หัวข้อ: ที่มาของคำว่า "ประสก" และ "สีกา" เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 22, 2025, 11:47:20 am .
(https://dhamtara.com/wp-content/uploads/2021/12/0003461-ประสก-สีกา-1024x427.jpg) ที่มาของคำว่า "ประสก" และ "สีกา" ประสก-สีกา (บาลีวันละคำ 3,461) ประสก–สีกา เผื่อว่าคนไทยรุ่นใหม่จะไม่รู้จัก ประสก–สีกา อ่านว่า ปฺระ-สก สี-กา พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า :– (1) ประสก : (ภาษาปาก) (คำนาม) ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. (กร่อนมาจาก อุบาสก). (2) สีกา : (ภาษาปาก) (คำนาม) คําที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก. (ตัดมาจาก อุบาสิกา). @@@@@@@ แทรก-วิจารณ์พจนานุกรมฯ :- ที่คำว่า “ประสก” ข้อความในวงเล็บตอนท้ายว่า “กร่อนมาจาก อุบาสก” พจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ.2542 ใช้คำว่า “ตัดมาจาก อุบาสก” พจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ.2554 แก้เป็น “กร่อนมาจาก อุบาสก” ครั้นมาถึงคำว่า “สีกา” ข้อความในวงเล็บตอนท้าย พจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ.2542 ก็ใช้คำว่า “ตัดมาจาก อุบาสิกา” พจนานุกรมฯ ฉบับ พ.ศ.2554 ควรจะแก้เป็น “กร่อนมาจาก อุบาสิกา” เพื่อให้สอดคล้องกัน แต่หาได้แก้ไม่ คงใช้ค้ำเดิม คือ “ตัดมาจาก อุบาสิกา” จึงทำให้น่าสงสัยว่า คณะกรรมการชำระพจนานุกรมฯ มีหลักเกณฑ์อย่างไรในการที่แก้คำหนึ่ง แต่ไม่แก้อีกคำหนึ่ง หรือว่าเกิดจากความพลั้งเผลอ (ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา) ผู้เขียนบาลีวันละคำหวังว่า ความที่กล่าวมานี้คงจะไปถึงหูตาของคณะกรรมการชำระพจนานุกรมฯ โดยไม่ต้องให้แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามระเบียบหรือระบบเก่า (https://dhamtara.com/wp-content/uploads/2021/12/0003461-ประสก-สีกา-1024x427.jpg) เป็นอันได้ความรู้ว่า “ประสก” คำเดิมคือ “อุบาสก” และ “สีกา” คำเดิมคือ “อุบาสิกา” (๑) “อุบาสก” อ่านว่า อุ-บา-สก บาลีเป็น “อุปาสก” อ่านว่า อุ-ปา-สะ-กะ รากศัพท์มาจาก อุป (คำอุปสรรค = เข้าไป, ใกล้ ) + อาสฺ (ธาตุ = นั่ง) + ณฺวุ ปัจจัย, แปลง ณฺวุ เป็น อก (อะ-กะ) : อุป + อาสฺ = อุปาสฺ + ณฺวุ > อก : อุปาสฺ + อก = อุปาสก แปลตามศัพท์ว่า “ชายผู้เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย” พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “อุปาสก” ว่า a devout or faithful layman, a lay devotee (ฆราวาสผู้ซื่อสัตย์หรือจงรักภักดี, อุบาสก) บาลี “อุปาสก” สันสกฤตก็เป็น “อุปาสก” สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ดังนี้ (สะกดตามต้นฉบับ) “อุปาสก : (คำนาม) ‘อุบาสก,’ ผู้กราบไหว้, ผู้บูชา; คนใช้, ผู้ประติบัท; การบูชา; การรับใช้; a worshipper; a servant; worshipping; serving.” “อุปาสก” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อุบาสก” (อุ-บา-สก) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า “อุบาสก : (คำนาม) คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสก).” @@@@@@@ (๒) “อุบาสิกา” อ่านตรงตัวว่า อุ-บา-สิ-กา บาลีเป็น “อุปาสิกา” อ่านว่า อุ-ปา-สิ-กา รากศัพท์มาจาก อุปาสก + อิ อาคม + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ (ก) “อุปาสก” (ดูข้างต้น) (ข) อุปาสก ลง อิ อาคมหน้า –ก + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์ : อุปาส + อิ + ก = อุปาสิก + อา = อุปาสิกา อีกนัยหนึ่ง จากรากศัพท์ “อุปาสก” แปลง ณฺวุ เป็น อก แล้วแปลง อก เป็น อิกา เพื่อทำให้เป็นอิตถีลิงค์ : อุป + อาสฺ = อุปาสฺ + ณฺวุ > อก > อิกา : อุปาสฺ + อิกา = อุปาสิกา “อุปาสิกา” แปลตามศัพท์ว่า “หญิงผู้เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัย” “อุปาสิกา” ใช้ในภาษาไทยเป็น “อุบาสิกา” (อุ-บา-สิ-กา) พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า “อุบาสิกา : (คำนาม) คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. (ป., ส. อุปาสิกา).” (https://dhamtara.com/wp-content/uploads/2021/12/0003461-ประสก-สีกา-1024x427.jpg) ขยายความ “อุบาสก–อุบาสิกา” คนเก่าพูดกร่อนเป็น “ประสก–สีกา” “ประสก–สีกา” เป็นคำที่พระภิกษุสามเณรเรียกญาติโยม ไม่ใช่ญาติโยมเรียกตัวเอง พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของท่าน ป.อ. ปยุตฺโต ข้อ [259] แสดงคุณสมบัติของอุบาสก-อุบาสิกา ที่ปรากฏในคัมภีร์ดังนี้ อุบาสกธรรม 5 : ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติ หรือองค์คุณของอุบาสก อย่างเยี่ยม (Upāsaka-dhamma: qualities of an excellent lay disciple) 1. มีศรัทธา (to be endowed with faith) 2. มีศีล (to have good conduct) 3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังผลจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ (not to be superstitious, believing in deeds, not luck) 4. ไม่แสวงหาทักขิไณยภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา (not to seek for the gift-worthy outside of the Buddha’s teaching) 5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา (to do his first service in a Buddhist cause) ธรรม 5 อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ ธรรมของอุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว) @@@@@@@ แถม : ความรู้ทดสอบ ตอบโดยไม่ต้องค้น – ใครเป็นอุบาสก-อุบาสิกา คนแรกในพระพุทธศาสนา? ดูก่อนภราดา.! ถ้ามีกุศลจิตคิดจะช่วยกันรักษาพระศาสนา แม้เป็นประสกสีกาก็ต้องศึกษาพระธรรมวินัย ขอบคุณ : https://dhamtara.com/?p=18468 #บาลีวันละคำ (3,461) | 3-12-64 3 ธันวาคม 2021 | tppattaya2343@gmail.com หัวข้อ: นางสุชาดา “สีกา” หมายเลข 1 ในพุทธศาสนา เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 23, 2025, 10:21:26 am .
(https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2025/07/Cover-23-696x364.jpg) นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาสแก่พระพุทธเจ้า นางสุชาดา “สีกา” หมายเลข 1 ในพุทธศาสนา “สีกา” หรือ “อุบาสิกา” คนแรกในพระพุทธศาสนา คือ นางสุชาดา ผู้ถวาย “ข้าวมธุปายาส” แก่พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นอาหารมื้อสุดท้ายก่อนตรัสรู้ นางสุชาดา นางสุชาดา เป็นบุตรสาวของนายบ้านอุรุเวลาเสนานิคมผู้มีฐานะดี เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาว นางเคยบนต่อรุกขเทวดาที่ต้นไทร ด้วยความปรารถนา 2 ประการ คือ ขอให้แต่งงานกับคนที่มีสกุลเสมอกัน และขอให้ได้บุตรเป็นชาย ไม่นานนางก็ได้แต่งงานกับบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสี จากนั้นก็ได้บุตรชายชื่อ “ยสกุมาร” จนยสกุมารโตเป็นหนุ่มแล้ว นางก็นึกได้ว่ายังมิได้แก้บน จึงเตรียมการไปแก้บนต่อรุกขเทวดาที่ต้นไทรนั้น วันหนึ่ง สาวใช้ที่นางสุชาดาสั่งให้ไปปัดกวาดโคนต้นไทรให้สะอาด พบเห็นพระพุทธเจ้าหลังเลิกทุกรกริยาใหม่ๆ ประทับนิ่งสงบอยู่ที่โคนต้นไทร ก็คิดไปว่าเป็นเทพที่สถิตอยู่ต้นไทรสำแดงตน จึงรีบกลับมาแจ้งแก่นางสุชาดา เมื่อทราบดังนั้นนางก็จัดเตรียม “ข้าวมธุปายาส” ในถาดทองคำ แล้วเร่งนำไปยังต้นไทร เพื่อถวายแก่พระพุทธเจ้า ที่พวกนางหลงเข้าใจผิดว่าเป็นรุกขเทวดา (https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2025/07/S__6971450-629x420.jpg) การกวนข้าวมธุปายาา ในวันวิสาขบูชา (ภาพจาก www.khaosod.co.th (http://www.khaosod.co.th)) พระพุทธเจ้าทรงรับถาดข้าวมธุปายาสแล้ว ก็เสวยจนหมด เสร็จแล้วทรงลอยถาดในแม่น้ำ ตำนานเล่าว่า ถาดนั้นก็ลอย “ทวนกระแสน้ำ” อันหมายถึงพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้โลกุตรธรรม ภายหลังยสกุมารอุปสมบทเป็น “พระยสะ” และบรรลุพระอรหันต์ ต่อมาพระพุทธเจ้าเสด็จไปบ้านนางสุชาดาหลังเสวยภัตตาหารแล้วทรงแสดงธรรมโปรด เมื่อจบเทศนานางสุชาดาก็กล่าววาจาถือเอาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ เป็น “อุบาสิกา” คนแรกในพุทธศาสนา (https://www.silpa-mag.com/wp-content/uploads/2021/03/ผู้หญิง-696x522.jpg) จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถวัดอรุณราชวราราม เขียนขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ผู้หญิงแบบใดคือ สีกา “สีกา” เป็นคำที่พระภิกษุใช้เรียกผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ กร่อนเสียงจากคำว่า “อุบาสิกา” ซึ่ง “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” ของ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายความหมายไว้ว่า “คำที่พระภิกษุใช้เรียกผู้หญิงอย่างไม่เป็นทางการ เลือนมาจาก อุบาสิกา บัดนี้ได้ยินใช้น้อย แปลว่า หญิงผู้นั่งใกล้พระรัตนตรัย, คนใกล้ชิดพระศาสนาที่เป็นหญิง, คฤหัสถ์ผู้หญิงที่แสดงตนเป็นคนนับถือพระพุทธศาสนา โดยประกาศถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ” หากยึดตามความหมายข้างต้น “ผู้หญิง” หลายคนในปัจจุบัน ก็ไม่ควรเรียกด้วยศัพท์คำนี้ คลิกอ่านเพิ่ม :- • พระอินทร์ : บทบาทในพุทธประวัติ (https://www.silpa-mag.com/history/article_92784) • “พระพุทธเจ้า” ในจินตนาการของฝรั่งยุคศตวรรษที่ 19 (https://www.silpa-mag.com/old-photos-tell-the-historical-story/article_1457) ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : วิภา จิรภาไพศาล เผยแพร่ : วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ.2568 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 22 กรกฎาคม 2568. website : https://www.silpa-mag.com/history/article_155970? (https://www.silpa-mag.com/history/article_155970?) อ้างอิง :- - เสฐียรพงษ์ วรรณปก. “สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา (4) บุคคลแรกที่ถวายอาหารก่อนตรัสรู้” ใน, มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 15 กรกฎาคม 2559 - วีรนุช พรมจักร์. “บทบาทสตรีในพระพุทธศาสนาสมัยพุทธกาล” ใน, https://slc.mbu.ac.th/ (https://slc.mbu.ac.th/) -สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 35 กุมภาพันธ์ 2564. หัวข้อ: ธรรม ของ อุบาสิกาแก้ว อุบาสิกาปทุม และอุบาสิกาบุณฑริก เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 24, 2025, 10:21:03 am .
