สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มกราคม 28, 2011, 08:45:52 pm



หัวข้อ: แอ่วเมือง “น่าน” ไหว้พระ 9 วัด สัมผัสงานพุทธศิลป์ ณ ถิ่นสงบงาม
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 28, 2011, 08:45:52 pm
แอ่วเมือง “น่าน” ไหว้พระ 9 วัด สัมผัสงานพุทธศิลป์ ณ ถิ่นสงบงาม

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206101.JPEG)
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง

แม้ ว่าจะผ่านช่วงปีใหม่มาแล้ว แต่กระแสการท่องเที่ยวไหว้พระยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เว้นแม้ประทั่งชาวต่างชาติเอง แต่มากกว่าการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ งานพุทธศิลป์ต่างๆ ตลอดจนสถาปัตยกรรม ความงดงามจากภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนนั้น ก็เป็นอีกสเน่ห์อย่างหนึ่ง วันนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงพาทุกคนไปสัมผัสกับพุทธศิลป์น่าดู พร้อมไหว้พระขอพรกันที่เมืองเล็กๆ ที่น่าอยู่อย่าง จ.น่าน

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206102.JPEG)
เสาหลักเมือง

เริ่มต้นวัดแรกกันที่ วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็น ปูชนียสถานศักสิทธิ์ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าพญาการเมืองโปรดทรงให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระ ธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1987 - 1901 เป็นองค์เจดีย์บุด้วยทองเหลืองหรือทองจังโก ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์ ที่สำคัญ พระบรมธาตุแช่แห้ง นั้นเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าการนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะทำมห้ได้รับอานิสงส์ เป็นอย่างยิ่ง จึงไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นภาพของบรรดาพุทธศาสนิชนจากทั่วสารทิศ เดินทางกันมาสักการะพระธาตุในช่วงวันหยุด

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206103.JPEG)
จิตกรรมฝาผนังของวัดมิ่งเมือง

วัดต่อมาคือ วัดมิ่งเมือง วัด ที่ตั้งอยู่บนถนนสุริยวงศ์ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2400 ความสวยงามของวัดนี้อยู่ที่ลายปูนปั้น ซึ่งมองเผินๆ อาจคล้ายกับงานของอาจารย์เฉลิมไชย ที่วัดร่องขุ่น จ. เชียงราย แต่ถ้าสังเกตุอย่างละเอียดก็จะพบความงามที่ต่างกันออกไป โดยเป็นงานฝีมือจากตระกูลช่างเมืองเชียงแสน ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในศาลาด้านหน้า สูง 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ซึ่งใครที่มาจังหวัดน่านก็อย่าลืมแวะมาสักการะเสาหลักเมืองน่านที่วัดแห่ง นี้ได้

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206104.JPEG)
สถาปัตยกรรมทรงจตุรมุข ที่วัดภูมินทร์

จากนั้นเราไปกันที่ วัดภูมินทร์ เป็น วัดหลวง ตั้งอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ พบว่าเดิมนั้นชื่อวัดพรหมมินทร์ แต่ภายหลังเพี้ยนมาเป็นวัดภูมินทร์ ความสวยงามของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย กลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักต์ออกด้านประตูทั้ง 4 ทิศ และที่เป็นไฮไลท์ของวัดนี้ก็คือจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นศิลปกรรมไทยลื้อ บอกเล่าเรื่องราวของตำนานชาดก และตำนานพื้นบ้าน ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อน ภาพปู่ม่านย่าม่าน อีกหนึ่งภาพที่ได้รับการยกย่องว่างดงามและสมบูรณ์แบบ จนกลายมาเป็นภาพ กระซิบรัก บันลือโลก ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันในปัจจุบัน

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206105.JPEG)
ภาพปู่ม่านย่าม่าน

