หัวข้อ: อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เริ่มหัวข้อโดย: saithong ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2010, 10:25:07 am เคยฟังพระอาจารย์ พูดบรรยายเรื่องนี้ครั้ง ที่ แม้ฟ้าหลวง
ท่านกล่าวเรียกว่า อธรรม 6 อย่างที่ทำให้ผู้ภาวนา ไม่ค่อยภาวนา 1 กัมมรามตา หมกหมุ่นอยู่ในงานทางโลก ทำให้กายเหน็ดเหนื่อย จิตล้า พอถึงตอนนี้ก็จะบอกว่าไม่มีเวลาภาวนา 2 ภัสสารามตา พอใจในการสนทนากับผู้อื่น ชอบพูด ชอบคุย 3 นิททารมตา พอใจต่อการหลับ และการนอน ( ทั้งที่เวลานอนอีกมากในหลุมฝังศพ ) 4 สังคณิการามตา พอใจในการพบปะสังสรรค์ รื่นเริงเสมอ 5 อินทริยาคุตตรามตา ไม่สำรวมอินทรีย์ทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 อโภชเนมัตตัญญุตา พอใจในการกิน หัวข้อ: Re: อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เริ่มหัวข้อโดย: sathukrab ที่ กุมภาพันธ์ 05, 2010, 11:27:50 pm อ่านแล้วผมก็อึ้งเหมือนกัน ครับ
นี่แสดงว่า คุณสายทอง ได้ฟังพระอาจารย์ บรรยายธรรมมากกว่าพวกผมอีกนะครับ ผมเองยังไม่เคยได้รับฟังเรื่องพวกนี้เลยครับ หัวข้อ: Re: อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เริ่มหัวข้อโดย: sanwhan ที่ กุมภาพันธ์ 07, 2010, 05:59:09 pm แสนหวาน ก็อึ้ง เพราะไม่เคยได้ฟังจากพระอาจารย์ สักครั้ง
สาธุ สาธุ ;D ;D ;D ;D หัวข้อ: Re: อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 04, 2010, 09:16:27 pm ขออนุญาตประชันกับอาจารย์สายทองสักหน่อยนะครับ ขอเสนอ ปปัญจธรรม ๓ ดูซิใครจะช้ากว่ากัน ปปัญจะ, ปปัญจธรรม ๓ (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่าย ๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา — diversification; diffuseness; mental diffusion) ๑. ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา — craving; selfish desire) ๒. ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง — view; dogma; speculation) ๓. มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ — conceit) ------------------------------------ เอ....อาจารย์สายทอง อยู่ ม.แม่ฟ้าหลวงรึเปล่าครับ ผมเคยไปที่นั่นสองครั้ง สวยมากครับ น่าอยู่ :sign0144: :49: :bedtime2: |