สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 05, 2019, 06:59:15 am



หัวข้อ: “…เพราะมีเมืองบางขลัง จึงมีสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ และประเทศไทย…”
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 05, 2019, 06:59:15 am
(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w700/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTYxNTcvaHlyanR5ai5qcGc=.jpg)


บางขลัง ไม่สิ้นมนต์ขลัง

รอบๆ ตัวเมืองบางขลัง มีซากโบราณที่เป็นวัดร้าง เจดีย์ร้างตั้งเป็นระยะเรียงรายอยู่รอบพื้นที่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ได้ถูกขุดค้น ทำลายจนเกือบสูญสิ้นสภาพไป เกือบทั้งหมดแล้วเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันเหลือเพียงแผ่นอิฐและศิลาแลงที่หักบ้าง ดีบ้าง กองรวมกัน มีต้นไม้ขนาดเล็กขึ้นแซมเป็นจุดๆ

ที่ยังปรากฏสภาพให้มองเห็นได้อย่างชัดเจนเป็นซากโบราณสถานที่ตั้งอยู่นอกตัวเมือง ได้แก่ วัดบางขลัง หรือวัดโบสถ์ และวัดใหญ่ชัยมงคล เป็นต้น


(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w670/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTYxNTcvMjI0NDcyLmpwZw==.jpg)

(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w670/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTYxNTcvMzA0NDg2LmpwZw==.jpg)

เพราะมีเมืองบางขลัง จึงมีสุโขทัย

“เมืองบางขลัง” ตำบลเล็กๆ ตำบลหนึ่ง ที่ซ่อนตัวอยู่ในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย น้อยคนนักที่จะรู้จัก รู้ถึงประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณแห่งนี้ 

ถือกำเนิดขึ้นมาร่วมสมัยกับเมืองเก่าสุโขทัย และเมืองเก่าศรีสัชนาลัย ปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์อย่างกระท่อนกระแท่น แต่ก็คงไว้ซึ่งความสำคัญในฐานะ “จุดกำเนิดของประเทศไทย”

ดั่งคำที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงตั้งข้อสังเกตว่า

“…เพราะมีเมืองบางขลัง จึงมีสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ และประเทศไทย…” ครั้นเสด็จมาสำรวจและศึกษาอารยธรรมเมืองบางขลัง เมื่อปีพุทธศักราช 2535

ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยนั้น เริ่มต้นขึ้นเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถม ผู้นำชาวไทยเข้าปกครองเมืองเชลียง ก่อนจะขยายอำนาจของเมืองเชลียงเข้ารวมกับเมืองสุโขทัย จนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของชุมชนชาวไทยในลุ่มน้ำยม

ต่อมาพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 กษัตริย์แห่งอาณาจักรขอม ได้ขยายอำนาจเข้ามายังดินแดนไทย โดยมีเมืองละโว้เป็นศูนย์กลาง ทำให้เมืองบางขลัง เมืองสุโขทัย เมืองเชลียง กลายเป็นเมืองชายขอบของอาณาจักรละโว้ และอาณาจักรหริภุญชัย

ต่อมาละโว้ได้ส่งขุนนางนามขอมสบาดโขลญลำพงเข้ามาดูแลเทวสถาน และเผยแผ่ศาสนาพราหมณ์มายังกรุงสุโขทัย


(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w670/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTYxNTcvMjg2MzYxLmpwZw==.jpg)

หลังจากที่พ่อขุนศรีนาวนำถมสิ้นพระชนม์ลง สุโขทัยได้ถูกคุกคามอย่างหนัก

เมื่อขอมเข้ามามีบทบาทในการปกครอง พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาวเจ้าเมืองบางยางซึ่งเป็นสหายกัน จึงได้รวบรวมไพร่พลกันที่เมืองบางขลัง พร้อมเกณฑ์นักรบเมืองบางขลัง เข้าไปสมทบที่เมืองศรีสัชนาลัย แล้ววางแผนล่อขอมออกจากเมืองสุโขทัย พ่อขุนผาเมืองจึงได้วางแผนนำกำลังไพร่พลส่วนหนึ่งไปเมืองราดในคืนนั้น เพื่อรอโอกาสนำกำลังอ้อมเข้าตีเมืองสุโขทัยคืนจากขอม

กองทัพพ่อขุนผาเมืองใช้เวลากลางคืนในการเดินทางมายังกรุงสุโขทัย จนย่ำรุ่งและได้นำกำลังเข้าตีขอมที่ยึดเมืองสุโขทัยไว้ กองกำลังไพร่พลของพ่อขุนผาเมือง และไพร่พลเมืองบางขลังก็ได้เข้าต่อสู้กับทัพขอมสบาดโขลญลำพงอย่างสุดกำลัง

กองทัพภายใต้การนำของพ่อขุนผาเมืองได้ต่อสู้อย่างกล้าหาญ ทำให้กองกำลังขอมต้องล่าถอยออกจากกรุงสุโขทัย

พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนบางกลางหาวจึงยึดเมืองสุโขทัยคืนจากขอมได้ พร้อมกันนี้พ่อขุนผาเมืองได้ยกเมืองสุโขทัยให้แก่พ่อขุนบางกลางหาว

พ่อขุนผาเมืองได้ถวายพระนาม มอบพระขรรค์ชัยศรี และนางเสืองผู้เป็นน้องสาว ให้แก่พ่อขุนบางกลางหาวขึ้นครองราชสมบัติเป็น “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์”

ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัยตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา


(https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w670/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjgzLzE0MTYxNTcvODc3ODU0LmpwZw==.jpg)

ปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลังได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนผาเมืองและพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไว้บริเวณหน้าที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนเมืองบางขลังสืบไป

ชื่อเมืองบางขลัง ยังปรากฏอยู่ในศิลาจารึกหลักที่ 2 ณ วัดศรีชุมอีกด้วย โดยเนื้อความบางส่วนในศิลาจารึกกล่าวว่า

“…พ่อขุนผาเมืองเจ้าเมืองราดเอาพลมา ตบกันที่เมืองขลง ได้เวนบางขลงแก่พ่อขุนผาเมือง แล้วพ่อขุนผาเมือง เมืองราด เมืองสคา…”

ถือเป็นหลักฐานที่ยืนยันได้เป็นอย่างดีเลยว่า ประเทศไทยนั้นมีประวัติศาสตร์ เริ่มต้นจากเมืองบางขลังนั่นเอง




ขอบคุณ : https://www.sanook.com/travel/1416157/ (https://www.sanook.com/travel/1416157/)
สนับสนุนเนื้อหาโดย : https://www.nairobroo.com/ (https://www.nairobroo.com/)
05 ก.ค. 62 (14:00 น.)