สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

ธรรมะสาระ => สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน => ข้อความที่เริ่มโดย: จ่าวิโรจน์ ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2010, 06:49:53 pm



หัวข้อ: น้ำใจ น้ำคำ น้ำใส คุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์
เริ่มหัวข้อโดย: จ่าวิโรจน์ ที่ กุมภาพันธ์ 17, 2010, 06:49:53 pm
 :welcome:

น้ำใจ คือเป็นคนมีความใจกว้่าง อ่อนโยน มองเห็นแก่ส่วนรวม

น้ำคำ คือการพูด ในทางสร้างสรรค์ ไพเราะ

น้ำใส คือความจริงใจ ในทุกกรณี

น้ำแรง คือแรงกายที่มุ่งมั่นต่อความดี

โอวาทของ ผู้บังคับบัญชาผม หน้าเสาธง

นำมาฝากเพื่อน ๆ สมาชิก ครับ


หัวข้อ: สังคหวัตถุ ๔
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2010, 01:18:22 pm

สังคหวัตถุ ๔  (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์ - bases of sympathy; acts of doing favors; principles of service; virtues making for group integration and leadership)

๑. ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน - giving; generosity; charity)

๒. ปิยวาจา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มน้ำใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ประกอบด้วยเหตุผลเป็นหลักฐานจูงใจให้นิยมยอมตาม - kindly speech; convincing speech)

๓. อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริยธรรม - useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
 
๔. สมานัตตตา (ความมีตนเสมอ คือ ทำตนเสมอด้วยปลาย ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย และเสมอในสุขทุกข์โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไข ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี - even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)


ผมนำเอาสังคหวัตถุ ๔  มาฝากคุณวิโรจน์ และเพื่อนสมาชิกทุกท่าน
ธรรมนี้เหมาะที่จะใช้ในการอยู่ร่วมกันของสังคมกลุ่มต่างๆ

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
ปุ้ม  ณฐพลสรรค์


หัวข้อ: Re: น้ำใจ น้ำคำ น้ำใส คุณธรรมพื้นฐานของมนุษย์
เริ่มหัวข้อโดย: nimit ที่ กุมภาพันธ์ 23, 2010, 01:38:15 pm
เอื้อเฟื้อชุมชน
วจีไพเราะ
โอบอ้อมอารีย์ 
เสมอต้นเสมอปลาย
ศิลาแห่งความดี
พระอาจารย์เคยบรรยายธรรมเรื่องนี้ให้ฟังตอนที่ท่านมานครสวรรค์