สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 09, 2020, 07:22:41 am



หัวข้อ: เผยที่มารูปปั้นพญานาคสุดน่ารัก มาจากความเรียบง่าย ตัดทอน สิ่งที่ไม่จำเป็น
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ธันวาคม 09, 2020, 07:22:41 am


(https://mpics.mgronline.com/pics/Images/563000012973101.JPEG)


เผยที่มารูปปั้นพญานาคสุดน่ารัก มาจากความเรียบง่าย ตัดทอน สิ่งที่ไม่จำเป็น

เผยที่มารูปปั้นพญานาคสุดคิ้ว แห่งวัดชัยภูมิการาม จ.อุบลราชธานี โดยช่างฝีมือในสมัยก่อนสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น เหลือเพียงความงามที่บริสุทธิ์ สร้างด้วยความจริงใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนา

จากกรณี เพจ “สิม” เผยภาพรูปปั้นพญานาค และสัตว์ต่างๆ ตามวัดในภาคอีสาน ที่รูปร่างแปลก ลักษณะคล้ายตัวการ์ตูน ทราบว่า ช่างปั้นแต่ละท้องถิ่นได้จินตนาการรูปปั้นต่างๆ ขึ้นมาตามคำบอกเล่าแล้วจินตนาการขึ้นมา แล้วสร้างขึ้นมาโดยอาศัยประสบการณ์ของแต่ละคน+ความเชื่อ+ความศรัทธา ผลงานที่ออกมาจึงแสดงถึงเอกลักษณ์เฉพาะตน จุดเด่นหลักๆ ของงานลักษณะนี้ คือ เรียบง่าย-ไม่ซับซ้อน-ลดทอน-ละเอียด ไม่จำเป็นต้องได้สัดส่วน เด๋อๆ น่ารัก ไร้เดียงสา ความกล้าในการใช้สีสัน ซื่อๆ แต่จริงใจ

อ่านข่าวประกอบ - รวมภาพรูปปั้นพญานาคแนวเรียบง่ายไร้เดียงสา เน้นน่ารัก ชี้ปั้นจากจินตนาการของช่างท้องถิ่น (https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000124872)

@@@@@@@

อย่างไรก็ตาม เพจ “อีสานสามฤดู” ได้ออกมาโพสต์ข้อความอธิบาย ถึงที่มาของรูปปั้นพญานาคที่มีลักษณะคล้ายตัวการ์ตูน ว่า

“เหราวัดกลาง (ชัยภูมิการาม) วัดกลาง (ชัยภูมิการาม) เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี สมัยก่อนเป็นที่พำนักของเจ้าคณะผู้บริหารคณะสงฆ์ เช่น เจ้าเมือง เจ้าคณะแขวง เจ้าคณะอำเภอ ตลอดจนเป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมที่มีชื่อเสียงในอดีต มีพระอุโบสถที่ก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบเขมราฐ เป็นเอกลักษณ์ของช่างชาวเขมราฐในอดีต ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ภายในวัดยังมีอาคารไม้แบบโคโลเนียนอยู่ในสภาพชำรุด แต่ก่อนเอาไว้ให้พระและสังการีมาพักตอนที่มาเรียนหนังสืออยู่ที่นี่ เหรา ลำตัวคล้ายนาค มีขา มีเขาเหมือนมังกร มีหงอนอยู่กลางหัว ใบหน้ายาวปลายจมูกแหลมดวงตากลมโตริมฝีปากแดงมีเขี้ยวแหลมคม มีฟันตลอดริมฝีปากบนล่าง มีเขา มีหงอนอยู่กลางหัวเป็นกนกเปลวยื่นไปข้างหน้า

เหราวัดกลางนั้น ช่างฝีมือในสมัยก่อนสร้างขึ้นแบบเรียบง่าย ตัดทอนในสิ่งที่ไม่จำเป็น ให้เหลือเพียงความงามที่บริสุทธิ์ ไม่มีเกล็ดหรือเปลวกนกอย่างช่างภาคกลาง แต่เป็นช่างพื้นถิ่นที่สร้างด้วยความจริงใจและศรัทธาในพระพุทธศาสนา เป็นความงามอีกรูปแบบหนึ่งที่หาได้ยากในปัจจุบัน”




ขอบคุณ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000125733
เผยแพร่ : 8 ธ.ค. 2563 16:17 ,โดย : ผู้จัดการออนไลน์