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร นั้น ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดภูมินทร์เท่าไหร่นัก เดิมชื่อวัดกลางเวียง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1949 โดยพญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน ภายในมีวิหารขนาดใหญ่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา เสาภายในพระวิหารนั้นมีขนาดใหญ่ขนาด 2 คนโอบ สำหรับพระประธานภายในนั้นเป็นพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ศิลปะสุโขทัย ที่ชื่อว่า พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ด้านหลังของพระวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งบรรจุพีบรมสารีริกธาาตุไว้ภายใน ซึ่งความน่าสนอยู่ที่ลักษณะของเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์ทรงลังกา มีช้างปูนปั้นตั้งอยู่ในลักษณะของฐานรองรับไว้รอบด้าน คาดกันว่าน่าจะรับอิทธิพลมาจากศิลปะของสุโขทัย เช่นเดียวกับที่วัดช้างล้อม ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206106.JPEG)
วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดที่ห้าคือ วัดศรีพันต้น เป็น วัดที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน มองจากภายนอกนั้นเราจะเห็นกับสีทองอร่ามของสถาปัตยกรรม ปูนปั้นรูปพญานาคหลายเศียรซ้อนสลับกันไปมาตรงส่วนหน้าประตูวิหาร และภายในนั้นมีภาพจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของเมืองน่านในอดีตทั้งหมด ด้านนอกนั้นเป็นที่เก็บรักษาเรือแข่งในสมัยก่อน ซึ่งเป็นเรือที่ยาวที่สุดในประเทศ ซึ่งยังคงรักษาความสวยงามและความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างดี

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206107.JPEG)
พระธาตุเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหาร

และมายัง วัดสวนตาล อีกวัด เก่าแก่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1770 โดยพระนางปทุมมาวดี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ปางมารวิชัย ที่คาดว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่วัดนี้จะจัดงานนมัสการและสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้ที่ได้มาสักการะ

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206108.JPEG)
เรือแข่งโบราณ

วัดมหาโพธิ์ เป็นวัดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางเปิดโลก สูง 2.83 ซ.ม. ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น ค้นพบเนื่องจากเกิดไฟไหม้ที่คุ้มวัดพระแก้ว เมื่อไฟมอดจึงพบองค์พระนี้ และนำไปฝากไว้ที่วัดเชียงแข็ง ต่อมาก็ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดมหาโพธิ์แห่งนี้เป็นการถาวร ซึ่งหลักการสร้างพระพุทธรูปไม้ทรงเครื่อง ตามหลักของชาวล้านนานั้นต้องใช้ไม้มงคลถึง 8 ชนิดด้วยกัน ถือว่าเป็นพระพุทธรูปไม้ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206109.JPEG)
ปูนปั้นรูปพญานาคหลายเศียร

จากนั้นมายัง วัดพญาภู เป็นวัดซึ่งประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธาน ที่ใหญ่ที่สุดใน จ.น่าน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนขนาดหน้าตักกว้าง 11 ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1955 สมัยพระยาภูเข็ง เจ้าผู้ครองเมืองน่าน และที่วัดนี้ยังมีบานประตูไม้ที่แกะสลักเป็นลายเถา รูปยักษ์ มีอายุราว 200 ปี ที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206110.JPEG)
พระเจ้าทองทิพย์

และสำหรับวัดสุดท้ายคือ วัดพระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่ที่ ต.ไชยสถาน ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2030 เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ศิลปะพม่าผสมกับศิลปะแบบล้านนา ภายในบรรจะพระเกศาธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไกล้ๆ กันนั้นมีจุดชมวิว ซึ่งจะสามารถมองเห็นบรรยากาศของเมืองน่านได้ และปัจจุบันนั้นบริเวณจุดชมวิวเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหาอุดมมงคลนันท บุรีศรีน่าน ซึ่งบนยอดพระเกศานั้นสร้างจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206111.JPEG)
พระพุทธรูปไม้แกะสลัก

หลังจากที่ใช้เวลาทั้งวันในการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วกลับพบว่า จริงๆ แล้ววัดใน จ.น่าน นั้นมีมากและตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ซึ่งแต่ละวัดก็จะมีความงามและความศักดิ์สิทธิ์แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าใครที่เคยมาเที่ยวที่ จ.น่าน ก็จะทราบว่าแทบทุกวัดนั้นจะมีจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม ดั่งน่านนี้คือเมืองแห่งศิลปินในอดีต ความสะอาดและชีวิตที่เรียบง่าย รถราพอมีแต่ไม่ถึงขนาดวิ่งไปมาวุ่นวาย ทำให้สองสามปีที่ผ่านมานี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวของ จ.น่าน นั้นมากเกินความคาดหมายและคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวทยอยเดินทางเข้ามา สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง และมุ่งน่าต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของ จ.น่าน มากขึ้น