(https://i.pinimg.com/736x/fe/ca/e2/fecae289345ab06b90ac3c883852391d.jpg) ธรรม ของ อุบาสิกาแก้ว อุบาสิกาปทุม และอุบาสิกาบุณฑริก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) [259] อุบาสกธรรม 5 (ธรรมของอุบาสกที่ดี, สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม) 1. มีศรัทธา 2. มีศีล 3. ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล คือ มุ่งหวังจากการกระทำและการงาน มิใช่จากโชคลางและสิ่งที่ตื่นกันว่าขลังศักดิ์สิทธิ์ 4. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ คือ ไม่แสวงหาเขตบุญนอกหลักพระพุทธศาสนา 5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ธรรม 5 อย่างนี้ ในบาลีที่มาเรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ (อุบาสกแก้ว) หรือ อุบาสกปทุม (อุบาสกดอกบัว) องฺ.ปญฺจก. 22/175/230. (https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=22&siri=175) :25: :25: :25: พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๕. จัณฑาลสูตร ว่าด้วยอุบาสกจัณฑาล [๑๗๕] ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกจัณฑาล เป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ(๑-) ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๒. เป็นผู้ทุศีล ๓. เป็นผู้ถือมงคลตื่นข่าว(๒-) เชื่อมงคล ไม่เชื่อกรรม ๔. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๕. ทำอุปการะ(๓-) นอกศาสนาก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกจัณฑาลเป็นอุบาสกเศร้าหมอง และเป็นอุบาสกน่ารังเกียจ @@@@@@@ ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. เป็นผู้มีศรัทธา ๒. เป็นผู้มีศีล ๓. เป็นผู้ไม่ถือมงคลตื่นข่าว เชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล ๔. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๕. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล เป็นอุบาสกแก้ว เป็นอุบาสกปทุม และเป็นอุบาสกบุณฑริก จัณฑาลสูตรที่ ๕ จบ __________________________________ (๑-) อุบาสกน่ารังเกียจ ในที่นี้หมายถึง อุบาสกชั้นเลว (อุปาสกปัจฉิมกะ) (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) (๒-) ผู้ถือมงคลตื่นข่าว หมายถึง บุคคลผู้ประกอบด้วย ๑) ทิฏฐมงคล (เชื่อว่ารูปเป็นมงคล) ๒) สุตมงคล (เชื่อว่าเสียงเป็นมงคล) ๓) มุตมงคล (เชื่อว่ากลิ่น รส โผฏฐัพพะเป็นมงคล) กล่าวคือ ต่างก็มีความเชื่อที่แตกต่างกันไปว่า “สิ่งนี้ๆ เป็นมงคล อะไรๆ จักสำเร็จได้ด้วยสิ่งนี้ๆ” (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) (๓-) ทำอุปการะ ในที่นี้หมายถึง ทำกิจที่เป็นกุศล มีการให้ทาน เป็นต้น (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๕/๖๗) (https://i.pinimg.com/736x/99/17/a6/9917a64f2cb752337cf30e81b956fffe.jpg) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตฺต. องฺ. (๓): ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา [๑๗๕] ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกจณฺฑาโล จ โหติ อุปาสกมลญฺ จ อุปาสกปติกิฏฺโฐ จ กตเมหิ ปญฺจหิ อสฺสทฺโธ โหติ ทุสฺสีโล โหติ โกตุหลมงฺคลิโก โหติ มงฺคลํ ปจฺเจติ โน กมฺมํ อิโต จ พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ ตตฺถ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกจณฺฑาโล จ โหติ อุปาสกมลญฺ จ อุปาสกปติกิฏฺโฐ จ ฯ @@@@@@@ ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกรตนญฺ จ โหติ อุปาสกปทุมญฺ จ อุปาสกปุณฺฑรีกญฺ จ กตเมหิ ปญฺจหิ สทฺโธ โหติ สีลวา โหติ อโกตุหลมงฺคลิโก โหติ กมฺมํ ปจฺเจติ โน มงฺคลํ น อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ อิธ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเมหิ โข ภิกฺขเว ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต อุปาสโก อุปาสกรตนญฺ จ โหติ อุปาสกปทุมญฺ จ อุปาสกปุณฺฑรีกญฺ จาติ ฯ หัวข้อ: อุบาสก/อุบาสิกา ผู้เสพธรรมนี้ ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 25, 2025, 07:40:41 am .
(https://i.pinimg.com/736x/55/17/35/551735faed496bd44813d4efec756d3d.jpg) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) [260] อุบาสกธรรม 7 (ธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญของอุบาสก) 1. ไม่ขาดการเยี่ยมเยือนพบปะพระภิกษุ 2. ไม่ละเลยการฟังธรรม 3. ศึกษาในอธิศีล 4. มากด้วยความเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเถระ นวกะ และปูนกลาง 5. ไม่ฟังธรรมด้วยตั้งใจจะคอยเพ่งโทษติเตียน 6. ไม่แสวงหาทักขิไณย์ภายนอกหลักคำสอนนี้ 7. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้เป็นเบื้องต้น คือ ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา ธรรม 7 นี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัมปทาของอุบาสก (สมบัติของอุบาสก) องฺ.สตฺตก. 23/27-28/26-27. (https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=27) :25: :25: :25: พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ๙. ทุติยปริหานิสูตร ว่าด้วยธรรมที่เป็นเหตุแห่งความเสื่อม สูตรที่ ๒ [๒๙] ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๒. ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม ๓. ไม่ศึกษาในอธิศีล(๑-) ๔. ไม่มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ(๒-) ๕. ฟังธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ ๖. แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๗. ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน(๓-) ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่อุบาสก @@@@@@@ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก ธรรม ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ ๑. ไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุ ๒. ไม่ทอดทิ้งการฟังสัทธรรม ๓. ศึกษาในอธิศีล ๔. มีความเลื่อมใสมากในภิกษุผู้เป็นเถระ ผู้เป็นนวกะ และผู้เป็นมัชฌิมะ ๕. ฟังธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้งเพ่งโทษ ๖. ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ ๗. ทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่อุบาสก @@@@@@@ พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดาได้ตรัสเวยยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า อุบาสกใดละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ไม่ศึกษาในอธิศีล ไม่มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างคอยคิดโต้แย้ง แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ และทำอุปการะนอกศาสนาก่อน อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ อันเป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล ย่อมเสื่อมจากสัทธรรม ส่วนอุบาสกใดไม่ละเลยการเยี่ยมเยียนภิกษุผู้อบรมตน ไม่ทอดทิ้งการฟังอริยธรรม ศึกษาในอธิศีล มีความเลื่อมใสยิ่งขึ้นในภิกษุทั้งหลาย ปรารถนาฟังสัทธรรมอย่างไม่คอยคิดโต้แย้ง ไม่แสวงหาผู้รับทักษิณานอกศาสนานี้ และทำอุปการะในศาสนานี้ก่อน อุบาสกนั้นผู้เสพธรรม ๗ ประการ อันไม่เป็นเหตุแห่งความเสื่อมที่เราแสดงดีแล้วนี้แล ย่อมไม่เสื่อมจากสัทธรรม ทุติยปริหานิสูตรที่ ๙ จบ _________________________________ (๑-) อธิศีล ในที่นี้หมายถึง ศีล ๕ และศีล ๑๐ (องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) (๒-) ผู้เป็นเถระ หมายถึง พระผู้มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไปและทรงจำพระปาติโมกข์ได้ ผู้เป็นนวกะ หมายถึง พระใหม่มีระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ที่นับว่ายังใหม่มีพรรษาต่ำกว่า ๕ ที่ยังต้องถือนิสสัย ผู้เป็นมัชฌิมะ หมายถึง พระระดับกลางมีพรรษาตั้งแต่ครบ ๕ แต่ยังไม่ถึง ๑๐ (เทียบ วิ.อ. ๑/๔๕/๒๕๓) (๓-) ทำอุปการะนอกศาสนาก่อน หมายถึง ให้เครื่องไทยธรรมแก่เดียรถีย์ก่อน แล้วจึงถวายแก่ภิกษุในภายหลัง @(องฺ.สตฺตก.อ. ๓/๒๙/๑๗๘) และดู องฺ.ปญฺจก. (แปล) ๒๒/๑๗๕/๒๙๒ (https://i.pinimg.com/736x/85/ae/40/85ae40d38fed2fcd5ee2e13a07ae1e73.jpg) พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ สุตฺต. องฺ. (๔): สตฺตก-อฏฺฐก-นวกนิปาตา [๒๗] สตฺติเม ภิกฺขเว ธมฺมา อุปาสกสฺส ปริหานาย สํวตฺตนฺติ กตเม สตฺต ภิกฺขุทสฺสนํ หาเปติ สทฺธมฺมสฺสวนํ ปมชฺชติ อธิสีเล น สิกฺขติ อปฺปสาทพหุโล โหติ ภิกฺขูสุ เถเรสุ เจว นเวสุ จ มชฺฌิเมสุ จ อุปารมฺภจิตฺโต ธมฺมํ สุณาติ รนฺธคเวสี อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ ตตฺถ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเม โข ภิกฺขเว สตฺต ธมฺมา อุปาสกสฺส ปริหานาย @@@@@@@ สตฺติเม ภิกฺขเว ธมฺมา อุปาสกสฺส อปริหานาย สํวตฺตนฺติ กตเม สตฺต ภิกฺขุทสฺสนํ น หาเปติ สทฺธมฺมสฺสวนํ นปฺปมชฺชติ อธิสีเล สิกฺขติ ปสาทพหุโล โหติ ภิกฺขูสุ เถเรสุ เจว นเวสุ จ มชฺฌิเมสุ จ อนุปารมฺภจิตฺโต ธมฺมํ สุณาติ น รนฺธคเวสี น อิโต พหิทฺธา ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ อิธ จ ปุพฺพการํ กโรติ อิเม โข ภิกฺขเว สตฺต ธมฺมา อุปาสกสฺส อปริหานาย สํวตฺตนฺตีติ ฯ @@@@@@@ ทสฺสนํ ภาวิตตฺตานํ โย หาเปติ อุปาสโก สวนญฺจ อริยธมฺมานํ อธิสีเล น สิกฺขติ อปฺปสาโท จ ภิกฺขูสุ ภิยฺโย ภิยฺโย ปวฑฺฒติ อุปารมฺภกจิตฺโต จ สทฺธมฺมํ โสตุมิจฺฉติ อิโต จ พหิทฺธา อญฺญํ ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ ตตฺเถว จ ปุพฺพการํ โย กโรติ อุปาสโก เอเต โข ปริหานีเย สตฺต ธมฺเม สุเทสิเต อุปาสโก เสวมาโน สทฺธมฺมา ปริหายติ ฯ ทสฺสนํ ภาวิตตฺตานํ โย น หาเปติ อุปาสโก สวนญฺจ อริยธมฺมานํ อธิสีเล จ สิกฺขติ ปสาโท จสฺส ภิกฺขูสุ ภิยฺโย ภิยฺโย ปวฑฺฒติ อนุปารมฺภจิตฺโต จ สทฺธมฺมํ โสตุมิจฺฉติ น อิโต พหิทฺธา อญฺญํ ทกฺขิเณยฺยํ คเวสติ อิเธว จ ปุพฺพการํ โย กโรติ อุปาสโก เอเต โข อปริหานีเย สตฺต ธมฺเม สุเทสิเต อุปาสโก เสวมาโน สทฺธมฺมา น จ หายตีติ ฯ |