หัวข้อ: "สร้างอักษรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์" แล้วลบอักษรเท่ากับ.? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 22, 2022, 10:04:02 am (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2018/11/2018-11-26_044112.jpg) “เขียนอักษรพระไตรปิฎกตัวหนึ่ง เท่ากับ สร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง” เช่นนั้น ลบอักษร เท่ากับ ทำลาย รึเปล่า.? อกฺขรํ เอกเมกญฺจ พุทฺธรูปสมํ สิยา อ่านว่า อัก-ขะ-รัง เอ-กะ-เม-กัน-จะ พุด-ทะ-รู-ปะ-สะ-มัง สิ-ยา ข้อความนี้เป็นคาถาปัฐยาวัต 2 บาทหรือ 2 วรรค แหล่งที่มาเท่าที่ปรากฏเป็นแห่งแรกคือเป็นข้อความที่เขียนไว้ตอนท้ายคัมภีร์สาสนวํสปฺปทีปิกา ข้อความเต็มๆ เป็นดังนี้ (ดูภาพประกอบภาพแรก และโปรดสังเกตว่ามีการนำไปอ้างอิงต่อไปอีกด้วยตามภาพประกอบอีก 2 ภาพ) อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ……….พุทฺธรูปํ สมํ สิยา ตสฺมา หิ ปณฺฑิโต โปโส….ลิกฺเขยฺย ปิฏกตฺตยํ. @@@@@@@ ผู้เขียนบาลีวันละคำข้องจิตในคาถา 2 บาทแรกเป็นอันมาก ขอแสดงความเห็นดังนี้ (๑) “อกฺขรา” รูปคำเดิมคือ “อกฺขร” (อัก-ขะ-ระ) ศัพท์นี้เป็นทั้งปุงลิงค์และนปุงสกลิงค์ “อกฺขรา” เป็นรูปปุงลิงค์ พหุวจนะ (พหูพจน์) ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค (๒) คำที่เป็นกริยาในประโยคคือ “สิยา” เป็นเอกวจนะ (เอกพจน์) จะเห็นได้ว่าประธานกับกริยามีวจนะไม่ตรงกัน-ผิดแห่งที่ 1 (๓) “เอกํ” ทั้ง 2 คำ (เอกํ เอกํ + จ) ทำหน้าที่เป็น “วิเสสนะ” คือคำขยายประธาน ตามหลัก ประธานเป็นวจนะใด คำขยายก็ต้องเป็นวจนะนั้น ในที่นี้ “เอกํ” เป็นรูปเอกวจนะ ประธานคือ “อกฺขรา” เป็นพหุวจนะ-ผิดแห่งที่ 2 (๔) คำว่า “เอกํ” คำแรก พยางค์ -กํ เป็นคำลำดับที่ 5 ในบาทที่ 1 ซึ่งตามกฎของคาถาปัฐยาวัตคำลำดับที่ 5 ในบาทที่ 1 และบาทที่ 3 ต้องเป็นคำลหุ (คำเสียงเบา คือเสียงสั้น) แต่ -กํ เป็นคำครุ (คำเสียงหนัก คือเสียงยาว) -ผิดแห่งที่ 3 ในที่นี้ วิธีแก้ก็ทำได้ง่ายๆ คือเอา เอกํ คำแรกสนธิกับ เอกํ คำหลังเป็น “เอกเมกํ” (เอ-กะ-เม-กัง และ -กํ คำหลังก็ไปสนธิกับ “จ” เป็น “เอกเมกญฺจ”) เท่านี้ -กํ (กัง) คำแรกก็กลายเป็น -ก (กะ) เป็นคำลหุตรงตามกฏ (๔) “พุทฺธรูปํ สมํ” แยกเป็นคนละศัพท์ แปลอย่างไร? แยกอย่างนี้ต้องแปลว่า “พุทฺธรูปํ” = (อักษรตัวหนึ่งๆ) เป็นพระพุทธรูป “สมํ” = เป็นสิ่งที่เสมอ (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2018/11/2018-11-26_044152.jpg) จะเห็นได้ว่าความหมายผิดเพี้ยน อักษรจะเป็นพระพุทธรูปได้อย่างไร ผิดไปจากความหมายที่ต้องการจะพูด ที่ถูก ทั้ง 2 คำ ต้องเป็นศัพท์เดียวกัน คือเป็น “พุทฺธรูปสมํ” แปลว่า “เสมอกับพระพุทธรูป” หรือ “เทียบเท่ากับพระพุทธรูป” อย่างนี้ได้ความตามที่ประสงค์ ตามความเห็นของผู้เขียนบาลีวันละคำ คาถา 2 บาทนี้ควรแก้เป็น อกฺขรํ เอกเมกญฺจ……….พุทฺธรูปสมํ สิยา แปลยกศัพท์ :- อกฺขรํ = อันว่าอักษร เอกํ จ = ตัวหนึ่งด้วย เอกํ จ = ตัวหนึ่งด้วย (เอกเมกญฺจ แยกคำเป็น เอกํ + เอกญฺจ เวลาแปลต้องเอา “จ” (จะ) ควบ “เอกํ” ทั้ง 2 คำ) พุทฺธรูปสมํ = เป็นสิ่งอันเสมอกับพระพุทธรูป สิยา = พึงเป็น ตสฺมา หิ = เพราะเหตุนั้นแล ปณฺฑิโต โปโส = อันว่าคนผู้เป็นบัณฑิต ลิกฺเขยฺย = พึงเขียน ปิฏกตฺตยํ = ซึ่งหมวดสามแห่งปิฎก แปลเอาความ :- อักขระตัวหนึ่งๆ เทียบเท่ากับพระพุทธรูปองค์หนึ่ง เหตุนั้น คนฉลาดควรเขียน(คือควรสร้าง) พระไตรปิฎก ระวัง : คำว่า “ตัวหนึ่งๆ” อ่านว่า “ตัวหนึ่งตัวหนึ่ง” ไม่ใช่ “ตัวหนึ่งหนึ่ง” (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2018/11/2018-11-26_044211.jpg) เข้าใจว่า คาถาบทนี้เป็นคำที่มีผู้แต่งเติมขึ้นภายหลัง ในเวลาที่มีการจารหรือเขียนต้นฉบับคัมภีร์สาสนวํสปฺปทีปิกา (ไม่ใช่ถ้อยคำของผู้รจนาคัมภีร์) เพื่อแสดงอานิสงส์ของการ “สร้าง” พระไตรปิฎกขึ้นไว้ในพระศาสนา เป็นการจูงใจคนให้เกิดศรัทธาในการสร้างคัมภีร์ ทำนองเดียวกับที่เมื่อมีการพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือก็มีการชักชวนผู้คนให้ “สร้าง” พระไตรปิฎกถวายวัด และคลี่คลายมาเป็นพิมพ์หนังสือธรรมะแจกเป็นธรรมทาน ที่นิยมทำกันอยู่ในปัจจุบัน ท่านอาจารย์สิริ เพชรไชย เปรียญธรรม 9 ประโยค (พ.ศ.2490) สำนักวัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ (ถึงแก่กรรมแล้ว) เคยนำคติที่มีผู้ตั้งขึ้นว่า “เขียนอักษรพระไตรปิฎกตัวหนึ่งเท่ากับสร้างพระพุทธรูปองค์หนึ่ง” ตามคาถานี้มาตั้งคำถามว่า "ถ้าเป็นเช่นที่ว่านี้ ใครลบอักษรพระไตรปิฎกตัวหนึ่ง จะมิเท่ากับว่า ทำลายพระพุทธรูปไปองค์หนึ่ง ดอกหรือ.?" คำถามนี้นักเชิญชวนให้สร้างพระไตรปิฎกควรมีคำตอบ ดูก่อนภราดา.! สร้างพระไตรปิฎกต่ออายุโรงพิมพ์หนังสือไทย ศึกษาและปฏิบัติพระธรรมวินัยต่ออายุพระศาสนา Thank to :- บทความของ : ทองย้อย แสงสินชัย URL : dhamma.serichon.us/2018/11/26/อกฺขรํ-เอกเมกญฺจ-พุทฺธร/ (http://dhamma.serichon.us/2018/11/26/อกฺขรํ-เอกเมกญฺจ-พุทฺธร/) posted date : 26 พฤศจิกายน 2018 ,By admin. หัวข้อ: "สร้างอักษรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์" แล้วลบอักษรเท่ากับ.? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 22, 2022, 10:25:25 am (http://dhamma.serichon.us/wp-content/uploads/2018/11/2018-11-26_044211.jpg) อกฺขรา เอกํ เอกญฺจ พุทฺธรูปํ สมํ สิยา : “สร้างอักษรธรรมหนึ่งอักษร เท่ากับสร้างพระพุทธรูปหนึ่งองค์” ชาดก อานิสงส์สร้างหนังสือ ถวายหนังสือ อานิสงส์สร้างหนังสือ หรือถวายหนังสือ ดั่งประทีปส่องทางให้เห็นนรกและสวรรค์ ผู้นั้นจะได้อานิสงส์เพิ่มพูน กุศลจริยาเป็นเอนกอนันต์ ได้รับชัยชนะต่อจิตใจตนเอง และผู้อื่น มีความรู้ การศึกษาสูง บังเกิดผลบุญอันยิ่งใหญ่ไพศาลทั้งในชาตินี้ และชาติหน้า ดังมีใจความว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ณ กรุงสาวัตถี ในเวลานั้นพระสารีบุตรเถระเจ้า มีความประสงค์ว่า จักทูลถามพระพุทธเจ้าให้ทรงแสดงธรรมประกาศอานิสงส์สร้างพระไตรปิฎก ให้ทราบทั่วถึงกันแก่พุทธบริษัทพระเถระเจ้าก็เข้าเฝ้าทูลถาม แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าชนทั้งหลายให้พุทธศาสนายืนยาวถึง ๕ พันวัสสา จะมีอานิสงส์เป็นประการใด พระพุทธเจ้าข้า พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า ดูกรท่านสารีบุตร ถ้าชนทั้งหลายมีจิตรศรัทธาเลื่อมใสเช่นนั้นแล้ว เมื่อตายไปแล้วก็จักได้ เสวยราชสมบัติ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราชถึง ๘ หมื่น ๔ พันกัลป์ ใช่แต่เท่านั้น เมื่อเคลื่อนจากความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว ก็จะได้เป็นพระราชา มีอนุภาพอีก ๙ อสงไขย ต่อจากนั้นก็ได้เสวยสมบัติในตระกูลต่างๆ เป็นลำดับไป คือ ตระกูลพราหมณ์มหาศาล ตระกูลเศรษฐีคฤหบดี และเป็นภูมิเทวดาอากาศเทวดา อย่างละ ๙ อสงไขย ต่อแต่นั้นก็จะได้เสวย ในสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น เป็นลำดับไปชั้นละ ๘ อสงไขย เมื่อจุติจากชั้นเทวโลกแล้ว มาถือกำเนิดเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะมีร่างกายบริสุทธิ์ผุดผ่อง เป็นที่รักใคร่แก่คนทั้งหลาย ที่ได้พบเห็นทั้งน้ำใจก็บริสุทธิ์สุจริต ปราศจากบาปธรรมอกุศลทั้งปวง และเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด รอบรู้ทั้งทางโลกและทางธรรม ดังนี้เป็นต้น ดูกรท่านสารีบุตรเมื่อตถาคตสร้างบารมีอยู่ ได้เกิดเป็นอำมาตย์ของพุทธบิดา แห่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า ปุราณโคดม ได้สร้างพระไตรปิฎกไว้ให้สืบองค์ได้ตั้งความปรารถนา ขอตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งเถิดในอนาคตกาลโน้น สมเด็จพระปุราณโคดมบรมศาสดา ทรงพยากรณ์ไว้ว่า อำมาตย์ผู้นี้ต่อไปภายภาคหน้า จะได้ตรัสเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งมีพระนามว่า พระสมณโคดมก็คือพระตถาคต เรานี้เองดังนี้ แลก็สิ้นสุด พระกระแสธรรมเทศนา ที่พระบรมศาสดาทรงแสดงแก่พระสารีบุตรเถระเจ้าแต่เพียงเท่านี้ @@@@@@@ อานิสงส์แจกหนังสือธรรมะเป็นธรรมทาน 11 ประการ ธรรมทานเป็นเครื่องเตือนสติให้เราระลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ ของสรรพสิ่งทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต เป็นหนทางหนึ่ง อย่างเช่นการรู้คุณของพ่อแม่ รู้คุณแผ่นดินเกิด คุณธรรมทั้งหลายนี้ ถือว่าเป็นต้นน้ำแห่งพระธรรม(ความเป็นจริง) ที่สามารถฉุดช่วยผู้คนให้พ้นภัยเวียนได้ทัน เพราะการชี้แนะ จะด้วยกุศโลบายใดๆ ถือเป็นเป็นมหากุศลยิ่งกว่าสร้างเจดีย์แก้วเจ็ดชั้น ขอให้พระธรรมอันลึกซึ้ง จงสถิตอยู่ทุกดวงจิต คอยติดตามปกป้องคุ้มครอง ช่วยเตือนสติให้บังเกิดความสำนึกรู้คุณของเหตุและรู้คุณของผล จากเจตนาด้วยกาย วาจา ใจ อันเป็นผลตอบแทนแก่บุพการีให้สมกับความเป็นมนุษย์ทั้งหลายอย่างแท้จริง 1. กรรมเวรจากอดีตชาติจะได้ลบล้าง 2. หนี้เวรจะได้คลี่คลาย พ้นภัยจากทะเลทุกข์ 3. โรคภัยไข้เจ็บจากเจ้ากรรมนายเวรจะพ้นไป 4. สามีภรรยาที่แตกแยกจะคืนดีต่อกัน 5. วิญญาณของเด็กที่แท้งในท้องจะได้ไปเกิดใหม่ 6. กิจการงานจะราบรื่นสมความปรารถนา 7. บุตรจะเฉลียวฉลาดและเจริญรุ่งเรือง 8. บารมีคุ้มครองลูกหลานให้อยู่เย็นเป็นสุข 9. พ่อแม่จะมีอายุยืน 10. ลูกหลานเกเรจะเปลี่ยนแปลงเป็นคนดี 11. วิญญาณทุกข์ของบรรพบุรุษจะพ้นจากการถูกทรมานไปสู่สุคติ การแจกหนังสือเป็นธรรมทาน อานิสงส์จากการให้ธรรมทาน จะเป็นไปตามความมุ่งมั่นศรัทธาและความบริสุทธิ์ใจ ซึ่งผู้ให้จะสัมผัสรับรู้ได้เอง. Thank to :- URl : https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=acz3020&month=08-2012&group=1 (https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=acz3020&month=08-2012&group=1) Create Date : 31 สิงหาคม 2555 , By pronjaidee Last Update : 13 ตุลาคม 2555 17:36:15 น. Counter : 2585 Pageviews. |