สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2011, 08:44:59 pm



หัวข้อ: วัดปงสนุกเหนือ ได้รับรางวัลดีเด่น(Award of Merit)จากยูเนสโก
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2011, 08:44:59 pm
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/DSC01483.JPG)

วัดปงสนุกเหนือ
กับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคแห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี ๒๕๕๑ได้รับรางวัลดีเด่น(Award of Merit)

รางวัลที่ได้รับ

ยูเนสโกมอบรางวัลเพื่อการอนุรักษ์มรดก ทางวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิคแห่งองค์การยูเนสโก ประจำปี ๒๕๕๑ เพื่อยกย่องการบูรณปฏิสังขรณ์วัดปงสนุก จังหวัด ลำปาง โดยโครงการอนุรักษ์มรดกดังกล่าวได้รับรางวัลดีเด่น(AwardofMerit)เผยเป็นวัด แรกของไทยที่ได้รางวัลนี้
 
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w4_clip_image002_0001.jpg)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ได้รับรางวัลทรงคุณค่า (Award of Merit)
จากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก)
สำนักงานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก

ในโครงการอนุรักษ์วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งเป็นโครงการที่มีการ อนุรักษ์อาคารไม้โบราณที่มีอายุกว่า 120 ปี อันทรงคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ โดยคงสภาพเดิมเอาไว้ มากที่สุด และจูงใจให้เกิดโครงการบูรณะในที่อื่นๆต่อไป เพื่อให้ตระหนักในคุณค่ามรดกทางวัฒนธรรม ของชุมชน เป็นการอนุรักษ์และรักษาวัดของชาวล้านนา

ซึ่งมีการทำงานร่วมกันระหว่างพระสงฆ์กับชุมชน ผู้นำชุมชน ช่างฝีมือท้องถิ่น และนักวิชาการ เพื่อบรรลุผลทางด้านประวัติศาสตร์ของชุมชนและท้องถิ่น คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดี ยกย่อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรลัญจก์ บุณยสุ รัตน์ ที่ได้รับรางวัลทรงคุณค่านี้ รางวัล 2008 UNESCO Asia – Pacific Heritage Awards

ประวัติวัดปงสนุกเหนือ
                วัดปงสนก เป็นวัดโบราณวัดหนึ่ง ที่ตั้งอยู่ที่วัดปงสนุก ต.เวียงเหนือ อ.เมืองจ.ลำปาง ๕๒๐๐๐ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา และฝังลูกนิมิตร เมื่อ พ.ศ. 3214 สันนิษฐานว่าวัดนี้คงสร้างขึ้นร่วมสมัยพระเจ้าอนันตยศเสด็จมาทรงสร้างเมือง เขลางค์ เมื่อพ.ศ. 1223
 
บริเวณวัดปงสนุกตั้งอยู่ติดกำแพงเมืองเขลางค์รุ่นที่ 2 ด้านใน จากการศึกษาสภาพสิ่งก่อสร้างเท่าที่ปรากฏปัจจุบัน มีอาคารสถานก่อสร้างที่เก่าแก่ที่สุด คือ เจดีย์และวิหารพระเจ้าพันองค์ ซึ่งปรากฏในบันทึกมีการบูรณะครั้งหลังประมาณ 120 กว่าปีมาแล้ว สิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นพยานวัตถุบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองของวัดสืบทอดกัน มาจากอดีต เป็นเวลาร้อยกว่าปีมาแล้ว

วัดปงสนุก เดิมมีชื่อเรียกอยู่หลายชื่อ ตามหลักฐานที่พบจารึกอยู่ในที่ต่างๆ มีอยู่ 4 ชื่อ คือ วัดศรีจอมไคล วัดศรีเชียงภูมิ , วัดดอนแก้ว , วัดพะยาว (พะเยา) ชื่อวัดทั้งหมดที่พบดูจะมี 2 ชื่อ ที่เกี่ยวกับประวัติของบ้านเมืองในอดีตที่ผ่านมา คือ ชื่อวัดพะยาว (พะเยา) และชื่อวัดปงสนุก ด้วยเหตุการณ์เมื่อประมาณ พ.ศ. 2364 ทางเมืองนครลำปางและเมืองเชียงใหม่ได้ยกทัพเข้าตีเมืองเชียงแสน เมืองเชียงแสนได้สู้รบต่อต้านเป็นสามารถ

