หัวข้อ: เวสารัชชกรณธรรม : ตัวชี้วัดความกล้าหาญ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 18, 2019, 06:26:48 am :25: :25: :25: เวสารัชชกรณธรรม : ตัวชี้วัดความกล้าหาญ เวสารัชชกรณธรรม คือ ธรรมที่ทำให้เกิดความกล้าหาญมีอยู่ 5 ประการคือ 1. ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักการที่ตนเองยึดถือ และความดีที่ตนเองกระทำ 2. ศีล หมายถึง มีความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลผิดธรรม 3. พาหุสัจจะ หมายถึง เป็นผู้คงแก่เรียนได้แก่ เรียนมาก และรู้มาก 4. วิริยารัมภะ หมายถึง มีความเพียรพยายามในการทำงาน 5. ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ เข้าใจในเหตุและผล ดี ชั่ว ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น ธรรมทั้ง 5 ประการข้างต้น เป็นพุทธพจน์ซึ่งมีที่มาปรากฏในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระไตรปิฎก เล่มที่ 22 โดยนัยแห่งพุทธพจน์ข้างต้น สามารถนำเป็นเครื่องชี้วัดพฤติกรรมของบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในตำแหน่งผู้นำว่าเป็นผู้มีความกล้าหาญมากน้อยเพียงใด @@@@@@ ในขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กำลังตกเป็นจำเลยทางการเมืองในสายตาฝ่ายค้านจำเลยทางสังคม ในกรณีที่ไม่เข้าประชุมสภาฯ เพื่อตอบกระทู้ของฝ่ายค้านในหัวข้อกล่าวคำถวายสัตย์ฯ ไม่ครบถ้วนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งเข้าข่ายขาดความกล้าหาญตามนัยแห่งเวสารัชชกรณธรรมข้อที่ 1 คือ ความเชื่อและความมั่นใจในหลักที่ยึดถือ และความดีที่ทำ กล่าวคือ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เห็นว่าสิ่งที่ตนเองได้กระทำไม่ถูกต้อง และดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องกลัวต่อข้อซักถามของฝ่ายค้าน แต่การที่ไม่ไปตอบกระทู้จะอนุมานเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากไม่มั่นใจในสิ่งที่ทำ ส่วนอีก 4 ข้อที่เหลือจะขาดหรือไม่ขาดคงจะต้องดูจากคำชี้แจงของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันอภิปรายนายกรัฐมนตรี โดยไม่ลงมติตามมาตรา 152 ในวันที่ 18 กันยายน ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้แสดงให้เห็นถึงความดี 4 ข้อที่เหลือ ก็อนุมานได้ว่ามีความกล้าหาญทางคุณธรรม และควรที่จะได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำต่อไป ถ้าคำชี้แจงในวันที่ 18 กันยายน พิสูจน์ไม่ได้ว่ามีเวสารัชชกรณธรรม 4 ข้อที่เหลือ ก็อนุมานได้ว่าขาดความกล้าหาญ ซึ่งผู้นำควรมีและจะเป็นเหตุให้ประชาชนไม่ศรัทธาในความเป็นผู้นำ ซึ่งจะเป็นเหตุให้รัฐบาลพบกับวิกฤตศรัทธาแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ ขอบคุณ : https://mgronline.com/daily/detail/9620000089067 เผยแพร่: 16 ก.ย. 2562 13:51 โดย: สามารถ มังสัง |