หัวข้อ: เชื่อไหม.? แค่หายใจคลายอาการซึมเศร้าได้ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 06, 2021, 05:51:33 am (https://i0.wp.com/goodlifeupdate.com/app/uploads/2021/01/44-2.png?w=846) เชื่อไหม.? แค่หายใจคลายอาการซึมเศร้าได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ มีคนป่วยและเสียชีวิตจากโรคซึมเศร้าเป็นจำนวนมาก และมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากผลสำรวจ ปี 2563 คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ากว่า 2.9 ล้านคน จะเห็นได้เลยว่า โรคซึมเศร้านี้ เป็นเรื่องที่เกิดกับใครก็ได้ และใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด หลายท่านอาจกำลังสงสัยว่า โรคซึมเศร้า อาการ เป็นอย่างไร? ต้องมีความเศร้ามากน้อยแค่ไหน? บางคนอาจไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่าเป็นโรคนี้หรือเปล่า ดังนั้น ชีวจิตจึงอยากจะชวนทุกท่าน มารู้จักวิธีการหายใจช่วยคลายซึมเศร้ากันค่ะ กำหนดลมหายใจ กระตุ้นความสุข อาจารย์ ดร.ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ผู้เชี่ยวชาญด้านการสะกดจิตบำบัดทางการแพทย์และจิตวิทยาให้คำปรึกษา รวมทั้งเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมการสั่งจิตบำบัดทางการแพทย์และทันตกรรมนานาชาติสหรัฐอเมริกา (IMDHA) อธิบายว่า “ในทางการแพทย์พบว่า หากอยากมีอายุยืนยาวแข็งแรง และมีความสุข ให้กระตุ้นระบบประสาทส่วนพาราซิมพาเทติก (PNS) หรือประสาทส่วนผ่อนคลายเป็นหลัก เพราะระบบประสาทส่วนนี้จะช่วยปลดปล่อยฮอร์โมนดี ได้แก่ เอนดอร์ฟิน เซโรโทนิน ออกซิโท-ซิน โกร๊ธฮอร์โมน โดพามีน ซึ่งฮอร์โมนทั้งหมดมีผลให้ร่างกายผ่อนคลาย มีความสุข เยียวยาอาการเจ็บปวด “แล้วให้ใช้ประสาทส่วนซิมพาเทติก (SNS) หรือประสาทส่วนเร่งเร้าเพียงอ่อนๆ พอมีชีวิตชีวาเป็นบางครั้งคราวเมื่อยามภัยคุกคามเข้ามาเท่านั้น เพราะประสาทฝั่งเร่งเร้านำมาซึ่งสารแห่งความทุกข์มากมายเช่น คอร์ติซอล อะดรีนาลิน แลกเทต เป็นต้นจึงพูดได้ว่า ระบบประสาทส่วนพาราซิมพาเทติกเป็นระบบประสาทแห่งความสุข ส่วนประสาทส่วนซิมพา-เทติกเป็นระบบประสาทแห่งความทุกข์” @@@@@@@ วิธีที่ 1. ช่วยส่งเสริมความจำ การคิด การมองโลกในแง่ดี หายใจเข้าลึกจนท้องป่อง แล้วหายใจออกให้ยาวจนรู้สึกสบาย 10 ครั้ง วิธีนี้ไม่เพียงกระตุ้นระบบประสาทพาราซิมพาเทติกเท่านั้น ยังช่วยปรับคลื่นสมองให้อยู่ในโหมดคลื่นอัลฟ่าด้วย ซึ่งช่วยส่งเสริมความจำ การคิด การมองโลกในแง่ดี คุณจะสงบเร็วขึ้น มีสติ ตัดสินใจแก้ไขปัญหาและสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดีขึ้น วิธีที่ 2. ช่วยผ่อนคลายความเครียด และบู๊สต์พลังให้กับตัวเอง การเคาะตามแนวเส้นเมอริเดียนหรือจุดรวมประสาทของร่างกายเช่น การเคาะที่ศีรษะ ใบหน้า และหู จะช่วยกระตุ้นระบบประสาท ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น “Breathing Exercise หรือการฝึกลมหายใจเข้าลึกออกยาว ช่วยคลายเครียดได้ตั้งแต่คนที่ยังไม่เป็นโรคเครียด ไปจนถึงคนที่มีภาวะเครียดซึมเศร้า หรือวิตกกังวล ทำให้จิตใจผ่อนคลาย ได้พักจากความคิดบางอย่างที่วนเวียนอยู่ในหัว แล้วกลับมาอยู่กับร่างกายของตัวเอง ทำก่อนนอนจนกระทั่งหลับไป หรือขณะทำงานระหว่างวันเพื่อผ่อนคลายความเครียด และบู๊สต์พลังให้กับตัวเองค่ะ” วิธีที่ 3. ช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้ดี เส้นประสาทผ่อนคลาย ปรับสมดุลระบบประสาท อนุโลมะ การหายใจสลับรูจมูก เป็นการควบคุมลมหายใจแบบโยคี คือการหายใจสลับรูจมูก โดยให้ลมหายใจเข้า – ออกผ่านทางรูจมูกทีละข้าง ส่วนอีกข้างใช้นิ้วปิดไว้ 3.1 ใช้นิ้วโป้งปิดรูจมูกขวา เปิดรูจมูกซ้าย 3.2 ใช้นิ้วนาง นิ้วก้อยปิดรูจมูกซ้าย เปิดรูจมูกขวา ทำท่านี้ 5 รอบ โดยหายใจเข้า 4 วินาที และหายใจออก 4 วินาที สลับกันทีละข้าง คือ หายใจเข้าทางรูจมูกซ้าย หายใจออกทางรูจมูกขวา สังเกตได้ว่า อารมณ์ของจะเราสงบสบาย และสดชื่นขึ้น ประโยชน์ของการฝึกหายใจสลับรูจมูกคือ การหายใจที่ยาวจะช่วยให้ระบบหายใจทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้เส้นประสาทผ่อนคลายนอกจากนี้ยังช่วยปรับสมดุลระบบประสาทอีกด้วย วิธีที่ 4. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดให้กล้ามเนื้อ นายแพทย์วิธาน ฐานะวุฑฒ์ ศัลยแพทย์และสมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์ โครงการจิตวิวัฒน์ แผนงานเพื่อพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ การฝึกหายใจร่วมกับจดจ่อที่ร่างกาย โดยเฉพาะตำแหน่งที่สัมผัสพื้น เพราะอยู่ในแนวเดียวกับแรงโน้มถ่วงโลก จึงผ่อนคลายความตึงเครียดให้กล้ามเนื้อได้ดี ทำให้ร่างกายปรับสมดุลเพื่อกลับสู่สภาวะผ่อนคลาย ในที่สุดก็เกิดสุขภาวะเช่นกัน 4.1 อยู่ในท่าใดก็ได้ เช่น ยืน นอน เริ่มฝึกโดยหลับตา หายใจเข้าและออกตามปกติ พร้อมกับดู(สังเกต) ลมหายใจว่ามีลักษณะอย่างไร (หายใจช้าหรือเร็ว) เมื่อจับจังหวะได้แล้ว ลมหายใจจะค่อยๆ ช้าลงเองโดยอัตโนมัติ 4.2 ดึงความสนใจมาสู่ตำแหน่งของร่างกายบริเวณที่สัมผัสพื้น เช่น ท่ายืนให้จับอยู่ที่ฝ่าเท้า ส่วนท่านอนอาจมีหลายตำแหน่ง หายใจเข้าพร้อมกับทิ้งน้ำหนักตัวลงตรงจุดนั้น แล้วหายใจออก ทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรบังคับให้ตัวเองหายใจช้าลง หรือตั้งใจออกแรงกดน้ำหนักตัวลงขณะหายใจ เพราะยิ่งเป็นการฝืนทำให้ร่างกายไม่ผ่อนคลาย วิธีที่ 5. ช่วยบรรเทาโรคในผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้คนที่ยังไม่ป่วยอ่อนแอ แพทย์แผนจีน เชื่อว่า ควรหายใจให้ได้เฉลี่ย 4 – 5 ครั้งต่อนาที ร่างกายคนเรามีเส้นลมปราณมากมาย ภายในเส้นลมปราณยังประกอบด้วยเลือดซึ่งเป็นพลังหยิน และลมซึ่งเป็นพลังหยาง หากทั้งสองอยู่อย่างสมดุลและไหลเวียนดี จะก่อให้เกิดพลังชี่ที่สมบูรณ์ เราจึงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย เมื่อหายใจเข้าและออกลึกๆ ยาวๆ เซลล์ในร่างกายจะได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ลม (อากาศ) จะคอยดันเลือดให้ไหลเวียนสะดวก ไม่คั่งค้างสะสมอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งจนเส้นลมปราณติดขัดเกิดโรคต่างๆ ซึ่งช่วยบรรเทาโรคในผู้ป่วยและป้องกันไม่ให้คนที่ยังไม่ป่วยอ่อนแอ การหายใจเข้าให้ลึกจนถึงจุดตันเถียนจะช่วยให้ร่างกายสามารถเก็บอากาศไปใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น ส่งผลให้อายุยืนยาว 5.1 นอนหงาย ผ่อนคลายร่างกายสบายๆ หายใจเข้าช้าๆ ให้ร่างกายค่อยๆ พองขึ้นจากส่วนบนลงล่าง เริ่มตั้งแต่ช่วงไหล่ หน้าอกท้อง และท้องน้อย โดยใช้สติจับลมหายใจตลอดเวลาว่าเคลื่อนที่ถึงบริเวณใด จากนั้นค้างลมหายใจสักครู่เพื่อให้สติรู้ว่ากำลังจะหายใจออก 5.2 หายใจออกช้าๆ ให้ร่างกายค่อยๆ ฟีบลง โดยไล่จากส่วนล่างขึ้นข้างบน เริ่มตั้งแต่ท้องน้อย ท้อง หน้าอก และช่วงไหล่ ค้างลมหายใจสักครู่ แล้วหายใจเข้า ทำต่อไป อย่างต่อเนื่องจนรู้สึกผ่อนคลาย ควรหายใจให้ต่อเนื่องเหมือนสายน้ำไหล อย่ากลั้นลมหายใจขณะเคลื่อนจากอวัยวะหนึ่งไปยังอีกอวัยวะหนึ่ง เพราะจะทำให้ลมหายใจตะกุกตะกัก ไม่ราบเรียบ @@@@@@@ ลองเอาเทคนิคที่บอกไปลองทำดูนะคะ จะได้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้าค๊า ขอบคุณ ; https://goodlifeupdate.com/healthy-body/216432.html Home สุขกาย : เชื่อไหม.? แค่หายใจคลายอาการซึมเศร้าได้ By pant ,5 January 2021 |