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206112.JPEG)
บานประตูไม้แกะสลัก

อ.สมเจตน์ วิมลเกษม ครูภูมิปัญญาไทย โรงเรียนสตรีศรีน่าน ผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์เมืองน่าน อาจารย์ และผู้ผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของน่าน กล่าวว่า หลายคนกลัวว่าเมื่อมีตัวเลขนักท่องเที่ยวมากขึ้นแล้วจะกลายมาเป็นปัญหา ระหว่างการท่องเที่ยว กับสภาพสังคมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับ อ.ปาย อย่าลืมว่าน่านเราเป็นเมืองเก่า ดังนั้นจึงมีกฏหมายคุ้มครองไว้อย่างเป็นแบบแผน อย่างเช่น ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้เกินสองชั้น และมาตรการทางสังคมก็คือมีการให้องค์ความรู้กับชาวบ้านเรื่อยมา คล้ายกับโมเดลการดูแลเมืองเก่าอย่างหลวงพระบาง ประเทศลาว

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206113.JPEG)
พระพุทธปฏิมาประธานวัดพญาภู

แต่หลายปีมานี้น่านประสบปัญหานักท่องเที่ยวทะลักเข้ามา เรื่องที่พักและอาหารจึงไม่เพียงพอซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวน่านกำลังหาทางจัดการ ให้ดีกว่านี้ แต่สำหรับด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้นเชื่อว่าน่านเองมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ แล้ว แต่ละชุมชนมีเครือข่ายเชื่อมโยงกันมากขึ้น คนทำงานร่วมกันตั้งแต่พระสงฆ์จนถึงชาวบ้านทั่วไป จัดเตรียมเป็นแผนการท่องเที่ยวตำบลเพื่อให้ชาวบ้านได้มีความรู้และสามารถ จัดการกับปัญหาต่างๆ เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนในวิถีชีวิตของเขามากขึ้น ซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ต้องคอยดูกันต่อไป

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206114.JPEG)
เจดีย์ศิลปะพม่าผสมกับศิลปะแบบล้านนา

เราจบทริปนี้ด้วยความอิ่มบุญและอีกด้านหนึ่งนั้นเองยังหวังว่าเมืองน่านเองจะ ไม่เปลี่ยนไปมากกว่านี้ ตามกระแสของการท่องเที่ยวเหมือนกับหลายๆ ที่ ที่เราเห็นตัวอย่างมาแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าชุมชนของคนเมืองน่านเองจะเข้มแข็งขนาดไหน เพราะองค์ความรู้และการจัดการต่างๆ นั้นถูกป้อนให้กับชุมชนมาต่อเนื่องหลายปี แต่เชื่อว่าในที่สุดนายทุนจากต่างถิ่นก็จะเข้ามาและจากไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าลองคิดไตร่ตรองให้ดีแล้วก็จะพบว่าชาวน่านเองซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เองก็มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับนายทุนต่างๆ ได้แบบ Win Win Situation โดยได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ ชาวบ้านไม่ต้องขายที่ดิน นายทุนก็สามารถมาลงทุนได้ เช่นกัน

(http://pics.manager.co.th/Images/554000001206115.JPEG)
พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน

จังหวัด น่านนั้นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางสถาปัตยกรรม และธรรมชาติที่น่าสนใจอีกมาก สอบถามรายละเอียดท่องเที่ยวเมืองน่านได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) โทร.0-5452-1118 และ 0-5452-11

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/Travel/View...=9540000011333 (http://www.manager.co.th/Travel/View...=9540000011333)
ที่มา  http://board.palungjit.com/f76/ (http://board.palungjit.com/f76/)แอ่วเมือง-“น่าน”-ไหว้พระ-9-วัด-สัมผัสงานพุทธศิลป์-ณ-ถิ่นสงบงาม-277405.html