หัวข้อ: โครงการพระไตรปิฎกวิชาการ - คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน MPSC เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 15, 2022, 05:28:00 am (https://obs.line-scdn.net/0htWk1-EV0K3hWSD5ZaZJULwAeKBdlJDh7Mn56ewomfR1_emkrPSp4TnJNdFR-L2h5diYzG3FUfUh8fm8uPio2FyAddUApcG8qaSshHnJBdkxzfjk/w1200) โครงการพระไตรปิฎกวิชาการ - คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน MPSC แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพานนานมาแล้ว แต่พระสัทธรรมคำสอนของพระองค์ ได้รับการสืบทอดเรื่อยมา ในยุคแรกเหล่าพุทธสาวกสืบทอดพุทธธรรมด้วยการสวดทรงจำ เรียกว่า มุขปาฐะ ต่อมาราวปี พ.ศ. 400 เศษ จึงมีการบันทึกพระธรรมวินัยลงในใบลานเป็นครั้งแรก ณอาโลกเลณสถาน ประเทศศรีลังกา นับแต่นั้นคัมภีร์พระไตรปิฎก รวมทั้งคัมภีร์อรรถกถา ฎีกา อนุฎีกาจึงได้รับการสืบทอดโดยการจารคัดลอกลงในคัมภีร์ใบลานสืบต่อกันมา ปัจจุบันอาจแบ่งคัมภีร์ใบลานออกเป็น 4 สายจารีตใหญ่ ได้แก่ - คัมภีร์ใบลานอักษรสิงหล - คัมภีร์ใบลานอักษรพม่า - คัมภีร์ใบลานอักษรขอม และ - คัมภีร์ใบลานอักษรธรรม แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไปคัมภีร์ใบลานจำนวนมากได้ผุกร่อนเสื่อมสลาย บ้างก็สูญหาย บ้างก็ถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย และผู้ที่สามารถอ่านอักษรโบราณนับวันก็มีน้อยลงทุกที อีกทั้งคัมภีร์ที่เก็บรักษาไว้ในแหล่งต่าง ๆ ก็ไม่ได้ถูกนำมาศึกษาในวงกว้าง ด้วยตระหนักถึงสภาวการณ์ดังกล่าว วัดพระธรรมกาย จึงจัดตั้ง โครงการพระไตรปิฎกวิชาการ ขึ้นในเดือนเมษายน 2553 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่ออนุรักษ์คัมภีร์ใบลานให้คงอยู่เป็นมรดกธรรมของโลกไปตลอดชั่วกาลนาน 2. เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎก ที่สามารถเชื่อมโยงเนื้อความกับภาพถ่ายคัมภีร์ใบลานโดยตรงเป็นการอำนวยความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าพระไตรปิฎกให้กับนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั่วโลก 3. เพื่อเผยแพร่พระไตรปิฎกฉบับวิชาการที่มีเนื้อหาถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อประโยชน์ในการศึกษาค้นคว้า (https://obs.line-scdn.net/0hdDxoAWHpO2tFFi5KeoJEPBNAOAR2eihoISBqaBl4YVk8Jy40e3FoXmBGbUdtdS47ZSN1CDcKMQs4JXg-e3R3WGYeZVM6Ln85cHcxDWEfZl9gdX4/w1200) การดำเนินงาน ขั้นตอนที่ 1. การสำรวจและถ่ายภาพคัมภีร์ใบลานเป็นไฟล์ดิจิทัล ศูนย์รวบรวมและอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน (Center for the Preservation of Ancient Manuscripts : CPAM) ทำการสำรวจและถ่ายภาพคัมภีร์ใบลาน 4 สายจารีตหลักทั้งในและต่างประเทศ ขั้นตอนการถ่ายภาพมีดังนี้ ในปัจจุบันโครงการฯ ได้ทำความร่วมมือกับเจ้าของใบลานจากที่ต่าง ๆ และได้รับความอนุเคราะห์ให้บันทึกภาพคัมภีร์ใบลานจำนวนหลายพันชุดเป็นไฟล์ภาพดิจิทัล เป็นการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานต้นฉบับที่มีอายุเก่าแก่และเปราะบาง ทั้งนี้เพราะนักวิชาการหรือผู้ที่สนใจสามารถเรียกไฟล์ภาพขึ้นมาดูโดยไม่ต้องเดินทางไปถึงแหล่งคัมภีร์ ช่วยลดการสัมผัสและรบกวนใบลานต้นฉบับ อันอาจทำให้เกิดความเสียหายได้ ที่สำคัญคือในอนาคตแม้คัมภีร์ใบลานต้นฉบับจะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา แต่ไฟล์ภาพดิจิทัลจะยังคมชัด เหมือนจริง และเป็นคุณูปการต่อการศึกษาค้นคว้าในภายภาคหน้า (https://obs.line-scdn.net/0h1O3mWWAwbmAOFHtBMY8RN1hCbQ89eH1jaiI_Y1J6NVArJSw_YnU9UXxGNUwmJillLnt1VSgIYwUqJnozYHpzDykQMFhxcCk2O3VkBiodM1Qrd3s/w1200) ขั้นตอนที่ 2. การคัดเลือกคัมภีร์ใบลานและการจัดทำฐานข้อมูลพระไตรปิฎก คัมภีร์ใบลานแต่ละสายอักษรจะมีธรรมเนียมการจารคัดลอกที่แตกต่างกัน และภายในสายอักษรเดียวกันก็สามารถแบ่งสายย่อยได้อีก นักวิชาการของโครงการฯ จะคัดเลือกตัวแทนคัมภีร์ใบลาน 4 สายอักษร จารีตละ 5 ชุด รวม 20 ชุด แล้วให้เจ้าหน้าที่ ศูนย์ศึกษาคัมภีร์โบราณ (Center for the Study of Ancient Manuscripts : CSAM) ในประเทศไทย เมียนมา กัมพูชา และศรีลังกาปริวรรตถ่ายถอดเนื้อความพระไตรปิฎกบาลีจากอักษรท้องถิ่นเป็นอักษรบาลีโรมันลงในฐานข้อมูลอินเทอร์เน็ตผ่านระบบออนไลน์ เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลของคัมภีร์ใบลานฉบับนั้น ๆ โดยใบลานแต่ละหน้าจะมีเจ้าหน้าที่อ่านเนื้อความและป้อนข้อมูลอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป และจะเทียบเคียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อป้องกันการผิดพลาด ต่อจากนั้นจะมีผู้เชี่ยวชาญอ่านตรวจทานความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์ตรงตามใบลานต้นฉบับทุกประการ ขั้นตอนที่ 3. การตรวจชำระเนื้อหาพระไตรปิฎก ข้อมูลปริวรรตจากประเทศต่าง ๆ จะถูกส่งมาเก็บรวมไว้ และสร้างตารางเปรียบเทียบคัมภีร์ใบลานทุกชุดคำต่อคำ พร้อมทั้งแสดงผลวิเคราะห์และรายงานเพื่อให้นักวิชาการ ศูนย์วิจัยพระไตรปิฎก(Tipitaka Research Center : TRC) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญคัมภีร์พุทธศาสนาและภาษาบาลีจากหลากหลายประเทศทำการศึกษาเปรียบเทียบตามหลักวิชาคัมภีร์โบราณ และนำเสนอแลกเปลี่ยนความเห็นเป็นประจำทุกสัปดาห์ จากนั้นจะส่งเนื้อหาให้ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาบาลี–สันสกฤตและการตรวจชำระที่เป็นที่ยอมรับในวงการรับรองในขั้นสุดท้าย (https://obs.line-scdn.net/0hcEW3D5TqPGpqSilLVcRDPTwcPwVZJi9pDnxtaTYkYQhCeyw9ViRvXh0dYkZCfns8SiRyXhxWZlpCfy9oVC93CBtJYlIVKnk9Uy02DE5DYV5PKHM/w1200) ขั้นตอนที่ 4. การเผยแพร่พระไตรปิฎกฉบับวิชาการ โครงการฯ จะสรุปผลจากการศึกษาค้นคว้าคัมภีร์ใบลานทุกสายจารีตและจัดพิมพ์เป็น “พระไตรปิฎกฉบับวิชาการ” เผยแพร่ในระบบออนไลน์ เนื้อหาประกอบด้วย พระไตรปิฎกภาษาของคำอ่านจากคัมภีร์ใบลานทุกชุด ภาพถ่ายหน้าคัมภีร์ใบลาน ที่เชื่อมโยงอยู่กับเนื้อความในพระไตรปิฎก ซึ่งผู้ใช้สามารถดึงภาพใบลานขึ้นมาอ่านค้นคว้าได้ตามต้องการ ลิงก์เชื่อมโยงไปพระไตรปิฎกฉบับอื่น และบทความทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง นอกจากการจัดทำพระไตรปิฎกฉบับวิชาการแล้ว โครงการ ฯ ยังได้รวบรวม เรียบเรียงและเผยแพร่องค์ความรู้ต่างๆ ที่ได้จากการทำงานอย่างทุ่มเท และจัดงานด้านวิชาการเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี ข้อมูลเพิ่มเติม :- https://www.blockdit.com/tripitaka.mpsc (https://www.blockdit.com/tripitaka.mpsc) mps-center.in.th Thank to :- https://today.line.me/th/v2/article/x2VW5O6 (https://today.line.me/th/v2/article/x2VW5O6) LINE TODAY SHOWCASE เผยแพร่ 2 วันที่แล้ว • คัมภีร์พระไตรปิฎกใบลาน MPSC |