สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2025, 08:47:41 am



หัวข้อ: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 15, 2025, 08:47:41 am
.
(https://i.pinimg.com/736x/45/0f/53/450f5313c2b4d1949ac3a5187631915d.jpg)


ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ



 :25: :25: :25:

ผู้ฟังธรรมมีความแตกต่างกันทางด้านสติปัญญาและอัธยาศัย

หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงมุ่งพระหฤทัยที่จะแสดงธรรมแล้ว ก็ทรงพิจาณาเห็นถึง ความแตกต่างทางด้านสิตปัญญาและพื้นฐานของของบุคคลผู้ที่จะฟังธรรม จึงทรงจำแนกประเภทบุคคลไว้ ๔ จำพวก คือ

(๑) อุคฆฏิตัญญู ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน
(๒) วิปจิตัญญู ผู้เข้าใจต่อเมื่อขยายความ
(๓) เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำได้
(๔) ปทปรมะ ผู้ที่สอนให้รู้ได้ เพียงตัวบทคือพยัญชนะ

นอกจากความแตกต่างทางด้านสติปัญญาแล้ว ยังทรงคำนึงถึง ความแตกต่างทางด้านอุปนิสัยและอัธยาศัยของผู้ฟังธรรมด้วย เพราะอุปนิสัยของเหล่าสัตว์นั้นมีความแตกต่างกัน เป็นไปตามจริตของแต่ละบุคคล ซึ่งมีอยู่ ๖ จำพวก คือ

(๑) ราคจริต ประพฤติหนักไปในทางรักสวยรักงาม
(๒) โทสจริต ประพฤติหลักไปทางใจร้อน หงุดหงิด
(๓) โมหจริต ประพฤติหนักไปทางเขลา
(๔) สัทธาจริต ประพฤติหนักไปทางมีจิตซาบซึ้งชื่นบาน น้อมใจเลื่อมใสโดยง่าย
(๕) พุทธิจริต ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิดพิจารณา
(๖) วิตกจริต ประพฤติหนักไปทางนึกคิดจับจดฟุ้งซ่าน

@@@@@@@

แม้ว่าจะแบ่งบุคคลออกเป็น ๔ จำพวกตามสติปัญญา และ ๖ จำพวกตามจริตของแต่ละบุคคลแล้ว ก็ยังมีข้อให้มองอีกด้านหนึ่งของ บุคคลที่มีความเสื่อมใสในสมณะหรือภิกษุสงฆ์ที่แตกต่างกันไป

พระพุทธองค์ทรงจำแนกไว้ในรูปสูตร เรียกว่า "ปมาณิก" คือ บุคคลที่ถือประมาณต่างๆกัน เป็นเครื่องวัดในการให้เกิดความเลื่อมใส มี ๔ จำพวก คือ

(๑) รูปัปปมาณิกา หมายถึง พวกถือรูปภายนอกเป็นประมาณ มีความเลื่อมใสในรูปร่างหน้าตาที่งดงาม เมื่อได้พบเห็น ย่อมเกิดความพึงพอใจ แค่คนประเภทนี้ จะให้ความสนใจในเรื่องเสียงเรื่องรูปแบบ และเรื่องเหตุผลพอประมาณ เช่น พระวักกลิ เลื่อมใสพระพุทธองค์ รูปนันทาเถรีเมื่อยังสาว ก่อนบวชหลงรูปตัวเอง พระโสเรยยะเคยหลงใหลในรูปของพระมหากัจจายนะ เป็นต้น

(๒) โฆสัปปมาณิกา หมายถึง พวกถือเสียงหรือสำเนียงท่วงท่าในการพูดเป็นประมาณ กล่าวคือ มีความศรัทธาเลื่อมใสในเสียงหรือสำเนียงในการพูดอย่างมาก เพราะฉะนั้น คนที่มีเสียงดี มีเสน่ห์ เช่น พูดเพราะ เสียงหวานจนทำให้ผู้ฟังติดใจ ย่อมสามารถดึงดูดคนประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี แต่คนประเภทนี้ จะให้ความสนใจในเรื่องรูปร่างหน้าตา เรื่องรูปแบบ และเรื่องเหตุผลพอประมาณ เช่น พระลกุณฎกะภัททิยะ และพระโสณกุฏิกัณณะ ซึ่งมีวาจาไพเราะ มีเสียงเพราะ พระปิณโฑลภาร-ทวาชะ เปล่งวาจาองอาจ เป็นต้น

(๓) ลูขัปปมาณิกา หมายถึง พวกถือรูปแบบ ความเคร่งคัดเป็นประมาณ กล่าวคือ คนพวกนี้ จะมีความศรัทธาเลื่อมใสในบุคคลที่มีความประพฤติที่ดูเคร่งครัด มีความสำรวม มีความขัด เกลา สันโดษพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่อย่างมาก แต่จะให้ความสนใจในเรื่องรูปร่างหน้าตา เรื่องเสียง และเรื่องเหตุผลพอประมาณ เช่น พระมหากัสสปะ พระโมฆราช เป็นต้น

(๔) ธัมมัปปมาณิกา หมายถึง พวกถือเหตุผล ความถูกต้อง ความยุติธรรม เป็นประมาณ กล่าวคือ คนพวกนี้ จะมีความศรัทธาเลื่อมใสในบุคคลที่มีภูมิความรู้สูง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด พูดอย่างมีเหตุผล ยึดมั่นในหลักการ

@@@@@@@

ความแตกต่างทางด้านสติปัญญาและอัธยาศัยของบุคคล ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้พระพุทธศาสนา จำเป็นต้องมีการประยุกต์ใช้อุปมาธรรมในการสอน เพื่อให้สอดคล้องกับสติปัญญาและอัธยาศัยของบุคคลนั้นๆ เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการแก้ไขปัญหาความทุกข์ของประชาชนและเวไนยสัตว์






ขอขอบคุณ
ภาพจาก : pinterest
บทความ : จากวิทยานิพนธ์ เรื่อง "การศึกษาวิเคราะห์ความสาคัญของการใช้อุปมาเพื่อสื่อธรรม ที่ปรากฏในคัมภีร์โอปัมมวรรค" , โดย พระมหาทองสุข ปญฺญาวณฺโณ (พรหมมีเดช) , วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๖๐


หัวข้อ: Re: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2025, 07:56:48 am
.
(https://i.pinimg.com/736x/e0/97/51/e097510bed5b5e273abebe3eea01a2dd.jpg)


ปมาณิกา ๔ ของ พระเถระผู้เป็นเอตทัคคะด้านการเผยแผ่
โดย พระมหาสุเทพ ฉนฺทสุทฺโธ (มะแป้นไพร)
วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา ตามหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๖๐




 :25: :25: :25:

บทที่ ๒ : การศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปมาณิกา

การศึกษาเรื่อง “ปมาณิกา ๔ ของพระเถระผู้เป็นเอตทัคคะด้านการเผยแผ่” ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวรรณกรรมต่าง ๆ จากพระไตรปิฎก วิทยานิพนธ์ และเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบแนวคิดทฤษฎีในการศึกษาวิจัย อันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

     ๒.๑ ความหมายของปมาณิกา
     ๒.๒ ประเภทของปมาณิกา
     ๒.๓ ที่มาแห่งปมาณิกา
     ๒.๔ หน้าที่ของปมาณิกา
     ๒.๕ ประโยชน์ของปมาณิกา

     @@@@@@@

๒.๑ ความหมายของปมาณิกา

คัมภีร์รูปสูตรมีความหมายของปมาณิกาแสดงไว้ว่า ปมาณิกา หมายถึงบุคคล ๔ จำพวกที่มีปรากฏอยู่ในโลก ได้แก่

     ๑. ผู้ถือประมาณในรูป เลื่อมใสในรูป
     ๒. ผู้ถือประมาณในเสียง เลื่อมใสในเสียง
     ๓. ผู้ถือประมาณในความเศร้าหมอง เลื่อมใสในความเศร้าหมอง
     ๔. ผู้ถือประมาณในธรรม เลื่อมใสในธรรม

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ แสดงความหมายของปมาณิกาไว้ว่า หมายถึง การวัด การกะ เครื่องวัดเกณฑ์ การถือเกณฑ์ บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณ คือ หลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือหรือความนิยมเลื่อมใส ประกอบด้วย

     ๑. รูปประมาณ หรือผู้ถือประมาณในรูป
     ๒. โฆษประมาณ หรือผู้ถือประมาณในเสียง
     ๓. ลูขประมาณ หรือผู้ถือประมาณในความคร่ำหรือเศร้าหมอง
     ๔. ธรรมประมาณ หรือผู้ถือประมาณในธรรม

พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม แสดงความหมายของปมาณิกาไว้ว่า หมายถึง การประมาณบุคคลที่ถือประมาณต่าง ๆ กัน คนในโลกผู้ถือเอาคุณสมบัติต่าง ๆ กันเป็นเครื่องวัดในการที่จะเกิดความเชื่อความเลื่อมใส ประกอบด้วย

     ๑. รูปประมาณ คือ ผู้ถือประมาณในรูป บุคคลที่มองเห็นรูปร่างสวยงาม ทรวดทรงดี อวัยวะสมส่วน ท่าทางสง่า สมบูรณ์พร้อม จึงชอบใจเลื่อมใสและน้อมใจที่จะเชื่อถือ

     ๒. โฆษประมาณ คือ ผู้ถือประมาณในเสียง, บุคคลที่ได้ยินได้ฟังเสียงสรรเสริญเกียรติคุณ หรือเสียงพูดจาที่ไพเราะ จึงชอบใจเลื่อมใส และน้อมใจที่จะเชื่อถือ

     ๓. ลูขประมาณ คือ ผู้ถือประมาณในความคร่ำหรือเศร้าหมอง, บุคคลที่มองเห็นสิ่งของเครื่องใช้ความเป็นอยู่ที่เศร้าหมอง เช่น จีวรคร่า ๆ เป็นต้น หรือมองเห็นการกระทาอันคร่ำเครียดเป็นทุกขกิริยา หรือการประพฤติเคร่งครัดเข้มงวดขูดเกลาตน จึงชอบใจเลื่อมใสน้อมใจที่จะเชื่อถือ

     ๔. ธรรมประมาณ คือ ผู้ถือประมาณในธรรม, บุคคลที่พิจารณาด้วยปัญญาเห็นสารธรรม หรือการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ได้แก่ ศีล สมาธิ ปัญญา จึงชอบใจเลื่อมใส และน้อมใจที่จะเชื่อถือ

@@@@@@@

พิณจ์ทอง แมนสุมิตร์ชัย กล่าวว่า ปมาณิกา หมายถึง บุคคลที่ถือประมาณต่าง ๆ กันคนในโลกผู้ถือเอาคุณสมบัติต่าง ๆ กันเป็นเครื่องวัดในการที่จะเกิดความเชื่อความเลื่อมใส ได้แก่ รูปประมาณ โฆษประมาณ ลูขประมาณ และธรรมประมาณ

พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ให้ความหมายของ ปมาณิกา ปรากฏในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ (ฉบับชาระเพิ่มเติม ๒๕๕๑) ไว้ว่า หมายถึง บุคคล ๔ จำพวกที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่ รูปัปปมาณิกา โฆสัปปมาณิกา ลูขัปปมาณิกา และธัมมัปปมาณิกา

สามารถ มังสัง กล่าวว่า ปมาณิกา หมายถึง ความเชื่อถือ หรือ ความเชื่อมั่นในบุคคลซึ่งมีศีลมีธรรม หรือในวัตถุซึ่งมีอิทธิปาฏิหาริย์ มีอานาจแฝงเร้น สามารถดลบันดาลสิ่งที่คนต้องการได้ ซึ่งเป็นผลอันสืบเนื่องมาจากความเลื่อมใสใน ๔ ประการ คือ ผู้ถือประมาณในรูป ผู้ประมาณในเสียง ผู้ประมาณในความคร่ำหรือเศร้าหมอง และผู้ประมาณในธรรม ได้กล่าวถึงความหมายของ ปมาณิกา ไว้ว่า หมายถึง บุคคล ๔ จำพวกที่แบ่งตามประมาณ ได้แก่
     ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่างเป็นประมาณ
     ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียงเป็นประมาณ
     ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือ ปอน ๆ เป็นประมาณ
     ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรม คือ เอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้องเป็นประมาณ

พระครูอนุกูลธรรมวงศ์ (ประยูร วิสารโท) ให้ความหมายของปมาณิกาไว้ว่า ปมาณิกา หมายถึง การถือเอาลักษณะต่าง ๆ หรือการเปรียบเทียบเอาสิ่งต่าง ๆ ที่คุ้นเคย มาเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเชื่อความเลื่อมใส เป็นเกณฑ์ในการถือเอา หรือยึดติดในสิ่งเหล่านั้น นอกจากนี้ ปมาณิกายังเป็นการกะประมาณในสิ่งที่ก่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ซึ่งใกล้เคียงกับปสาทะและศรัทธา เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

เมื่อเห็นรูปลักษณ์หรือลักษณะที่น่าพอใจ หรือพอใจในส่วนต่าง ๆ แล้วทำให้เกิดศรัทธา ความเชื่อเกิดขึ้น แล้วก็ทำให้เกิดความเลื่อมใส ความอิ่มใจ ความผ่องใส ความสบายใจที่จะยอมรับนับถือ พร้อมที่จะประพฤติปฏิบัติตาม รวมความหมายเหมือนกัน คือ ศรัทธาปสาทะ ความเชื่อความเลื่อมใส

@@@@@@@

สรุปความได้ว่า ปมาณิกา หมายถึง หลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดเพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบุคคล ๔ ประเภท ได้แก่

     ๑. รูปัปปมาณิกา เป็นการถือเอารูปร่างที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่า บุคคลมีท่าทางสง่า งดงาม สมบูรณ์พร้อม ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะรูป เห็นพระสงฆ์ครองผ้า น่าเลื่อมใส มีกิริยาน่าเลื่อมใส ตนจึงเลื่อมใส

