หัวข้อ: อาลัย นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เริ่มหัวข้อโดย: Akira ที่ เมษายน 02, 2011, 06:34:52 am (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/41/41/images/doctorbookcover.jpg)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net (http://www.oknation.net) เสียดายอาลัยคนดีดี ยอมพลีทำงานเหนื่อยเหน็ด ไม่เสียดายงานงอกออกเมล็ด ผลงานเสร็จเห็นเด่นเต็มแผ่นดิน ไม่เห่อเกียรติยศชื่อเสียง ขอเพียงอุดมการณ์โผผิน จิตสาธารณะก้องยลยิน ท่านคือคนของแผ่นดินแท้จริงเอยฯ ++ เมื่อ เวลาประมาณ 16.30 น. โรงพยาบาลรพ.รามาธิบดี นายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ได้เสียชีวิตอย่างสงบด้วยอายุ 55 ปี 10 เดือน ภาย หลังจากเข้ารักษาอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งปอดที่รพ.รามาธิบดีกว่า 3 สัปดาห์ ในเบื้องต้นญาติจะทำการเคลื่อนย้ายศพไปบำเพ็ญกุศลที่วัดชลประทาน จ.นนทบุรี และขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการประสานกับสำนักพระราชวังเพื่อขอพระราชทานน้ำ หลวงอาบศพ นพ.สงวน เป็นเลขาธิการสปสช.สมัยที่ 2 เป็นบุคคลที่ทุ่มเทเพื่อการสร้างระบบสุขภาพที่เป็นธรรมอย่างเท่าเทียมเพื่อ ประชาชนทุกคน เกิดเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2495 ที่กรุงเทพมหานคร จบการศึกษาแพทยศาสตร์บัณฑิต คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี 2520 เริ่มรับราชการที่รพ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ในปี2521 จนกระทั่งปี 2526 เป็นผู้อำนวยการรพ.ราษีไศล และย้ายมาเป็นผู้อำนวยการรพ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมาซึ่งการทำงานทั้งสองแห่งได้บุกเบิกการสร้างสุขภาพชุมชน จนเป็นที่รักของชาวบ้านอย่างมาก และที่รพ.บัวใหญ่ นพ.สงวน ได้รับคัดเลือกเป็นแพทย์ดีเด่นประจำปี 2528 ด้วยผลงานขยายเตียงรองรับผู้ป่วยจาก 30 เตียงเป็น 60 เตียง ในเวลา 3 ปี จัดทีมบริหารให้คล่องตัวมีประสิทธิภาพ วางแผนงานใช้สาธารณสุขมูลฐานเป็นกลยุทธ์แก้ปัญหา ตั้งกองทุนยา กองทุนโภชนาการหมู่บ้านและชุมชน ฯลฯ ในปี 2538 เป็นผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุขในปี2544-2546 ก่อนที่จะมาเป็นเลขาธิการสปสช.ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 นพ.สงวน นับเป็นหัวขบวนที่ปฏิรูประบบสุขภาพไทยครั้งใหญ่ ในการสร้างความเป็นธรรมทางด้านสุขภาพให้กับประชาชน เป็นผู้นำในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือที่รู้จักกันว่าโครงการ 30 บาท อย่างไรก็ตาม สิ่งที่นพ.สงวนนิตยารัมภ์พงศ์ เลขาธิการสปสช.ที่อยากจะทำซึ่งจะมีผู้สานต่อโครงการต่อไป 5 ประการกล่าวคือ 1. จะเร่งรณรงค์ให้ประชาชนในโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไม่เป็นโรคตาบอด โดยเฉพาะจะกวาดล้างโรคตาต้อกระจกให้หมดไปจากประเทศไทย ให้ความสำคัญในเรื่องการปลูกถ่ายอวัยะ ซึ่งจะมีกระบวนการดูแลอย่างใกล้ชิดมากขึ้น แม้ว่าปัจจุบันยังมีประชาชนรอคิวรับการผ่าตัดอยู่อีกจำนวนหนึ่งก็ตาม ซื่งจะเชื่อมโยงไปถึงคนป่วยที่จะเป็นโรคเบาหวานจะเสี่ยงกับโรคตาบอดด้วย โดยจะมีวิธีจัดการเช่นเดียวกับโรคหัวใจ 2. กองทุนตำบล ขณะนี้สปสช.ได้ดำเนินการไปจำนวนมากแล้วก็ตามแต่จะให้เกิดความชัดเจนมากยิ่ง ขึ้นโดยเฉพาะอบต.แห่งไหนที่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าโครงการในปีที่ผ่านมาปีนี้ มีความพร้อมของอบต.มากขึ้น ซึ่งจะมีการประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.)ทุกแห่งสรรหาอบต.เข้า ร่วมโครงการทั้งประเทศต่อไป เนื่องจากที่ผ่านมา สปสช.ได้ให้ม.นเรศวร จ.พิษณุโลกประเมินโครงการดังกล่าวแล้วควรดำเนินการต่อไปและมีกิจกรรมมากขึ้น 3. โครงการลดความแออัดในรพ. จะมีการปรับโฉมใหม่ของหน่วยบริการทั่วประเทศและจะเริ่มทยอยเผยรายชื่อหน่วย บริการที่มีความพร้อมซึ่งที่ผ่านมามีรพ.ภูมิพล และเครือข่าย รพ.พระนครศรีอยุธยาและเครือข่าย และนครราชสีมา แพร่ หล่มสัก จ.เพชรบรูณ์ฯลฯ ซึ่งมีทั้งหมด 13 แห่ง โดยให้ประชาชนที่ถือบัตรทองไปใช้หน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจหรือปฐมภูมิ หรือกล่าวได้ว่าจะไม่มีคนไข้ Walk In อีกต่อไป 4. โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ “จิตอาสา” ให้คนไข้ที่ป่วยและหายแล้วให้กำลังใจที่มีจิตใจความเป็นมนุษย์ช่วยเหลือ เพื่อนที่ยังเจ็บป่วยให้หายจากโรคต่าง ๆได้ ที่ผ่านมามีเพื่อนช่วยเพื่อนแล้ว เช่น เครือข่ายโรคมะเร็ง เครือข่ายโรคหัวใจ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น โดยในปีนี้จะมีการขยายโครงการไปยังโรคเรื้อรังอื่นๆอีก 5. โครงการ “ทำดีได้ดี” เป้าหมายคือสร้างแรงจูงใจให้หน่วยบริการและเครือข่ายจัดบริการที่มีคุณภาพ และมาตรฐานตามที่ สปสช.กำหนดอย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ จากงบเหมาจ่ายรายหัว 2,100 บาท/คน/ปี(2551) นั้น ในจำนวนนี้มีการจัดสรรงบคุณภาพบริการไว้ประมาณ 20 บาท/คน/ปี จากจำนวนประชากร 48 ล้านคน(หรือสำนักงบประมาณให้งบเหมาจ่ายรายหัวที่ 46 ล้านคน อีก 2ล้านคน สปสช.จะต้องทำเรื่องของบเพิ่มเติมในแต่ละปี)รวมเป็นเงินในโครงการนี้ประมาณ 929.54 ล้านบาทนั้น จะแบ่งเป็นจัดสรรให้หน่วยบริการปฐมภูมิประมาณ 43.31% ที่เหลืออีก 56.69 % จะจัดสรรให้หน่วยบริการรับส่งต่อดำเนินการ ขอบคุณสำนักข่าวเนชั่น http://www.oknation.net/blog/puprasit/2008/01/18/entry-1 (http://www.oknation.net/blog/puprasit/2008/01/18/entry-1) |