สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ratree ที่ มีนาคม 11, 2011, 05:56:01 pm



หัวข้อ: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ratree ที่ มีนาคม 11, 2011, 05:56:01 pm
ปรกติดิฉันภาวนาทำสมาธิแล้วจิตจะเข้าสู่สมาธิ มีความสุข และสงบ

แต่ 7 วันมานี้นั่งสมาธิแล้ว จิตไม่ดิ่งเข้าสมาูธิเลยคะ

ไม่รู้เพราะสาะเหตุใด รบกวนถามผู้รู้เพื่อหาวิธีแก้ไขด้วยคะ


( ปล. ภาวนาสายวัดป่าอยู่คะ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ คะ )

 :03:


หัวข้อ: Re: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: lastman ที่ มีนาคม 11, 2011, 06:57:23 pm
ผมว่าน่าจะเกิดจากสภาวะ สัปปายะ เป็นหลักนะครับ ในกรณีที่เราเคยภาวนาได้มาแล้วแต่มาในช่วงนี้ มีความรู้สึก
กระสับกระส่าย หรือมีอาการฟุ้ง ง่วงนอน หรือ เบื่อ ผมว่าอาการนี้ คืออาการกรรมฐานเสื่อม

 หรือ อีกอันก็เป็นอาการที่กรรมฐานนั้น ตั้งมั่นเพื่อไประดับต่อไป จึงทำให้เรามีจิตไม่ินิ่ง ภาวะนี้น่าจะไม่ใ่ช่

 ลองเปลี่ยนสถานที่ ภาวนาดูนะครับ

 ท่าจะให้ดีลองเดินจงกรม สัก 30 นาที กำหนดเดินหนอ ย่างหนอ ก็ได้ครับ

 แล้วกลับมานั่งกรรมฐานอีกดูว่ายังเป็นอาการเดิมอีกหรือไม่ ถ้าเป็นก็ต้องปรึกษาครุอาจารย์กันต่อไปแล้วครับ

 :25:


หัวข้อ: Re: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: NP2706 ที่ มีนาคม 11, 2011, 07:03:37 pm
ขึ้นชื่อว่า สติ เป็นธรรมอันสําคัญ อันผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงไว้เป็นเรื่องที่สําคัญอย่างยิ่งยวด ในหัวข้อศึกษาธรรม ในนวโกวาทหลักสูตรนักธรรมชั้นตรีก็ได้จัดไว้เป็นธรรม 2 หัวข้อ(เป็นธรรมที่มีอุปการะ มาก 2 อย่าง) คือ 1.สติ แปลว่า ความระลึกได้ 2.สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว แบ่งเป็นสติขั้นต้นคือความไม่หลงไม่ลืม. สติขั้นกลางคือความตามระลึกได้ในบุญกุศล. สติขั้นสูงสุดคือสติที่เป็นไปในสติปัฏฐานทั้ง4 คือ มีสติในกาย ในเวทนา ในจิต และ ในธรรม."สติทั้ง3"หาแยกจากกันไม่ เพราะผู้มีสติก็ต้องมีสติ ตั้งแต่พื้นฐาน จนถึงขั้นสูงสุด และสติย่อมเกิดขึ้นและทําให้ผู้มีสติ(ย่อมถึงสิ่งที่ปรารถนาไว้นั่น ก็คือ ความรู้ตัวทั่วพร้อม ตามลําดับ กําลังของผู้มีสติ).....วันนี้พอก่อน...จากคําสอนตําราครูบาอาจารย์...

การวางอารมณ์ในกรรมฐาน ขั้นตอนมีไม่มากหรอกครับ
  คือ หนึ่งวางใจให้เป็นกลาง ครับอย่าอยากสำเร็จ หรือไม่อยากสำเร็จ
  อันนี้ข้อแรกเลยครับ ในการวางอารมณ์

สมาธิ คือ สภาวะที่จิตไม่ปรุงแต่งความคิด ด้วยอาศัยการบริกรรมภาวนาหน่วงจิตให้จิตทำงานจับจดเป็นอารมณ์

เดียว จิตหมดจด ไม่ซัดส่าย ไม่ฟุ้ง    จากนั้นยกองค์ธรรมขึ้นสู่การพิจารณาเป็นวิปัสสนา ด้วยความปราณีตแห่ง

จิตและความแยบยลแห่งภูมิปัญญา ย่อมถึงความสิ้นสงสัย หมดจด ปล่อยวางคลายได้ง่าย ถึงซึ่งภูมิแห่งความพ้น

เป็นอริยะ......ดังนี้ หรือในชั้นปุถุชนเพียงแก้ไข คลาย จาง กระจ่าง กับปัญหาที่ข้องอยู่เป็นผลสำฤทธิ์


สมาธิ มิใช่สภาวะนิ่งแช่ ว่าง วางเฉย ไม่คิด ไม่ฟุ้ง อย่างนี้เป็น อทุกขมสุข เป็นเพียงกระพี้ของการภาวนา การ

ภาวนาที่ถูกต้อง กล่าวคือ ให้จิตทำงานด้วยการบริกรรม สังเกตได้จากอาการของจิตกระทบกายเป็น ปิติ ความ

อิ่มใจ กายกระทบจิต เป็น นิมิต แต่หาทิ้งคำบริกรรมไม่จิตทำงานต่อไป กระทั่งจิตทิ้งคำบริกรรมจิตเสวยอารมณ์

สุขอย่างเดียว กายใจแช่มชื่น กายสุข จิตสุข กายเบา จิตเบา ซ่านสบาย เมื่อสอดแสกความคิดสติปัญญาตอบ

สนองรวดเร็ว ทั้งหมดจากประสพการณ์ที่มีกับตนเองครับ


 


หัวข้อ: Re: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 15, 2011, 09:49:45 am
ประการที่ 1 เป็นเพราะว่าอยู่ในสมาธิ อยู่แล้ว จึงไม่มีความรูสึกในสภาวะธรรมที่มีอยู่
 
 เหมือนคนยืนอยู่ในน้ำ ถามว่าเย็นหรือร้อนตอบยาก
 
   คนที่เป็นเช่นนี้ จะนอนน้อย กว่าปกติ จิตตื่น รู้สึกตัวอยู่เสมอ เนื่องด้วย สติ + สมาธิ พัฒนาขั้นสูง
 
 
 ประัการที่ 2 จิตเสื่อม ไล่ตาม วิสุทธิ 3 ประการต้นเลยนะ ปรับปรุงตามนั้น
 
    คื่อ 1. สีลวิสุทธิ ด่าง พร้อย ขาด
 
        2. จิตวิสุทธิ ไม่หมดจดด้วยเป้าหมายแห่งจิต
 
        3. ทิฏฐิวิสุทธิ มีความเห็นผิดจากเ้ดิม
 
   สำรวจด้วยตนเอง เสื่อมตรงไหน ก็ปรับปรุงตรงนั้น ปรึกษา ครูอาจารย์ ให้มากกว่าปกติ ถ้าสำรวจไม่เห็น
 
 ถ้าเป็นศิษย์กรรมฐาน ให้มาแจ้งกรรมฐาน
 
 
 เจริญธรรม
 
  ;)