หัวข้อ: การเจริญสมาธิ (สมาธิภาวนา) ๔ อย่าง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 16, 2011, 08:24:37 am ตรัสแสดงการเจริญสมาธิ ( สมาธิภาวนา ) ๔ อย่าง
๑. ที่เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ได้แก่เจริญฌาน ๔, ๒. ที่เป็นไปเพื่อได้ญาณทัสสนะ ( การเห็นด้วยญาณ) ได้แก่การใส่ใจในความกำหนดหมายแสงสว่าง ตั้งความ กำหนดหมายว่าเป็นกลางวัน คืออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยจิตสงัดไม่ถูกรึงรัด ว่าเหมือนกันทั้งกลางวันกลางคืน, ๓.ที่เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ ได้แก่รู้แจ้งเวทนา, สัญญา, วิตก ( ความตรึก ) ที่เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป, ๔. ที่เป็นไปเพื่อสิ้นอาสวะ ได้แก่เห็นความเกิดขึ้น ดับไปแห่ง ขันธ์ ๕. ที่มา พระไตรปิฎกฉบับประชาชน (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ) สมาธิภาวนา ๔ (การเจริญสมาธิ, วิธีฝึกสมาธิแบบต่างๆ จำแนกตามวัตถุประสงค์) ๑. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อทิฏฐธรรมสุขวิหาร (คือเพื่อการอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน เช่น ใช้เป็นเครื่องพักผ่อนจิต หาความสุขยามว่าง เป็นต้น) ๒. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อการได้ญาณทัสสนะ ๓. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะ ๔. สมาธิภาวนาที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ที.ปา.๑๑/๒๓๓/๒๓๓; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๔๑/๕๗ ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต) พระไตรปิฎก เล่ม ๑๑ พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค [๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง ๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป เพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ ๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ ๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ ๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็น ไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้วทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวันอย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย เวทนาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับสัญญาทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรมวินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ย่อมถึงความดับ วิตกทั้งหลายอันภิกษุในพระธรรม วินัยนี้รู้แจ้งแล้ว ย่อมบังเกิดขึ้นย่อมตั้งอยู่ ย่อมถึงความดับ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ สติสัมปชัญญะ ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นไฉน ฯ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีปรกติพิจารณาเห็นความเกิดขึ้นและความ เสื่อมไปในอุปาทานขันธ์ห้าว่า ดังนี้รูป ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูปดังนี้ความดับแห่งรูป ดังนี้ เวทนา ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา ดังนี้ความดับแห่งเวทนา ดังนี้สัญญา ดังนี้ความเกิดขึ้น แห่งสัญญา ดังนี้ความดับแห่งสัญญาดังนี้สังขาร ดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร ดังนี้ความดับ แห่งสังขาร ดังนี้วิญญาณดังนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ ดังนี้ความดับแห่งวิญญาณ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลายสมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ ที่มา พระไตรปิฎกฉบับธรรมทาน หัวข้อ: Re: การเจริญสมาธิ (สมาธิภาวนา) ๔ อย่าง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 16, 2011, 08:57:33 am ขอคุยเล่นๆนะครับ ขอให้ดูข้อความในพระไตรปิฎก(ข้อสอง) ที่กล่าวว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ ความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน "ดูกร ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ฯ" คำว่า อาโลกสัญญญา คือ อะไร ขอยกความหมายในพจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์มาแสดงดังนี้ อาโลกสัญญา ความสำคัญในแสงสว่าง, กำหนดหมายแสงสว่างคือ ตั้งความกำหนดหมายว่ากลางวันไว้ในใจ ให้เหมือนกันทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เป็นวิธีแก้ง่วงอย่างหนึ่ง อาโลกสิณ กสิณคือแสงสว่าง, การเจริญสมถกรรมฐานตั้งใจเพ่งแสงสว่างเป็นอารมณ์ (ข้อ ๙ ใน กสิณ ๑๐) จากความหมายข้างต้น หากคิดกันง่ายๆ ก็คือ พระไตรปิฎกกำลังสอนว่า ให้ทำ "อาโลกสิณ" เพื่อการได้มาซึ่งญาณทัสสนะ คราวนี้มาดูอีกข้อความ(อยู่ข้อหนึ่ง) "ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น" ให้เพื่อนๆสังเกตว่า ในฌานที่สอง มีคำว่า"ธรรมเอก" เพื่อนๆรู้ไหมครับคืออะไร มีประโยชน์อะไร ที่ผมเคยได้ยินมา ในสายพระป่าจะใช้ธรรมเอกนี้ในการเจริญวิปัสสนา และแน่นอนการเจริญวิปัสสนาของพระป่าจะต้องเข้าฌานก่อน จากนั้นจึงออกจากฌานมาเจริญวิปัสสนา เพื่อนๆมีความเห็นเช่นไร แชร์กันบ้างนะครับ ขอให้ธรรมคุ้มครอง :25: หัวข้อ: Re: การเจริญสมาธิ (สมาธิภาวนา) ๔ อย่าง เริ่มหัวข้อโดย: wipadakao ที่ มกราคม 16, 2011, 08:04:25 pm http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=268.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=268.0)
ของคุณฟ้าใส ลงครบปีพอดีคะ |