สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: สายฟ้า ที่ มีนาคม 29, 2011, 05:14:35 pm



หัวข้อ: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: สายฟ้า ที่ มีนาคม 29, 2011, 05:14:35 pm
คือ เห็นพ่อไปบ้านสองครับ แม่ให้ตามไป แล้วก็ถามว่า พ่อไปที่ไหนครับ ผมรู้ว่าถ้าตอบว่า พ่อไปบ้านแม่สอง

แม่จะต้องทะเลาะกับพ่อครับ จึงพูดโกหกไปว่าพ่อไปทำงานที่บ้านนั้นครับ

อย่างนี้ถือว่าเป็นการผิดศีล หรือไม่ครับ......

และจะทำอย่างไร ถ้าเราต้องรักษา ศีล ก็ต้องพูดความจริงกันใช่หรือไม่ครับ

ถ้าพูดความจริงแล้ว ต้องทะเลาะตบตีกันอีก บาปเกิดจากผมเป็นคนพูดจริง ใช่หรือไม่ครับ

 :021:


หัวข้อ: Re: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: หมวยจ้า ที่ มีนาคม 30, 2011, 06:03:52 am
ความหึง ความอิจฉา ริษยา เวลาเกิดแล้ว เป็นอันตราย

ความเจ้าชู้ ผิดศีล ผิดธรรม เป็นเหตุให้เกิดความวิปโยค

 มีหลายครอบครัว ...ที่เป็นแบบนี้ ตบตีกันเย็น เช้ามาก็ยิ้มระรื่น ตอนเย็นก็ตีกันอีก เหมือนเป็นพวกซาดิสต์ คร้า..

 ดังนั้น การที่เราต้องตอบเพื่อความสงบสุข ถึงแม้จะโกหก ก็ถือว่าเราเห็นแก่สุขภาพของพ่อแ่ม่

 ถ้าพูดความจริงออกไป ก็ทำให้ทะเลาะกันอีก ตัวเราเองก็จะบาป เพราะทำให้ พ่อแม่ เจ็บตัวเพราะเราอีก

 อันที่จริงเรื่องนี้อ่านแล้วมีความละเอียดอ่อนมาก เพราะเป็นเรื่องของ คนสองคน ที่พยายามดึงมือที่สาม ที่สี่

เข้าไปช่วย แต่ช่วยสนับสนุนให้กับตนเอง ...


  คนอื่นอาจจะอ่านแล้วมองว่าไม่เป็นปัญหาของเขา ไม่ควรใส่ใจ

  แต่หมวยเชื่อว่า ในสังคมยังมีเด็กที่ต้องรับชะตากรรมอย่างนี้ อีกมากมาย

  ดังนั้นการกล่าวตรงนี้ ก็ขอให้ทราบไว้เบื้องต้นก่อนว่า มีเหตุจำเป็นในการพูดโกหก เพื่อสันติเบื้องต้น

  ด้วยจิตประสงค์ดี ก็ไม่น่าจะิผิด แต่โทษของการโกหก ก็มีนะคะ เพราะเราจะถูกขาดความเชื่อถือเมื่อความแตก

 มา ซึ่งครั้งต่อไปก็จะไม่มีใครเชื่อ...เราอีกคร้า...


  แต่การพูดความจริง นั้น ต้องดูสถานการณ์ด้วยนะคร้า ว่าควรพูดหรือไม่ ถ้าไม่ควรนิ่งไว้ดีกว่านะคร้า....


 :32:


หัวข้อ: Re: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Jet ที่ มีนาคม 30, 2011, 08:21:09 am
ไม่น่าจะผิดศีลนะครับ เพราะไม่มีเจตนาที่เป็นบาป
 :014:


หัวข้อ: Re: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ มีนาคม 30, 2011, 08:26:31 am
จำได้คลับคล้ายคลับครา ว่า องค์ประกอบการพูดมุสามี อยู่ 3 องค์คะ

ไม่่น่าจะผิดหรอกนะคะ เพราะทำเพื่อความสงบ และความผาสุก

 :88:


หัวข้อ: Re: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 30, 2011, 11:40:23 am

โกหก ด้วยเจตนาดี มีจิตที่เป็นกุศล หวังให้ผู้อื่นไม่มีภัย เป็นสุข

อย่างนี้เรียกว่า "โกหกขาว" น่าจะเป็นกุศลกรรม

 :58: :s_good: ;)


หัวข้อ: Re: บางครั้งเราพูดโกหก ด้วยความจำเป็น อย่างนี้ผิดศีลหรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 31, 2011, 07:18:45 am
        ***** องค์ประกอบของมุสาวาท(คำพูดที่ไม่เป็นความจริง)   ***** (http://www.oknation.net/blog/pierra/2007/08/03/entry-1)   
   