     ๒. โฆสัปปมาณิกา เป็นการถือเอาเสียงที่ได้ยินเป็นประมาณในใจว่า บุคคลมีสำเนียงไพเราะ อ่อนหวาน หรือได้รับฟังการสรรเสริญว่าคุณสมบัติน่านับถือ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะได้ยินเสียง ฟังพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาได้ไพเราะจับใจ ตนจึงเลื่อมใส

     ๓. ลูขัปปมาณิกา เป็นการถือเอาสิ่งของเครื่องใช้ ความเป็นอยู่ที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่าเก่าคร่ำ่คร่า สมถะ หรือเห็นการประพฤติอันเคร่งครัดเข้มงวด ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือ เลื่อมใสเพราะเห็นความประพฤติปอน ๆ เห็นพระสงฆ์ครองผ้าเก่า อยู่อย่างเรียบง่าย สำรวมในพระวินัย ตนจึงเลื่อมใส

     ๔. ธัมมัปปมาณิกา เป็นการถือเอาธรรมที่พิจารณาเป็นประมาณในใจว่า มีสาระแก่นสารเป็นไปเพื่อการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งสูงค่า ตนจึงเลื่อมใส


หัวข้อ: Re: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2025, 03:05:41 pm
.
(https://i.pinimg.com/474x/bd/00/82/bd0082503581dfe64711a9fd7c66254b.jpg)


๒.๒ ประเภทของประมาณิกา

คัมภีร์ขุทกนิกาย ได้กล่าวถึงปมาณิกาไว้ ดังนี้

     “จริงอยู่ จำพวกสัตว์ในโลกสันนิวาสซึ่งมีประมาณ ๔ จำพวก ที่เห็นพระตถาคตอยู่ไม่เกิดความเลื่อมใสมีจำนวนน้อยนัก ด้วยว่าจำพวกสัตว์ที่เป็นรูปัปปมาณิกา (ถือรูปเป็นประมาณ) เห็นพระสรีระของพระตถาคตอันประดับแล้วด้วยพระลักษณะและอนุพยัญชนะ มีพระฉวีวรรณดุจทองคา ย่อมเลื่อมใส
     จำพวกโฆสัปปมาณิกา (ถือเสียงเป็นประมาณ) ฟังเสียงประกาศพระคุณของพระศาสดา ซึ่งอาศัยเป็นไปแล้วตั้งหลายร้อยชาติ และเสียงประกาศพระธรรมเทศนาอันประกอบด้วย องค์ ๘ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ ย่อมเลื่อมใส
     แม้จำพวกลูขัปปมาณิกา (ถือการปฏิบัติเศร้าหมองเป็นประมาณ) อาศัยความที่พระองค์เป็นผู้เศร้าหมองด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ย่อมเลื่อมใส
     แม้จำพวกธัมมัปปมาณิกา(ถือธรรมเป็นประมาณ) ก็ย่อมเลื่อมใสว่า ศีลของพระทศพลเห็นปานนี้ สมาธิเห็นปานนี้ ปัญญาเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้เสมอเท่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้ ไม่มีผู้ทัดเทียมด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น”

ดังนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่า ปมาณิกา แบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท ได้แก่

    ๑. รูปัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอารูปร่างที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่า มีท่าทางสง่า งดงาม สมบูรณ์พร้อม ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะรูป
    ๒. โฆสัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาเสียงที่ได้ยินเป็นประมาณในใจว่า มีสำเนียงไพเราะอ่อนหวาน หรือได้รับฟังการสรรเสริญว่าคุณสมบัติว่าน่านับถือ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะได้ยินเสียง
    ๓. ลูขัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาสิ่งของเครื่องใช้ ความเป็นอยู่ที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่า เก่าคร่ำคร่า สมถะ หรือเห็นการประพฤติอันเคร่งครัดเข้มงวด ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะเห็นความสมถะ
    ๔. ธัมมัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาธรรมที่พิจารณาเป็นประมาณในใจว่า มีสาระแก่นสาร เป็นไปเพื่อการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งสูงค่า

ศรัทธาอันเกิดจากความเลื่อมใสในปมาณิกาทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นไปตามจริตส่วนตนของแต่ละบุคคล แม้ความเลื่อมใสเพียงประการใดประการหนึ่งใน ๔ ประเภทนี้ก็ส่งผลให้เกิดศรัทธาได้

@@@@@@@

๒.๒.๑ รูปัปปมาณิกา

รูปัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอารูปร่างที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่ามีท่าทางสง่า งดงาม สมบูรณ์พร้อม ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะรูป คนที่เลื่อมใสในพระสงฆ์ บางคนเพราะเห็นพระท่านครองผ้าน่าเลื่อมใส เห็นพระท่านมีกิริยาอาการสงบเสงี่ยมน่าเลื่อมใส ตนจึงเลื่อมใส คนประเภทนี้เรียกว่า รูปัปปมาณิกา แม้คนที่เห็นพระพุทธรูปงามหรือเห็นโบสถ์วิหารงาม จึงเกิดความเลื่อมใส ก็รวมอยู่ในพวกรูปัปปมาณิกานี้ด้วย

ในสมัยพุทธกาลมีภิกษุและพุทธศาสนิกชนมากมายที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนา เพราะรูปัปปมาณิกาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องมีรูปร่างหน้าตาสะสวย สมสัดสมส่วน มีอาการ ๓๒ ครบถ้วน และมีลักษณะพิเศษเล็ก ๆ อีก ๘๐ บริบูรณ์ทั้งหมด

ฉะนั้น องค์สมเด็จพระบรมสุคตจึงมีรูปร่างหน้าตาทรวดทรงสวยสดงดงามเป็นพิเศษ ความสวยของพระองค์เป็นเหตุดึงใจของบุคคลผู้จะรับธรรมสาหรับคนผู้ต้องการความสวย

นอกจากนี้ ยังพบพระคาถาบรรยายความงามขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ปรากฏอยู่ในเมตตชิเถรคาถา
ความว่า
    “อรหตฺต ปน ปตฺวา สตฺถาร โถเมนฺโต : นโม หิ ตสฺส ภควโต สกฺยปุตฺตสฺส สิรีมโต เต นาย อคฺคปฺปตฺเตน อคฺคธมฺโม สุเทสิโตติ ฯ คาถ อภาสิ. ตตฺถ นโมติ นมกาโร.”

     แปลว่า : ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคศากยบุตรผู้ทรงพระสิริพระองค์นั้น พระองค์ผู้ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณเลิศทรงแสดงนวโลกุตตรธรรม ๔ อันเลิศนี้ไว้

บทว่า นโม ได้แก่ ทาการนอบน้อม
บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต
บทว่า ตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ทรงบาเพ็ญบารมีมาครบ ๓๐ ทัศ ทรงหักกิเลสทั้งปวงแล้วตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ     
     ชื่อว่าเป็นศากยบุตร เพราะเป็นบุตรของพระเจ้าศากยะ ทรงเจริญแล้วด้วยบุญสมบัติ อันไม่สาธารณะทั่วไปแก่สัตว์อื่น
     ชื่อว่าผู้มีพระสิริ เพราะประกอบไปด้วยสิริ คือ พระรูปกาย และสิริ คือ ธรรมกายอันสูงสุด ขอความนอบน้อมจงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นศากยบุตรผู้มีพระสิริพระองค์นั้น ความว่า ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นฯ

ขยายความ : คาถานี้เป็นการกล่าวของท่านพระเมตตชิเถระ หลังจากที่ท่านได้สาเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็ได้กล่าวแสดงความนอบน้อมชมเชยพระสิริคือความงดงามของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเป็นพระคุณลักษณะประการอนึ่งในภคธรรม ๖ ประการของพระผู้มีพระภาคเจ้าดังที่พบในอรรถกถาสมันตปาสาทิกา ความว่า

“อนึ่ง เพราะ ภค ศัพท์ ย่อมเป็นไปในธรรม ๖ ประการ คือ ความเป็นใหญ่ ธรรม ยศ สิริกามะ และความเพียร”

@@@@@@@

พระสิริของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี ๒ ประการ คือ

๑. สิริ คือ ความงดงามของรูปกายอันยอดเยี่ยมหาผู้เปรียบปานมิได้ เพราะประกอบไปด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ คือ ลักษณะพิเศษแห่งอวัยวะส่วนย่อย ๆ ๘๐ ประการ อันเกิดแต่การสั่งสมบุญบารมีมาอย่างบริบูรณ์แล้ว ทั้งหมดนี้ย่อมเป็นที่ดึงดูดนัยนาคือดวงตา (ตาเนื้อ) ของชาวโลกผู้เป็นรูปัปมาณิกาให้เลื่อมใสในพระรูปกายของพระองค์

ดังที่พบใน อรรถกถาสมันตปาสาทิกา ความว่า
    “พระสิริแห่งพระอังคาพยพ (อวัยวะ) น้อยใหญ่ทุกส่วนล้วนบริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สามารถยังความเลื่อมใสแห่งดวงตาและดวงใจของชนผู้ขวนขวายในการดูพระรูปกายให้บังเกิด”

๒. สิริ คือ ความงดงามของพระธรรมกายอันสูงสุดที่งดงามประดุจรูปพระพุทธปฏิมากรเกตุดอกบัวตูม ใสเหมือนกระจกคันฉ่องส่องหน้า มีพระรัศมีสว่างไสวหาประมาณมิได้ งามยิ่งนัก หาผู้เสมอเหมือนได้ยาก และทรงไว้ซึ่งมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการเป็นต้นเหมือนพระรูปกาย แต่ทรงไว้ซึ่งพระคุณานุภาพภายในอันไม่สาธารณทั่วไป อันพระอริยะสาวกจะพึงเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุเท่านั้น เมื่อเห็นแล้วย่อมเป็นผู้มีความเลื่อมใสอันไม่คลอนแคลน อันเป็นความเลื่อมใสที่แท้จริง

องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยพระสิริ ๒ ประการดังกล่าวข้างต้น จึงหาผู้เสมอเหมือนมิได้ด้วยพระสิริทั้งสองประการ แต่ทรงเป็นผู้เสมอกันกับด้วยพระผู้มีพระภาคในปางก่อนทั้งหลาย

ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาอัคคัปปสาทสูตร ความว่า
     “เย ปน ปุริมกา สมฺมาสมฺพุทฺธา สพฺพสตฺเตหิ อสมา. เตหิ สทฺธึ อยเมว รูปกายคุเณหิ เจว ธมฺมกายคุเณหิ จ อสมสมฏฺเฐนปิ อคฺโค ฯ”
      แปลความว่า พระผู้มีพระภาค ชื่อว่าเป็นผู้ล้าเลิศไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เองเป็นผู้เสมอโดยพระคุณทางรูปกายและพระคุณทางธรรมกายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์ฯ

ดังนั้นพระอริยสาวกผู้มีปัญญาจักษุเมื่อจะทาการนอบน้อมอภิวันทนาการชมเชยพระสิริแห่งพระผู้มีพระภาค ย่อมมุ่งหมายชมเชยพระสิริทั้ง ๒ ประการ ต่างจากปุถุชนผู้ไม่เห็นธรรมปราศจากปัญญาจักษุย่อมกล่าวชมเชยได้ เฉพาะพระสิริแห่งพระรูปกายเท่านั้น

@@@@@@@

เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความงามดังที่กล่าวมานี้แล้วจึงก่อให้เกิดบุคคล ผู้เลื่อมใสพุทธศาสนาประเภทรูปัปปมาณิกามากมาย

ตัวอย่างเช่น “พระวักลิเถระ” ที่ได้รับการยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ ว่าครั้งหนึ่ง พราหมณ์วักกลิต้องการบวชเพราะชื่นชอบในรูปลักษณะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อบวชแล้วก็คอยแต่จ้องมองดูพระองค์อยู่เป็นเนืององค์

พระมหาศาสดาทรงดาริว่า วักกลิภิกษุนี่บวชเพราะรูปัปปมาณิกาในพระองค์ สมเด็จพระสุคตจึงตรัสขับไล่วักกลิภิกษุว่า
    “วักกลิเธอจะมานั่งชมโฉมตถาคตไปทำไม ทั้งเช้า ทั้งสาย บ่าย ค่ำ มีประโยชน์อะไรกับร่างกายที่จะเปลี่ยนเป็นเน่านี้ ถ้าทำอย่างนี้เธออย่าบวชเสียดีกว่า ป่วยการบวช บวชแล้วไม่เรียนธรรมวินัย มานั่งดูโฉมกันอยู่อย่างนี้มีประโยชน์อะไร”

วักกลิภิกษุเสียใจบ่ายหน้าขึ้นไปบนยอดเขาจะกระโจนลงมา สมเด็จพระมหาศาสดาทรงเนรมิตส่งพระรูปออกไปปรากฏและแสดงธรรมกับพระวักกลิว่า
     “โยธมฺมปสฺสติ โสธมฺม ปสฺสติ ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นจึงจะเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม การที่จะเห็นเราตถาคตที่แท้จริงคน ๆ นั้นต้องเห็นธรรมะจึงได้ชื่อว่าเห็นเรา”

องค์สมเด็จพระบรมศาสดาได้ใช้อุบายไถ่ถอน โดยการขับไล่พระวักกลิให้ออกไปเสียก่อน แล้วจึงแสดงธรรมสั่งสอนว่า การที่ไปยึดติดอยู่ในรูปัปมาณิกามากเกินไป ทำให้เกิดการยึดติดในรูปลักษณ์ต่าง ๆ เมื่อใจว่างจากราคะเสียแล้ว จึงสามารถรองรับธรรมะที่พระศาสดาแสดงได้ง่าย เมื่อใจรองรับธรรม ะและส่งกระแสใจไปตามธรรม  พระวักกลิก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ในขณะนั้น

จากการถือเอารูปเป็นประมาณของพระวักกลิ ทำให้มองเห็นได้ว่า ก่อนที่จะสร้างความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นกับผู้อื่นได้นั้น ตัวเราเองจำต้องมีองค์ประกอบของความเลื่อมใส เพื่อให้ผู้อื่นมองแล้วเกิดความศรัทธา ไม่ว่าจะเป็นการนุ่งห่มเรียบร้อยสวยงาม การแสดงอาการสำรวมระมัดระวัง การมีรูปลักษณะที่งดงามสะอาดตา

