระอรหัตแล้ว ก็อนุโมทนา
และขอแสดงคนเป็นอุบาสก ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ระลึก ตลอดชีวิต ได้ชื่อว่า “เป็น
อุบาสกคนแรก ที่ถึงพระรัตนตรัย” แล้วกราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยยสะให้ไป

รับอาหารบิณฑบาตที่เรือนของตนในเช้าวันนั้น และเมื่อทราบว่าพระพุทธองค์ทรงรับอาราธนา
แล้ว จึงกราบทูลลากลับบ้านแจ้งแก่ภรรยาและบริวารในบ้านให้จัดเตรียมอาหาร เพื่อถวายพระ
บรมศาสดาและ ยสะ ฝ่ายยสะ เมื่อบิดากลับไปแล้วกราบทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ทรง
ประทานด้วยพระดำรัสว่า

“เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมอันเรากล่าวดีแล้วเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เถิด” โดยไม่มีคำว่า
“เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ” เหมือนกับที่ประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ เพราะว่ายสะได้สำเร็จเป็น
พระอรหันต์ ตั้งแต่ก่อนบวชนั่นเอง การอุปสมบทแบบนี้เรียกว่า “เอหิภิกขุอุปสัมปทา”
เช้าวันนั้น พระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระยสะเสด็จไปยังเรือนของเศรษฐีตามคำ
อาราธนา ประทับบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะได้ช่วยกันถวาย

ภัตตาหาร เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้สตรีทั้งสอง
ฟัง เมื่อจบลงเธอทั้งสองก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาบันในพระพุทธศาสนา แสดง
ตนเป็นอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต เธอทั้งสองได้ชื่อว่า “เป็นอุบาสิกาคนแรกหรือรุ่น
แรกที่ถึงพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา”

ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องนางสุชาดา (มารดาของพระยสะ) ในตำแหน่ง
เอตทัคคะ ว่าเป็นผู้เลิศกว่าอุบาสิกาทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อนอุบาสิกาทั้งปวง
 




หัวข้อ: Re: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 19, 2010, 06:52:17 pm

ได้เวลาตอบคำถาม

-   ขออนุโมทนาบุญกับคุณฟ้าใสด้วยครับ

-   จากประสบการณ์ของผมเอง ทุกที่ที่ไปมาผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย


-   สมัยพุทธกาล กับสมัยนี้  ผู้หญิงปฏิบัติธรรมมากกว่าผู้หญิงหรือไม่
ผมเห็นว่า แม้อ่านพระสูตรจบ ก็ยังไม่ได้คำตอบ เนื่องจากโดยส่วนตัวเชื่อว่า
พระสูตรบันทึกเฉพาะเหตุการณ์ที่สำคัญเท่านั้น เรื่องเพศและจำนวนผู้ปฏิบัติไม่มีครับ

-   การปฏิบัติธรรมแล้วสำเร็จเป็นอริยะขั้นใดขั้นหนึ่งนั้น  ถ้าคิดในเชิงวิทยาศาสตร์
หรือความน่าจะเป็น เมื่อมีผู้หญิงปฏิบัติธรรมมากกว่าผู้ชาย แน่นอนครับ ผู้หญิงน่าจะสำเร็จมากกว่าผู้ชาย

แต่อย่าลืมว่า การปฏิบัติธรรมสามารถทำได้ทุกที่ ไม่จำเป็นต้องเป็นวัด หรือสำนักใดๆ   
การปฏิบัติธรรมสามารถทำที่บ้านก็ได้ หรือแม้กระทั้งที่ทำงานก็ทำได้  สถานที่ต่างๆที่ไม่มีคนรู้ อาจมีอยู่เยอะ และไม่มีการจดบันทึกรายละเอียดต่างๆไว้  เราจึงไม่สามารถระบุเพศและจำนวนได้

ฉะนั้น เรายังสรุปไม่ได้ว่า ผู้หญิงสำเร็จธรรมมากกว่าผู้ชาย
แต่โดยส่วนตัวเห็นด้วยกับคุณฟ้าใส  เป็นการเชื่อแบบคาดเดา ครับ

                      -   จากข้อมูล http://www.84000.org/one/index.shtml (http://www.84000.org/one/index.shtml) ระบุว่ามีเอตทัคคะ (ผู้ที่เป็นเอกด้านต่างๆ)  เป็นภิกษุณี 13 ท่าน และเป็นอุบาสิกา 10 ท่าน  ผมได้นำมาลงให้แล้ว พร้อมทั้งยกตัวอย่างให้สองคน โดยนำเอาประวัติมาให้อ่าน คือ  พระเขมาเถรีเอตทัคคะในฝ่ายผู้มีปัญญา และนางสุชาดาเอตทัคคะในฝ่ายผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน 

    ทั้งสองคนบรรลุเป็นอริยบุคคลในขณะที่เป็นฆราวาส คุณฟ้าใสเอาเป็นตัวอย่างได้นะครับ คุณฟ้าใสก็บรรลุเป็นอริยบุคคลได้เช่นเดียวกัน



หัวข้อ: Re: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ มกราคม 21, 2010, 12:49:01 pm
สำหรับ ฟ้าใส นั้น ชื่นชมกับ สตรีที่โลกไม่ควรลืมก็คือพระนางยโสธรา หรือพระนางพิมพา นางแก้วของเจ้าชายสิทธัตถะ

รบกวน คุณณัฐพลสันต์ ช่วยลงประวัติเป็นกระทู้ใหม่เลยได้ไหมคะ

ได้โปรด ได้โปรด ได้โปรด

สาธุ อนุโมทามิ


หัวข้อ: Re: ในครั้งพุทธกาล มีผู้หญิงปฏิบัติเป็นพระอริยะสาวก จำนวนเยอะไหมคะ
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ ตุลาคม 17, 2010, 12:56:02 am
เชิญคุณผู้หญิง มาอ่านเรื่องเกี่ยวกับ อุบาสิกา และ อรหันตสาวิกา กันเถิด คร้า....

(http://g1.buildboard.com/images/attachpic/g1/B959/B959F6712T15898_509b15c098172decec18189b97db4e8d.gif)