หัวข้อ: “นาค” เป็นภาษาบาฬี มีความหมาย ๔ ประการ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 02, 2022, 08:06:55 am (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2022/01/2021-11-07_032816.jpg) “นาค” เป็นภาษาบาฬี มีความหมาย ๔ ประการ “นาค” เป็นภาษาบาฬี มีความหมาย ๔ ประการ คือ ๑. “ช้าง” [อภิธาน.คาถา ๓๖๐] ๒. “ต้นกากะทิง” [อภิธาน. คาถา ๕๗๒] ๓. “งู” [อภิธาน. คาถา ๖๕๒] ๔. “ผู้ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า” หรือ “ผู้ไม่ทำบาป” [อภิธาน. คาถา ๖๙๖] หมายถึง พระอรหันต์ผู้หมดสิ้นกิเลส ดังอรรถกถามัชฌิมนิกายกล่าวว่า “ขีณาสโว นาโคติ วุจฺจติ” แปลความว่า “พระขีณาสพ (ผู้มีกิเลสอาสวะหมดสิ้นแล้ว) เรียกว่า นาค” [ม.อ. (ปปญฺจ.๒) ๘/๔๐ (สฺยา.)] คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๘๔๙ บาทที่ ๓-๔ สรุปความหมายของ นาค-ศัพท์ ไว้ว่า “นาโค ตุรคหตฺถีสุ, นาครุกฺเข ตถุตฺตเม.” แปลความว่า “นาค-ศัพท์ มีความหมาย ๔ อย่าง คือ อุรค (งู) หตฺถี (ช้าง) นาครุกฺข (ต้นกากะทิง) และ อุตฺตม (ประเสริฐสุด)” ดังนี้ “พระญาครุฑแพ้เงือกน้ำ”*** ภาพยันต์ล้านนา “ภยาฅุฑแพ้เงิกน้ำ” (พระญาครุฑแพ้เงือกน้ำ) นี้ สำนวนภาษาไทยกลาง เรียกว่า “ครุฑยุดนาค” (“แพ้” ในภาษาล้านนา แปลว่า “ชนะ”) คำว่า “เงือกน้ำ” ในที่นี้ หมายถึง “นาค” ตามความหมายในคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๖๕๒ ที่แปลว่า “งู” ซึ่งมีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเชิงเขาสุเมรุ ๒ สายพันธุ์ คือ สายพันธุ์กัมพละ (สายพันธุ์ที่รักษาน้ำ) และสายพันธุ์อัสสตระ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ อธิบายความหมายของคำว่า “เงือก” ความหมายที่ ๑ ไว้ว่า “(โบ) น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง (แช่งนํ้า). ลูกคำของเงือก ๑ คือ เงือกหงอน” และคำว่า “เงือกหงอน” หมายถึง “(โบ) น. พญานาค เช่น ทรงวัวเผือกเงือกหงอนสังวรสังวาล (รำพันพิลาป). แม่คำของ “เงือกหงอน” คือ เงือก ๑ ” (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2022/01/yanta-1024x1024.jpg) ***ภาพจากพับสา “มนต์ยันต์ราชกระกุล” ฉบับวัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ไม่ปรากฏนามผู้เขียนและวันเดือนปีที่เขียน“จิตราลังการะ” การกระจายคาถาในตารางยันต์พระญาครุฑแพ้เงือกน้ำ (โปราณกคาถา) สุคโต(1) สุคตฏฺฐานํ สุคโต สุนฺทรมฺปิ จ สุคโต ยาติ นิพฺพานํ สุคโต เตน โมนม.(2) (ปถฺยาวตฺตคาถา ; อนุฏฺฐุภาฉนฺโท) แปลนิไสร(3) (ยกศัพท์สำนวนล้านนา) ; ....(ภควา)(4) อันว่าพระพุทธะเจ้าตนหักมล้างยังราคะโทสะโมหะมานะเสี้ยงขาด(5) สุคโต ไพดีแล้ว ,สุคตฏฺฐานํ สู่ที่อันเปนที่ไพอันดี ; สุคโต ไพดีแล้ว ,สุนฺทรมฺปิ (ฐานํ) จ สู่ที่ แม้อันงาม ก็ดี. …..(อตฺโถ) อันว่าอธิบาย (อิติ) ว่า (ภควา) อันว่าพระพุทธะเจ้าตนหักมล้างยังราคะโทสะโมหะมานะเสี้ยงขาด สุคโต ไพดีแล้ว ,ยาติ คือว่า ค็ไพ ,นิพฺพานํ สู่นิพพาน, เตน เหตุดั่งอั้น (ภควา) อันว่าพระพุทธะเจ้าตนหักมล้างยังราคะโทสะโมหะมานะเสี้ยงขาด สุคโต (นาม) ชื่อว่าตนไพดี ,(โหติ) ค็มี ,(อิติ) ดั่งนี้แล. …..(ตฺวํ) อันว่าท่าน โมนม(6)มักว่า โอนมาหิ จุ่งน้อมไหว้ (สุคตํ นาม ภควนฺตํ) ยังพระพุทธะเจ้าตนหักมล้างยังราคะโทสะโมหะเสี้ยงขาด ตนชื่อว่าสุคตะเทิอะ.(7) ***หมายเหตุ : ผู้ที่จะลงตารางยันต์(8)ประเภทนี้ จะต้องเลือกคาถาประเภทวัตตคาถา(9)หรือกลุ่มสมวุตติ (สมคาถา ; ตำแหน่งครุลหุเหมือนกันทั้ง ๔ บาท) ที่ ๓ พยางค์แรกมีรูปศัพท์เหมือนกันทั้ง ๔ บาท และเป็นฉันท์ประเภทอนุฏฐุภาฉันท์ ฉันท์ ๘ พยางค์ (อักขระ) เท่านั้น @@@@@@@ ขยายความ (1)“สุคต” ศัพท์ แปลสำนวนไทยกลางว่า “ผู้เสด็จไปดีแล้ว” เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าในบรรดา ๓๒ พระนาม (อภิธานปฺปทีปิกา คาถา ๑-๔) มาจาก สุ อุปสัค+คมุ ธาตุ (คติมฺหิ ในการไป)+ต ปัจจัย ดังคัมภีร์อรรถกถาขุททกนิกาย อธิบายไว้ว่า ;- …..สุคโตติ โสภณคมนตฺตา, สุนฺทรํ ฐานํ คตตฺตา, สมฺมา คตตฺตา สุคโต.(๑) แปลความว่า พระนามว่า “สุคตะ” เพราะการเสด็จไปงาม เพราะการเสด็จไปสู่ที่ดี เพราะการเสด็จไปโดยชอบ เพราะฉะนั้น จึงมีพระนามว่า “สุคตะ”. และคัมภีร์อรรถกถาวินัยปิฎก อธิบายไว้ว่า ;- …..อรหตฺตมคฺเคน เย กิเลสา ปหีนา เต กิเลเส น ปุเนติ น ปจฺเจติ น ปจฺจาคจฺฉตีติ สุคโต.(๒) แปลความว่า กิเลสทั้งหลายเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละแล้วด้วยอรหัตตมรรค, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมไม่หวนกลับคืนมาสู่กิเลสทั้งหลายเหล่านั้นอีก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระนามว่า “สุคตะ” ..(๑) ขุ.อุ.อ ๒๖/๙๒ (สฺยา.) ..(๒) วิ.มหา.อ. ๑/๑๒๒ (สฺยา.) (2) พับสา (สมุดพับกระดาษสา) “มนต์ยันต์ราชกระกุล” (อักษรธรรมล้านนา) ไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนและวันเดือนปีที่เขียน ฉบับวัดหนองเงือก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน และบางแห่งในเล่มเดียวกันหรือบางฉบับอื่นๆ บาทที่ ๓ เป็น “สุคโต นิพฺพานํ ยาติ” ถ้าเป็นอย่างนี้ จัดเป็น “ตติยมการวิปุลาคาถา” (3) ดูวรรณกรรมแปลบาฬีของล้านนาที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/Lannaliterature/posts/852072905290690 (https://www.facebook.com/Lannaliterature/posts/852072905290690) (4) โยค “ภควา” ศัพท์ (ภควนฺตุ+สิ) ตามนัยบทพระพุทธคุณ (อิติปิ โส ภควาฯ) และ “ภควนฺตุ” ศัพท์นี้ ก็เป็นพระนามหนึ่งของพระพุทธเจ้าในบรรดา ๓๒ พระนามเช่นกัน (อภิธานปฺปทีปิกา คาถา ๑-๔) (5) แปลโดยนัยคัมภีร์ขุททกนิกาย มหานิทเทส ดังข้อความพระบาฬีว่า ;- …..ภควาติ คารวาธิวจนํ, อปิจ ภคฺคราโคติ ภควา, ภคฺคโทโสติ ภควา, ภคฺคโมโหติ ภควา, ภคฺคมาโนติ ภควา.(๑) แปลความว่า คำว่า “ภควนฺตุ” เป็นพระนามที่เรียกโดยความเคารพ อีกอย่างหนึ่ง พระนามว่า “ภควนฺตุ” เพราะทรงทำลายราคะได้ ทำลายโทสะได้ ทำลายโมหะได้ ทำลายมานะได้. (ภควนฺตุ+สิ=ภควา อาเทศ นฺตุ กับ สิ เป็น อา และลบสระหน้า) …..(๑) ขุ.ม. ๒๙/๒๓๑/๑๗๓-๑๗๔ (สฺยา.) (6) โมนม มาจาก อว อุปสัค+นม ธาตุ (นมเน ในการโน้ม)+อ ปัจจัย+หิ ปัญจมีวิภัตติ แปลง อว เป็น โอ ลบ หิ วิภัตติ ลง มฺ อาคมที่ โอ. (7) แปลนิไสร (ยกศัพท์สำนวนล้านนา) โดยอัญญตรุปาสกะ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔ (ผิดพลาดประการใด ขอท่านผู้รู้ได้โปรดชี้แนะทักท้วงมาทางกล่องข้อความ จะเป็นพระคุณอย่างสูง) (8) ดูความหมายและเดชของยันต์ที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/Lannaliterature/posts/585139598650690 (https://www.facebook.com/Lannaliterature/posts/585139598650690) (9) ดูประเภทวัตตคาถาที่ลิงก์นี้ https://www.facebook.com/Palisadda…/posts/105 (https://www.facebook.com/Palisadda…/posts/105) ผู้เขียน : สีโห มิคราชา web : dhamma.serichon.us/2022/01/01/นาค-เป็นภาษาบาฬี-มีความ/ (http://dhamma.serichon.us/2022/01/01/นาค-เป็นภาษาบาฬี-มีความ/) Posted date : 1 มกราคม 2022 ,By admin. |