@@@@@@@

แม้ที่สุด ได้แก่ การมีศีลสะอาด ก็สามารถสร้างความเลื่อมใสศรัทธาให้เกิดขึ้นได้ เมื่อเกิดศรัทธาแล้วย่อมจะบอกสอนให้เข้าใจในธรรม ให้ดารงสติอย่างมั่นคง ไปจนถึงการอบรมสมาธิภาวนาก็จะเป็นเรื่องง่าย เมื่อบุคคลมีความศรัทธา สติ สมาธิ ก็สามารถจะเข้าใจหรือเกิดฌานทัศนะมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในโลกตามความเป็นจริง ต่าง ๆ ตามความเป็นจริง

ดังเช่น การเลื่อมใสศรัทธาของพระสิคาลกมาตา ที่ไปฟังธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่บ่อย ๆ เป็นประจำก็เพราะ ประทับใจในความสง่างามของพระพุทธองค์ ไม่ว่าองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปแสดงธรรมที่ไหนก็ตามพระสิคาลกมาตาผู้นี้ก็จะติดตามไปฟัง โดยมิได้ใส่ใจในเนื้อหาของธรรมที่ทรงแสดง หากแต่คอยหาหนทางจ้องมองพระพุทธองค์ด้วยความชื่นชม

พระพุทธองค์ทรงรอเวลาจนอินทรีย์ของเธอแก่กล้าจึงชี้ให้เห็นความเป็นปฏิกูลเน่าเหม็นของร่างกาย จนนางรู้เห็นตามสภาพเป็นจริง คลายความกาหนัดยินดีในร่างกายอันเปื่อยเน่าผุพังเป็นธรรมดาได้ และบรรลุพระอรหันต์หมดสิ้นกิเลสอาสวะทั้งหลายในที่สุด

การใช้รูปลักษณ์เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเข้าถึงและเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เพียงแต่เป็นการแสดงรูปลักษณ์ให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นได้อีกด้วย  และการสร้างความตระหนักนั้นเป็นเหตุให้เกิดการคิดพิจารณาในรูปซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ เพราะแม้แต่ในหลักของขันธ์ ๕ ก็ยังปรากฏเรื่องของรูปขึ้นมาก่อน การพิจารณาในรูปที่ตนเองถูกใจย่อมเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เนื่องจากมีความเลื่อมใสศรัทธาในรูปเป็นทุนเดิมอยู่ก่อนแล้วนั่นเอง


(https://i.pinimg.com/736x/65/08/b2/6508b297457df7b4467cb60749494f4f.jpg)


๒.๒.๒ โฆสัปปมาณิกา

โฆสัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาเสียงที่ได้ยินเป็นประมาณในใจว่า มีสำเนียงไพเราะอ่อนหวาน หรือได้รับฟังการสรรเสริญว่ามีคุณสมบัติที่น่านับถือ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะได้ยินเสียง คนที่เลื่อมใสในพระสงฆ์บางคน เพราะเห็นพระท่านมีน้าเสียงไพเราะเสนาะหู แสดงพระธรรมเทศนาได้จับใจ ตนจึงเลื่อมใส คนประเภทนี้เรียกว่าโฆสัปปมาณิกา แม้คนที่ได้ยินกิตติศัพท์ว่า พระสงฆ์บางท่านมีคุณวิเศษณ์ จึงเกิดความเลื่อมใสก็รวมอยู่ในพวกโฆสัปปมาณิกานี้ด้วย

ในสมัยพุทธกาลและก่อนพุทธกาลมีภิกษุและพุทธศาสนิกชนมากมายที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาเพราะโฆสัปปมาณิกาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องมีเสียงที่ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ เมื่อบุคคลใดได้ฟังองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก็ย่อมเกิดความเลื่อมใสในพระสุรเสียงที่มีความไพเราะ ไม่แหบ ไม่พร่า ดังกังวาน ซาบซึ้ง จับใจ

เช่นเดียวกันกับพระญาณสัญญิกเถระที่มีโอกาสสร้างและสั่งสมบุญจากการฟังพระธรรมเทศนาอย่างตั้งใจ เนื่องจากเลื่อมใสศรัทธาในพระสุรเสียงขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าสิทธัตถะ ในสมัยนั้นพระเถระได้บังเกิดในตระกูลทั่ว ๆ ไปซึ่งไม่ได้สนใจเรื่องราวของการสร้างบุญกุศลแต่อย่างใด

ครั้งหนึ่งพระเถระมีโอกาสได้ฟังธรรมจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วเกิดศรัทธาอันเนื่องมาจากน้ำเสียงที่ไพเราะจับใจ ทำให้พระเถระเกิดความตื้นตันไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเบื่อที่จะฟังพระสุรเสียงของพระองค์ และเมื่อท่านฟังพระสัทธรรมก็ฟังด้วยความตั้งใจ ทั้งส่งใจไปตามกระแสพระธรรมเทศนาด้วยความเบิกบานใจยิ่งนัก กล่าวได้ว่า พระเถระเป็นผู้มีความศรัทธาในประเภท โฆสัปปมาณิกา

@@@@@@@

เมื่อท่านละจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติในเทวโลกทั้งหกชั้นฟ้า จุติจากเทวโลกก็มาเกิดในมนุษยโลก สมบูรณ์ด้วยจักรพรรดิสมบัติและสมบัติที่เป็นเลิศในเมืองมนุษย์ เสวยสุขที่เกิดจากบุญนั้นอย่างยาวนาน

จนมาถึงในสมัยพุทธกาลท่านได้บังเกิดในตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เมื่อเจริญวัยขึ้นแล้วท่านก็บังเกิดความเลื่อมใสในพระบรมศาสดา จึงได้ออกบวชและบำเพ็ญเพียรเพียงไม่นาน ท่านก็ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ต่อมาใน ภายหลังท่านได้หวนระลึกถึงบุพกรรมของตน ทำให้เกิดปีติโสมนัสว่า

    “ครั้งหนึ่ง เราได้ฟังธรรมจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระฉวีวรรณดั่งทอง องอาจดุจม้าอาชาไนย ดังช้างมาตังคะตกมัน ผู้แสวงหาคุณยิ่งใหญ่ ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือนพญารังมีดอกบานสะพรั่ง เป็นเชษฐบุรุษของโลกสูงกว่านระทั้งปวง เราได้ยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ประณมอัญชลี มีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัสกราบกรานถวายบังคมพระพุทธเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ
     ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่ได้กระทำในครั้งนั้น ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้เสวยทิพยสมบัติมากมายหลายภพหลายชาติ เราไม่เคยไปสู่ทุคติเลย ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๑๖ ครั้ง มีพระนามว่า นรุตตมะ ซึ่งแปลว่า ผู้สูงสุดกว่าใคร สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มีพละมาก และในภพชาติสุดท้ายนี้ เราก็เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณวิเศษทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งบุญในครั้งนั้น”

พระญาณสัญญิกเถระท่านได้กล่าววาจาออกมาด้วยความโสมนัส ถึงผลแห่งบุญที่ท่านได้สร้างในครั้งนั้น ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันได้อย่างดีว่า ผลแห่งการสร้างความดีด้วยจิตใจที่เลื่อมใสหนักแน่นนั้น มีอานิสงส์มากมายมหาศาล แม้ในเบื้องต้นจะมีใจเลื่อมใสอยู่ในประเภทโฆสัปปมาณิกาก็ตาม แต่ผลแห่งการที่ท่านได้กระทำด้วยความเลื่อมใสศรัทธานี้ไม่ได้น้อยเลย

ความศรัทธาเลื่อมใสประเภทโฆสัปปมาณิกานี้ไม่ได้หมายถึง เพียงแต่การถือเอาเสียงที่ได้ยินเป็นประมาณในใจว่ามีสำเนียงไพเราะ อ่อนหวาน ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะได้ยินเสียงเพียงเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการได้รับฟังคำสรรเสริญถึงบุคคลว่า มีคุณสมบัติที่น่านับถือควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือได้ยินกิตติศัพท์ว่า มีคุณอันวิเศษณ์จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา ก็รวมอยู่ในพวกโฆสัปปมาณิกานี้ด้วย

ในสมัยพุทธกาลเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จบรรพชาออกบวชจนตรัสรู้อริยมรรคหาทางพ้นทุกข์ได้ด้วยพระองค์เองแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงนาสิ่งที่ทรงค้นพบมาตรัสเทศนาสั่งสอนเหล่าประยูรญาติจนเกิดความนับถือเลื่อมใสออกบรรพชาตามเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น พระอานนท์, พระราหุลกุมาร, พระนันทะ ไปจนถึงพระนางประชาบดีโคตรมี

@@@@@@@

ในครั้งนั้นพระนางรูปนันทา (พระน้องนางซึ่งเกิดแต่พระนางประชาบดีโคตรมี) ทรงมีพระดำริว่า
   “พระญาติที่มีอยู่ของเราได้ทรงผนวชกันสิ้นแล้ว เราจักทำอะไรในเรือน จักผนวช (บ้าง)”

หลังจากนั้นแล้ว พระนางเสด็จเข้าไปสู่สำนักภิกษุณีทั้งหลายแล้วทรงผนวช พระนางทรงผนวชเพราะสิเนหาในพระญาติเท่านั้น หาใช่เพราะศรัทธาไม่ เมื่อผนวชแล้วพระนางก็ไม่ยอมเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเนื่องจากเกรงจะถูกตำหนิ เพราะพระนางเป็นคนรักสวยรักงาม (พระนางเป็นผู้มีพระโฉมอันวิไลจึงปรากฏพระนามว่า รูปนันทา)

แต่เหล่าภิกษุนีร่วมอารามผู้มีฉันทะในพระธรรมเทศนาของพระศาสดาก็ย่อมไปวิหารฟังธรรมอยู่เป็นประจำ ครั้นฟังธรรมแล้ว ก็กลับมากล่าวถึงแต่คุณกถาของพระศาสดาเท่านั้น เช่น
     พระสรีระของพระตถาคตอันประดับแล้ว ด้วยพระลักษณะและพระอนุพยัญชนะมีพระฉวีวรรณดุจทองคำ เสียงประกาศพระธรรมเทศนาของพระศาสดา แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑ ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ องค์พระสุคตเป็นผู้เศร้าหมองด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวร เป็นต้น และศีลของพระทศพลเห็นปานนี้ สมาธิเห็นปานนี้ ปัญญาเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้ใดเสมอเท่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้ ไม่มีผู้ใดทัดเทียมด้วยคุณทั้งหลาย

พระนางรูปนันทาได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคตแต่สำนักพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า
    “ชนทั้งหลายย่อมกล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว ถ้ากระไรเราพึงไปกับพวกภิกษุณี ไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วพึงมา”

ในครั้งนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำริว่า
    “วันนี้รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา รูปนันทานั่นหนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพอย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล จักเป็นที่สบายของเธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น”

เมื่อพระนางรูปนันทาเข้าไปสู่วิหาร สมเด็จพระสุคตทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ ปี นุ่งผ้าแดง ประดับแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัดยืนถวายงานอยู่ในที่ใกล้พระองค์ ด้วยกำลังพระฤทธิ์, ก็แลพระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้นที่ทรงเห็นรูปหญิงนั้น

พระนางรูปนันทาทรงแลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพ(ของตน) รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา (ซึ่งอยู่) ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีระประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า “โอ ผมของหญิงนี้ก็งาม โอ หน้าผากของหญิงนี้ก็งาม” ดังนี้

@@@@@@@

สมเด็จพระบรมศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของพระนาง เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตรมีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า “รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ”

พระศาสดาทรงแสดงความแปรเปลี่ยนเพศของหญิงนั้นโดยลำดับ คือ เพศหญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคนเพศหญิงแก่เพศหญิงแก่คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา พระนางรูปนันทาก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้นในเวลาที่ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า “โอ รูปนี้หายไปแล้ว ๆ”

ครั้นทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโก่ง มีซี่โครงขึ้นดุจกลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน ลำดับนั้นพระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำล้มลงที่ภาคพื้น จมลงในมูตรและกรีสของตน กลิ้งเกลือกไปมา

พระนางรูปนันทาทรงเห็นหญิงนั้นแล้วก็ทรงเบื่อหน่ายเต็มที พระศาสดาทรงแสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว หญิงนั้นถึงความเป็นศพพองขึ้นในขณะนั้นเอง สายแห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙ อันได้แก่ ตา หู จมูก อย่างละ ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑ ฝูงสัตว์มีกาเป็นต้น รุมแย่งกันกินแล้ว

พระนางรูปนันทาทรงพิจารณาซากศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า
    “หญิงนี้ถึงความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง ความแก่ ความเจ็บ และความตายจักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน”

และเพราะความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้นจึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาทีเดียว ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูกไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐานแล้ว

@@@@@@@

พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า
    “นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออกอยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก สรีระของเธอนี้ฉันใด สรีระของหญิงนั่นก็ฉันนั้น สรีระของหญิงนั่นฉันใด สรีระของเธอนี้ก็ฉันนั้น เธอจงเห็นธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ อย่ากลับมาสู่โลกนี้อีก เธอคลี่คลายความพอใจในภพเสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป”

พระนางรูปนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล ลำดับนั้น สมเด็จพระบรมศาสดา เพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการอบรมวิปัสสนา เพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า
    “นันทา เธออย่าทำความเข้าใจว่า สาระในสรีระนี้มีอยู่ เพราะสาระในสรีระนี้ แม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่มี สรีระนี้อันกรรมยกกระดูก ๓๐๐ ท่อนขึ้นสร้างให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย”

ดังนี้แล้วทรงตรัสพระคาถาว่า
    “อฏฺ น นคร กต ม สโลหิตเลปน ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ มาโน มกฺโข จ โอหิโต”
     ความว่า สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ มานะ และมักขะ ในกาลจบพระธรรมเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล

