หัวข้อ: วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มรดกวิจิตรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 03, 2021, 05:55:01 am (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaGouanBn.jpg) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม มรดกวิจิตรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร ที่สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2412 ในสมัยรัชกาลที่ 5 และได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 7 จึงเป็นวัดเพียงแห่งเดียวในยุครัตนโกสินทร์ที่มีสถานะเป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ ในพระบรมราชวงศ์จักรีสองพระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) พร้อมทั้งเป็นพระอารามหลวงแห่งสุดท้ายในประเทศไทย ที่สร้างตามโบราณราชประเพณีของการสร้างวัดประจำรัชกาล (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UxLmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UyLmpwZw==.jpg) ชื่อวัดแห่งนี้มาจากมหาสีมาขนาดใหญ่ ซึ่งทำเป็นเสาศิลาจำหลักรูปสีมาธรรมจักร ตั้งที่กำแพงวัดจำนวน 8 ทิศ แปลว่า วัดซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้าง และเป็นวัดซึ่งมีมหาสีมาตั้งอยู่ ด้านความงามของสถาปัตยกรรมและการก่อสร้าง สะดุดสายตาตั้งแต่ก้าวแรก ก่อนย่างเข้าสู่ขอบเขตกำแพงวัด ที่สังเกตได้จากบานประตูสีสดใสเป็นไม้แกะสลักรูปทหารแบบยุโรป เมื่อเข้าสู่อาณาบริเวณพระอุโบสถ รูปทรงภายนอกเป็นสถาปัตยกรรมไทย แต่เมื่อก้าวเข้าไปสู่ด้านใน จะพบความวิจิตรตระการตาแบบสถาปัตยกรรมกอทิกทางตะวันตก ที่ผสมผสานความงามของพุทธศาสนาและลวดลายไทยได้อย่างลงตัว (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UzLmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U0LmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U1LmpwZw==.jpg) โดยมีพระพุทธอังคีรส พระประธานที่ประดิษฐานอยู่บนฐานชุกชีหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งใต้ฐานเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของกษัตริย์หลายพระองค์ รวมถึงพระบรมราชสรีรางคาร พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ส่วนพระเจดีย์และพระวิหารคตด้านหลังพระอุโบสถ ประดับกระเบื้องเบญจรงค์งดงามยิ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระอารามแห่งนี้ (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U2LmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U3LmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U4LmpwZw==.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2U5LmpwZw==.jpg) ความสำคัญอีกประการของวัดราชบพิธฯ คือ สถานที่ตั้งของสุสานหลวงทางด้านทิศตะวันตก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นที่บรรจุพระอัฐิ และพระสรีรางคารแก่พระบรมราชเทวี พระราชเทวี เจ้าจอมมารดา พระราชโอรส และพระราชธิดาในพระองค์ ซึ่งเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่เศษ ของสุสานหลวง เสมือนสวนหย่อมร่มรื่นที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมผสมผสานหลากหลาย เช่น เจดีย์พระปรางค์ และศิลปะแบบตะวันตก (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UxMC5qcGc=.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UxMS5qcGc=.jpg) (https://s.isanook.com/tr/0/rp/r/w728/ya0xa0m1w0/aHR0cHM6Ly9zLmlzYW5vb2suY29tL3RyLzAvdWQvMjg0LzE0MjQ3MDEvaW1hZ2UxMy5qcGc=.jpg) ข้อมูลน่ารู้ ภายในวัดมีพระที่นั่งสีตลาภิรมย์ เป็นเก๋งจีน 3 ชั้น ซึ่งปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บโบราณวัตถุ และของใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน คือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 11 และสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราชเจ้า สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน สนามไชย - เดินไปอีกประมาณ 800 เมตร ขอบคุณ : https://www.sanook.com/travel/1424701/ (https://www.sanook.com/travel/1424701/) 01 ม.ค. 64 (08:00 น.) ,Passport : สนับสนุนเนื้อหา |