      ๔.มุสาวาท  (คำพูดที่ไม่เป็นความจริง)
     มุสาวาท เป็นอกุศลกรรมที่เกิดทางวจีทวาร อันนับว่าเป็นอกุศลกรรม ข้อที่ ๔ คำว่า มุสาวาทนี้ เมื่อแยกบทแล้วได้ ๒ บท คือ มุสา - วาท
     มุสา  หมายถึง  สิ่งที่ไม่เป็นความจริง
     วาท  หมายถึง  คำพูด
     "มุสาวาท" หมายถึง คำพูดที่ไม่ตรงกับความจริง ดังวจนัตถะว่า
          มุสา วทนฺติ เอเตนาติ - มุสาวาโท
แปล ความว่า คนทั้งหลายย่อมกล่าว สิ่งที่ไม่เป็นจริง ให้เห็นว่าเป็นจริงด้วย  เจตนานั้น ฉะนั้น เจตนาที่เป็นเหตุแห่งการกล่าวไม่จริงนั้น ชื่อว่า มุสาวาท  คือเจตนาที่ให้ผู้อื่นเข้าใจผิด
          องค์ประกอบของมุสาวาท ๔ ประการ
     ๑. อตฺถวตฺถุ           สิ่งของหรือเรื่องราวที่ไม่เป็นจริง
     ๒. วิสํวาทนจิตฺตตา     มีจิตคิดจะมุสา
     ๓. ปโยโค             ทำความเพียรเพื่อมุสา
     ๔. ตทตฺถ วิชานนํ      ผู้อื่นเชื่อตามความที่มุสา
      มุสาวาท ที่ครบองค์แห่งกรรมบท ทั้ง ๔ ประการนี้ แม้ไม่ทำความเสียหาย  ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ที่หลงเชื่อก็ล่วงกรรมบท ฉะนั้น  มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ จึงมี ๒ ชนิดคือ
๑.  มุสาวาท ชนิดไม่นำไปสู่อบาย ได้แก่ มุสาวาทที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔  แต่มิได้ทำความเสียหายให้เกิดขึ้นแก่ผู้หลงเชื่อ มุสาวาทชนิดนี้ ถือว่า  ล่วงกรรมบท เหมือนกัน เพราะมีองค์ประกอบครบถ้วน แต่ไม่มีผลเสียหายร้ายแรง  แก่ผู้ใด จึงไม่นำไปสู่อบายภูมิได้
๒. มุสาวาท  ชนิดที่นำไปสู่อบายได้ ได้แก่ มุสาวาทชนิดที่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔  และทำความเสียหายให้แก่ผู้หลงเชื่อ ย่อมเป็นมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท  นำไปสู่อบายภูมิได้
          ปโยคะ ของมุสาวาทมี ๔ ประการ คือ
๑. สาหัตถิกะ   พยายามมุสาวาทด้วยตนเอง
๒. อาณัตติกะ  ใช้ให้ผู้อื่นมุสา
๓. นิสสัคคิยะ   เขียนเรื่องราวที่ไม่จริง ส่งให้ผู้อื่น เช่น ส่งจดหมาย บัตรสนเท่ห์ หรือประกาศทางวิทยุ
๔. ถาวระ     เขียนเรื่องที่ไม่จริงประกาศไว้ พิมพ์เป็นหนังสือ หรืออัดเสียงไว้ เป็นต้น
     แสดงมุสาวาทที่เป็นศีลวิบัติ กับมุสาวาทที่ล่วงกรรมบท
      ถ้ามุสาวาทไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๔ แต่มีองค์ประกอบเพียง ๒ ประการคือ  มีจิตคิดจะมุสา  และปโยคะ พยายามมุสาด้วยกาย หรือวาจาแล้ว จะเป็นคฤหัสถ์  หรือบรรพชิตก็ตาม ย่อมสำเร็จเป็น "ศีลวิบัติ" เท่านั้น ไม่เป็นการก้าวล่วงถึงกรรมบท แต่ถ้าครบองค์ทั้ง ๔ ก็เป็นอันสำเร็จกรรมบท
     มุสาวาทที่ทำให้ผู้หลงเชื่อเกิดความเสียหายนั้น ถ้าได้รับความเสียหายมาก  มุสาวาทนั้น ก็มีโทษมาก ถ้าเสียหายน้อยก็มีโทษน้อย เช่น...
     ผู้ที่เป็นพยานเท็จ ทำให้ผู้ถูกกล่าวหาต้องได้รับโทษ ประหารชีวิต จำคุก  หรือได้รับความเสียหายในทรัพย์สิน จัดเป็นมหาสาวัชชะ คือ มีโทษมาก
     ผู้ได้รับแจกเงิน ถูกผู้อื่นถามถึงจำนวนเงินที่ได้รับ แกล้งตอบว่า  ได้รับมา ๒๐๐ บาท ซึ่งความจริงได้รับแจกมาเพียง ๑๒๐ บาทเท่านั้น  เช่นนี้จัดเป็น อัปปสาวัชชะ คือมีโทษน้อย
   (คัดจาก หนังสือพระอภิธรรมมัตถะสังคหะ)

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=88532 (http://www.oknation.net/blog/print.php?id=88532)