พระนางรูปนันทาเถรีแม้จะทรงผนวชเป็นภิกษุณีตามญาติทั้งหลายของตน โดยไม่มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก่อน แต่หลังจากทรงผนวชแล้ว ได้ยินการกล่าวถึงคุณกถาขององค์สมเด็จพระบรมศาสดาจึงเกิดความเลื่อมใสและต้องการฟังธรรมที่พระพุทธองค์ทรงแสดง หลังการสดับพระธรรมเทศนาก็บรรลุเป็นพระอรหันต์ เห็นได้ว่าแม้พระนางจะเริ่มต้นโดยปราศจากศรัทธาและเกิดความเลื่อมใสในประเภทโฆสัปปมาณิกา ตามลำดับ แต่ผลจากการมีความเลื่อมใสศรัทธาแบบโฆสัปปมาณิกา ก็ส่งให้พระนางบรรลุสู่ความเป็นอรหันต์ผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด

@@@@@@@

หรือในเรื่องโคนันทวิศาลซึ่งแสดงถึงการประมาณในเสียงไว้เช่นเดียวกัน ในอดีตกาลผ่านมาในเมืองตักกสิลามีพราหมณ์คนหนึ่งซึ่งมีโคแข็งแรงชื่อว่า นันทวิศาล โคนันทวิศาลนี้มีกาลังมาก จึงเป็นที่รักของพราหมณ์ เนื่องจากโคนันทวิศาลมีความแข็งแรงเหนือโคใด พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของจึงได้นำเอาโคนันทวิศาลไปลากเกวียนพนันแข่งกับเศรษฐีอื่น ซึ่งโคนันทวิศาลก็สามารถลากเกวียนได้ถึง ๑๐๐ เล่ม ทำให้พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของได้ทรัพย์มามากมาย

จากนั้นพราหมณ์ก็ได้พนันเอาเกวียนลาก เพิ่มเติมเข้าไปอีก และกล่าวกับโคนันทวิศาลว่า “จงฉุดไป เจ้าโคจงลากไป เจ้าโคโกง” โคนันทวิศาลก็ไม่แสดงอาการลากไปแต่อย่างใด ทำให้พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของนั้นต้องเสียทรัพย์ไปเป็นจำนวนมาก จนมีอาการเศร้าโศกเสียดายทรัพย์ที่เสียไปดังกล่าว

โคนันทวิศาลจึงได้ถามพราหมณ์ว่า เศร้าโศกเสียใจด้วยเหตุใด
พราหมณ์ผู้เป็นเจ้าของนั้นตอบว่า “เพราะเจ้าทาให้เราต้องแพ้พนันเสียทรัพย์ไปถึง ๑,๐๐๐ กษาปณ์”
นันทวิศาลโคนั้นก็กล่าวไปว่า “ท่านพราหมณ์ ก็เพราะเหตุใดท่านจึงมาเรียกขานข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยถ้อยคาว่าโกงเล่า ท่านจงไปอีกครั้งหนึ่งแลพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์มากกว่าเดิม แต่อย่าเรียกขานข้าพเจ้าผู้ไม่โกงด้วยถ้อยคาว่าโกง”

พราหมณ์นั้นจึงได้กระทาตามที่โคนันทวิศาล แนะนำและกล่าวกับโคว่า “เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงามเชิญลากไปเถิด” ดังนี้แล้ว โคนันทวิศาลก็สามารถลากเกวียนที่ผูกติดกันมากกว่าร้อยเล่มไปได้

แม้แต่โคซึ่งเป็นสัตว์ก็ยังนิยมเลื่อมใสและต้องการฟังคำพูดที่ไพเราะหวานหูน่าฟัง และยินดีที่จะกระทำตาม การแสดงธรรมด้วยความสุภาพ ไพเราะและเป็นสัจจะ ก็ย่อมจะสร้างความยินดีให้มีขึ้นแก่ผู้ฟัง จนเกิดเป็นความเลื่อมใสศรัทธาและยินดีที่จะปฏิบัติตามข้อธรรมที่ได้รับฟังมา

ดังนี้ การใช้เสียงเป็นสื่อเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและเข้าใจในหลักธรรมของพระพุทธศาสนานั้น มิใช่เพียงแต่เป็นการแสดงเสียงเพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาแต่เพียงอย่างเดียว แต่พร้อมกับเสียงที่ไพเราะเสนาะหูย่อมมีสัจจะความเป็นจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบแทรกอยู่ด้วย เหล่าโฆสัปปมาณิกาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในเสียงแสดงธรรมอันไพเราะ ก็ย่อมจะได้รับเนื้อหาใจความสำคัญของธรรมนั้นไปด้วยเช่นเดียวกัน


หัวข้อ: Re: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 18, 2025, 03:11:00 pm
.
(https://i.pinimg.com/736x/e4/6f/8e/e46f8e547a0b70693a543bf84b7c0cb8.jpg)


๒.๒.๓ ลูขัปปมาณิกา

ลูขัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาสิ่งของเครื่องใช้ ความเป็นอยู่ที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่าเก่าคร่ าคร่า สมถะ หรือเห็นการประพฤติอันเคร่งครัดเข้มงวด ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเลื่อมใสเพราะเห็นความสมถะ คนที่เลื่อมใสในพระสงฆ์บางคนเพราะเห็นพระท่านมีวัตรปฏิบัติที่เคร่งครัดเข้มงวด เช่น ฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ใช้เครื่องอัฐบริขารเก่าคร่าคร่า อยู่ปุาเป็นนิสสัย ตนจึงเลื่อมใส คนประเภทนี้เรียกว่าลูขัปปมาณิกา

ในสมัยพุทธกาลและก่อนพุทธกาลมีภิกษุและพุทธศาสนิกชนมากมายที่เลื่อมใสศรัทธาพระพุทธศาสนาเพราะลูขัปปมาณิกาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องมีลักษณะเศร้าหมองด้วยปัจจัยทั้งหลาย อันได้แก่สิ่งของบริขาร เช่น บาตรและจีวรเป็นต้น จะมีลักษณะเรียบ, พื้น, ปราศจากความแวววาว ไม่มีความทะเยอทะยานอยากในรูป เสียงกลิ่น รส ยินดีในจีวร อาหารบิณฑบาต เสนาสนะที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคเท่านั้น

การยึดมั่นอยู่ในลักษณะอันเศร้าหมองที่น่าเลื่อมใสศรัทธานั้นเป็นอุบายเพื่อไม่ให้บุคคลยึดถือในสิ่งที่ไม่จ าเป็น ซึ่งทาให้จิตใจหมกมุ่นอยู่กับความสุขความสบายหรือติดอยู่ในความสวยความงาม บุคคลใดมีความสันโดษ สมถะ และใช้จีวรเศร้าหมองบุคคลนั้นถือว่าได้ปล่อยละอุปาทาน ความยึดมั่นต่าง ๆ แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ยังทรงยกย่องพระภิกษุที่ทรงจีวรเศร้าหมองคร่ำคร่า และมีความประพฤติอันเข้มงวดเคร่งครัดน่าเลื่อมใส ซึ่งได้แก่ พระโมฆราช ดังนี้

พระโมฆราชเกิดในตระกูลพราหมณ์แห่งกรุงสาวัตถี เมื่อมีอายุพอสมควรแก่การศึกษาศิลปะวิทยาตามประเพณีพราหมณ์จึงได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของพราหมณ์พาวรี ผู้เป็นปุโรหิตที่ปรึกษาของพระเจ้าปเสนทิโกศล ในกาลเวลาต่อมาพราหมณ์พาวรีผู้เป็นอาจารย์เบื่อหน่ายชีวิตการครองเรือน จึงได้กราบทูลลาพระเจ้าปเสนทิโกศลเพื่อออกบวชเป็นชฎิลบำเพ็ญพรตตามประเพณีพราหมณ์ ซึ่งครั้งนั้นโมฆราชมาณพพร้อมกับเพื่อนศิษย์อีกหลายคนได้ติดตามออกบวชด้วย

เมื่อพราหมณ์พาวรีได้ทราบข่าวว่า องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และเที่ยวสั่งสอนเวไนยสัตว์ให้เกิดศรัทธาเลื่อมใสออกบวชประพฤติพรหมจรรย์ ติดตามพระองค์มากมาย แต่ก็ยังเคลือบแคลงใจในการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ พราหมณ์พาวรีจึงตั้ง ปัญหาขึ้น ๑๖ หมวด แล้วมอบให้ศิษย์ ๑๖ คน นำไปกราบทูลถามพระบรมมหาศาสดาซึ่งประทับอยู่ที่ปาสาณเจดีย์ แคว้นมคธ

@@@@@@@

ในขณะนั้น โมฆราชมาณพและเหล่าศิษย์ของพราหมณ์รวม ๑๖ คน จึงพากันไปเข้าเฝูาพระบรมศาสดาเพื่อทูลถามปัญหาดังกล่าว ในบรรดามาณพทั้ง ๑๖ คนนั้นโมฆราชมาณพ นับว่าเป็นผู้มีปัญญาดีกว่ามาณพทั้งหมด จึงคิดที่จะทูลถามปัญหาเป็นคนแรก แต่เห็นว่าอชิตมาณพอยู่ในฐานะเป็นหัวหน้าผู้นำมา จึงเปิดโอกาสให้ถามเป็นคนแรก เมื่ออชิตะทูลถามจบแล้ว โมฆราชมาณพ ปรารถนาจะถามเป็นคนที่ ๒ แต่พระพุทธองค์ตรัสห้ามว่า “ดูก่อนโมฆราชท่านจงรอให้มาณพคนอื่น ๆ ถามก่อนเถิด”

ครั้งนั้น เมื่อมาณพอื่น ๆ ถามไปโดยลำดับถึงคนที่ ๘ โมฆราชมาณพก็แสดงความประสงค์จะทูลถามเป็นคนที่ ๙ พระพุทธองค์ก็ตรัสห้ามไว้อีกครั้ง จนกระทั่งถึงลาดับคนที่ ๑๔ ผ่านไปแล้ว โมฆราชมาณพจึงได้มีโอกาสทูลถามความว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดี ย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุดังนั้น จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ผู้มีปรีชาญาณเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช คือความตาย จึงจะไม่แลเห็น คือ จักไม่ตามทัน พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดาจึงได้ตรัสพยากรณ์ว่า
    “ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยความเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่า ตัวของเราเสียทุกสิ่งเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักแลไม่เห็น”

เมื่อพระบรมมหาศาสดาได้ทรงตรัสพยากรณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพจบลงแล้ว ครั้งนั้นโมฆราชมาณพพร้อมด้วยชฎิลทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสวกิเลสทุกคน พระพุทธองค์ทรงประทานอุปสมบทให้มาณพทั้ง ๑๖ ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา จึงได้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พร้อมบาตรและจีวรทิพย์อันสาเร็จด้วยบุญฤทธิ์

@@@@@@@

พระโมฆราชนั้นเมื่ออุปสมบทแล้ว ปรากฏว่าท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ยินดีเฉพาะการใช้สอยจีวรที่เศร้าหมอง ๓ ประการ คือ
    ๑. ผ้าเศร้าหมอง
    ๒. ด้ายเย็บผ้าเศร้าหมอง และ
    ๓. น้ำย้อมผ้าเศร้าหมอง
ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะซึ่งเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง

การที่พระโมฆราชเถระนี้ได้รับการสถาปนาจากพระบรมศาสดาให้อยู่ในตาแหน่งที่เป็นเลิศกว่าเหล่าภิกษุสาวกทั้งหลายผู้ทรงจีวรเศร้าหมองนั้น ก็เนื่องด้วยการที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาในตำแหน่งนั้นตลอดแสนกัลป์ ในครั้งนั้นท่านเป็นผู้รับใช้ของสกุลหนึ่งในพระนครหงสาวดี ยากจนไม่มีทรัพย์สินอันใด วันหนึ่งท่านได้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาพระองค์นั้น และในครั้งนั้นพระโลกนาถได้ทรงสถาปนาพระภิกษุรูปหนึ่งให้เป็นเลิศกว่าพระสาวกเหล่าอื่นผู้ทรงจีวรเศร้าหมองในที่ประชุมชน ท่านชอบใจในคุณของท่าน จึงได้ปฏิบัติพระตถาคตด้วยปรารถนาในตาแหน่งนั้นบ้าง คือ ความเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง

ครั้งนั้นพระปทุมุตรพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระสาวกทั้งหลายว่า จงดูบุรุษนี้ ผู้มีผ้าห่มน่าเกลียด ผอมเกร็ง แต่มีใบหน้าอันผ่องใสเพราะปีติ ประกอบด้วยทรัพย์คือศรัทธา มีกายและใจสูง ร่าเริง ไม่หวั่นไหว อุดมไปด้วยธรรมที่เป็นสาระ  บุรุษนี้ชอบใจในคุณของภิกษุ ผู้ทรงจีวรเศร้าหมอง ปรารถนาฐานันดรนั้นอย่างจริงใจ เมื่อท่านได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้วก็เบิกบาน ถวายบังคมพระพิชิตมารด้วยเศียรเกล้า ทำแต่กรรมที่ดีงามในศาสนาของพระชินเจ้าตราบเท่าสิ้นชีวิต

ดังนี้แล้ว จึงเป็นที่แน่ชัดว่า แม้ศรัทธาประเภทลูขัปปมาณิกา หรือการถือเอาความเศร้าหมองเป็นประมาณนั้นยังสามารถทำให้เกิดความเลื่อมใส เกิดปีติ มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว และมองเห็นธรรมของพระพุทธองค์ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสาหรับการประพฤติปฏิบัติเพื่อหาหนทางไปสู่ความเป็นอริยะของบุคคล ทั้งนี้เพราะสิ่งที่มาพร้อมกับความเก่าคร่ำคร่าของบริขารคือ สัจจะความเป็นจริงที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงค้นพบแทรกอยู่ เหล่าลูขัปปมาณิกา ผู้มีศรัทธาเลื่อมใสวัตรอันเศร้าหมอง ก็ย่อมจะได้รับรู้และเข้าใจเนื้อหาใจความสำคัญของธรรมนั้นไปด้วยเช่นเดียวกัน


