หัวข้อ: ๓ อารมณ์ ก่อนตาย | ชีวิตนี้น้อยนัก เหมือนโคจะถูกฆ่า ยิ่งเดินเร็ว ยิ่งถูกฆ่าเร็ว เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 12, 2025, 10:36:10 am .
(https://i.pinimg.com/736x/b1/ef/cf/b1efcf25bdc29df3deeb31e293dee54f.jpg) สิ่งที่ปรากฏ ก่อนที่จะตาย ๓ อารมณ์ ก่อนตาย | ชีวิตนี้น้อยนัก เหมือนโคจะถูกฆ่า ยิ่งเดินเร็ว ยิ่งถูกฆ่าเร็ว :96: :96: :96: ธรรมดาคนที่จะตาย ขณะกําลังจะตาย จะมีอารมณ์ ๓ อย่าง คือ (๑) กรรม สิ่งที่เรากระทําไว้ จะเป็นบุญหรือบาป ก็ตาม ก็จะปรากฏให้เห็น (๒) กรรมนิมิต สิ่งที่เราได้กระทําไว้จะปรากฏให้เห็น หากทําบุญไว้ เช่น เคยสร้างสระน้ําไว้ เคยสร้างพระไตรปิฎกพร้อมตู้ เคยให้ทานแก่คนยากไร้ เคยสร้างกุฏิวิหารถวายวัด จะมาปรากฏให้เห็น หากทําบาปไว้ เช่น เคยฆ่าหมู ขณะตายก็จะร้องโหยหวนแบบหมูขณะถูกฆ่า เคยตีไก่ ขณะจะตายก็จะทําท่าคล้ายจะตีไก่ (๓) คตินิมิต สิ่งที่จะไปเกิด หากจะไปเกิดในภพที่ดี ก็จะเห็นปราสาทราชวัง เป็นวิมานหากจะไปเกิดในภพที่ไม่ดี ก็จะเห็นเหวลึก ป่าดงดิบ รางข้าว อารมณ์ทั้ง ๓ นี้จะมาปรากฏก่อนจะตาย และขณะที่จะตายนั้น เมื่ออารมณ์ทั้ง ๓ นี้มาปรากฏแล้ว ย่อมตายแน่นอน @@@@@@@ คนเราธรรมดาวิสัยปุถุชนคนทั่วไปแล้ว อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ไม่ยากตาย อยากทําอะไรมากมายที่ยังไม่ได้ทําอยากมีอายุยืน เมื่ออยากเช่นนี้ ก็ต้องเริ่มทําตั้งแต่วันนี้ ยังไม่สายหรอก ที่จะทําบุญกุศลไว้ และบุญกุศลนี้ ก็มีให้ทํามากมาย เช่น ความเคารพต่อผู้ใหญ่ การช่วยเหลือผู้อื่น การฟังเรื่องที่ดี การถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น หรือแม้แต่การที่เราคิดถูกต้องเห็นดีงาม ก็จัดว่าเป็นบุญทั้งนั้น แต่ในที่นี้จะพูดถึงการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้อื่น เรื่องการระลึกถึงความตาย คนสมัยก่อน เมื่อเห็นคนอื่นตายแล้ว ก็นํามาคิดว่า ธรรมดาคนเราเกิดมาแล้วต้องตาย ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด ความจริงการที่จะเราคิดถึงความตายไว้ก็ดีเหมือนกัน เพราะการระลึกถึงความตายนี้ จะทําให้คนเราละความยึดมั่นถือมั่นลงไปได้ จะทําให้เราสะสมน้อยลง คนสมัยก่อน เปรียบชีวิตไว้ว่าน้อยนัก เหมือนกับน้ำค้างบนยอดหญ้า พอถูกแสงแดดแผดเผาก็เหือดแห้งไป เหมือนกับโคที่กําลังจะถูกฆ่า ยิ่งเดินเร็วเท่าไหร่ ก็ถูกฆ่าเร็วเท่านั้น ดังนั้น เมื่อได้ฟังอุปมาเปรียบเทียบชีวิตเช่นนี้แล้ว ก็ระลึกถึงความตาย ขอขอบคุณ :- ภาพจาก : pinterest บทความ : จาก สาระนิพนธ์ เรื่อง "มรณัสสติ ระลึกถึงความตาย" โดย สุชญา ศิริธัญภร ผู้จัดการสํานักพิมพ์ มจร. |