แต่สู้กำลังของเมืองลำปางและเชียงใหม่มิได้ เมืองเชียงแสนจึงแตก ทางกองทัพจึงได้กวาดต้องเอาชาวเชียงแสนลงมาสู่เมืองนครลำปาง ในชาวเมืองเชียงแสนเหล่านั้นได้มีชาวบ้านปงสนุก (เชียงแสน) รวมอยู่ด้วย ส่วนชาวเมืองพะเยา เจ้าฟ้าเมืองพะเยา ได้อพยพขาวพะเยาหนีข้าศึกพม่า คราวเมืองพะเยาแตกลงมาสู่นครลำปาง ในช่วงเวลาใกล้เคียง

ชาวเมืองทั้งสองจึงถูกจัดแบ่งให้อยู่ทางฝั่งเวียงเหนือของเมืองนครลำปาง โดยเฉพาะบริเวณวัดศรีเชียงภูมิ ด้วยเหตุนี้ชาวเมืองเชียงแสนและชาวเมืองพะเยา เมื่อมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใหม่และไม่ทราบอนาคตของตนเอง แต่ก็ยังรำลึกถึงบ้านเกิดเมืองนอน จึงได้เอานามชื่อวัดและชื่อบ้านมาเรียกโดยชาวพะยาว (พะเยา) ก็เรียกวัดพะยาว บ้านพะยาว ชาวเชียงแสนก็เรียก วัดปงสนุก บ้านปงสนุก

(ปัจจุบัน วัดปงสนุกใน อ.เชียงแสน อันเป็นชุมชนเดิมของบ้านปงสนุกลำปาง ก็ยังมีอยู่ ตั้งอยู่บ้านหมู่ที่ 3 ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เป็นวัดโบราณมีอายุกว่า 500 ปี) สำหรับชาวพะเยา พอถึง พ.ศ. 2386 เจ้าหลวงมหาวงค์ ขึ้นไปตั้งเมืองพะเยา

เมื่อบ้านเมืองเป็นปึกแผ่นแล้ว ครูบาอินต๊ะจักร จึงได้อพยพชาวพะเยากลับไปสู่บ้านเกิดเมืองนอน คงเหลือชาวพะเยาที่ไม่ยอมกลับ ไม่นานนัก ตรงกันข้ามกับชาวปงสนุก ไม่มีการอพยพกลับไป ได้ยึดเอานครลำปางเป็นบ้านเกิดเมืองนอนที่สอง ดังนั้นชื่อวัดและชื่อหมู่บ้านก็คงเหลือไว้เรียกขานกันเพียงชื่อเดียวว่า “ปงสนุก” ตราบเท่าทุกวันนี้

เป็นที่น่าสังเกตว่า วัดปงสนุก แยกเป็น 2 วัด ทั้งที่อาณาเขตก็ไม่กว้างขวางเท่าใด คือ วัดปงสนุกเหนือ และวัดปงสนุกใต้ สาเหตุที่แยกคงจะมาจากพระสงฆ์ สามเณรในอดีตจำนวนมาก จึงแบ่งกันช่วยดูแลรักษาวัด แต่ถึงอย่างไร ทั้ง 2 วัดนี้ก็ถือกันว่าเป็นวัดพี่วัดน้องอาศัยช่วยเหลือกันมาโดยตลอด
 