(https://i.pinimg.com/736x/b3/10/cf/b310cfedde45a7d1695c49ef7248016d.jpg)


๒.๒.๔ ธัมมัปปมาณิกา

ธัมมัปปมาณิกา คือ บุคคลที่ถือเอาธรรมที่พิจารณาเป็นประมาณในใจว่า มีสาระแก่นสารเป็นไปเพื่อการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา หรือเห็นว่าธรรมเป็นสิ่งสูงค่าที่ควรน้อมนามาสู่ตน คนที่เลื่อมใสในพระสงฆ์บางคนเพราะเห็นพระท่านมีธรรมและให้ธรรมที่มีเนื้อหาสาระมีอรรถ มีนัย ควรแก่การศึกษาและนำไปประพฤติปฏิบัติ จึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธา คนประเภทนี้เรียกว่าธัมมัปปมาณิกา แม้บุคคลที่ชอบฟังธรรม ชอบปฏิบัติธรรม ก็อยู่ในประเภทของธัมมัปปมาณิกานี้ด้วย

อันบุคคลผู้มีธรรมเป็นประมาณเมื่อได้เห็นศีล สมาธิ และปัญญาของพระบรมมหาศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอันไม่มีใครหรือผู้ใดเสมอเหมือนแล้วย่อมเลื่อมใสว่า
    “ศีลของพระทศพลเห็นปานนี้ สมาธิเห็นปานนี้ ปัญญาเห็นปานนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้เสมอเท่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้ ไม่มีผู้ทัดเทียมด้วยคุณทั้งหลายอันมีศีลเป็นต้น”

ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงบุคคลที่ถือธรรมเป็นประมาณว่า
    “บุคคลถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม เป็นไฉน ก็บุคคลบางคนในโลกนี้เห็นศีล เห็นสมาธิ เห็นปัญญา ถือเอาประมาณในธรรมนั้นแล้ว ยังความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นนี้เรียกว่า บุคคลถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสในธรรม”

ดังนี้แล้ว การที่ถือเอาธรรมเป็นประมาณนั้น จึงประกอบด้วยแนวทางแห่งการปฏิบัติธรรม คือ ศีล สมาธิและปัญญา

บุคคลที่ดำรงตนด้วยการรักษาศีลของตนให้บริสุทธิ์ ฝึกอบรมจิตด้วยการปฏิบัติสมาธิ และเจริญสมถภาวนาเพื่อเข้าถึงซึ่งปัญญา ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้ถือเอาธรรมเป็นประมาณ โดยบุคคลประเภทนี้มักจะสร้างความเลื่อมใสให้เกิดขึ้นกับผู้คน ด้วยการทำให้เกิดความศรัทธาปสาทะ เชื่อฟังและประพฤติปฏิบัติตาม ด้วยการงดเว้นการประพฤติผิดทางกายวาจา รู้จักควบคุมกายวาจาให้เรียบร้อยงดงามตามศีลสิกขาบท บำรุงสติให้กล้าแข็งอยู่ในความรู้สึกตนอยู่เสมอด้วยสมาธิ และฝึกฝนปัญญาให้ส่องสว่างเห็นทางแห่งความพ้นทุกข์ด้วยปัญญา


หัวข้อ: Re: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 19, 2025, 07:48:31 am
.
(https://i.pinimg.com/736x/87/c2/63/87c2630fed78fe669365ec1fac4bfdd9.jpg)


๒.๓ ที่มาแห่งปมาณิกา

ความเลื่อมใสแบบปมาณิกานั้นมีลักษณะเป็นเช่นเดียวกันกับธรรมอื่น ๆ นั่นคือ ต้องมีเหตุและปัจจัยเป็นที่มาหรือทำให้เกิดขึ้น ในที่นี้แบ่งเหตุและปัจจัยซึ่งเป็นที่มาของปมาณิกา ออกได้เป็น ๒ ประเภท ได้แก่ เหตุและปัจจัยภายใน และเหตุและปัจจัยภายนอก ดังนี้

๒.๓.๑ ที่มาของปมาณิกาอันเกิดจากเหตุและปัจจัยภายใน

๒.๓.๑.(๑) ความรู้เป็นเหตุแห่งปมาณิกา

บุคคลจะมีศรัทธาในลักษณะของปมาณิกาต่อสิ่งใด จะต้องประกอบด้วยความรู้เกี่ยวกับสิ่งนั้นเป็นประการสำคัญ เริ่มตั้งแต่การรับรู้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร มีความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งนั้นมากน้อยเพียงใด สิ่งนั้นมีคุณ-โทษ-ดี-เลวอย่างไร สิ่งที่จะช่วยให้บุคคลตัดสินคุณ-โทษ-ดี-เลวได้ ก็คือ ความรู้ บุคคลจะมีศรัทธาประเภทปมาณิกาต่อสิ่งใดได้ ก็จะต้องมีความรู้ต่อสิ่งนั้นเช่นเดียวกัน

ถ้าขาดเสียซึ่งความรู้แล้ว ปมาณิกาก็ไม่เกิด อาจมีปัญหาว่ามีความรู้มากน้อยเพียงใด จึงจะบุคคลมีปมาณิกาต่อสิ่งหนึ่ง ๆ ได้ คำตอบก็คือ ปริมาณความรู้ที่ทำให้เกิดปมาณิกานั้นมากน้อยแตกต่างกันไปตามแต่บุคคล บางคนมีความรู้เพียงเล็กน้อยว่า ธรรมมะเป็นเรื่องที่ดีต่อชีวิตเท่านั้น ก็ส่งผลให้ตนเองมีศรัทธาแบบธัมมัปปมาณิกาได้ ในขณะที่บางคนต้องการข้อมูลหรือรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น จึงจะแสดงความเลื่อมใสศรัทธาของตนออกมา

ดังนั้น ความรู้จึงเป็นต้นเหตุหรือที่มาที่สำคัญมากต่อการเกิดศรัทธาในลักษณะต่าง ๆ การเปลี่ยนแปลงความเลื่อมใสศรัทธาแบบปมาณิกานั้น ก็ขึ้นอยู่กับความรู้เช่นเดียวกัน บุคคลที่มีความรู้ต่อสิ่งใดน้อยย่อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายกว่าผู้ที่มีความรู้กว้างขวางในสิ่งนั้น ความรู้จึงเป็นฐานของความเชื่อที่ทำให้บุคคลเชื่อว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีคุณ-โทษ-ดี-เลวอย่างไร และส่งผลไปถึงความเลื่อมใสศรัทธาของบุคคลด้วย

๒.๓.๑.(๒) ความคิดเป็นเหตุแห่งปมาณิกา

ความคิดหรือการคิดหาเหตุผลด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการคิดแบบอุปมาอุปมัย การคิดหาเหตุผลแบบตรรกะ การคิดด้วยการอุปมาน การคิดด้วยการอนุมาน และการคิดตรึกตรองตามอาการที่ปรากฏให้เห็นย่อมเป็นหนึ่งในสาเหตุแห่งปมาณิกา ทั้งนี้เมื่อการคิดด้วยตนเองสามารถสนองความอยากรู้อยากเห็นในระดับต้น ๆ ได้ ก็จะทำให้บุคคลเกิดเชื่อมั่นในความคิดของตนเองมากขึ้น เชื่อมั่นในสิ่งที่ตนเองคิดและกระทำว่าเป็นสิ่งที่ดี ที่งาม ที่ถูกต้องและเหมาะสม

ความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นจากการคิดด้วยตนเองดังกล่าวนี้ จัดเป็นความเชื่อที่เกิดจากความพอใจและความนิยมชมชอบที่มีความเข้มข้นมากขึ้น มีพลัง มีความมั่นคง จนกลายเป็นความเลื่อมใสศรัทธาแบบปมาณิกา ซึ่งจะปรากฏเห็นได้ชัดในเรื่องของการยึดมั่นถือมั่นเอาสิ่งต่าง ๆ มาเป็นแนวทางปฏิบัติหรือประพฤติปฏิบัติตามในสิ่งที่ตนนิยมชมชอบ

อนึ่ง การคิดด้วยตนเองนี้เป็นการอาศัยตนเองเป็นหลัก เป็นการทำให้เกิดความรู้ในระดับจินตามยปัญญา ซึ่งส่งผลให้เกิดเป็นความชอบและความยึดถือเชื่อมั่นในสิ่งที่ตนคิด อันเป็นหนึ่งในหลาย ๆ สาเหตุที่ทำให้เกิดปมาณิกานั่นเอง

@@@@@@@

๒.๓.๑.(๓) การกระทำเป็นเหตุแห่งปมาณิกา

การกระทำการใด ๆ ของบุคคลเป็นการนำความรู้ที่ได้จากการสดับจากภายนอก หรือจากการคิดไตร่ตรองด้วยตนเองจากภายในใจมาทดลองประพฤติปฏิบัติ เป็นการนำสิ่งที่ตนได้รับรู้มาพิสูจน์หาความจริง เมื่อผลปรากฏออกมาเป็นที่น่าพอใจก็จะเชื่อต่อสิ่งนั้นอย่างมั่นคง การมีประสบการณ์จากการได้ทดลองกระทำหรือปฏิบัติดังกล่าว จึงทำให้เกิดความเชื่อในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ได้ความรู้ที่เกิดจากการคิดหรือการได้สดับรับฟังมา หากผ่านการปฏิบัติทดลองดูแล้วพบว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเท็จ ไม่เป็นประโยชน์ มีโทษ ก็จะถูกปฏิเสธ

แต่หากพบว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องจริงเป็นประโยชน์ ก็จะได้รับการยอมรับเอาโดยอาการคือ เชื่อมั่นสิ่งที่ตนรู้นั้นอย่างมั่นคงแน่วแน่และจริงจัง ความเชื่อที่เกิดขึ้นจากการมีประสบการณ์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่งนี้ จึงเป็นความเชื่อที่มั่นคง มีพลังและยากแก่การเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น การมีประสบการณ์จากการได้กระทำ ได้ประพฤติปฏิบัติด้วยตนเองทำให้เกิดความรู้ในระดับภาวนามยปัญญาได้ และความรู้ในระดับนี้ก็ทำให้เกิดการพอใจการยึดถือเอาเป็นประมาณ หรือ ปมาณิกาได้

ทั้งยังเป็นความนิยมชมชอบเลื่อมใสศรัทธาอันเกิดจากการมีประสบการณ์โดยตรง เกิดจากการได้สัมผัสด้วยใจ และเกิดจากการรับรู้ด้วยปัญญาของตนนั่นเอง การมีประสบการณ์จากการกระทำจึงส่งผลให้เกิดเป็นความเลื่อมใสศรัทธาแบบปมาณิกาได้เช่นเดียวกัน

๒.๓.๑.(๔) ความรู้สึกเป็นเหตุแห่งปมาณิกา

ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บุคคลใดบุคคลหนึ่ง กลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่งสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่งย่อมเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าของบุคคลที่มีต่อสิ่งใด ๆ นั้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลมีการประเมินค่าในใจว่า สิ่งใดดีมีประโยชน์ก็จะเกิดความรู้สึกรักชอบสิ่งนั้น และถ้าบุคคลมีการประเมินค่าว่าสิ่งใดไม่ดี ไม่มีประโยชน์ ก็จะเกิดความรู้สึกไม่รัก ไม่ชอบ หรือรังเกียจสิ่งนั้น

การประเมินรูปลักษณ์ภายนอกว่า งดงามจับตา มีสง่าราศี น่านับถือ การประเมินเสียงที่ได้ยินได้ฟังว่า ไพเราะเสนาะหู น่ารับฟัง การประเมินวัตรแห่งการประพฤติปฏิบัติที่ได้เห็นว่า จับจิตจับใจน่าเลื่อมใส และการประเมินธรรมที่ได้รับรู้ว่า เป็นไปเพื่อความเจริญควรแก่การน้อมนำมาใส่ตน ควรแก่การเคารพบูชา

การประเมินค่าต่าง ๆเหล่านี้ ล้วนตัดสินจากความรู้สึกส่วนตนทั้งสิ้น เช่นเดียวกันกับที่ปมาณิกาศรัทธา ก็ย่อมตัดสินจากการประเมินความรู้สึกส่วนตนไม่แตกต่างกัน

@@@@@@@

๒.๓.๒ ที่มาของปมาณิกาอันเกิดจากเหตุและปัจจัยภายนอก

๒.๓.๒.(๑) เสียงลือเสียงเล่าอ้างเป็นเหตุแห่งปมาณิกา

สิ่งที่บุคคลได้ยิน หรือได้รับฟังมา หากเป็นสิ่งที่ตนเองพึงใจแล้ว ย่อมจะส่งให้ให้บุคคลเกิดความเชื่อในสิ่งที่ได้รับฟัง โดยไม่ต้องอาศัยการพิสูจน์ว่า สิ่งที่ตนเองรับฟังมาเป็นเรื่องจริงหรือไม่เพียงใด ถ้าบุคคลประเมินด้วยตนเองแล้วว่า สิ่งที่ตนเองรับฟังมามีคุณค่า มีประโยขน์ ก็จะยิ่งปักใจเชื่อมั่นในการตัดสินใจของตนเอง

การประเมินของบุคคลจากเสียงเล่าลือสรรเสริญเกียรติคุณที่ได้ยินได้ฟังมา ก่อให้เกิดเป็นความศรัทธาได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะการเล่าลือถึงคุณวิเศษอันเป็นที่ต้องการของบุคคลส่วนใหญ่ด้วยแล้ว ก็ยิ่งก่อให้เกิดเป็นศรัทธาในลักษณะปมาณิกาได้โดยง่าย รวมถึงการได้อ่านคำสรรเสริญในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วยเช่นเดียวกัน

