สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 18, 2019, 09:36:30 am



หัวข้อ: ปางประสานบาตร
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 18, 2019, 09:36:30 am


(https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%A3-696x357.jpg)


ปางประสานบาตร

ปางประสานบาตร – พระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิมีบาตรวางอยู่บนตัก พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตร พระหัตถ์ขวาคว่ำปิดปากบาตร เรียกว่า ปางประสานบาตร

พุทธประวัติกล่าวว่า บาตรใบนี้เกิดขึ้นจากท้าวจตุโลกบาตร (ผู้ดูแลและรักษาโลกทั้ง 4 ทิศ) ที่มีชื่อว่า
ท้าวเวสสุวัณ ผู้ดูแลทางทิศเหนือเป็นหัวหน้ายักษ์ ภูตผีปีศาจและทรัพย์สินเงินทอง
ท้าวสักกะเทวราช ผู้ดูแลโลกด้านทิศตะวันออก ผู้เป็นหัวหน้าเทวดา คนธรรพ์ ฝ่ายศิลปะ ดนตรี ขับร้อง
ท้าวยมราช ผู้ดูแลโลกด้านทิศใต้ ผู้กำกับดูแลความยุติธรรม
ท้าววรุณ ผู้ดูแลโลกทางทิศตะวันตก กำกับดูแลความอุดมสมบูรณ์ของพืชพันธ์ุธัญญาหารของโลก

ได้นำบาตร 4 ใบมาถวายแทนบาตรที่หายไปขณะที่พระพุทธเจ้าหลังการตรัสรู้และเสวยวิมุตสุข (โดยไม่ดื่มไม่เสวยอาหาร รวมแล้วถึง 49 วัน) และพระพุทธเจ้าได้รวมบาตรทั้ง 4 เข้าเป็นใบเดียวกัน เพื่อรับบิณฑบาตครั้งแรกจากพ่อค้า 2 คน ที่มาถวายข้าวที่เรียกว่าสัตตุก้อน (ข้าวปั้น) (ในประเทศพม่า เชื่อกันว่าเป็นผู้นำเส้นผมของพระพุทธเจ้า 8 เส้น ซึ่งได้บรรจุไว้ใน เจดีย์ชเวดากองที่เมืองย่างกุ้ง)

(https://www.khaosod.co.th/wp-content/uploads/2019/11/%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4-17%E0%B8%9E%E0%B8%A2.jpg)
ปางประสานบาตร

ตามคติและสัญลักษณ์น่าจะหมายความว่า ภารกิจหรือกิจกรรมเดิมทั้งปวงได้แก่ ความคิด การประพฤติปฏิบัติในการแสวงหาความเป็นจริง (เปรียบเสมือนการใช้ภาชนะเดิม) ได้เสร็จสิ้นลงแล้ว อริยสัจคือ ความจริงอันประเสริฐรวมกันสี่ประการได้ปรากฏขึ้นแล้ว เป็นหนึ่งเดียวกัน หรือคือสัญลักษณ์ของบาตรที่ความหมายของความจริงหรืออริยสัจ 4 นั่นเอง

ส่วนเรื่องประกอบคือ ผม 8 เส้นที่ให้แก่พ่อค้าทั้งสองก็คือ อริยมรรคอันมีองค์ 8 จะได้ใช้เป็นกิจกรรมการประพฤติปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความสิ้นทุกข์

 

ขอบคุณ ; https://www.khaosod.co.th/amulets/news_3059168 (https://www.khaosod.co.th/amulets/news_3059168)
คอลัมน์ : คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรม โดย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์
วันที่ 16 พฤศจิกายน 2562 - 10:51 น.