สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: Akira ที่ มีนาคม 30, 2011, 07:50:35 am



หัวข้อ: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ มีนาคม 30, 2011, 07:50:35 am
สงสัยว่าถ้าเราต้องการบรรลุธรรม ต้องเจริญสมาธิภาวนาอย่างเดียวใช่หรือไม่ ครับ

 :67: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: suchin_tum ที่ มีนาคม 30, 2011, 11:11:05 am
            ไตรสิกขา 3 เรื่อง จึงจะเข้าถึงได้...1.ศิลสิกขา 2.สมาธิสิกขา 3.ปัญญาสิกขา ...ว่าไปตามลําดับ


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มีนาคม 30, 2011, 11:52:45 am
สงสัยว่าถ้าเราต้องการบรรลุธรรม ต้องเจริญสมาธิภาวนาอย่างเดียวใช่หรือไม่ ครับ

(http://1.bp.blogspot.com/_Go98nU21nk0/Sgd5DJDX8dI/AAAAAAAABoI/IDgbVyDcWAU/s320/Ariyamakka.gif)     

ศีลสิกขา นั้น ชำระกาย, วาจา

สมาธิสิกขา นั้น ชำระจิต

ปัญญาสิกขา นั้น เป็นสภาวะเกิดเองด้วยจิตที่หมดจด มิใช่สภาวะคิดปรุงด้วยผัสสะแห่งอายตนะใดใด




http://sworraras.blogspot.com/2009_05_10_archive.html


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 30, 2011, 12:13:00 pm
หลวงปู่ดูลย์ อตุลโล ได้กล่าวไว้ว่า ไอน์สไตน์เก่ง สามารถรู้ความจริงของธรรมชาติได้

แต่น่าเสียดาย ไอน์สไตน์ ไม่รู้นิพพาน เพราะ ไอน์สไตน์ ไม่รู้ "มรรค ๘"

(มรรคมีองค์ ๘ มีในศาสนาพุทธเพียงศาสนาเดียว ขอให้เราภูมิใจได้เลย)


ดังนั้น การบรรลุธรรม ต้องเริ่มที่ มรรคมีองค์ ๘ ก่อน

หากเราจะย่อ มรรค ๘ ลงเหลือ ๓ ข้อ จะได้ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา


จะย่อไตรสิกขาลงอีก จะได้ วิปัสสนากรรมฐาน กับ สมถกรรมฐาน

หากยังไม่พอใจ จะย่อลงอีก จะเหลือแค่หนึ่ง คือ "การเจริญสติปัฏฐาน"


พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า การเจริญสติปัฏฐานเป็นทางสายเอก

เป็นเพียงทางเดียวเท่านั้น ที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้


ขอให้คุณ Akira ศึกษาข้อธรรมต่างๆไปโดยลำดับ

ไม่เข้าใจ ก็ถามได้ครับ

 ;) :58: :25:


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 31, 2011, 07:08:19 am
โอกาสการบรรลุธรรม มี 5 วาระ

การภาวนา เป็นวาระสุดท้ายซึ่งมีโอกาสมากกว่าทุกวาระ

เจริญธรรม

 ;)


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 31, 2011, 07:14:40 am
บาลี วิมุตตายตนสูตร เป็นหลักธรรม ที่ควรสนใจเป็นพิเศษ คือ บอกให้รู้ว่า

คนเรา สามารถบรรลุธรรม ได้ถึง ๕ เวลา คือ
เมื่อกำลัง ฟังธรรมอยู่,
เมื่อกำลัง แสดงธรรมให้ผู้อื่นอยู่,
เมื่อกำลัง สาธยายธรรมอยู่,
เมื่อเพ่งธรรมอยู่, และ
เมื่อพิจารณา ใคร่ครวญธรรมอยู่; นับว่า โอกาสมีมาก ในการบรรลุธรรม แต่พวกเรา พากันประมาทเสีย ไม่ฉวยเอาได้ แม้แต่ โอกาสเดียว.
Aeva Debug: 0.0004 seconds.