๒.๓.๒.(๒) บุคคลต้นแบบเป็นเหตุแห่งปมาณิกา

เนื่องจากบุคคลต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่เป็นประจำตลอดเวลา การมีปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเรียนรู้จากการได้เห็น และสังเกตุการกระทำของบุคคลอื่น จนเกิดการยอมรับในสิ่งที่เห็น หรือยอมรับการกระทำที่ตนเองได้เห็นว่า เป็นสิ่งดีงาม ถูกต้อง ตรงกับทัศนคติความเชื่อ ค่านิยม ความรู้สึก และบรรทัดฐาน รวมถึงจริตความชอบของตน ที่มีอิทธิพลต่อความคิดความศรัทธา

การได้เห็นบุคคลที่มีลักษณะถูกต้องตรงจริตของตน ย่อมส่งผลให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาขึ้น จากนั้นจึงเกิดการประพฤติปฏิบัติตามแบบ หรือเลียนแบบการกระทำของบุคคลที่ตนเองเลื่อมใสศรัทธา ยิ่งถ้าการปฏิบัติดังกล่าวส่งผลให้เกิดสิ่งที่ตนเองพึงพอใจ ความเลื่อมใสศรัทธาก็ย่อมเพิ่มทวีคูณสูงขึ้น ความศรัทธาจากการได้เห็นและปฏิบัติตาม จึงเป็นเหตุแห่งปมาณิกาได้


(https://i.pinimg.com/736x/6c/49/90/6c49908d4f5574398c51dda10288779c.jpg)


๒.๔ หน้าที่ของปมาณิกา

ปมาณิกา มีหน้าที่อันสำคัญ ๒ ประการ ได้แก่
    - ทำลายหรือกำจัด "อติมานะ" (หนึ่ง) และ
    - ป้องกัน "วิจิกิจฉา" ไม่ให้เกิดขึ้น (หนึ่ง)

๒.๔.๑ ปมาณิกามีหน้าที่ทำลายหรือกำจัดอติมานะ

อติมานะ หมายถึง ความเย่อหยิ่ง ความจองหอง ความถือตัว ความยกตนให้ยิ่งกว่าใคร ๆ ความดูหมิ่นผู้อื่นเห็นว่าเขาเลวกว่าตนไปเสียทุกแง่ทุกมุม ซึ่งอติมานะนี้ต้องแก้ด้วยการรู้จักประมาณตน ดังปรากฏในปปัญจสูทนี ความว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุรู้ชัดว่า อภิชฌา วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ เป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิต
     ด้วยประการฉะนี้แล้ว ก็ละอภิชฌา วิสมโลภะ พยาบาท โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมถะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อันเป็นธรรมเครื่องเศร้าหมองของจิตเสียได้แล้ว
    ในกาลนั้น เธอเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันแน่วแน่ในองค์สมเด็จพระพุทธเจ้า”


และปรากฏในสุตตันตปิฎก ความว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการ ควรเจริญเพื่อกาหนดรู้ ราคะ ฯลฯ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อปล่อยวางราคะ ฯลฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรม ๕ ประการควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง ฯลฯ เพื่อกาหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ เพื่อสิ้นไป เพื่อเสื่อมไป เพื่อคลาย เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อปล่อยวางโทสะ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ”


ดังนี้แล้ว อติมานะ ความเย่อหยิ่ง ความจองหอง ความถือตัว ความยกตน และความดูหมิ่นผู้อื่นย่อมถูกทาลายให้หมดไปเมื่อปมาณิกาเกิดขึ้น การกาจัดอติมานะนี้ จึงเป็นหน้าที่ทั้งทางตรงและทางอ้อมของปมาณิกา

@@@@@@@

๒.๔.๒ ปมาณิกามีหน้าที่ทำลายหรือกำจัดวิจิกิจฉา

วิจิกิจฉา หมายถึง ความมีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม มีความคิดเห็นเป็น ๒ อย่าง อุปมาเหมือนทาง ๒ แพร่ง เช่น
     พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์มีคุณจริงหรือไม่.?
     นรก สวรรค์ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่.?
     บาปบุญมีจริงหรือไม่.? และ
     ผลของบาปบุญให้ผลได้จริงหรือไม่.?

วิจิกิจฉาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตประเภทโมหมูลจิต วิจิกิจฉาสัมปยุตต์เพียงดวงเดียวเท่านั้น วิจิกิจฉาโดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท

ดังนั้น จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัยในเรื่องสภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ ซึ่งผู้ที่จะละความลังเลสงสัยจนหมดสิ้น คือ พระโสดาบัน แต่ก่อนจะถึงความเป็นพระโสดาบันก็ต้องอาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และปัญญาที่เจริญขึ้นก็จะค่อย ๆ ละความลังเลสงสัยได้ ทีละเล็กละน้อยจนหมดไปในที่สุด

พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมที่จะค่อย ๆ ละความลังเลสงสัย ด้วยธรรม ๖ ประการ ได้แก่
     ๑. ความสดับมาก
     ๒. การสอบถาม
     ๓. ความชำนาญในวินัย
     ๔. ความน้อมใจเชื่อ
     ๕. ความมีกัลยาณมิตร
     ๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย

@@@@@@@

ความสดับมาก เพราะเป็นผู้ฟังพระธรรมมาก ด้วยความเข้าใจในพระธรรม เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมมากขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมดา ย่อมจะค่อย ๆ ละคลายความไม่เชื่อ หรือความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรมได้ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรม จึงเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่จะละคลายความสงสัยเสียได้

การสอบถาม เมื่อไม่เข้าใจก็สอบถาม และเมื่อได้เข้าใจในคำตอบ ปัญญาเจริญขึ้น จึงจะละคลายความสงสัยในสิ่งที่ถามและในพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้

ความชำนาญในวินัย เพราะเข้าใจถึงเหตุและผลของพระพุทธองค์ที่ทรงแสดงตามความเป็นจริง ในส่วนอื่นๆ ย่อมละคลายความสงสัยเสียได้

ความน้อมใจเชื่อหรือปมาณิกา หมายถึง น้อมใจด้วยศรัทธาทั้งในพระพุทธเจ้าและพระธรรม ซึ่งเมื่อมีศรัทธาหนักแน่นเพียงพอ ก็ย่อมจะละคลายความสงสัยเสียได้

ความมีกัลยาณมิตร เพราะอาศัยผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรม และที่สำคัญคือ เป็นผู้มีคุณธรรมย่อมสามารถเกื้อกูลบุคคลนั้นได้ ทำให้ละคลายความสงสัยได้

การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย การสนทนาพูดคุยถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้า การสนทนาในคุณพระรัตนตรัยย่อมทำให้เกิดศรัทธา เกิดความเข้าใจในพระธรรม ซึ่งย่อมละคลายความสงสัยในพระรัตนตรัยได้

@@@@@@@

เมื่อปมาณิกามีหน้าที่ทำลายความลังเลสงสัย อันเป็นอกุศลธรรมประเภทนิวรณ์ธรรมที่เป็นเครื่องขวางกั้นความเจริญหรือขัดขวางจิตใจไม่ให้ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม เมื่อความลังเลสงสัยดังกล่าวเป็นเหตุ บุคคลคอยพะวงสงสัยและไม่แน่ใจในสิ่งที่ตนเองปฏิบัติรวมถึงผลที่จะเกิดตามมา จึงทำให้เกิดความกังวลใจ ทำอะไรไม่เต็มความสามารถทั้งกายและใจ

แต่เมื่อบุคคลมีปมาณิกายึดถือแนวทางในการปฏิบัติแน่วแน่ ปมาณิกาย่อมจะไม่ทำให้เกิดความสงสัยลังเลในเรื่องใด ๆ ที่ตนเองเชื่อหรือไม่สงสัยลังเลในตัวบุคคลที่ตนเชื่อ จึงทำให้การปฏิบัติธรรมเกิดผลได้อย่างสมบูรณ์เต็มที่ตามกำลังศรัทธาที่มีอยู่


หัวข้อ: Re: ปมาณิก ๔ | บุคคลผู้เลื่อมใส ๔ แบบ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 20, 2025, 04:18:43 pm
.
(https://i.pinimg.com/736x/dc/0a/85/dc0a856842a1fdb64f9aa21b5820d0db.jpg)


๒.๕ ประโยชน์ของปมาณิกา

๒.๕.๑ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งศรัทธา

ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อ ความเลื่อมใส โดยทั่ว ๆ ไปแล้วแบ่งศรัทธาออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ
      ๑. ศรัทธาที่เกิดโดยไม่ต้องใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
      ๒. ศรัทธาที่เกิดโดยใช้ปัญญาแสวงหาความจริง
      ๓. ศรัทธาที่เกิดจากประสบการณ์ของตนเอง

ในพระพุทธศาสนาแบ่งศรัทธาออกเป็น ๔ อย่าง คือ

      ๑. กัมมสัทธา เชื่อกฎแห่งกรรม เชื่อว่ากรรมมีอยู่จริง คือ เชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วเป็นเหตุปัจจัยที่จะก่อให้เกิดผลดีผลร้ายสืบเนื่องต่อไป

      ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง คือ เชื่อว่ากรรมที่ทำแล้วจะต้องมีผลติดตามมา

      ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน คือ เชื่อว่าแต่ละคนจะต้องรับผิดชอบเสวยผลของกรรมนั้น

      ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อความตรัสรู้ของพระพุทธเจ้ามั่นใจในองค์พระตถาคตว่า ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธะ คือ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้สัจธรรมด้วยพระองค์เองโดยชอบ

ทุกสิ่งทุกอย่างมีเหตุปัจจัยก่อให้เกิด ศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสก็เช่นเดียวกัน โดยศรัทธาที่เกิดจากอารมณ์เป็นสำคัญโดยไม่ต้องแสวงหาความจริงนั้น ย่อมมีปัจจัยมาจากปมาณิกา โดยเฉพาะ ศาสนาต่าง ๆ ที่มักจะดึงศาสนิกชนของตนด้วยศรัทธาประเภทนี้กันมาก เพราะจะทำให้เกิดความจงรักภักดีต่อลัทธิศาสนาของตนโดยไม่สนใจเหตุผลใด ๆ นั่นเอง

@@@@@@@@

๒.๕.๒ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งปีติ

ปีติ หรือที่พบเห็นเขียนกันทั่วไปว่า ปิติ หมายถึง ปลาบปลื้มใจ อิ่มใจ หรือความปลาบปลื้มใจ ความอิ่มใจ ปีตินี้เมื่อเกิดขึ้นแก่ใครก็จะทำให้หน้าตาแช่มชื่นเบิกบาน จิตใจแจ่มใส เป็นความอิ่มเอิบที่ซาบซ่านไปทั่วร่างกาย

ปีติ แบ่งตามอาการออกได้เป็น ๕ ประเภท ได้แก่

     ๑. ขุททกาปีติ ได้แก่ ปีติเล็กน้อยพอขนลุกขนชัน น้ำตาไหล น้ำตาคลอ หรือน้ำตาซึม ด้วยความอิ่มเอิบด้วยความยินดี

     ๒. ขณิกาปีติ ได้แก่ ปีติชั่วขณะ ความรู้สึกแปลบ ๆ ดุจฟูาแลบ หรือความรู้สึกเหมือนยุงกัด มดไต่ ไรตอม หรือคล้ายมีประจุอ่อน ๆ ยุบยิบหรือแปลบ ๆ ตามบางส่วนของกายหรือใบหน้า

     ๓. โอกกันติกาปีติ ได้แก่ ปีติเป็นระลอก มีความรู้สึกไหลซู่ เป็นระยะๆ ดุจดั่งคลื่นที่ซัดฝั่งเป็นระลอก ๆ เช่น รู้สึกขนหัวลุกชันเป็นระลอก ๆ ความรู้สึกซู่ซ่ากาย เช่น ขนลุก ขนชันเป็นระลอก ๆ (คล้ายดั่งอาการเวลาปวดท้องถ่าย)

     ๔. อุพเพคาปีติ ได้แก่ ปีติโลดลอย ใจฟู รู้สึกตัวเบา หรือรู้สึกราวกับว่าตัวลอย เปล่งอุทานเป็นคำพูดต่าง ๆ นา ๆ ออกมาด้วยความอิ่มเอิบ ร้องไห้โฮ สะอึกสะอื้น หรือตัวโยกคลอนร่างกายสั่นเทิ้ม เรียกปีติแบบนี้ว่า ปีติแบบโลดโผน

     ๕. ผรณาปีติ ได้แก่ ปีติซาบซ่าน อิ่มเอิบ ซาบซ่านอาบไปทั่วร่าง เย็นซาบซ่าน หรือคล้ายมีมวลประจุอ่อน ๆ ลูบไล้ซาบซ่านไปทั่วร่าง

เป็นองค์ประกอบของสมาธิโดยทั่ว ๆ ไป มีพุทธพจน์แสดงศรัทธาเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดปีติไว้ว่า

    “ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่าความปราโมทย์ ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่าเป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปีติปราโมทย์ ควรกล่าวว่าศรัทธา ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย”


(https://i.pinimg.com/736x/da/43/5c/da435cbdd7372871b589c741c1f2abc1.jpg)


๒.๕.๓ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งศีล

ปมาณิกาเป็นปัจจัยให้เกิดการปฏิบัติตามศีล หรือข้อปฏิบัติหรือการกระทำตามแนวทางต่างๆ อันเป็นข้อสิกขาหรือบทบัญญัติทางศาสนา การปฏิบัติตามศีลสิกขาต้องอาศัยปมาณิกาเป็นปัจจัย เริ่มจากการยึดถือในข้อปฏิบัติเป็นประมาณ เมื่อพอใจในข้อปฏิบัตินั้น ๆ แล้วก็ปลงใจเชื่อในข้อปฏิบัตินั้น ที่เรียกว่าศรัทธา คือ เชื่อในข้อปฏิบัตินั้น เมื่อเชื่อในข้อปฏิบัตินั้นแล้วก็ปฏิบัติตามศีล กล่าวได้ว่า ต้องอาศัยศรัทธาเป็นหลัก เพื่อให้เกิดการยอมรับและสมัครใจปฏิบัติตามกฎข้อบัญญัตินั้น ๆ โดยไม่มีการโต้แย้งคัดค้านหรือฝ่าฝืนกฎข้อบัญญัติดังกล่าว

