สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 30, 2020, 06:32:32 am



หัวข้อ: “ขอโทษ” คำง่ายๆ แต่กลับพูดกันได้ยาก
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 30, 2020, 06:32:32 am

(https://obs.line-scdn.net/0hEI6uCHGPGmYLDDNLmadlMTFaGQk4YAllbzpLZVdiRFJxOQ04YD0HVylfR1Jyb104NGxRAyYOAVd0NVpiMD4H/w1200)


“ขอโทษ” คำง่ายๆ แต่กลับพูดกันได้ยาก


เชื่อว่าหลายคนตอนเด็กๆ มักถูกสอนให้พูดคำว่า “ขอบคุณ” เวลาคนให้ของ และต้องรู้จักพูด “ขอโทษ” เมื่อทำความผิด สองคำนี้เป็นคำพื้นฐานที่ผู้ใหญ่ใช้สั่งสอนให้เด็กรู้จักมีมารยาท มีนิสัยอ่อนโยนน่ารักน่าเอ็นดู

น่าแปลกที่ เมื่อวันเวลาผ่านไป ทั้งสองคำนี้กลับถูกนำมาใช้ไม่บ่อยเท่าที่ควร ยิ่งไปกว่านั้นบางครั้งเรากลับมองว่าสิ่งดีๆ ที่ได้รับนั้นเป็นหน้าที่ของผู้ให้ เช่นการได้รับบริการจากพนักงานในร้านอาหารหรือพนักงานเปิดประตู จริงอยู่ที่เขากำลังปฏิบัติตามหน้าที่ แต่การที่เราเอ่ยแค่คำว่า “ขอบคุณ” ก็อาจทำให้เขารู้สึกถึงคุณค่าในสิ่งที่กำลังทำ และเป็นการแสดงน้ำใจดีๆ โดยไม่ต้องใช้เงินสักบาท

และเป็นเรื่องน่าเศร้าที่อีกหนึ่งคำที่พูดยากยิ่งกว่า นั่นก็คือคำว่า “ขอโทษ” … อาจะเป็นเพราะคำนี้ถูกสอนให้ใช้เมื่อรู้สึกตัวว่าเป็นฝ่ายกระทำผิด ทำให้บางคนที่ยังไม่รู้สึกผิด ไม่คิดที่จะใช้คำนี้ และที่ยิ่งน่าเศร้าไปกว่านั้นก็คือ คนที่พูดคำว่าขอโทษได้ยาก กลับเป็นฝ่ายผู้ใหญ่เสียเองที่ไม่ยอมเป็นฝ่ายขอโทษก่อนเพราะกลัวจะเสียเหลี่ยม เสียเชิง ให้แก่ผู้ที่มีอาวุโสน้อยกว่า


(https://obs.line-scdn.net/0h_ehIlIGnAEpVMCln-A9_HW9mAyVmXBNJMQZRSQleXn4vBRdMaFFGe3YwXi54UkcUPVFGJHU0G3sqCUBOb1JG/w1200)

หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเล่าตลกร้ายของชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไปปรึกษากับคุณพ่อของเขาเรื่องการแต่งงาน และคุณพ่อสั่งให้เขาพูดคำว่า “ขอโทษ” โดยที่ชายหนุ่มคนนั้นไม่เข้าใจว่าตัวเองทำอะไรผิดต้องขอโทษเรื่องอะไร แต่เมื่อเขาตัดสินใจยอมพูดคำว่า “ขอโทษ” โดยไม่รู้เหตุผล คุณพ่อจึงเฉลยว่าเขาพร้อมจะแต่งงานแล้ว..

จริงอยู่ว่าการพูด “ขอโทษ” นั้นควรมาจากความสำนึกรู้สึกผิดในสิ่งที่ได้เคยกระทำลงไป ในอีกมุมหนึ่งก็ยังเป็นการแสดงออกถึงความใส่ใจในความรู้สึกของอีกฝ่าย และถึงแม้จะยังไม่รู้ตัวว่าได้ทำอะไรลงไป แต่ในเมื่ออีกฝ่ายกำลังเดือดเนื้อร้อนใจโดยมีเราเป็นสาเหตุ การพูดขอโทษจึงเป็นทางออกทีดีสำหรับทุกฝ่าย อย่างน้อยผู้พูดก็ได้ทำการลดอีโก้ในตัวเองลงแล้ว เพื่อรักษาไว้ซึ่งความสมพันธ์ ซึ่งการลดอีโก้ลงนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย

    อย่างไรก็ตาม อย่าให้คำว่า “ขอโทษ” ถูกใช้ในทางที่ผิด เช่นขอโทษเพื่อให้เรื่องมันจบๆ ไป คำว่า
   “ขอโทษก็แล้วกัน” / “ขอโทษก็ได้” / “ก็ขอโทษแล้วไง”

    เป็นการพูดแบบส่งๆ เพื่อให้เรื่องมันจบๆไป โดยที่ผู้พูดไม่ได้รู้สึกผิดและแทบยังไม่ได้ลดอีโก้ในตัวเองลงเสียด้วยซ้ำ นอกจากจะที่ไม่ช่วยให้ผู้ฟังรู้สึกดีขึ้น สถานการณ์อาจดำเนินไปในทิศทางที่แย่ลง หรือการเอ่ยคำขอโทษแล้วก็ยังกลับไปทำผิดซ้ำๆ จนคำขอโทษไม่มีความหมายอันใดเพราะสุดท้ายก็ยังกระทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า




ขอบคุณ : https://today.line.me/th/v2/article/“ขอโทษ” คำง่ายๆ แต่กลับพูดกันได้ยาก-VXyVoL (https://today.line.me/th/v2/article/“ขอโทษ” คำง่ายๆ แต่กลับพูดกันได้ยาก-VXyVoL)
LINE TODAY ORIGINAL เผยแพร่ 4 ชั่วโมงที่ผ่านมา • External❤Heart❤This
Photo by _Toa Heftiba (https://unsplash.com/@heftiba)_ | unsplash.com