สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2020, 06:01:40 am



หัวข้อ: คำแนะนำ ในการเลือกอาหาร ที่ถูกหลักโภชนาการ สำหรับพระสงฆ์
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 08, 2020, 06:01:40 am
(https://i0.wp.com/goodlifeupdate.com/app/uploads/2020/02/iStock-658140644.jpg?w=846)


คำแนะนำ ในการเลือกอาหาร ที่ถูกหลักโภชนาการ สำหรับพระสงฆ์

3 อาหารถูก หลักโภชนาการ พระสงฆ์

การใส่บาตรและถวายพระเพื่อให้ได้บุญ นอกจากเรื่องของรสชาติอาหารแล้ว พุทธศาสนิกชนต้องพิจารณาถึงข้อปฏิบัติในการเลือกอาหารสุขภาพมาใส่บาตร ที่ถูกต้องตาม หลักโภชนาการ สำหรับพระสงฆ์  ซึ่งต้องประกอบด้วยอาหารดังต่อไปนี้

@@@@@@

อาหาร 3 กลุ่ม ที่ถูกหลักโภชนาการ สำหรับพระสงฆ์

1. อาหารธัญพืช
ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ รำข้าว งาดำ ลูกเดือย เห็ด และพืชตระกูลถั่ว ธัญพืชที่ไม่ขัดสีจะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เพราะมีวิตามินบีเเละอี ช่วยหลอดเลือดมีสุขภาพดี ป้องกันความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบได้  ป้องกันโรคเหน็บชา ตะคริว มีใยอาหารช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ใหญ่ ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง กระตุ้นการเจริญเติบโตของกระดูก เพิ่มเเคลเซียม ช่วยลดไขมัน และคอเลสเตอรอล ช่วยบำรุงระบบประสาทในสมอง และมีสารช่วยต่อต้านมะเร็ง ช่วยบำรุงม้าม และปอด ยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอก ลดความดันโลหิตช่วยเพิ่มเเรงบีบตัวของหัวใจ

2. อาหารที่มีเเร่ธาตุ
จำพวกพืชผัก วิตามินเเละเเร่ธาตุสูง มีเส้นใยช่วยขับถ่ายเป็นปกติ เเละสามารถป้องกันโรคเรื้อรังต่างได้

    - เเคลเซียม บำรุงกระดูกและฟันแข็งเเรง หากขาดเเคลเซียมทำให้เกิดโรคกระดูกอ่อน และการแข็งตัวของเลือดไม่ดี  เช่น ตำลึง คะน้า คื่นช่าย กุ้งเเห้ง กุ้งฝอย และปลาไส้ตัน
    - ฟอสฟอรัส ทำหน้าที่ร่วมกับเเคลเซียม เช่นผักใบเขียว ถั่ว เเละเนื้อสัตว์ต่างๆ
    - แมกนีเซียม ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท ถ้าขาดธาตุนี้จะทำให้เกิดกล้ามเนื้อกระตุก มักอยู่ในพืชใบเขียว เยื่อหุ้มเมล็ดพืช  เช่น รำข้าว
    - ธาตุเหล็ก  เป็นองค์ประกอบหลักในเลือด ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น เช่น ตับ กุยช่าย
    - โซเดียม  ทำหน้าที่ร่วมกับโพเเทสเซียมเพื่อควบคุมน้ำในร่างกาย และการนำประสาท โดยถ้าขาดธาตุนี้จะเป็นตะคริว ชัก หมดสติ และถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่หากกินโซเดียมมากเกินไปอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูงได้ เช่น เกลือ น้ำปลา ซีอิ๊ว ปลา และผักผลไม้ต่างๆ
    - โปเเตสเซียม ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัวของกล้ามเนื้อ และนำกระเเสประสาท รักษาระดับของเหลวในเซลล์ เช่น กล้วยและผักใบเขียวต่างๆ
    - วิตามิน สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน วิตามินที่ร่ายกายจำเป็นได้รับ เป็นวิตามินละลายไขมันในไขมัน เช่น วิตามินเอ ดี อี เค  วิตามินละลายน้ำได้ เช่น วิตามินบี วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้ตระกูลส้ม
    - กรดโฟลิก มีความสำคัญในการะบวนการสร้าง DNA สร้างเม็ดเลือดเเดง สมองเเละไขสันหลัง เช่น เห็ด ถั่วชนิดต่างๆ ข้าวโพด บรอกโคลี อะโวคาโด

3. ผักเพื่อสุขภาพ
ควรเลือกซื้อผักตามฤดูกาล เพราะจะได้ผักที่สดและราคาถูก โดยควรล้างด้วยน้ำสะอาดหลายๆครั้ง แล้วใช้มือถูบนใบผักเบาๆ ช่วยให้สารพิษตกค้างหลุดออกมาได้ง่าย ผักที่มีสรรพคุณทางยา เช่น

    - กระเทียม รักษาโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอลและความดัน
    - ใบกระเพรา มีเบต้าแคโรทีน ป้องกันโรคมะเร็งและโรคหัวใจขาดเลือด
    - ขิง ข่า บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด
    - มะระ มีวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
    - หัวปลี มีกากใยมาก ช่วยระบบขับถ่าย และมีธาตุเหล็กช่วยบำรุงเลือด ผิวพรรณ


(https://goodlifeupdate.com/app/uploads/2020/02/iStock-814329244-768x401.jpg)
Luang Prabang, Laos-July 22, 2009. Every day very early in the morning, hundreds of monks walk the streets to beg

วิธีปฏิบัติที่เหมาะสม ในการปรุงอาหาร และเลือกซื้ออาหารถวายพระ

การเลือกซื้ออาหารเพื่อใส่บาตรถือเป็นการใส่ใจที่พุทธศาสนิกชนควรคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์เป็นหลัก เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ให้ดีและแข็งเเรง ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ทำบุญใส่บาตรหรือซื้อจากร้านค้า ล้วนมีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการเลือกอาหารใส่่บาตร ดังต่อไปนี้

1. ควรจัดอาหารถวายพระให้หลากหลายครบ 5 หมู่ และควรเลือกปรุงจากวัตถุดิบที่ถูกหลักโภชนาการ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ ปลา และควรถวายอาหารประเภทผักทุกมื้อ โดยเฉพาะผักพื้นบ้านเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีปนเปื้อน

2. เลือกใส่บาตรข้าวกล้องแทนข้าวขาว เพราะมีคุณประโยชน์จากข้าวกล้อง มีวิตามินบี1-12 โดยเฉพาะวิตามินบี 6 ช่วยแก้อาการเหน็บชา ปวดเมื่อยตามข้อ เหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่มีอายุมาก

3. ในเเต่ละมื้อควรมีอาหารประเภทต้ม นึ่งย่าง (แบบไม่ไหม้) แกงไม่ใส่กะทิ และอาจมีอาหารประเภทผัดหรือทอดที่ใช้น้ำมันน้อย ควรจัดอาหารที่ให้พลังงานต่ำ เช่น ปลานึ่ง แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ยำต่างๆ น้ำพริก-ผักสดผักลวก เป็นต้น

4. การปรุงอาหารประเภททอดหรือผัด ควรเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวันปรุงอาหาร เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

5. อย่าปรุงอาหารให้มีรสเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัดจนเกินไป

6. หลีกเลี่ยงการจัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงในมื้อเดียวกัน เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หรืออาหารที่มีกะทิ เป็นต้น

7. จัดให้มีผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม แตงโม มะละกอ เป็นต้น

@@@@@@

อย่างไรก็ตามนอกจากเลือดอาหารตาม หลักโภชนาการ พระสงฆ์ แล้ว ในภาพรวมพุทธศาสนิกชนจะเลือกใส่บาตรอาหารอะไรก็ได้ที่ไม่มันมากและรสไม่จัด ลดอาหารประเภทผัดและทอด โดยเฉพาะควรเป็นอาหารที่ทำเองดีที่สุด


ข้อมูลจาก : หนังสือโภชนปฏิบัติเพื่อสุขภาพพระสงฆ์ โดย พินิจ ลาภธนานนท์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอบคุณ : https://goodlifeupdate.com/healthy-body/194727.html
https://goodlifeupdate.com/healthy-body/194727.html/2
By sirakan ,7 February 2020