โดยศรัทธาที่ใช้ทั้งสองลักษณะ คือ ศรัทธาที่ใช้เหตุผลและไม่ใช้เหตุผล ดังนี้

      - แรงจูงใจที่ต้องการในการปฏิบัติตามศีลแบบพุทธธรรม ได้แก่ อาการวตีศรัทธา คือ ความมั่นใจ (Confidence) ในกฎแห่งกรรม โดยมีความเข้าใจพื้นฐานมองเห็นเหตุผลว่า พฤติกรรมและผลของมันจะต้องเป็นไปตามแนวทางแห่งเหตุปัจจัย

     - ส่วนแรงจูงใจที่ต้องการปฏิบัติตามศีลของศาสนาเทวนิยม ได้แก่ ศรัทธาแบบภักดี (Faith) คือ เชื่อยอมรับและทาตามสิ่งใด ๆ ก็ตามที่กาหนดว่าเป็นเทวประสงค์ โดยมอบความไว้วางใจให้อย่างสิ้นเชิงและไม่ต้องถามหาเหตุผล

ศรัทธาจึงเป็นหลักยึดช่วยคุ้มศีลไว้โดยเหนี่ยวรั้งจากความชั่ว และทำให้มั่นคงในสุจริต ศรัทธาเพื่อการนี้แม้ไม่มีความคิดหรือเหตุผล คือ ไม่ประกอบด้วยปัญญาก็ได้ และปรากฏบ่อย ๆ ว่าศรัทธาแบบเชื่อโดยไม่คิดถึงเหตุผลนั้นใช้ประโยชน์ในขั้นศีลได้ดีกว่าศรัทธาที่มีการใช้ปัญญา

@@@@@@@

๒.๕.๔ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งสมาธิ

สมาธิ หมายถึง ที่ตั้งมั่นแห่งจิต เป็นการทำใจให้นิ่ง ซึ่งต่างจากร่างกายที่ยิ่งเคลื่อนไหวยิ่งแข็งแรง แต่จิตใจนั้นตรงกันข้าม คือ จิตใจหวั่นไหวย่อมอ่อนแอ แต่หากหยุดจิตให้นิ่งเฉยได้แล้วจะยิ่งมีพลัง เหมือนการรวมโฟกัสของแสงให้เป็นจุดเดียวกันย่อมมีพลังที่จะจุดไฟให้ติดได้

สมาธิตามหลักของพุทธศาสนาแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับด้วยกัน คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ซึ่งล้วนเป็นไปเพื่อความสงบแห่งจิต ทั้งนี้การฝึกสมาธินั้นบุคคล จะต้องยึดหลักการฝึกแบบสัมมาสมาธิ กล่าวคือ ฝึกเพื่อการทำให้ใจสงบ ระงับจากกาม ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย และไม่ฟุูงซ่าน จนกระทั่งจิตตั้งมั่นไม่ซัดส่าย ก็จะสามารถทำให้การฝึกและปฏิบัติของบุคคลนั้นถูกต้องตรงต่อพระพุทธธรรมคำสอน จนสามารถบรรลุถึงเป้าหมาย คือ พระนิพพานได้

โดยการที่จะจิตจะไม่ฟุูงซ่าน จิตจะต้องไม่คิดหรือตรึกในสิ่งที่จะทำให้จิตเกิดราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงลักษณะของจิตฟุูงซ่านว่า จะมีลักษณะที่ซัดส่ายไปข้างนอก คือ ซัดส่ายไปในอารมณ์ คือ กามคุณ ทำให้มีความพอใจในกามคุณ ๕ อย่าง คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ซึ่งทำให้จิตระคนปนเจือไปด้วยความตรึกไปในกาม

     “ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
      เข้าถึงปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
      เธอเข้าถึงทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
      เพราะปีติสิ้นไป เข้าถึงตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
      เธอเข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ
      ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ”


สมาธินั้นย่อมมีรากฐานที่สำคัญ คือ ศรัทธา เมื่อศรัทธาเกิดสมาธิจึงจักเกิด และศรัทธามีรากฐานที่สำคัญประการหนึ่งนั่นคือปมาณิกา ดังนี้แล้ว การมีศรัทธาประเภทประมาณิกาต่าง ๆ ย่อมมีผลทำให้บุคคลมีความแน่วแน่ มีจิตตั้งมั่นไม่หวั่นไหวโอนเอนไปมาต่อสิ่งกระทบ ปมาณิกาจึงเป็นปัจจัยทำให้เกิดศรัทธาและสมาธิตามลำดับ

ดังพุทธวัจนะที่ว่า
    “ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสมาธิ ควรกล่าวว่า สุข
     ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ซึ่งสุขว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
     ภิกษุทั้งหลายก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งสุข ควรกล่าวว่า ปัสสัทธิ
     ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า แม้ซึ่งปัสสัทธิว่ามีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
     ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปัสสัทธิ ควรกล่าวว่า ปีติ
     ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งปีติว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
     ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งปีติ ควรกล่าวว่า ความปราโมทย์
     ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งความปราโมทย์ว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย
     ภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรเล่า เป็นเหตุที่อิงอาศัยแห่งความปราโมทย์ ควรกล่าวว่า ศรัทธา
     ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งศรัทธาว่า มีเหตุที่อิงอาศัย มิได้กล่าวว่าไม่มีเหตุที่อิงอาศัย”


ปมาณิกาจึงช่วยให้เกิดสมาธิได้ ทั้งในแง่ที่ทำให้เกิดปิติสุข และในแง่ที่ทำให้จิตใจเกิดความปราโมทย์ เกิดปิติ ปัสสัทธิ ความสุข ความสงบมั่นคง และในแง่ที่ทำให้เกิดความเพียรพยายามทำให้จิตใจเข้มแข็งมั่นคงแน่วแน่  ศรัทธาประเภทนี้แม้เป็นศรัทธาแบบญาณวิปปยุตก็ใช้ได้ โดยมีคำรับรองว่า

    “ศรัทธาเป็นปัจจัยให้เกิดสมาธิ ศรัทธาเพื่อการนี้แม้เป็นแบบเชื่ออย่างเดียวโดยไม่ใช้ความคิดเหตุผล ก็ใช้ได้เช่นเดียวกัน”


(https://i.pinimg.com/474x/85/d2/a1/85d2a18b3a99fe76175b990ca1a8c786.jpg)


๒.๕.๕ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งปัญญา

ปัญญา หมายถึง ความรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้เรื่องบาปบุญคุณโทษ รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธาเพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงปัญญาไว้ถึง ๓ ระดับ ซึ่งปัญญาทุกประเภทนั้น ต้องสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน ไม่มีอะไรสำคัญมากน้อยไปกว่ากัน

เนื่องจากการจะข้ามสะพานไปได้ ต้องเดินผ่านตั้งแต่ต้นสะพาน ผ่านกึ่งกลางสะพาน แล้วจึงจะถึงปลายสะพานข้ามฟากได้ ปัญญา ๓ ระดับ ก็เป็นฉันนั้น คือ เริ่มจากเข้าใจว่าอะไรคือกุศลและอกุศล เข้าใจกระบวนธรรมชาติตั้งแต่กฎแห่งกรรมถึงไตรลักษณ์ และสุดท้ายจึงตระหนักถึงสภาวะของทุกข์และแนวทางการดับทุกข์

โดยผู้มีปัญญานั้น จะต้องประกอบการพัฒนาปัญญาของตน ๓ ประการ ได้แก่

     ๑. สุตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจากการได้ฟัง ได้อ่าน ได้เรียนรู้เรื่องราวจากผู้อื่น ซึ่งเป็นความรู้ที่นำมากาหนดแนวคิดของเราเอง และนำไปใช้ในการทำงานการใช้ชีวิต เป็นการสร้างปัญญาชั้นแรกของมนุษย์ สุตมยปัญญานี้ไม่อาจทำให้เราหลุดพ้นไปจากกิเลสได้ เพราะเป็นปัญญาที่เกิดจากความเชื่อที่ได้ยินมา หรือการสอนต่อกันมาจนกลายเป็นความเชื่อโดยไม่สนใจวาเป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ จนกลายเป็นการหลงงมงาย

     ๒. จินตมยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาการเอาสุตมยปัญญาที่ได้เรียนรู้มาพิจารณาดูว่า มีเหตุผลควรเชื่อถือได้หรือไม่ และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์กับตนเอง หรือนำไปสู่ทางพ้นทุกข์ได้หรือไม่

     ๓. ภาวนามยปัญญา เป็นปัญญาที่เกิดจาการปฏิบัติจนรู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นปัญญาที่แท้จริง เป็นการต่อยอดจากสุตมยปัญญาและจิตมยปัญญา โดยจะเป็นไปในรูปแบบของการรู้ คิด และทำภาวนามยปัญญาในทางธรรมเพื่อการหลุดพ้นนั้น จะเกิดจากการปฏิบัติสมาธิกรรมฐานและการวิปัสสนา จนเกิดความประจักษ์แจ้งในความมิใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล ของขันธุ์ ๕ เพราะประกอบด้วยรูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น แม้ใจหรือวิญญาณ ก็ไม่ใช่ตัวตน เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ก็จะไม่เหลือคุณค่าสาระใด ๆ ที่จะต้องยึดถือให้เกิดความทุกข์ทรมานบีบคั้นจิตใจอีกต่อไป ส่วนภาวนายปัญญาในทางโลกก็คือ การลงมือทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เชี่ยวชาญจนแตกฉานในสิ่งนั้น ๆ

เมื่อปมาณิกาเป็นปัจจัยรากฐานของทุกสิ่งที่ทำให้เกิดสมาธิ ปมาณิกาก็สามารถเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญญาได้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากสมาธิและปัญญาต่างต้องเป็นเครื่องอาศัยซึ่งกัน โดยอาศัยศรัทธาเป็นกำลังสาคัญเบื้องต้นในการก้าวสู่สมาธิและระดับที่สูงยิ่งขึ้นไปจนถึงที่สุด เป็นศรัทธาที่ส่งเสริมความคิดวิจัยวิจารณ์ จนทำให้เกิดความก้าวหน้าแก่ปัญญา อันเป็นลักษณะของการใช้ศรัทธา เพื่อช่วยเกื้อหนุนสมาธิและปัญญาให้เกิดขึ้น ศรัทธาจึงนับเป็นขั้นแรกหรือขั้นต้นที่สำคัญในการพัฒนาปัญญา โดยศรัทธาเป็นเพียงขั้นตอนต้นในกระบวนการพัฒนาปัญญา และอาจสามารถกล่าวได้ว่า เป็นขั้นตอนที่สุดด้วยเช่นเดียวกัน

@@@@@@@

๒.๕.๖ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งความกล้าหาญ

ความกล้าหาญ หมายถึง ไม่เกรงกลัวภัยอันตรายใด ๆ มีความกล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด และกล้าที่จะทำโดยไม่มีความกลัว ความหวาดหวั่น หรือความอ่อนไหว ปมาณิกาเป็นปัจจัยให้เกิดความสัทธา ซึ่งเป็นองค์ธรรมหมวดหนึ่ง
ในเวสารัชชกรณธรรม หรือหลักธรรม ๕ ประการ ที่ทำให้เกิดความกล้าหาญ เกิดความเชื่อมั่น เกิดความภาคภูมิใจไม่หวาดหวั่น ได้แก่

     ๑. ศรัทธา หรือ สัทธา หมายถึง ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล (เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ) หากคนเรามีความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผลแล้วล่ะก็ย่อมทำให้เรามีความมั่นใจในความกล้าหาญมากขึ้น

     ๒. ศีล คือ ข้อปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานในทางพระพุทธศาสนาเพื่อควบคุมความประพฤติทางกายและวาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม เพื่อประโยชน์ขั้นพื้นฐานคือความสุขและการไม่เบียดเบียกันในสังคม

     ๓. พาหุสัจจะ แปลว่า ความเป็นผู้ได้สดับมาก หมายถึงการได้ศึกษาเล่าเรียนมาก การมีความรู้ประสบการณ์มาก เรียกบุคคลผู้มีภาวะอย่างนั้นว่าพหูสูต คือผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมากมาก ผู้มีความรู้มาก ผู้คงแก้เรียน นักปราชญ์

     ๔. วิริยารัมภะ หมายถึง การปรารภความเพียร คือ ลงมือทำความเพียรอย่างเข้มแข็งเด็ดเดี่ยว ส่วนวิริยะนั้น แปลว่า ความเพียร ความพยายาม ความกล้าที่จะลงมือทำ เป็นแนวทางให้ดำเนินไปสู่ความสาเร็จตามประสงค์ เป็นการลงมือปฏิบัติลงมือทำงานที่ตนชอบที่ตนรักด้วยความพากเพียรพยายาม ทำด้วยความสนุก กล้าหาญ กล้าเผชิญกับความทุกข์ยาก ปัญหาและอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นโดยไม่ย่อท้อ ไม่สิ้นหวัง จนกว่าจะบรรลุเปูาหมายคือความสำเร็จ

     ๕. ปัญญา แปลว่า ความรู้ทั่วถึงเหตุถึงผล รู้อย่างชัดเจน รู้บาปบุญคุณโทษ รู้สิ่งที่ควรทำควรเว้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธาเพื่อให้เชื่อที่มีประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย เมื่อปมาณิกาเป็นเหตุและปัจจัยที่ทาให้เกิดสัทธาซึ่งเป็นหลักธรรมที่ทาให้เกิดความกล้าหาญ จึงกล่าวได้ว่า ปมาณิกาเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความกล้าหาญได้เช่นเดียวกัน


(https://i.pinimg.com/736x/e3/b0/4f/e3b04fec3f7f2a9dd7c49f71245e0b6b.jpg)


๒.๕.๗ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งแรงจูงใจ

แรงจูงใจ เป็นสิ่งซึ่งควบคุมพฤติกรรมการกระทำของบุคคล อันเกิดจากความต้องการหรือความปรารถนาที่จะดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนเองประสงค์ เช่น แรงจูงใจเพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย ๔ เพื่อจะดำรงชีวิตอยู่ได้ หรือกล่าวได้อีกนัยหนึ่ง ก็คือแรงจูงใจเป็นเหตุผลของการกระทำนั่นเอง

แรงจูงใจไม่เพียงแต่มีรากฐานมาจากความต้องการ แต่แรงจูงใจยังเป็นตัวกำหนดทิศทางของการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ความต้องการเหล่านั้นได้รับความพอใจด้วย นั่นคือ บุคคลมักจะได้รับการจูงใจไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งโดยเฉพาะเสมอ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางอย่างโดยเฉพาะ แต่แรงจูงใจก็ไม่ได้กำหนดหรือให้ทิศทางไปในทิศทางเดียวกันตลอดเวลา เช่น บุคคลมีวิธีที่ทำให้ตนเองได้รับความพอใจจากความอบอุ่นได้หลายวิธี เช่น ซื้อใส่เสื้อกันหนาว ผิงไฟ หรือใช้เครื่องทำความร้อน เป็นต้น

โดยแรงจูงใจจะนำบุคคลให้มีการกระทำในลักษณะหนึ่งโดยเฉพาะ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เผชิญอยู่ บุคคลที่ยึดถือเอาปมาณิกาเป็นเครื่องยึดถือเพื่อการประพฤติปฏิบัติในการที่จะสร้างให้เกิดความศรัทธาเลื่อมใสโดยอาศัยแรงจูงใจผลักดันให้เกิดการกระทาต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต

การนำเอาปมาณิกามาเป็นตัวกำหนดเป้าหมาย กำหนดทิศทางของชีวิตเพื่อให้บรรลุถึงซึ่งประโยชน์กับตนเองล้วนอาศัยความแน่วแน่ในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล ทั้งนี้แรงจูงใจจะมีอิทธิพลต่อชีวิตของบุคคลเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของความเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งเป็นเงื่อนไข หรือเป็นแรงกระตุ้นให้บุคคลเกิดแรงจูงใจในการกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการตามจุดมุ่งหมาย

เช่น พระวักลิ ที่มีรูปัปมาณิกาในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเกิดเป็นแรงจูงใจให้พยายามหาวิธีเฝ้ามองพระพุทธองค์ จนสมเด็จพระบรมมหาศาสดาต้องใช้พุทธภาษิตทรงสอนว่า
   “โย ธมฺม ปสฺสติ โส ม ปสฺสติ”
     ความว่า ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม

การที่จะเห็นเราตถาคต ที่แท้จริงคน ๆ นั้นต้องเห็นธรรมจึงได้ชื่อว่าเห็นเรา พระวักลิจึงได้เข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพานด้วยความหลงในรูปของพระพุทธองค์

ดังนี้ จึงสรุปได้ว่า ปมาณิกามีอำนาจในการควบคุม หรือครอบงำให้บุคคลมีความพยายามหรือมีแรงจูงใจที่จะกระทำการใด ๆ ก็ตามเพื่อให้ตนเองได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ อาศัยอำนาจของความต้องการเป็นแรงจูงใจขับเคลื่อนไปให้ถึงเป้าหมายที่วางไว้ กล่าวได้ว่า ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งแรงจูงใจให้บุคคลดำเนินการด้วยวิธีต่าง ๆ กันตามแต่จริตของแต่ละบุคคล

@@@@@@@

๒.๕.๘ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ

สิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ หมายถึง สิ่งที่จิตของบุคคลเข้าไปยึดไว้เพื่อการพึ่งพายามที่ประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคที่ยากแก่การแก้ไข เมื่อพบกับวิกฤติของชีวิต เมื่อพบกับความหวาดกลัว หรือ พบกับพยันตรายต่าง ๆ สิ่งยึดเหนี่ยวดังกล่าวนี้จะกระตุ้นให้บุคคลมีความมั่นใจ แน่วแน่ ไม่ลังเล ปราศจากความหวาดกลัวที่จะกระทำการใดๆ ตามที่ตนเองเชื่อมั่น เมื่อบุคคลมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจก็ย่อมไม่เกรงต่อภัยอันตรายใด ๆ

ดังปรากฏความในธชัคคสูตร ว่า
     “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอยู่ในปุาก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี พึงระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้าเถิด ความกลัวไม่พึงมีแก่เธอทั้งหลาย
      ถ้าว่าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระพุทธเจ้าผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้องอาจกว่านรชน ทีนั้น
      เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ดีแล้ว ถ้าเธอทั้งหลายไม่พึงระลึกถึงพระธรรมอันนำออกจากทุกข์ อันพระพุทธเจ้าทรงแสดงดีแล้ว ทีนั้น
      เธอทั้งหลายพึงระลึกถึงพระสงฆ์ผู้เป็นบุญเขต ไม่มีบุญเขตอื่นยิ่งไปกว่า
      ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายระลึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์อยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จักไม่มีเลย”


ปมาณิกาหรือการถือเอาประมาณในสิ่งต่าง ๆ นั้น เปรียบเสมือนกับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความศรัทธา เกิดความเลื่อมใส และยึดเหนี่ยวจิตใจไม่ให้เกิดความกลัว ทำให้เกิดความแน่วแน่ไม่ลังเล การที่บุคคลถือเอาปมาณิกาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต ก็จะทำให้สามารถสร้างแรงกระตุ้นในการเผชิญอุปสรรค หรือกล้าที่จะก้าวเดินไปข้างหน้าได้อย่างแน่วแน่มั่นคง

ดังเช่น อุปติสสะเกิดความศรัทธาแบบรูปัปปมาณิกาในพระอัสชิซึ่งมีกริยางดงามควรแก่การเลื่อมใส จึงคิดำนึงขึ้นว่า
     “นักบวชเห็นปานนี้เรายังไม่เคยพบเลย คงจะเป็นอรหันต์ หรือผู้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก ไฉนหนอเราพึงเข้าไปหาภิกษุนี้แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร”

พระอัสชิเถระจึงกล่าวว่า
     “ผู้มีอายุ เราแลเป็นผู้ใหม่ บวชแล้วไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้ เราจักไม่สามารถแสดงธรรมโดยพิสดารก่อน”

และเมื่ออุปติสสะขอให้พระเถระแสดงธรรม ท่านจึงกล่าวว่า
    “ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุแห่งความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะมีปกติตรัสอย่างนี้”

ดังกล่าว ทำให้อุปติสสะเข้าสู่กระแสแห่งพระนิพพานโดยมีปัจจัยจากปมาณิกาศรัทธา และความต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจโดยแท้ แต่การยึดถือเอาปมาณิกาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจนี้ มีความสำคัญอยู่ที่แนวทางในการยึดเหนี่ยวว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หากสิ่งที่ยึดเหนี่ยวเป็นไปในทางที่ไม่ดีงาม สิ่งยึดเหนี่ยวนั้นก็จะกลายเป็นสิ่งกระตุ้นหรือแรงขับให้บุคคลกระทำในสิ่งที่ไม่ดีงาม

ในทางตรงกันข้าม หากบุคคลยึดถือเอาปมาณิกาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการสร้างคุณงามความดี สร้างในสิ่งที่ดีงามมีประโยชน์ ก็จะทำให้เกิดการพัฒนาไปในทิศทางที่ดี ไม่ตกอยู่ในอำนาจของอกุศล ดังปรากฏในคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความว่า

    “อานนท์ พวกชนผู้ถือประมาณย่อมประมาณในเรื่องนั้นว่า ธรรมของชนแม้นี้ก็เหล่านั้น และธรรมของชนแม้อื่นก็เหล่านั้นแหละ เหตุไฉนบรรดาคน ๒ คนนั้น คนหนึ่งเลวคนหนึ่งดี ก็การประมาณของคนผู้ถือประมาณเหล่านั้น เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
     อานนท์ ใน ๒ คนนั้น บุคคลใดเป็นผู้งดเว้นจากบาป มีการอยู่ร่วมเป็นสุข พวกคนที่ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกันย่อมยินดีด้วยการอยู่ร่วมกัน เขาได้กระทำกิจแม้ด้วยการฟัง ได้กระทำกิจแม้ด้วยความเป็นพหูสูตร ได้แทงตลอดแม้ด้วยทิฐิ ย่อมได้วิมุตติแม้ที่เกิดในสมัย
     ดูกรอานนท์ บุคคลนี้ดีกว่าและประณีตกว่าบุคคลที่กล่าวข้างต้นโน้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกระแสแห่งธรรมย่อมถูกต้อง บุคคลนี้ใครเล่านอกจากตถาคตจะพึงรู้เหตุนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าได้เป็นผู้ชอบประมาณในบุคคล และอย่าได้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน เราหรือผู้ที่เหมือนเราพึงถือประมาณในบุคคลได้”


จะเห็นได้ว่า ปมาณิกา มิใช่เป็นเพียงหลักการที่ยึดถือเอาเพียงแค่รูป เสียง ลักษณะ และธรรมเป็นเครื่องยึดถือเพียงอย่างเดียว แต่ปมาณิกายังต้องอาศัยความต้องการ แรงจูงใจ และสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจในการที่จะดำเนินการไปในทิศทางต่าง ๆ ตามที่ต้องการ ปมาณิกาจึงมีความสำคัญในฐานะของการสร้างให้เกิดความศรัทธา ความเชื่อถือ ความเลื่อมใสต่อตัวบุคคล และยังเป็นปัจจัยให้เกิดสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลอีกด้วย

@@@@@@@

๒.๕.๙ ปมาณิกาเป็นปัจจัยแห่งพฤติกรรมหรือการกระทำ

พฤติกรรมหรือการกระทำ หมายถึง อาการที่แสดงออกทางร่างกาย ทางความคิด และทางความรู้สึก เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าสิ่งเร้า อินทรีย์ การตอบสนอง (พฤติกรรม) การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือการกระทำเริ่มต้นจากสภาพที่ขาด อาจจะเป็นทางจิตใจหรือทางกายก็ได้ เมื่อขาดสมดุลก็เกิดแรงผลักดันทาให้ร่างกายเข้าสู่สภาวะเตรียมพร้อม

ในสภาวะเช่นนี้บุคคลจะมองหาเป้า เพื่อพุ่งไปสู่ และหาทิศทางที่จะไปสู่เป้า เมื่อสามารถหาเป้าและทิศทางได้แล้ว ก็จะแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำออกไป หลังจากที่ได้แสดงพฤติกรรมออกไปแล้วร่างกายหรือจิตใจก็จะเข้าสู่สภาวะสมดุล สภาวะร่างกายมักเข้าสู่สภาวะปกติ จนกว่าจะเกิดสภาพที่ขาดอีกครั้งหนึ่ง จึงจะเริ่มเข้าสู่วงจรการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมหรือการกระทำใหม่

องค์ประกอบของพฤติกรรม ได้แก่

     ๑. การรับรู้ เป็นการแปลความหมายจากการสัมผัส โดยเริ่มตั้งแต่การมีสิ่งเร้ามากระทบกับอวัยวะรับสัมผัสทั้งห้าและส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อการแปลความ

     ๒. การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกฝน มิใช่ผลจากการตอบสนองของสัญชาติญาณ อุบัติเหตุ หรือความบังเอิญ

     ๓. การคิด เป็นกระบวนการของสมองในการสร้างสัญลักษณ์หรือภาพให้ปรากฏในสมองเพื่อเป็นตัวแทนของวัตถุ สิ่งของ เหตุการณ์ หรือสถานการณ์ต่าง ๆ

เมื่อบุคคลเกิดความชอบหรือศรัทธาแบบปมาณิกา ก็จะทำให้เกิดพฤติกรรมตามมา เพราะความคิดหรือปมาณิกาเป็นสิ่งเร้า เป็นปัจจัยทำให้เกิดความเลื่อมใส ความศรัทธา จนเกิดเป็นพฤติกรรมหรือการกระทำ ทั้งนี้การเกิดปมาณิกาแบบมีเหตุผลและไม่งมงาย ก็ย่อมจะทำให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำที่ดี ที่เหมาะสม และเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ปมาณิกาที่เป็นปัจจัยให้เกิดพฤติกรรมหรือการกระทำที่แสดงออกนี้ นับว่ามีความสำคัญมาก เพราะเมื่อบุคคลรู้เห็นสิ่งใด หากไม่เกิดความชอบต่อสิ่งนั้น ๆ ก็จะไม่เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมหรือไม่เกิดการกระทำใด ๆ แต่หากเกิดความชอบแล้ว ก็จะมีการแสดงพฤติกรรมหรือการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งออกมา ยิ่งชอบและเลื่อมใสมากความรุนแรงของพฤติกรรมการกระทำก็เพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย

@@@@@@@@

สรุปว่า ปมาณิกา หมายถึง หลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัด เพื่อให้เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในบุคคล ๔ ประเภท ได้แก่

     ๑. รูปัปปมาณิกา เป็นการถือเอารูปร่างที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่าควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา
     ๒. โฆสัปปมาณิกา เป็นการถือเอาเสียงที่ได้ยินเป็นประมาณในใจว่าควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา
     ๓. ลูขัปปมาณิกา เป็นการถือเอาสิ่งของเครื่องใช้ ความเป็นอยู่ที่มองเห็นเป็นประมาณในใจว่าควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา
     ๔. ธัมมัปปมาณิกา เป็นการถือเอาธรรมที่พิจารณาเป็นประมาณในใจว่าควรแก่การเลื่อมใสศรัทธา

หน้าที่ของปมาณิกา ได้แก่ การทำลายอติมานะ คือ ความเย่อหยิ่ง ความจองหองความถือตัว ความยกตน ความดูหมิ่นผู้อื่น และการทำลายวิจิกิจฉา คือ ความมีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม

ส่วนประโยชน์ของปมาณิกา ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งศรัทธา เป็นปัจจัยแห่งปีติ เป็นปัจจัยแห่งศีล เป็นปัจจัยแห่งสมาธิ เป็นปัจจัยแห่งปัญญา เป็นปัจจัยแห่งความกล้าหาญ เป็นปัจจัยแห่งแรงจูงใจ เป็นปัจจัยแห่งสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ และเป็นปัจจัยแห่งพฤติกรรมหรือการกระทำ