วิหารพระเจ้าพันองค์
        วิหารพระเจ้าพันองค์ วัดปงสนุก จังหวัดลำปาง เริ่มต้นจากความต้องการของชุมชนเล็กๆ แห่งหนึ่งในจังหวัดลำปาง โดยใช้กระบวนคิดในการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนท้องถิ่น เอกชน ศิลปิน และนักวิชาการ เริ่มจากการศึกษาวิจัยทางกายภาพและประวัติศาสตร์ชุมชนเกี่ยวกับวิหารพระเจ้า พันองค์ วิหารโถงทรงมณฑปจตุรมุขแห่งสำคัญที่เคยประดับพระพิมพ์เนื้อชินกว่าหนึ่งพัน องค์รอบตัววิหาร

วิหารพระเจ้าพันองค์ สร้างด้วยไม้ ในลักษณะมณฑปหลังคาซ้อนสามชั้น บนสันหลังคาเหนือมุขทั้งสี่สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุ ลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมรุ บริเวณชั้นระหว่างหลังคางดงามด้วยงานแกะสลักรูปกินนร สัตว์หิมพานต์ครึ่งคนครึ่งนก แต่งกายแบบราชสำนักพม่า และนกยูง สัญลักษณ์ของกษัตริย์ ประดับช่องหน้าต่างด้วย ลายฉลุรูปม้า วัว สิงห์ สัตว์ประจำทิศในพุทธศาสนา

รวมถึงนรสิงห์เทินหม้อปูรณฆฏะ สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ ขนาบด้วยภาพชาดกเขียนสีบนพื้นไม้ใส่กรอบกระจกแสดงเรื่องการบำเพ็ญเพียรของ พระพุทธเจ้า


ลักษณะของวิหารพระเจ้าพันองค์

๑. ห้องกลางวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสี่องค์หันพระพักตร์ออกสี่ทิศ ประทับนั่งใต้
โพธิพฤกษ์ทำด้วยตะกั่ว ด้านล่างของฐานชุกชีประดับลวดลายรูปช้างนาคสิงห์
นกอินทรี

๒. กินรีประดับมุมคอของชั้นสอง
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image002.jpg)

๓. เสาสี่เหลี่ยมประดับด้วยกาบรูปกลีบบัว
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image004.jpg)

๔. ปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสี  ฉลุลายสื่อความหมายถึงทวีปทั้งสี่รอบเขาพระสุเมร
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image006.jpg)

พระพุทธรูป ๔ ทิศ หมายถึง  สร้างเป็นมุขโถง ๔ ทิศ  พระพุทธรูปหันพระพักตร์ออก ๔  องค์   
บนสันหลังคาเหนือมุขทั้ง ๔ สร้างปราสาทไม้จำลองขนาดเล็กหุ้มด้วยสังกะสีฉลุลาย สื่อความหมายถึงดินแดนที่อยู่ของผู้คนรอบเขาพระสุเมรุ คือ

ทิศเหนือ                อุตตรกุรุทวีป
ทิศใต้                     ชมพูทวีป
ทิศตะวันออก       บุรพวิเทหทวีป
ทิศตะวันตก          อมรโคยานทวีป
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image008.jpg)


ฐาน ชุกชี  หมายถึง  เขาพระสุเมรุส่วนกลางจักวาลที่ลายล้อมด้วยป่าและสัตว์หิมพานต์
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image010.jpg)

วิหารหลังนี้สร้างโดยช่างเชียงแสน เลียนแบบหอคำเมืองเชียงเกี๋ยง (เชียงเจิ๋ง) ในสิบสองปันนา
ประเทศจีน
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/w1_clip_image011.jpg)

พระพุทธรูปไม้เป็นการสร้างเพื่อเป็นพุทธบูชา สำหรับทำบุญและเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา
ซึ่งคติความเชื่อในการสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้นั้น น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อ
เรื่อง โพธิพฤกษ์ หรือต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ประทับนั่งตอนตรัสรู้ สมัยโบราณ
จะไม่มีพระพุทธรูปไว้ที่บ้าน
(http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/picc/w1_clip_image008.jpg)

ยังมีรายละเอียดอื่นๆที่น่าสนใจ เชิญติดตามได้ที่
http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/index2.html (http://province.m-culture.go.th/lampang/wat/index2.html)