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มีนาคม 31, 2011, 07:16:23 am
วิมุตติ  หมายถึง ความหลุดพ้น  ความเป็นอิสระ   เป็นภาวะจิตที่สำคัญเป็นพื้นฐาน   ภาวะความหลุดพ้นเป็นอิสระนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากปัญญา  คือ   เมื่อเห็นตามความเป็นจริง   รู้เท่าทันสังขารแล้ว   จิตจึงพ้นจากอำนาจครอบงำของกิเลส  (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)    ลักษณะด้านหนึ่งของความเป็นอิสระ ในเมื่อไม่ถูกกิเลสครอบงำ ก็คือ  การไม่ตกเป็นทาสของอารมณ์ที่เย้ายวนหรือยั่วยุ  อย่างที่ท่านเรียกว่าอารมณ์เป็นที่ตั้งของราคะ หรือ โลภะ โทสะและโมหะ  เพราะจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะแล้ว ทำให้ไม่หวั่นไหวกับสิ่งเหล่านี้  ยังเป็นหลักประกันให้ประกอบการงานอย่างสุจริตด้วย   สามารถเป็นนายเหนืออารมณ์   วิมุตติประกอบด้วย 5  ประการ คือ
  • ตทังควิมุตติ คือ ความหลุดพ้นชั่วคราว หมายถึง  ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่น เกิดความเจ็บปวด หายจากความโลภ  เกิดเมตตา หายโกรธ เป็นต้น แต่ความโลภ ความโกรธนั้นไม่หายทีเดียว  อาจจะกลับมาอีก เป็นต้น
  • วิกขัมภนวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยการสะกดไว้  หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน คือ สะกดไว้ได้ด้วยกำลังฌาน  เมื่อฌานเสื่อมแล้ว กิเลสเกิดขึ้นได้อีก เช่น  เมื่อนั่งสมาธิสามารถสะกดข่มกิเลสไว้  เมื่อออกจากสมาธิกิเลสก็กลับมาอีกครั้ง เป็นต้น
  • สมุจเฉทวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นเด็ดขาด หมายถึง ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค (มรรคมีองค์ 8) ละกิเลสได้อย่างเด็ดขาด ไม่เกิดกิเลสอีกต่อไป
  • ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยความสงบ หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลส เนื่องมาจากอริยมรรคอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละกิเลสอีก
  • นิสสรณวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้วยสลัดออกไป หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสนั้นได้อย่างยั่นยืนตลอดไป ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ได้แก่ นิพพาน


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ มีนาคม 31, 2011, 07:33:51 am
อริยบุคคล7ประเภท(ตามการบรรลุ)

พระไตรปิฎก : พระอภิธรรมปิฎก เล่ม 3 ธาตุกถา - ปุคคลปัญญัติปกรณ์
เอกกนิทเทส

(การแบ่งอริยบุคคลออกเป็น 7 ประเภทในที่นี้ เป็นการแบ่งตามประเภทของการบรรลุธรรม ซึ่งต่างจากเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ที่เป็นการแบ่งตามลำดับขั้นของกิเลสที่ละได้ - ธัมมโชติ)

[๔๐] บุคคลชื่อว่าอุภโตภาควิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย (วิโมกข์ ๘ คือสมาบัติ ๘ ได้แก่สมาธิขั้นฌาน ๘ ขั้น คือ รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ ดูเรื่องลำดับขั้นของจิต ในหมวดบทวิเคราะห์ ประกอบ - ธัมมโชติ) แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะ(กิเลสที่นอนเนื่องในสันดาน - ธัมมโชติ) ของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า อุภโตภาควิมุต

(อุภโตภาควิมุต = การหลุดพ้นโดยส่วนสอง คือ หลุดพ้นจากความยินดีในรูปด้วยอรูปสมาบัติก่อน (ดูเรื่องสัญโยชน์ 10 ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) โดยเฉพาะในหัวข้ออรูปราคะ ประกอบ) แล้วเจริญวิปัสสนาจนหลุดพ้นจากความยินดีในนามด้วยวิปัสสนาปัญญา ซึ่งทำให้เป็นพระอรหันต์ด้วยวิปัสสนาปัญญานี้ - ธัมมโชติ)

