สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2011, 06:52:52 pm



หัวข้อ: อธิษฐานธรรม 4 ประการ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 11, 2011, 06:52:52 pm
อธิษฐานธรรม

(http://hilight.kapook.com/admin_hilight/spaw2/newimg/other/02_16.jpg)

   ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินคำว่า “อธิษฐาน” โดยเมื่อจะทำการสิ่งใดมักอธิษฐานขอสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ การอธิษฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการยืนหยัดให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นเป้าหมายได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด ไม่เปิดช่องแก่ความผิดพลาดเสียหาย และไม่เกิดสิ่งมัวหมองหมักหมมทับถมตน ด้วยการปฏิบัติตามหลัก อธิษฐานธรรม 4 ประการ คือ

•   1. ปัญญา การดำเนินชีวิตจะเป็นไปตามกรอบของศีลหรือหลักธรรมต่างๆได้หรือไม่จำเป็นต้องใช้ปัญญา ความคิด วิเคราะห์ เมื่อประสบเหตุใดๆ ก็ไม่วู่วามตามอารมณ์หรือหลงไปตามสิ่งที่เย้ายวน ศึกษาสิ่งต่างๆให้มีความรู้ชัด มีเหตุผล เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง

•   2. สัจจะ รักษาสัจจะ คือสงวนรักษาดำรงตนมั่นในความจริงที่รู้ชัดเห็นด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจา จริงในหลักการ จริงใจ

•   3. จาคะ คอยเสริมและทวีความเสียสละให้เข้มแข็งมีกำลังแรงยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันหรือทัดทานตนไว้มิให้ตกไปเป็นทาสของลาภสักการะ อีกทั้งกระทำการทุกอย่างโดยไม่เห็นแก่ตน นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

•   4. อุปสมะ ความสงบใจ เป็นอย่างเดียวกับทมะใน ฆราวาสธรรม ผู้ฝึกตนให้สามารถระงับดับความขัดข้องวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสได้ ทำจิตใจให้สงบผ่องใสรู้จักรสแห่งสันติ คนที่รู้จักรสแห่งความสุขอันเกิดจากความสงบใจแล้ว ย่อมจะไม่หลงใหลมัวเมาในวัตถุ หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โดยง่าย
   
(http://www.healthcorners.com/2007/article/img3/3_1185582901.jpg)
   
•   การอธิษฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ผู้อธิษฐานจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อให้การอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลไม่ใช่อธิษฐานแล้วก็นั่งคอยให้เทวดาฟ้าดินที่ไม่มีตัวตนมาดลบันดาลให้ ฉะนั้นก่อนอธิษฐานผู้อธิษฐานต้องใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อนว่าสิ่งที่อธิษฐานนั้นตนสามารถปฏิบัติได้เองหรือไม่เป็นไปได้เพียงใด

เมื่ออธิษฐานแล้วก็ต้องปฏิบัติ สัจจะ จาคะ และ อุปสมะ การอธิษฐานจึงจะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งสัจจะ จาคะ และ อุปสมะ เป็นข้อปฏิบัติที่ฆราวาสพึงปฏิบัติอยู่แล้ว ขอเพียงแต่ใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นเท่านั้น จาคะ หรือ ความเสียละ จึงเป็นข้อปฏิบัติสำคัญในการส่งเสริมให้การอธิษฐานใดใดสัมฤทธิ์ผล
 
(http://www.xn----uwf8a4aloe0i1df3a5bzh0h.com/wp-content/uploads/2009/09/pic1261208190007.jpg)

ที่มา :http://www.suwalaiporn.com/index.php...389698&Ntype=6