หัวข้อ: กัจจายนปกรณ์ | คัมภีร์หลักภาษาบาลี 7 เล่ม เสร็จสมบูรณ์ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 15, 2022, 10:29:08 am (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/page.jpg) กัจจายนปกรณ์ | คัมภีร์หลักภาษาบาลี 7 เล่ม เสร็จสมบูรณ์ คัมภีร์หลักภาษาบาลี เสร็จสมบูรณ์พร้อมมอบถวาย ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ อาจนับว่า เป็นงานเดียวที่จัดทำคัมภีร์หลักภาษาบาลีมอบเป็นอนุสรณียมากที่สุด ในวาระโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร มหาวชิราลงกรณวรราชภักดี สิริกิจการิณีพีรยพัฒน รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร วันเสาร์ ที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๖๓ ในวาระทรงพระกรุณาโปรด ฯ นี้ ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม เห็นสมควรให้จัดพิมพ์คัมภีร์หลักภาษาบาลี ผลงานปริวรรต แปล เรียบเรียงของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จำนวน ๗ เล่ม คือ @@@@@@@ ๑. อภิธานปฺปทีปิกาฏีกา ว่าด้วยพจนานุกรมศัพท์บาลี ผลงานของมหาอำมาตย์ จตุรังคพล นับเป็นหนึ่งในวรรณกรรมบาลีที่นิยมยกย่องอย่างแพร่หลายต่อการนำมาอ้างอิงในการรจนาคัมภีร์อื่น ๆ เช่น มังคลัตถทีปนี จักรวาลทีปนี เวสสันตรทีปนี สังขยาปกาสกฏีกา พระสิริมังคลาจารย์ ผู้รจนา ได้อ้างถึงคัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฏีกาไว้หลายแห่ง พระศรีสุทธิพงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) ปริวรรตจากบาลีอักษรพม่าเป็นบาลีอักษรไทย พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214536.jpg) ๒. กัจจายนะขั้นพื้นฐาน ว่าด้วยคำแปลสูตร (กฎเกณฑ์) วุตติ (คำอธิบายสูตร) อุทาหรณ์ (ตัวอย่างประกอบ) เป็นวรรณกรรมบาลีอักษรพม่า อธิบายเนื้อหาด้วยภาษาพม่า พร้อมทั้งบอกวิธีทำตัวรูปและแบบฝึกหัด อธิบายสั้น กระชับ เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนคัมภีร์บาลีกัจจายนะ ผลงานของพระอาจารย์ชนกาภิวังสะ พระศรีสุทธิพงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) และคณะ แปล เรียบเรียง พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214502.jpg) ๓. กจฺจายนสงฺเขป ว่าด้วยสูตร (กฎเกณฑ์) วุตติ (คำอธิบายสูตร) อุทาหรณ์ (ตัวอย่างประกอบ) ไวยากรณ์บาลีอย่างย่อ ตามลำดับสูตรใน กจฺจายนพฺยากรณ เป็นวรรณกรรมบาลีอักษรพม่า ไม่ปรากฏนามผู้รจนา พระศรีสุทธิพงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) ไดรับต้นฉบับจากพระครูธรรมธรสุมนต์ ผู้อำนวยการอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (ชื่อในขณะนั้น) ปริวรรตเป็นบาลีอักษรไทย พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๑ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214556.jpg) ๔. ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ ว่าด้วยอรรถของธาตุในภาษาบาลี เป็นวรรณกรรมผลงานของพระวิสุทธาจารมหาเถร รวบรวมอรรถของธาตุจาก ๓ คัมภีร์หลัก คือ ธาตุปปาฐะ ธาตุมัญชูสา และสัททนีติ ธาตุมาลา จัดเป็นหมวดหมู่ใหม่ ไม่ย่อเกินไป ไม่พิสดารเกินไป เรียงลำดับตามตัวอักษร ประพันธ์ผูกขึ้นเป็นคาถาร้อยกรองทั้งหมด พระราชปริยัติโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) และคณะ แปล เรียบเรียง พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214519.jpg) ๕. บาลีกจฺจายนมูล ว่าด้วยสูตร (กฎเกณฑ์) วุตติ (คำอธิบายสูตร) อุทาหรณ์ (ตัวอย่างประกอบ) เป็นคัมภีร์ที่นำ กจฺจายนพฺยากรณํ ผลงานบาลีมหาไวยากรณ์ของพระอรหันต์มหากัจจายนะ มาจัดเนื้อหาเป็นเบื้องต้นมูลพื้นฐานใช้ประกอบการเรียนบาลีของพระสงฆ์ไทยในสมัยกรุงสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ตอนต้น คัมภีร์บาลีกัจจายนมูล นี้ เป็นคัมภีร์บาลีโบราณของบุรพาจารย์ไทย ไม่ปรากฏนามผู้รจนา เรียกกันโดยทั่วไปว่า “บาลีมูลกัจจายน์” พระราชปริยัติโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) ตรวจชำระกับฉบับเก่าเทียบใบลาน พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214441.jpg) ๖. กัจจายนมูล ว่าด้วยคำแปลสูตร (กฎเกณฑ์) วุตติ (คำอธิบายสูตร) อุทาหรณ์ (ตัวอย่างประกอบ) พระราชปริยัติโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) แปลคัมภีร์นี้ไปพร้อมกับการตรวจชำระบาลีกัจจายนมูล พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214422.jpg) ๗. ปทรูปสิทธิ แปลโดยพยัญชนะ ว่าด้วยคำแปลคัมภีร์ปทรูปสิทธิ ซึ่งเป็นผลงานรจนาโดยพระพุทธธัปปิยเถระ ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๕ เป็นคัมภีร์ที่นำสูตรกัจจายนไวยากรณ์มาเรียงลำดับใหม่ ประกอบรูปศัพท์ง่ายขึ้น มีคำสรุปสูตรอย่างเป็นระบบจัดไว้หมวดหมู่เดียวกัน มีลำดับบทที่เรียกว่า ปทมาลา แสดงบทสำเร็จของนามศัพท์การันต์ต่าง ๆ พระราชปริยัติโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) แปลคัมภีร์นี้ ในรูปแบบโดยพยัญชนะทุกบทอักษร พิมพ์เผยแผ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๖ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2020/05/2020-05-29_214403.jpg) Thank to : dhamma.serichon.us/2020/05/29/คัมภีร์หลักภาษาบาลี-เสร/ (http://dhamma.serichon.us/2020/05/29/คัมภีร์หลักภาษาบาลี-เสร/) posted date : 29 พฤษภาคม 2020 , By admin ,Wate Bunnakornkul |