[๔๑] บุคคลชื่อว่าปัญญาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ มิได้ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย สำเร็จอิริยาบถอยู่ แต่อาสวะของผู้นั้นสิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้ เรียกว่า ปัญญาวิมุต

(คือผู้ที่ไม่ได้ทำสมาธิจนถึงขั้นอรูปฌาน เจริญวิปัสสนาจนกระทั่งบรรลุเป็นพระอรหันต์ จึงหลุดพ้นจากความยินดีทั้งในรูปและนามด้วยวิปัสสนาปัญญา - ธัมมโชติ)

[๔๒] บุคคลชื่อว่ากายสักขี เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ถูกต้องซึ่งวิโมกข์ ๘ ด้วยกาย แล้วสำเร็จอิริยาบถอยู่ ทั้งอาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า กายสักขี

(คล้ายกับอุภโตภาควิมุต ต่างกันที่อุภโตภาควิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่กายสักขีเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ - ธัมมโชติ)

[๔๓] บุคคลชื่อว่าทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้วด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้เรียกว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คล้ายกับปัญญาวิมุต ต่างกันที่ปัญญาวิมุตนั้นเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่ทิฏฐิปัตตะเจริญวิปัสสนาจนบรรลุเป็นอริยบุคคลขั้นต่ำกว่าพระอรหันต์ โดยนับตั้งแต่โสดาปัตติผลบุคคลขึ้นไป ดูเรื่องอริยบุคคล 8 ประเภท ในหมวดวิปัสสนา (ปัญญา) ประกอบ - ธัมมโชติ)

[๔๔] บุคคลชื่อว่าสัทธาวิมุต เป็นไฉน
บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ อนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ผู้นั้นเห็นชัดแล้ว ดำเนินไปดีแล้ว ด้วยปัญญา อนึ่ง อาสวะบางอย่างของผู้นั้นก็สิ้นไปแล้ว เพราะเห็นด้วยปัญญา แต่มิใช่เหมือนบุคคลผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ บุคคลนี้เรียกว่าสัทธาวิมุต

(ต่างจากทิฏฐิปัตตะตรงที่ทิฏฐิปัตตะอาศัยปัญญาเป็นหลัก แต่สัทธาวิมุตอาศัยศรัทธาเป็นใหญ่นำปัญญาให้เกิดขึ้น - ธัมมโชติ)

[๔๕] บุคคลชื่อว่าธัมมานุสารี เป็นไฉน
ปัญญินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมีประมาณยิ่ง (ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล = โสดาปัตติมรรคบุคคล - ธัมมโชติ) บุคคลนั้นย่อมอบรมซึ่งอริยมรรคอันมีปัญญาเป็นเครื่องนำมา มีปัญญาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า ธัมมานุสารี บุคคลผู้ปฏิบัติแล้ว เพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าธัมมานุสารี บุคคลผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า ทิฏฐิปัตตะ

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นธัมมานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นทิฏฐิปัตตะ - ธัมมโชติ)

[๔๖] บุคคลชื่อว่าสัทธานุสารี เป็นไฉน
สัทธินทรีย์ของบุคคลใดผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มีประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีสัทธาเป็นเครื่องนำมา มีสัทธาเป็นประธานให้เกิดขึ้น บุคคลนี้เรียกว่า สัทธานุสารีบุคคล ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ชื่อว่าสัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่าสัทธาวิมุต

(คือขณะแห่งโสดาปัตติมรรค เป็นสัทธานุสารี ขณะแห่งโสดาปัตติผลเป็นต้นไปจนถึงก่อนจะบรรลุเป็นพระอรหันต์ เป็นสัทธาวิมุต - ธัมมโชติ)


หัวข้อ: Re: การบรรลุธรรมต้องบำเพ็ญสมาธิภาวนา อย่างเดียวใช่หรือไม่
เริ่มหัวข้อโดย: Jojo ที่ มีนาคม 31, 2011, 08:24:19 am
การใคร่ครวญธรรม ทำอย่างไรคะ

 :25: