หัวข้อ: สาระสำคัญ ของ การปฏิรูปมนุษย์ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 09, 2021, 05:50:54 am (https://kalyanamitra.org/th/images/dou/GB/GB-203_1.jpg) สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก : สาระสำคัญของการปฏิรูปมนุษย์ นักศึกษาคงจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องการปฏิรูประบบต่างๆ มาบ้างแล้ว เช่น การปฏิรูปการศึกษาการปฏิรูประบบการบริหารจัดการ การปฏิรูปสังคม ฯลฯ จุดมุ่งหมายของการปฏิรูปสิ่งต่างๆ ก็เพื่อดำเนินการจัดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง แก้ไขสิ่งเหล่านั้นให้ดีขึ้น ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ให้เกิดประโยชน์กว้างขวางขึ้น เนื่องจาก ภาวะที่เป็นอยู่ ยังไม่ดีพอ เช่น การปฏิรูปการศึกษา กลุ่มบุคคลที่คิดปฏิรูปย่อมมองเห็นว่า ระบบการศึกษาที่เป็นอยู่ในปัจจุบันมีข้อบกพร่อง จึงจำเป็นต้องแก้ไข ปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เกิดประสิทธิผลแก่ประชาชน และประเทศชาติมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน การปฏิรูปมนุษย์ก็เช่นเดียวกัน ย่อมหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงมนุษย์แต่ละคนให้ดีขึ้น นั่นเอง @@@@@@@ ปฏิรูป คือ แก้ไขปรับปรุงอะไรของมนุษย์ สิ่งที่จะต้อง ปฏิรูปก็คือ "สันดานและนิสัยที่ไม่ดีงามของมนุษย์" สันดาน กับ นิสัย แตกต่างกันอย่างไร.? คำว่า "สันดาน" ในพจนานุกรม1 หมายถึงอุปนิสัยที่มีมาแต่กำเนิด นั่นคือ ความประพฤติ ที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องมีผู้ปลูกฝังให้ ซึ่งมีทั้งอุปนิสัยที่ดีและไม่ดี ตัวอย่างอุปนิสัยที่ดีก็คือ ความมีอารมณ์ดีอยู่เสมอความมีน้ำใจเอื้อเฟอเผื่อแผ่ ความใฝ่ดี เป็นต้น ตัวอย่างอุปนิสัยไม่ดีก็คือ อารมณ์ร้อนโกรธง่าย ใจน้อย เห็นแก่ตัว เป็นต้น ส่วนคำว่า "นิสัย" หมายถึง ความประพฤติเคยชิน ซึ่งมีทั้งความประพฤติที่ดีและไม่ดี ตัวอย่างนิสัยที่ดีก็คือ การตรงต่อเวลา การทำงานไม่คั่งค้าง ความมีระเบียบวินัย เป็นต้น ตัวอย่างนิสัยที่ไม่ดีได้แก่การขาดความรับผิดชอบ การเอารัดเอาเปรียบ เบียดเบียนผู้อื่น ความมักง่าย เป็นต้น อะไรคือ สาเหตุแท้จริงแห่งสันดาน และนิสัยที่ไม่ดีของคนเรา ก่อนอื่นขอให้นักศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า คนเรานั้นประกอบด้วย กาย กับ จิตองค์ประกอบทั้ง 2 นี้ ถ้าขาดภูมิคุ้มกันก็จะเกิดโรคขึ้น กล่าวคือ ถ้าร่างกายขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เช่น เป็นไข้หวัด เป็นโรคปอดบวม ฯลฯ จิตใจคนเราก็เช่นเดียวกัน ถ้าขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนทันที แต่ทว่าโรคภัยไข้เจ็บที่มาเบียดเบียนจิตใจนั้น ในพระพุทธศาสนาเรียกว่า กิเลส ไม่เรียกว่าโรคภัยไข้เจ็บ นั่นคือถ้าจิตใจขาดภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอ ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเล ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 ตระกูล คือ โลภะ โทสะ และโมหะ ซึ่งแอบแฝงอยู่ในจิตใจคนเรามาแต่กำเนิด อันเป็นเหตุ ให้คนเราแlดงพฤติกรรมเลวร้ายต่างๆ ออกมา แต่ถ้าจิตใจมีภูมิคุ้มกันอย่างดี กิเลl ก็จะไม่สามารถออกฤทธิ์กำเริบขึ้นได้ คนเราจึงสามารถประพฤติตนอยู่ในศีลในธรรม โดยสรุปก็คือ ใครก็ตามที่จิตใจของเขามีภูมิคุ้มกันเข้มแข็ง เขาก็จะมีสันดานดี ในทางกลับกัน ใครก็ตามที่จิตใจของเขาขาดภูมิคุ้มกัน หรือมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอ เขาก็จะมีสันดานไม่ดี ผู้ที่มีสันดานดีย่อมประพฤติตนดีอยู่เสมอ ย่อมเป็นคนนิสัยดีด้วยส่วนผู้ที่มีสันดานไม่ดี ก็จะประพฤติไม่ดีอยู่เป็นนิจ จึงเป็นคนนิสัยไม่ดีไปโดยปริยาย จากที่กล่าวมานี้นักศึกษาคงได้เห็นแล้วว่า ทั้งสันดานและนิสัยที่ไม่ดีนั้น มีสาเหตุมาจาก การที่จิตใจขาดหรือหย่อนภูมิคุ้มกัน @@@@@@@ ภูมิคุ้มกันจิตใจ คืออะไร ภูมิคุ้มกันจิตใจ คือ ความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลกและความเป็นไปของชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งมีศัพท์ทางธรรมว่าสัมมาทิฏฐิ บุคคลที่ขาดหรือหย่อนภูมิคุ้มกันทางจิตใจ ก็เพราะขาดความเข้าใจถูกต้องหรือมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิตตามความเป็นจริง ซึ่งมีศัพท์ทางธรรมว่า มิจฉาทิฏฐิบรรดามิจฉาทิฏฐิชนนี้เอง ต่างมีพฤติกรรมผิดศีล ผิดธรรม ก่อความเดือดร้อนและความสับสนวุ่นวายขึ้นในสังคมทั่วโลก ดังนั้น การกำจัดมิจฉาทิฏฐิออกจากจิตใจผู้คน จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นและเร่งด่วนอย่างยิ่งเพราะฉะนั้นสาระสำคัญของการปฏิรูปมนุษย์ก็คือ การปฏิรูปมิจฉาทิฏฐิให้เป็นสัมมาทิฏฐินั่นเอง โทษของมิจฉาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิมีโทษร้ายแรงอย่างไร จึงต้องปฏิรูป.? ความเข้าใจผิดอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้น มีโทษร้ายแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ตลอดจนสังคมโลก สุดจะนับจะประมาณสำหรับโทษต่อตนเองนั้นมีโทษหนักถึงกับต้องตกนรกกันเลยทีเดียว ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน มิจฉาทิฏฐิสูตร1 ว่า "บุคคลในโลกนี้ตั้งจิตไว้ผิด กล่าววาจาผิด ทำการงานทางกายผิด มีความขวนขวายน้อย (ไม่ทำประโยชน์สุขแก่ตนและผู้อื่น) ทำกรรมอันไม่เป็นบุญไว้ในชีวิตอันน้อยในโลกนี้ เขามีปัญญาทราม หลังจากตายแล้ว จะไปเกิดในนรก "สำหรับโทษต่อผู้อื่นและสังคมโลกนั้น มิจฉาทิฏฐิชนจะพยายามชักชวนผู้คนให้เข้ามาเป็นสมัครพรรคพวกหรือเครือข่าย ของตนอยู่เสมอ ตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายก็คือ ในวงการพนัน หรือ วงเหล้า คนที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย ครั้นได้ สนทนาปราศรัยกันเพียงเล็กน้อย ก็ร่วมวงเล่นการพนันกันได้ หรือร่วมวงดื่มสุราเฮอากันได้ เพียงแต่ได้ร่วมวงทำกิจกรรมเกี่ยวกับอบายมุขเพียงครั้งเดียว มิจฉาทิฏฐิชนก็สามารถผูกมิตร สนิทสนมกันได้ ยิ่งมีผลประโยชน์เป็นที่คาดหวังด้วยแล้ว เครือข่ายของมิจฉาทิฏฐิก็ขยายวงออกไปได้รวดเร็วเหมือนไฟลามทุ่ง การที่เครือข่ายยาบ้าแพร่ขยายไปได้ทั่วประเทศ ในช่วงก่อนที่รัฐบาลจะประกาศสงครามปราบปรามยาบ้า ก็ด้วยกลวิธีผูกมิตรเช่นนี้เอง ดังนั้น อย่าว่าแต่จะปล่อยให้สังคมคลาคล่ำไปด้วยมิจฉาทิฏฐิชนเลย แม้มิจฉาทิฏฐิบุคคลเพียงคนเดียว ก็มีฤทธิ์มีเดชสร้างความปันป่วนขึ้นในสังคมได้ เพราะเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า มิจฉาทิฏฐิบุคคลเพียงคนเดียวหากเกิดขึ้นในโลก ก็สามารถทำความพินาศให้เกิดขึ้นแก่โลกได้ ดังที่ตรัสไว้ในเอกธัมมบาลี ตติยวรรค 1 ว่า "...บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความเห็นวิปริต บุคคลนั้นทำให้คนหมู่มาก ออกจากสัทธรรม (กุศลกรรมบถ 10) ให้ตั้งอยู่ในอสัทธรรม (อกุศลกรรมบถ10) บุคคลผู้เป็นเอก (คนเดียว) นี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น เพื่อไม่เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่สุขแก่คนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ประโยชน์แก่คนหมู่มาก เพื่อไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย" เพราะเหตุที่มิจฉาทิฏฐิมีโทษภัยร้ายแรงทั้งต่อตนเอง และผู้อื่นหรือสังคมโลก ดังที่กล่าวมาแล้วจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิรูป คือ กำจัดมิจฉาทิฏฐิออกจากใจผู้คนให้หมดไปโดยสิ้นเชิง แล้วพันสััมมาทิฏฐิขึ้นมาแทน @@@@@@@ ความเห็นที่เป็นคู่ปรปักษ์กันอย่างถาวร ความเห็น หมายถึงอะไร.? คำว่า "ความเห็น" ที่ใช้ในทางธรรมนั้น มีความหมายเช่นเดียวกับ ความเข้าใจระดับลึกความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิต มีศัพท์ทางธรรมว่า"สัมมาทิฏฐิ" แปลว่าความเห็นถูก เมื่อสัมมาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจของบุคคลจนหยั่งรากลึกอย่างมั่นคง ก็จะกลายเป็นอุดมการณ์ หลักการ ทัศนคติ หรือทฤษฎีชีวิตประจำใจบุคคล อันจะเป็นเหตุให้บุคคลนั้น คิดถูก พูดถูกทำถูก ประกอบอาชีพถูก คือทำหน้าที่การงานของตนด้วยความสุจริตโปร่งใสไม่ผิดทำนองคลองธรมสัังคมใดที่ผู้คนล้วน สมบูรณ์พร้อมด้วยสัมมาทิฏฐิสังคมนั้นย่อมจะประสบสันติสุขตลอดกาล หรือแม้เพียงผู้คนส่วนใหญ่ มั่นคงอยู่ในสัมมาทิฏฐิ ย่อมหวังได้ว่าสังคมนั้นจะประสบสันติสุข อย่างยั่งยืน ในทำนองกลับกัน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องโลก และความเป็นไปของชีวิตไม่ตรงตามความเป็นจริง มีศัพท์ทางธรรมว่า "มิจฉาทิฏฐิ" แปลว่า ความเห็นผิด เมื่อมิจฉาทิฏฐิเข้าไปอยู่ในใจนานๆ ไป ก็จะกลายเป็นอุดมการณ์ หลักการ ทัศนคติ หรือทฤษฎีชีวิตประจำใจบุคคล อันเป็นเหตุให้บุคคลนั้นคิดผิด พูดผิด ทำผิด ประกอบอาชีพผิด คือทำผิดไปทุกอย่าง แม้ถึงคราวพักผ่อนหย่อนใจ ก็จะแสวงหาความสุขอย่างผิดๆ เช่นเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข คือหาความสุขบนความทุกข์ความฉิบหายของผู้อื่นบ้างของตนเองบ้าง ทั้งของตนเองและผู้อื่นบ้าง ดังนั้นแทนที่จะได้รับความสุข กลับต้องประสบความทุกข์และความเดือดร้อนแทน เป็นต้นว่า มีการทะเลาะวิวาทกัน ในวงเหล้า บางครั้งถึงกับมีการล้างผลาญชีวิตกัน บางคนก็สิ้นเนื้อประดาตัวในวงการพนัน บางคนก็ติดโรคจากแหล่งบริการทางเพศด้วยเหตุดังกล่าวสังคมใดที่คลาคล่ำไปด้วยมิจฉาทิฏฐิชนสังคมนั้นก็จะเต็มไปด้วยปัญหาวิกฤตมากมายหลายด้าน เช่น ปัญหาเยาวชน ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ นอกจากนี้ผู้คนในสังคมต่างก็จะตกเป็นทาส ของอบายมุขหลากหลายประเภท ถ้าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้อง และทันท่วงที ไม่ช้าไม่นานสังคมนั้นก็จะเสื่อมทรามลง เหมือนบ้านป่าเมืองเถื่อน แม้สังคมนั้นจะเต็มไปด้วยตึกรามบ้านช่องใหญ่โตสวยงาม ซึ่งแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง แต่ก็เป็นเพียง ความเจริญทางวัตถุเท่านั้น ทว่าจิตใจของผู้คนจะเสื่อมลงเรื่อยๆ ถ้าเป็นสังคมใหญ่ระดับประเทศชาติ ประเทศชาตินั้นก็อาจจะถึงกาลล่มสลายในที่สุด ดังที่เคยมีปรากฏในประวัติศาสตร์โลก ทุกยุคทุกสมัย เป็นความจริงว่า มิจฉาทิฏฐิ กับสัมมาทิฏฐินั้น เป็นความเข้าใจ หรือเป็นความเห็นที่เป็นคู่ปรปักษ์ต่อกันอย่างถาวร โดยทั่วไปแล้วมิจฉาทิฏฐิมักจะมีอำนาจอิทธิพลเหนือสัมมาทิฏฐิ เพราะเหตุนี้ปัญหาต่างๆ ในสังคมและในโลก จึงไม่เคยลดลงเลย ทว่านับวันมีแต่จะทวีขึ้นเรื่อยๆปัญหาเลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมทุกระดับ ล้วนมีสาเหตุมาจากความเห็นผิดทั้งสิ้น แต่การที่สังคมของเรายังไม่มีปัญหาเลวร้ายถึงขั้นกลียุค ก็เพราะยังมีผู้คนที่มีความเห็นถูกต้อง คานอำนาจอิทธิพลกันอยู่ พระพุทธศาสนาได้กล่าวถึงความเห็นถูกและความเห็นผิดอันเป็นคู่ปรปักษ์ต่อกันไว้ 10 คู่ ซึ่งสามารถแสดงเปรียบเทียบกัน ดังต่อไปนี้ @@@@@@@ มิจฉาทิฏฐิ 10 1) ทานที่ให้แล้วไม่มีผล (นตฺถิ ทินฺน) 2) การสงเคราะห์ที่ทำแล้วไม่มีผล (นตฺถิ ยิฏ) 3) การเซ่นสรวงไม่มีผล (นตฺถิ หุต) 4) ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วไม่มี (นตฺถิสุกตทุกฺกฏานกมฺมาน ผล วิปาโก) 5) โลกนี้ไม่มี (นตฺถิ อย โลโก) 6) โลกหน้าไม่มี (นตฺถิ ปโร โลโก) 7) มารดาไม่มี (นตฺถิ มาตา) 8) บิดาไม่มี (นตฺถิ ปิตา) 9) สัตว์ผุดขึ้นเกิดไม่มี (นตฺถิ ตฺตา โอปปาติกา) 10) ในโลกนี้ไม่มี มณพราหมณ์ ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้วประกาศโลกนี้ และโลกหน้า (นตฺถิ โลเก มณพฺราหฺมณา มฺมคฺคตา มฺมาปฏิปนฺนา เย อิมฺจ โลก ปรฺจ โลก ย อภิฺา จฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ) สัมมาทิฏฐิ 10 1) ทานที่ให้แล้วมีผล (อตฺถิ ทินฺน) 2) การสงเคราะห์ที่ทำแล้วมีผล (อตฺถิ ยิฏ) 3) การเซ่นสรวงมีผล (อตฺถิ หุต) 4) ผลคือวิบากของกรรมที่ทำดีและทำชั่วมี (อตฺถิสุกตทุกฺกฏาน กมฺมาน ผล วิปาโก) 5) โลกนี้มี (อตฺถิ อย โลโก) 6) โลกหน้ามี (อตฺถิ ปโร โลโก) 7) มารดามี (อตฺถิ มาตา) 8) บิดามี (อตฺถิ ปิตา) 9) สัตว์ผุดขึ้นเกิดมี (อตฺถิ ตฺตา โอปปาติกา) 10) ในโลกนี้มี มณพราหมณ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ชนิดที่ทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้วประกาศโลกนี้ และโลกหน้า (อตฺถิ โลเก มณพฺราหฺมณา มฺมคฺค ตา มฺมาปฏิปนฺนา เย อิมฺจ โลก ปรฺจ โลก ย อภิฺา จฺฉิกตฺวา ปเวเทนฺตีติ) จากหนังสือ DOU ,วิชาGB 203 ,สูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก, กลุ่มวิชาสูตรสำเร็จการพัฒนาสังคมโลก ขอบคุณที่มา : http://www2.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=6314 (http://www2.kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=6314) |